ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฉินหนง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
เพื่อให้ประชาชนมีความสนุกสนานหลังใช้แรงงานแล้ว เสินหนง ได้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งเรียกว่า "อู่เสียนฉิน" หรือ พิณ 5 สาย ที่มีเสียงไพเราะน่าฟัง
เพื่อให้ประชาชนมีความสนุกสนานหลังใช้แรงงานแล้ว เสินหนง ได้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งเรียกว่า "อู่เสียนฉิน" หรือ พิณ 5 สาย ที่มีเสียงไพเราะน่าฟัง


เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านานถึง 140 ปี ภายหลัง[[หวงตี้]]ได้เข้าครองตำแหน่งการปกครองต่อมา ส่วนสุสานของเสินหนงอยู่ที่เมืองฉางซาของ[[มณฑลหูหนาน]]ในปัจจุบัน แต่คนทั่วไปเรียกว่า [[สุสานเหยียนตี้]]<ref>[http://www.lks.ac.th/teacher/chiness/CHN%20history/shennongsi.html เสินหนงสื้อ ]</ref>
เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านานถึง 140 ปี ภายหลัง[[หวงตี้]]ได้เข้าครองตำแหน่งการปกครองต่อมา ส่วนสุสานของเสินหนงอยู่ที่เมือง[[ฉางซา]]ของ[[มณฑลหูหนาน]]ในปัจจุบัน แต่คนทั่วไปเรียกว่า [[สุสานเหยียนตี้]]<ref>[http://www.lks.ac.th/teacher/chiness/CHN%20history/shennongsi.html เสินหนงสื้อ ]</ref>


==ดูเพิ่ม==
==ดูเพิ่ม==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:16, 26 พฤษภาคม 2554

ภาพวาดเสินหนงทดสอบคุณสมบัติของสมุนไพร

เสินหนง (อังกฤษ: Shennong; จีน: 神農; พินอิน: Shénnóng; สำเนียงแต้จิ๋ว: ซิ่งล้ง, สำเนียงฮกเกี้ยน: สินเหน่ง) กษัตริย์ในตำนานของจีน ในยุคเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า เสินหนงสื่อ (จีนตัวเต็ม: 神農氏, จีนตัวย่อ: 神农氏, พินอิน: Shén nóng shì) โดยมีความหมายว่า "เทพเจ้าแห่งชาวนา"

เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่าแซ่เจียง เมื่อ 5,000 ปี ก่อน ได้ร่วมทำไร่ไถนากับชาวบ้านสามัญชน และเป็นผู้คิดประดิษฐ์คันไถด้วยไม้และสอนให้ผู้คนรู้จักการปลูกข้าว ทำไร่ไถนา ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรเป็นอย่างมาก ด้วยคุณงามความดีทางด้านการเพาะปลูก ผู้คนทั้งหลายจึงให้ความเคารพนับถือมาก

สมัยเสินหนงเป็นระยะแรกเป็นไปเป็นแบบลูกชายสืบทอดเชื้อสายจากสายของพ่อ ประชาชนอยู่ด้วยกันอย่างปรองดองไม่มีการกดขี่ขูดรีด ตามบันทึกของจีนบันทึกไว้ว่า ในช่วงที่เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านั้น แบ่งหน้าที่ตามสถานะทางเพศชัดเจน ผู้ชายออกจากบ้านไปทำไร่ไถนา ผู้หญิงทอผ้าในบ้าน การปกครองประเทศไม่ต้องมีเรือนจำและการลงโทษ และก็ไม่ต้องมีการทหารและตำรวจ

แต่คุณูปการที่สำคัญยิ่งของเสินหนงได้แก่ การเสาะหาสมุนไพรตาม ป่าเขา เพื่อใช้รักษาโรคของผู้คนทั้งหลายและในการทดสอบสรรพคุณ ของสมุนไพรว่า จะรักษาโรคเช่นไรได้ เสินหนงได้ใช้ตนเองเป็นเครื่องทดลอง ด้วยการลองกินสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ดูว่า จะมีผลต่อร่างกายอย่างไร จึงถูกพิษเล่นงานบ่อยครั้งจนกระทั่งบางวันเป็นพิษถึง 70 กว่าครั้งภายในวันเดียว กล่าวกันว่าเสินหนงยังได้แต่งหนังสือชื่อ "เสินหนงไป๋ฉ่าว" แปลว่า "ยาสมุนไพรเสินหนง" โดยได้จดบันทึกใบสั่งยาสมุนไพรที่รักษาโรคแต่ละอย่างไว้ จึงอาจถือได้ว่าเป็นตำราทางการแพทย์เล่มแรกของโลกก็ว่าได้

นอกจากนี้แล้ว เสินหนงเป็นคนแรกที่รู้จักการดื่มน้ำชา เล่ากันว่า เสินหนงดื่มเฉพาะน้ำต้มสุก วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่ ปรากฏว่า ลมได้พัดโบกใบชาร่วง หล่นลงในน้ำที่ใกล้เดือดพอดีเมื่อลองดื่มดูก็เกิดความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก จึงเป็นที่ของวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวจีนจนปัจจุบัน

ในทางด้านวิทยาการ เสินหนง ยังเป็นนักปฏิทินดาราศาสตร์ ได้ปรับปรุงและขยาย "แผนภูมิปากั้ว" หรือ "แผนภูมิ 8" ที่ "ฝูซี" (伏羲) เป็นผู้คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงปรากฏการณ์ของธรรมชาติและปรากฏการณ์ของมนุษย์ต่าง ๆ มาเป็น "ลิ่วสือซื่อกั้ว" หรือ "แผนภูมิ 64" ตั้งชื่อว่า "กุยฉาง" ซึ่งนอกจากใช้บันทึกเหตุการณ์ แล้ว ยังนำมาใช้ในการเสี่ยงทายได้ด้วย (ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นอี้จิง หรือ โจวอี้) นอกจากนั้น เมื่อเสินหนงเห็นคนบางคนต้องการสิ่งของที่ตนเองผลิตไม่เป็น แต่บางคนกลับมีเกินความจำเป็น ทำให้การดำรงชีวิตไม่สะดวกสมดุล จึงเสนอให้ประชาชนนำสิ่งของของตนไปแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และให้มีการค้าขายกัน จึงถือได้ว่าระบบเศรษฐกิจของจีนถือกำเนิดมาในยุคนี้เอง

เพื่อให้ประชาชนมีความสนุกสนานหลังใช้แรงงานแล้ว เสินหนง ได้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งเรียกว่า "อู่เสียนฉิน" หรือ พิณ 5 สาย ที่มีเสียงไพเราะน่าฟัง

เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านานถึง 140 ปี ภายหลังหวงตี้ได้เข้าครองตำแหน่งการปกครองต่อมา ส่วนสุสานของเสินหนงอยู่ที่เมืองฉางซาของมณฑลหูหนานในปัจจุบัน แต่คนทั่วไปเรียกว่า สุสานเหยียนตี้[1]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง