ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรปรัสเซีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mjbmrbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: vi:Vương quốc Phổ
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: mk:Кралство Прусија
บรรทัด 150: บรรทัด 150:
[[lt:Prūsijos karalystė]]
[[lt:Prūsijos karalystė]]
[[lv:Prūsijas karaliste]]
[[lv:Prūsijas karaliste]]
[[mk:Кралство Прусија]]
[[nn:Kongedømet Preussen]]
[[nn:Kongedømet Preussen]]
[[no:Kongeriket Preussen]]
[[no:Kongeriket Preussen]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:59, 26 มิถุนายน 2554

Kingdom of Prussia
Königreich Preußen
ราชอาณาจักรปรัสเซีย
พ.ศ. 2244พ.ศ. 2461
ธงชาติราชอาณาจักรปรัสเซีย
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของราชอาณาจักรปรัสเซีย
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติPreußenlied
เพลงแห่งปรัสเซีย
Hail to Thee in Victor's Crown
(ไม่เป็นทางการ)
ราชอาณาจักรปรัสเซียเมื่อขยายใหญ่ที่สุดในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน, 1871
ราชอาณาจักรปรัสเซียเมื่อขยายใหญ่ที่สุดในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน, 1871
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงเบอร์ลิน
ภาษาทั่วไปภาษาเยอรมัน
การปกครองราชาธิปไตย
พระเจ้าแผ่นดินแห่งปรัสเซีย 
• 1701-1713
ฟรีดริชที่ 1 (องค์แรก)
• 1888-1918
วิลเฮล์มที่ 2 (องค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
18 มกราคม ค.ศ. 1701 พ.ศ. 2244
• ศึกเยนา-เอาเอร์ชตัท
14 ตุลาคม ค.ศ. 1806
9 กันยายน ค.ศ. 1815
5 ธันวาคม ค.ศ. 1848
18 มกราคม ค.ศ. 1871
• การรวมชาติเยอรมนี เป็นสาธารณรัฐไวมาร์
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461
ประชากร
• ค.ศ. 1816
10349031 คน
• ค.ศ. 1871
24689000 คน
• ค.ศ. 1910
34472509 คน
สกุลเงินไรคชตาลเลอร์
ถึง ค.ศ. 1750)

ปรัสเซียทาลเลอร์
(ค.ศ. 1750-1857)

เฟอร์ไรนชตาลเลอร์
(ค.ศ. 1857-1871)

เยอรมันมาร์คทอง
(ค.ศ. 1871-1914)
ธนบัตร
(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914)
ก่อนหน้า
ถัดไป
บรานเดนบวร์ก-ปรัสเซีย
จักรภพโปแลนด์-ลิธูเอเนีย
รัฐอิสระปรัสเซีย
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (ภาษาเยอรมัน: Königreich Preußen; ภาษาอังกฤษ: Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรเยอรมันระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึงปี ค.ศ. 1918 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871 เป็นรัฐเอกของจักรวรรดิเยอรมนีมีเนื้อที่สองในสามของจักรวรรดิเยอรมนีทั้งหมด ชื่อราชอาณาจักรมาจากแคว้นปรัสเซียแต่ศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่บรานเดนบวร์ก

ประวัติศาสตร์

ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์ปรัสเซีย

ราชอาณาจักรเดิมเป็นเพียงดินแดนของขุนนางตระกูลโฮเฮนโซลเลิร์น ซึ่งเป็นขุนนางเล็กๆ แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาปรัสเซียได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 เป็นอิสระจากโปแลนด์ เดิมนั้นปรัสเซียมีอาณาเขตไม่ใหญ่มากนัก จนกระทั่งมาถึงสมัยของ สมเด็จพระเจ้าฟรีดริชมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ปรัสเซียยึดครองจังหวัดไซลีเซียจากออสเตรีย และสามารถรักษาไว้ได้ในระหว่าง สงครามเจ็ดปีที่ยุติลงในปี ค.ศ. 1763 ซึ่งทำให้ปรัสเซียมีอำนาจขึ้นทางตอนเหนือของเยอรมนี ต่อมาปรัสเซียก็ได้ขยายดินแดนโดยการผนวกดินแดนต่างๆ ของเยอรมนีด้วยวิธีต่างๆ ที่รวมทั้งการสมรส และการเข้าครอบครองเช่นในโพเมอราเนียในฝั่งทะเลบอลติก

สมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย ครองราชย์ ค.ศ. 1713–1740

ปรัสเซียเข้าสู่สงครามในการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 มาจนถึงสมัยของสงครามนโปเลียน ซึ่งทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนบางส่วน แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง คองเกรสแห่งเวียนนาก็มอบดินแดนคืนให้แก่ปรัสเซียที่รวมทั้ง ไรน์แลนด์ และ เวสต์ฟาเลีย กับดินแดนอีกบางส่วนในแถบตะวันตก

เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์

  • ค.ศ. 1701: การขยายตัวของบรานเดนบวร์ก
เมื่อฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 อีเล็คเตอร์แห่งบรานเดนบวร์กเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1688 ปรัสเซียก็ตกไปเป็นของฟริดริชที่ 3 ผู้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึงปี ค.ศ. 1713 นอกไปจากแคว้นปรัสเซียแล้วบรานเดนบวร์กทั้งหมดก็เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก เพราะพระเจ้าฟริดริชทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งเยอรมันองค์เดียวในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงทรงสามารถเรียกร้องตำแหน่ง “กษัตริย์ในปรัสเซีย” ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1701 จากสมเด็จพระจักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นการแลกเปลี่ยนกับการเป็นพันธมิตรในการต่อสู้กับฝรั่งเศสในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน (War of the Spanish Succession) ตำแหน่งนี้มาเป็นตำแหน่งทางการใน สนธิสัญญาอูเทร็คท์ ค.ศ. 1713
  • ค.ศ. 1701-1740: ความเจริญเติบโตของอาณาจักร
ราชอาณาปรัสเซียที่ก่อตั้งใหม่เป็นราชอาณาจักรที่ยังยากจนเพราะการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากสงครามสามสิบปี และดินแดนกระจัดกระจายไปกว่า 1,200 ตารางกิโลเมตร จากแคว้นปรัสเซียทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติกไปจนถึงใจกลางดินแดนโฮเฮนโซลเลิร์นของแคว้นบรานเดนบวร์ก และบางส่วนของแคว้นคลีฟบริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ ในปี ค.ศ. 1708 หนึ่งในสามของประชากรเสียชีวิตไประหว่างกาฬโรคระบาดในยุโรป โรคระบาดมาถึงเพร็นซเลา ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1710 แต่ก็มิได้ขยายต่อไปถึงเบอร์ลินซึ่งอยู่เพียง 80 กิโลเมตรจาก เพร็นซเลา
การพ่ายแพ้ของราชอาณาจักรสวีเดนต่อจักรวรรดิรัสเซีย, แคว้นแซ็กโซนี, จักรภพโปแลนด์–ลิธูเอเนีย, เดนมาร์ก–นอร์เวย์, แคว้นฮาโนเวอร์ และปรัสเซียในมหาสงครามเหนือระหว่างปี ค.ศ. 1700 ถึงปี ค.ศ. 1721 เป็นการสิ้นสุดของอำนาจของสวีเดนทางใต้ของทะเลบอลติก ในการลงนามในสนธิสัญญาสตอกโฮล์มในเดือนมกราคม ค.ศ. 1720 ปรัสเซียได้รับ Szczecin และดินแดนในพอมเมอเรเนียที่สวีเด็นเคยยึดครอง
  • ค.ศ. 1740-1760: สงครามไซลีเซีย
ในปี ค.ศ. 1740 พระเจ้าฟรีดริชมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงใช้ข้ออ้างจากสนธิสัญญา ค.ศ. 1537 (ซึ่งถูกค้านโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในการรุกรานไซลีเซีย สนธิสัญญากล่าวว่าส่วนหนึ่งของไซลีเซียจะกลายเป็นของแคว้นบรานเดนบวร์กหลังจากที่ราชวงศ์ไพอาสสิ้นสุดลง การรุกรานครั้งนี้เป็นการเริ่มของสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (War of the Austrian Succession) ระหว่างปี ค.ศ. 1740 ถึงปี ค.ศ. 1748 หลังจากทรงยึดครองไซลีเซียได้อย่างรวดเร็วแล้ว พระเจ้าฟริดริชก็ทรงเสนอว่าจะทรงพิทักษ์อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทรีซาแห่งออสเตรีย ถ้าทรงยกไซลีเซียให้พระองค์ แต่อาร์ชดัชเชสมาเรียทรงปฏิเสธ แม้ออสเตรียมีปฏิปักษ์หลายด้าน ในที่สุดพระเจ้าฟริดริชจึงได้ดินแดนไซลีเซียอย่างเป็นทางการตาม สนธิสัญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1742
  • ค.ศ. 1772, 1793, 1795: การแบ่งแยกโปแลนด์
  • ค.ศ. 1806-1815: สงครามนโปเลียน
  • ค.ศ. 1815: ปรัสเซียหลังสงครามนโปเลียน
  • ค.ศ. 1848–1871: สงครามรวมเยอรมนี
  • ค.ศ. 1871-1918: ความรุ่งเรืองและความล่มสลายของปรัสเซึย

การรวมชาติเยอรมนี

ในปี ค.ศ. 1862 (พ.ศ. 2405) จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี ได้เรียกตัว ออตโต ฟอน บิสมาร์ค เข้ามารับตำแหน่งเสนาบดี บิสมาร์คหวังอยู่เสมอในการรวบรวมเยอรมนีให้เป็นปึกแผ่น และต้องการให้เยอรมนีเป็นประเทศที่เข้มแข็งให้ได้ ดังนั้นการที่จะรวมเยอรมนีให้ได้จะต้องกำจัดอิทธิพลของมหาอำนาจภายนอกและจะต้องทำให้ปรัสเซียเป็นผู้นำในการรวมเยอรมนี ไม่ใช่ออสเตรีย ถึงแม้ว่าออสเตรียจะเป็นแคว้นเยอรมนีเหมือนกันแต่ออสเตรียได้ไปแย่งชิง ดินแดนต่างๆที่ไม่ใช่เยอรมัน เช่น ฮังการี โบฮีเมีย เป็นต้น ทำให้ในสายตาของรัฐเยอรมนี อื่นๆ ออสเตรียเป็นเหมือนกับเยอรมันไม่แท้ไป และจำเป็น ต้องผูกมิตรกับมหาอำนาจอื่นๆ เช่น อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นต้น ในการรวมเยอรมนีนั้นทำให้เกิดสงครามใหญ่ๆถึง 3 ครั้ง คือ

  • สงครามกับเดนมาร์กเพื่อแย่งชิง แคว้น ชเลสวิก-โฮลสไตน์ บิสมาร์คอ้างว่าเพื่อปกป้องชายเยอรมันที่อยู่ใน 2 แคว้นนี้ และเมื่อสงครามเริ่มขึ้น

ปรัสเซียก็ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วในการบุกเดนมาร์ก เมื่อเดนมาร์กสู้ไม่ได้จึงยอมยก ชเลสวิก ให้ปรัสเซีย โฮลสไตน์ ให้ออสเตรีย ในสนธิสัญญาแกลสไตน์ ในปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864)

  • สงครามกับออสเตรีย หรือ สงครามออสโตร-ปรัสเซียน สงครามนี้เกิดขึ้นเมื่อปรัสเซียกล่าวหาว่า ออสเตรีย ดูแล โฮลสไตน์ ไม่ดี และ ออสเตรีย

กล่าวหาว่า ปรัสเซีย ยุยงพลเมืองของ โฮลสไตน์ ให้ต่อต้าน ออสเตรีย เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันเอง ดังนั้นสงครามจึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ก่อน ที่ ปรัสเซีย จะประกาศสงครามกับ ออสเตรีย นั้นปรัสเซียได้ดำเนินนโยบายทางทูตต่อประเทศข้างเคียงเพื่อมิให้ประเทศเหล่านั้นฉวยโอกาส เช่น การตกลงกับ พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส บิสมาร์คได้ขอร้องให้พระองค์ทรงวางตัวเป็นกลางไม่ต้องสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ฝ่ายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส นั้นหวังของตอบแทนในความเป็นกลางของพระองค์ทั้งจาก ปรัสเซีย และ ออสเตรีย ดังนั้นพระองค์จึงตอบตกลง นอกจาก นี้นั้น ปรัสเซีย ได้ทำสัญญากับอิตาลีอีกด้วย ข้างฝ่าย ออสเตรีย เมื่อรู้ตัวว่าจะต้องมีสงครามอย่างแน่นอน ออสเตรีย ได้ยุยงให้แคว้นต่างๆของ เยอรมนี ให้ไม่สนับสนุนปรัสเซียหากมีสงคราม และในไม่ช้าออสเตรียจึงเริ่มประกาศระดมพล ฝ่ายปรัสเซียนั้นรู้อยู่ก่อนแล้วว่าจะต้องมีสงครามแน่นอน พระเจ้า วิลเฮล์ม ที่ 1 ได้ประกาศระดมพลก่อน ออสเตรีย เป็นเวลาถึง 3 อาทิตย์ ดังนั้นปรัสเซียจึงได้เปรียบมากกว่าออสเตรีย และเมื่อทั้งสอง ประกาศสงครามต่อกัน ปรัสเซียก็เริ่มบุกและเป็นฝ่ายได้เปรียบตั้งแต่ยกแรก ฝ่ายออสเตรียเป็นฝ่ายรับได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญแต่ไม่อาจจะสู้กองทัพ ของปรัสเซียได้จึงได้แต่ถอย และเมื่อกองทัพของปรัสเซียเคลื่อนทัพเข้ามาใกล้กรุงเวียนนา ออสเตรีย จึง ยอมทำสนธิสัญญาปราค ผลของสงคราม

ครั้งนี้ ออสเตรียไม่ได้เสียดินแดนต่างๆ หากแต่เสียสิทธิและถูกขับออกจากสมาพันธ์รัฐเยอรมนี ฝ่ายปรัสเซียก็ได้รวมรัฐเยอรมนีต่างๆเข้ามาเป็น สมาพันธ์รัฐเยอรมนีเหนือ ขึ้น ในปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866)

  • สงครามกับฝรั่งเศส หรือ ฟรังโก - ปรัสเซียน เนื่องจากฝรั่งเศสพ่ายแพ้ปรัสเซียทางการทูตอยู่เสมอๆ และมีปัญหาเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติในสเปน

ฝรั่งเศสจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับปรัสเซีย สงครามครั้งนี้ ปรัสเซีย มีชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทำให้ ชาวฝรั่งเศส ได้ขับไล่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ออกจากราชสมบัติ และร่วมก่อตั้ง สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ขึ้น และทำให้ ปรัสเซียได้เป็นมหาอำนาจอันดับต้นๆในยุโรปและพระเจ้าวิลเฮล์ม ที่ 1 ได้ประกาศจัดตั้ง จักรวรรดิเยอรมนี ขึ้นและสถาปนา ตนเองขึ้นเป็น ไกเซอร์(จักรพรรดิ)แห่ง เยอรมนี และสถาปนา บิสมาร์ค ให้เป็น เจ้าชาย และ อัครมหาเสนาบดี ณ พระราชวังแวร์ซาย ในปี พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) หลังจากนั้น แคว้นมัคเลนบวร์ก บาวาเรีย บาเดน เวอร์ทเท็มแบร์ก และ แซ็กโซนี ก็ขอเข้าร่วมกับ จักรวรรดิเยอรมัน

ราชอาณาจักรปรัสเซียก่อน พ.ศ. 2448

ดูเพิ่ม

แม่แบบ:Link FA