ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชีวิตอารามวาสี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แปลจากวิกิ Eng
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{ใช้ปีคศ|width=280px}}
{{ใช้ปีคศ|width=280px}}
[[ไฟล์:Katharinenkloster Sinai BW 2.jpg|thumb|280px|[[อารามเซนต์แคทเธอรินแห่งไซนาย]]ใน[[อียิปต์]] ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565]]
[[ไฟล์:Katharinenkloster Sinai BW 2.jpg|thumb|280px|[[อารามเซนต์แคทเธอรินแห่งไซนาย]]ใน[[อียิปต์]] ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565]]
'''ชีวิตอารามวาสี'''<ref name="พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน">สมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, ''พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน'', นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27</ref><ref>''บัญญัติศัพท์'', สำนักมิสซังกรุงเทพ, หน้า 21</ref> ({{lang-en|'''Monasticism'''}}) <ref>CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Monasticism [http://www.newadvent.org/cathen/10459a.htm]</ref> ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “ชีวิตอารามวาสี” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monasticism” ที่มาจาก[[ภาษากรีก]] “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเลือกที่จะสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม ที่มาของคำนี้มาจากภาษากรีกโบราณและเป็นปรัชญาที่เกี่ยวกับนักบวชใน[[คริสต์ศาสนา]] ในวัฒนธรรมคริสเตียนผู้ที่เลือกใช้ชีวิตอารามวาสีถ้าเป็นชายก็เรียกว่า[[นักพรต]] (monk) หรือ[[บราเดอร์]] (brethren - brothers) ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่า[[นักพรตหญิง]]หรือ[[ชี]] (nun) หรือ[[ซิสเตอร์]] (sister) นักพรตทั้งชายและหญิงอาจจะเรียกว่าอารามิกชน (monastics)
'''ชีวิตอารามวาสี'''<ref name="พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน">สมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, ''พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน'', นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27</ref><ref>''บัญญัติศัพท์'', สำนักมิสซังกรุงเทพ, หน้า 21</ref> ({{lang-en|'''Monasticism'''}}) <ref>CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Monasticism [http://www.newadvent.org/cathen/10459a.htm]</ref> ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “ชีวิตอารามวาสี” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monasticism” ที่มาจาก[[ภาษากรีก]] “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเลือกที่จะสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม ที่มาของคำนี้มาจากภาษากรีกโบราณและเป็นปรัชญาที่เกี่ยวกับนักบวชใน[[คริสต์ศาสนา]] ในวัฒนธรรมคริสเตียนผู้ที่เลือกใช้ชีวิตอารามวาสีถ้าเป็นชายก็เรียกว่า[[นักพรต]] (monk) หรือ[[ภราดา]] (brethren - brothers) ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่า[[ภคินี]] (sister) หรือ[[ชี]] (nun) นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics)


ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะใน[[พุทธศาสนา]] และรวมทั้ง[[ศาสนาเต๋า]] [[ศาสนาฮินดู]] และ[[ศาสนาเชน]] แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก
ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะใน[[พุทธศาสนา]] และรวมทั้ง[[ศาสนาเต๋า]] [[ศาสนาฮินดู]] และ[[ศาสนาเชน]] แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก


== ชีวิตอารามวาสีในพุทธศาสนา ==
== ชีวิตอารามวาสีแบบพุทธศาสนา ==
{{Main|ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาพุทธ}}
สำหรับชีวิตอารามวาสี[[พุทธศาสนา]]ใน[[ประเทศไทย]] ระบบสำนักสงฆ์อาจหมายความถึง[[วัด]]หรืออาราม (ที่ยังไม่ได้รับพระราชทานที่[[วิสุงคามสีมา]]) ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่อยู่จำพรรษาของ[[พระสงฆ์]] ซึ่งแบ่งเป็นสำนักที่มีพระสงฆ์จำพรรษาจำนวนมากเพียงพอ 5 รูปขึ้นไป และได้ตั้งวัดโดยกฎหมายคณะสงฆ์แล้วจะเรียกว่า '''วัด''' ซึ่งหากมีพระสงฆ์น้อยกว่านั้น จะไม่สามารถตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายคณะสงฆ์ไทยได้ วัดเหล่านั้นจะถูกเรียกว่า '''ระบบสำนักสงฆ์''' หรือ '''ที่พักสงฆ์'''
คณะสงฆ์คือคณะ[[นักพรต]]ที่เป็นพระ[[ภิกษุ]]และ[[ภิกษุณี]]ที่พระพุทธเจ้าทรงก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว แนววิถีชุมชนนักพรตนี้ได้พัฒนามากจากลัทธิของดาบสที่แพร่หลายอยู่ก่อนซึ่งพระพุทธเจ้าได้เคยศึกษามาตั้งแต่ก่อนบำเพ็ญทุกรกิริยา (คือสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส) ในช่วงแรกพระสงฆ์มักใช้ชีวิตอย่าง[[ฤๅษี]]หรืออาศัยอยู่โดดเดี่ยวเป็นปกติ ถือครองทรัพย์สินน้อยที่สุดคือเพียงเครื่อง[[อัฐบริขาร]]และยังชีพด้วยปัจจัยที่ชาวบ้านถวายให้<ref name="bhikku">[http://en.dhammadana.org/sangha/monks.htm What is a bhikkhu?]</ref> ลูกศิษย์ที่เป็นฆราวาสก็ต้องจัดหาภัตตาหารในแต่ละวันและกุฏิง่ายๆ ให้ท่านเมื่อท่านต้องการ<ref name="bhikku"/>


[[Image:Young monks of Drepung.jpg|thumb|300px|ภิกษุในธิเบต]]
ในสมัย[[พุทธกาล]] ระบบสำนักสงฆ์เรียกว่า อาราม ซึ่งสำนักใดมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่มาก จะถูกเรียกว่าวิหาร หรือมหาวิหาร เช่น [[วัดเวฬุวันมหาวิหาร]]<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค วักกลิสูตร. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=2680&Z=2799]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52</ref>
ภายหลังการเสด้จดับขันธปรินิพพาน คณะสงฆ์เริ่มพัฒนามาเป็นคณะนักพรตแบบอยู่รวมกลุ่ม (cenobite) โดยสันนิษฐานว่ามีต้นเค้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาในอารามตลอดหน้าฝน จนค่อยๆ พัฒนามาเป็นการอยู่ประจำรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนนักปฏิบัติ พระวินัยที่ภิกษุและภิกษุณีรักษากันซึ่งเรียกว่า "[[ปาฏิโมกข์]]" ก็แสดงถึงระเบียบในการดำรงชีวิตร่วมกันเป็นชุมชนในอาราม จำนวนสิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีก็แตกต่างกัน ในนิกายเถรวาทภิกษุต้องรักษาสิกขาบท 227 ข้อ ส่วนภิกษุณีต้องรักษามากกว่าเป็น 311 ข้อ<ref>[http://www.buddhistchannel.tv/index.php?id=70,8074,0,0,1,0 The Bhikkhuni question]</ref>


ชีวิตอารามวาสีแบบพุทธศาสนาได้แพร่หลายจากอินเดียไปยัง[[ตะวันออกกลาง]]และโลก[[ตะวันตก]]ด้วย ปรากฏว่าวิถีชีวิตแบบนี้ได้มีส่วนส่งเสริมให้ประชาชนอ่านออกเขียนได้ แม้แต่[[ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์]]เมื่อได้แพร่มาถึงดินแดนที่[[พระเจ้าอโศก]]ทรงเคยส่ง[[มิชชันนารี|ธรรมทูต]]มาก็ยังเจริญรอยตามแนวทางนี้
== ชีวิตอารามวาสีในคริสต์ศาสนา ==

{{Main|ระบบสำนักสงฆ์ของคริสต์ศาสนา}}
คณะสงฆ์ประกอบด้วยภิกษุบริษัทและภิกษุณีบริษัท โดยในระยะแรกยังมีเฉพาะภิกษุเท่านั้น ภิกษุณีเกิดภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าประทานพระอนุญาตให้[[พระนางปชาบดีโคตมี]]และเจ้าหญิงศากยะอื่นรับอุปสมบทได้

ทั้งภิกษุและภิกษุณีต้องรับบทบาทหลายอย่าง ประการแรกและสำคัญที่สุดคือการรักษาพระธรรมวินัย (ปัจจุบันเรียกว่าพระพุทธศาสนา) ต้องเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตให้แก่ฆราวาส และเป็น "นาบุญ" เพื่อให้เหล่าอุบาสกและอุบาสิกาในศาสนาได้มีโอกาสทำบุญ ในทางกลับกันเพื่อประโยชน์ของฆราวาส พระสงฆ์ต้องถือวัตรเคร่งครัดในการศึกษา[[พระธรรม]] เจริญ[[สมาธิ]] และรักษาสุจริตธรรม<ref name="bhikku"/>

ก่อนบวชเป็นภิกษุ (ภาษาบาลีเรียกว่าภิกขุ) กุลบุตรต้องได้บวชเป็น[[สามเณร]]มาก่อน ซึ่งส่วนมากสามเณรจะบรรพชากันตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ตามปกติก็จะไม่น้อยกว่าอายุ 8 ปี สามเณรต้องรักษาศีล 10 ข้อ ส่วนการอุปสมบทซึ่งใช้เรียกการบวชเป็นภิกษุจะทำได้เมื่ออายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป กรณีภิกษุณีก็มีขั้นตอนอย่างเดียวกันแต่จะต้องใช้เวลาเป็นสามเณรีนานถึง 5 ปี.

สิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีจะเน้นให้ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย สละทางโลกหรือเป็น[[พรตนิยม]] โดยเฉพาะการเว้นจากเพศสัมพันธ์ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของพระวินัย

== ชีวิตอารามวาสีแบบคริสต์ศาสนา ==
{{Main|ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์}}
ชีวิตอารามวาสีในคริสต์ศาสนามาจากคำว่า “[[นักพรต]]” และ “[[อาราม]]” ที่มีระบบแตกต่างจากกันเป็นหลายแบบ ชีวิตอารามวาสีก่อตั้งขึ้นไม่นานหลังจากการเริ่มต้นของ[[คริสต์ศาสนา]]ตามตัวอย่างและปรัชญาที่กล่าวถึงใน[[พันธสัญญาเดิม]]และ[[พันธสัญญาใหม่]]แต่ยังมิได้ระบุแยกเป็นสถาบันต่างหากในพระคัมภีร์ ต่อมาชีวิตอารามวาสีจึงได้มีการก่อตั้งบทบัญญัติเป็นวินัยนักบวช (religious rules) ในหมู่ผู้ติดตามเช่น[[วินัยของนักบุญบาซิล]] (Rule of St Basil) หรือ[[วินัยของนักบุญเบเนดิกต์]] ในสมัยปัจจุบันกฎ[[คริสตจักร]]ของบางนิกายอาจจะระบุรูปแบบการใช้ชีวิต[[นักพรต]]
ชีวิตอารามวาสีในคริสต์ศาสนามาจากคำว่า “[[นักพรต]]” และ “[[อาราม]]” ที่มีระบบแตกต่างจากกันเป็นหลายแบบ ชีวิตอารามวาสีก่อตั้งขึ้นไม่นานหลังจากการเริ่มต้นของ[[คริสต์ศาสนา]]ตามตัวอย่างและปรัชญาที่กล่าวถึงใน[[พันธสัญญาเดิม]]และ[[พันธสัญญาใหม่]]แต่ยังมิได้ระบุแยกเป็นสถาบันต่างหากในพระคัมภีร์ ต่อมาชีวิตอารามวาสีจึงได้มีการก่อตั้งบทบัญญัติเป็นวินัยนักบวช (religious rules) ในหมู่ผู้ติดตามเช่น[[วินัยของนักบุญบาซิล]] (Rule of St Basil) หรือ[[วินัยของนักบุญเบเนดิกต์]] ในสมัยปัจจุบันกฎ[[คริสตจักร]]ของบางนิกายอาจจะระบุรูปแบบการใช้ชีวิต[[นักพรต]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:49, 20 พฤษภาคม 2554

อารามเซนต์แคทเธอรินแห่งไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565

ชีวิตอารามวาสี[1][2] (อังกฤษ: Monasticism) [3] ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “ชีวิตอารามวาสี” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monasticism” ที่มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเลือกที่จะสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม ที่มาของคำนี้มาจากภาษากรีกโบราณและเป็นปรัชญาที่เกี่ยวกับนักบวชในคริสต์ศาสนา ในวัฒนธรรมคริสเตียนผู้ที่เลือกใช้ชีวิตอารามวาสีถ้าเป็นชายก็เรียกว่านักพรต (monk) หรือภราดา (brethren - brothers) ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่าภคินี (sister) หรือชี (nun) นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics)

ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะในพุทธศาสนา และรวมทั้งศาสนาเต๋า ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก

ชีวิตอารามวาสีแบบพุทธศาสนา

คณะสงฆ์คือคณะนักพรตที่เป็นพระภิกษุและภิกษุณีที่พระพุทธเจ้าทรงก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว แนววิถีชุมชนนักพรตนี้ได้พัฒนามากจากลัทธิของดาบสที่แพร่หลายอยู่ก่อนซึ่งพระพุทธเจ้าได้เคยศึกษามาตั้งแต่ก่อนบำเพ็ญทุกรกิริยา (คือสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส) ในช่วงแรกพระสงฆ์มักใช้ชีวิตอย่างฤๅษีหรืออาศัยอยู่โดดเดี่ยวเป็นปกติ ถือครองทรัพย์สินน้อยที่สุดคือเพียงเครื่องอัฐบริขารและยังชีพด้วยปัจจัยที่ชาวบ้านถวายให้[4] ลูกศิษย์ที่เป็นฆราวาสก็ต้องจัดหาภัตตาหารในแต่ละวันและกุฏิง่ายๆ ให้ท่านเมื่อท่านต้องการ[4]

ภิกษุในธิเบต

ภายหลังการเสด้จดับขันธปรินิพพาน คณะสงฆ์เริ่มพัฒนามาเป็นคณะนักพรตแบบอยู่รวมกลุ่ม (cenobite) โดยสันนิษฐานว่ามีต้นเค้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาในอารามตลอดหน้าฝน จนค่อยๆ พัฒนามาเป็นการอยู่ประจำรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนนักปฏิบัติ พระวินัยที่ภิกษุและภิกษุณีรักษากันซึ่งเรียกว่า "ปาฏิโมกข์" ก็แสดงถึงระเบียบในการดำรงชีวิตร่วมกันเป็นชุมชนในอาราม จำนวนสิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีก็แตกต่างกัน ในนิกายเถรวาทภิกษุต้องรักษาสิกขาบท 227 ข้อ ส่วนภิกษุณีต้องรักษามากกว่าเป็น 311 ข้อ[5]

ชีวิตอารามวาสีแบบพุทธศาสนาได้แพร่หลายจากอินเดียไปยังตะวันออกกลางและโลกตะวันตกด้วย ปรากฏว่าวิถีชีวิตแบบนี้ได้มีส่วนส่งเสริมให้ประชาชนอ่านออกเขียนได้ แม้แต่ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์เมื่อได้แพร่มาถึงดินแดนที่พระเจ้าอโศกทรงเคยส่งธรรมทูตมาก็ยังเจริญรอยตามแนวทางนี้

คณะสงฆ์ประกอบด้วยภิกษุบริษัทและภิกษุณีบริษัท โดยในระยะแรกยังมีเฉพาะภิกษุเท่านั้น ภิกษุณีเกิดภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าประทานพระอนุญาตให้พระนางปชาบดีโคตมีและเจ้าหญิงศากยะอื่นรับอุปสมบทได้

ทั้งภิกษุและภิกษุณีต้องรับบทบาทหลายอย่าง ประการแรกและสำคัญที่สุดคือการรักษาพระธรรมวินัย (ปัจจุบันเรียกว่าพระพุทธศาสนา) ต้องเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตให้แก่ฆราวาส และเป็น "นาบุญ" เพื่อให้เหล่าอุบาสกและอุบาสิกาในศาสนาได้มีโอกาสทำบุญ ในทางกลับกันเพื่อประโยชน์ของฆราวาส พระสงฆ์ต้องถือวัตรเคร่งครัดในการศึกษาพระธรรม เจริญสมาธิ และรักษาสุจริตธรรม[4]

ก่อนบวชเป็นภิกษุ (ภาษาบาลีเรียกว่าภิกขุ) กุลบุตรต้องได้บวชเป็นสามเณรมาก่อน ซึ่งส่วนมากสามเณรจะบรรพชากันตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ตามปกติก็จะไม่น้อยกว่าอายุ 8 ปี สามเณรต้องรักษาศีล 10 ข้อ ส่วนการอุปสมบทซึ่งใช้เรียกการบวชเป็นภิกษุจะทำได้เมื่ออายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป กรณีภิกษุณีก็มีขั้นตอนอย่างเดียวกันแต่จะต้องใช้เวลาเป็นสามเณรีนานถึง 5 ปี.

สิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีจะเน้นให้ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย สละทางโลกหรือเป็นพรตนิยม โดยเฉพาะการเว้นจากเพศสัมพันธ์ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของพระวินัย

ชีวิตอารามวาสีแบบคริสต์ศาสนา

ชีวิตอารามวาสีในคริสต์ศาสนามาจากคำว่า “นักพรต” และ “อาราม” ที่มีระบบแตกต่างจากกันเป็นหลายแบบ ชีวิตอารามวาสีก่อตั้งขึ้นไม่นานหลังจากการเริ่มต้นของคริสต์ศาสนาตามตัวอย่างและปรัชญาที่กล่าวถึงในพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่แต่ยังมิได้ระบุแยกเป็นสถาบันต่างหากในพระคัมภีร์ ต่อมาชีวิตอารามวาสีจึงได้มีการก่อตั้งบทบัญญัติเป็นวินัยนักบวช (religious rules) ในหมู่ผู้ติดตามเช่นวินัยของนักบุญบาซิล (Rule of St Basil) หรือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ ในสมัยปัจจุบันกฎคริสตจักรของบางนิกายอาจจะระบุรูปแบบการใช้ชีวิตนักพรต

อารามในคริสต์ศาสนาเป็นวิถีชีวิตที่อุทิศให้แก่พระเจ้าเพื่อการบรรลุชีวิตนิรันดร์ (eternal life) ระหว่างการเทศนาบนภูเขา (Sermon on the Mount) ในหัวข้อพระพรมหัศจรรย์ (Beatitudes) หรือการดำเนินชีวิตตามกฎของพระเจ้า พระเยซูทรงเทศนาต่อกลุ่มชนที่มาฟังให้ “เป็นคนดีรอบคอบ เหมือนอย่างพระบิดา...ผู้ทรงสถิตในสวรรค์เป็นผู้ดีรอบคอบ” (แม็ทธิว 5:48[6]) และทรงกล่าวเชิญชวนอัครสาวกของพระองค์ให้ปฏิญาณความเป็นโสดโดยตรัสว่า “ผู้ที่กระทำตัวเองให้เป็นขันทีเพราะเห็นแก่อาณาจักรแห่งสวรรค์ก็มี ใครถือได้ก็ให้ถือเอาเถิด” (แม็ทธิว 19:12[7]) และเมื่อทรงถูกถามว่าจะต้องทำอย่างใดนอกจากปฏิบัติตามพระบัญญัติที่จะทำให้ “บรรลุชีวิตนิรันดร์” พระองค์ก็ทรงแนะว่าให้สละทรัพย์สมบัติและใช้ชีวิตอย่างสมถะ (แม็ทธิว 19:16-22[8], มาร์ค 10:17-22[9] และ ลูค 18:18-23[10])

ในพันธสัญญาใหม่ก็เริ่มมีหลักฐานที่กล่าวถึงการใช้ชีวิตนักพรต โดยการตระเวนช่วยเหลือแม่หม้ายและสตรี ในซีเรียและต่อมาในอียิปต์ผู้นับถือคริสต์ศาสนาบางคนก็มีความรู้สึกว่าถูกเรียกให้ไปใช้ชีวิตอย่างสันโดษเพื่อเพิ่มความศรัทธาและเข้าถึงพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้นโดยการออกไปใช้ชีวิตอย่างสันโดษกลางทะเลทราย นักบุญแอทธานาเซียสแห่งอเล็กซานเดรีย (Athanasius of Alexandria) กล่าวถึงนักบุญแอนโทนีอธิการว่าเป็นนักบวชองค์แรกๆ ที่ออกไปใช้ชีวิตอย่าง “นักพรตฤๅษี” (Hermit monk) และทำให้ชีวิตอารามวาสีเป็นที่แพร่หลายในอียิปต์ ชีวิตอารามวาสีแพร่หลายทั่วไปในตะวันออกกลางมาจนกระทั่งเมื่อความนิยมในการนับถือคริสต์ศาสนาในซีเรียมาลดถอยลงในยุคกลาง

เมื่อผู้ประสงค์จะใช้ชีวิตอย่างสันโดษเริ่มรวมตัวเข้าด้วยกันมากขึ้น ความจำเป็นในการที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ในชุมนุมนักบวชก็เพิ่มมากขึ้น ราวปี ค.ศ. 318 นักบุญพาโคเมียส (Pachomius) ก็เริ่มจัดกลุ่มผู้ติดตามที่กลายมาเป็นอารามแบบหมู่คณะต่อมา ซึ่งเรียกว่าคณะนักบวชอารามิก (monastic order) ไม่นานนักก็มีการก่อตั้งสถาบันอื่นๆ ในลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วไปในทะเลทรายในอียิปต์และทางตะวันออกของจักรวรรดิโรมัน ชีวิตอารามวาสีในตะวันออกกลางที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ได้แก่:

ทางตะวันตกการวิวัฒนาการของชีวิตอารามวาสีที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นเมื่อวินัยของชุมชนอารามได้รับการบันทึกเป็นตัวอักษร วินัยที่เชื่อกันว่าเป็นกฎแรกที่มีการบันทึกคือวินัยของนักบุญบาซิลแต่เวลาที่เขียนไม่เป็นที่ทราบแน่นอน เชื่อกันว่าวินัยของนักบุญบาซิลเป็นวินัยที่เป็นพื้นฐานของวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ที่เขียนโดยนักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซียเพื่อใช้ในอารามที่มอนเตคัสซิโนในอิตาลีราวปี ค.ศ. 529 และใช้ในคณะเบเนดิกตินซึ่งเป็นคณะนักบวชอารามิกที่ท่านตั้งขึ้น วินัยฉบับนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายที่สุดในยุคกลางของยุโรป ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันก็มีวินัยของนักบุญออกัสตินโดยนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป แต่ก็เป็นเพียงระยะเวลาอันสั้น เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ก็มีคณะนักบวชคาทอลิกใหม่ๆ ก่อตั้งขึ้นอีกหลายคณะ เช่น ลัทธิฟรานซิสกัน คณะคาร์เมไลท์ และคณะดอมินิกัน แต่คณะเหล่านี้เลือกที่จะตั้งอารามในเมืองแทนที่จะไปตั้งห่างไกลจากชุมชน

ชีวิตอารามวาสีในคริสต์ศาสนาก็ยังวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้แม้แต่ในโปรเตสแตนต์ในสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง

  1. สมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27
  2. บัญญัติศัพท์, สำนักมิสซังกรุงเทพ, หน้า 21
  3. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Monasticism [1]
  4. 4.0 4.1 4.2 What is a bhikkhu?
  5. The Bhikkhuni question
  6. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญมัทธิว 5
  7. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญมัทธิว 19
  8. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญมัทธิว 19
  9. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญมาระโก 10
  10. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญลูกา 18

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น