ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลี่ยม บุนนาค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
ลบภาพ "ท่านเลี่ยมบุณนาค.jpg", ซึ่งถูกลบที่คอมมอนส์โดย EugeneZelenko เพราะ Missing essential information: source and/or license: s
Kungcho (คุย | ส่วนร่วม)
รูปภาพ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ชีวประวัติ
{{ชีวประวัติ
| ชื่อตัว = เลี่ยม บุนนาค
| ชื่อตัว = เลี่ยม บุนนาค
| ชื่อภาพ =
| ชื่อภาพ =ท่านเลียน บุนนาค.jpg
| คำบรรยายภาพ =ท่านเลี่ยม บุนนาค
| คำบรรยายภาพ =ท่านเลี่ยม บุนนาค
| วันเกิด = -
| วันเกิด = -

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:01, 17 พฤษภาคม 2554

เลี่ยม บุนนาค
ไฟล์:ท่านเลียน บุนนาค.jpg
ท่านเลี่ยม บุนนาค
เกิด-
เสียชีวิต-
สัญชาติไทย
อาชีพ-
องค์การ-
มีชื่อเสียงจากทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

เลี่ยม บุนนาค เป็นธิดาคนที่ 12 ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น สมุหกลาโหม ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกบิดาท่านว่า เจ้าคุณทหารหรือเจ้า คุณกลาโหม มารดาชื่อ ท่านหลี ท่านเลี่ยมได้สมรสกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ต่อมาได้สมรสกับหลวงพรตพิทยพยัต และก็ไม่มีบุตรธิดาเช่นเดียวกันระหว่างที่มีชีวิตอยู่ท่านมักจะมาพักอยู่ที่บ้าน พักอยู่บ้านพักที่หัวตะเข้ (ตั้งอยู่ริมคลองตรงข่ามที่ว่าการเขตลาดกระบัง) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นท้องถิ่นที่ห่างไกล จะเดินทางไปมาได้โดยทางเรือเท่านั้น ระหว่างที่พักอยู่ที่หัวตะเข้ท่านเห็นเด็ก ๆ ชาวหัวตะเข้และลูกหลานชาวนาที่เช่าที่นาของท่านและทำใกล้เคียง เช่น บ้านบึงบัว ลำปะทิว ทับยาว ยังไม่ค่อยได้รับการศึกษา เพราะไม่มีสถานศึกษาระดับมัธยมในย่านนั้นเลย และการเดินทางก็ลำบากประกอบกับท่านเจ้าคุณทหาร เมื่อครั้งมาควบคุมการขุดคลองประเวศบุรีรมย์ผ่านท้องที่ลาดกระบังไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้สังเกตเห็นว่าคนงานที่รับจ้างขุดดินในการ

พิธีมอบที่ดินจากท่านเลี่ยม

ขุดคลองแถวนี้เมื่อเลิกงานก็ดื่มสุรามึนเมาเล่นการพนันทะเลาะวิวาทฆ่าฟันกันตายเป็นเนืองนิจท่านก็ได้ ปรารภกับท่านเลี่ยมเสมอว่า คนพวกนี้ไม่มีอะไรอีกแล้วในชีวิต หากินมาได้ก็กินเหล้า เล่นการพนันหมดซ้ำยังก่อการวิวาทฆ่าฟันกันอีกด้วย ทั้งนี้เพราะว่าขาดการศึกษา [1]

ดังนั้นทางที่จะช่วยคนพวกนี้ได้ก็มีอยู่ทางเดียว คือ ให้การศึกษาแก่บรรดาลูก ๆ หลาน ๆ ของคนพวกนี้เท่านั้น ท่านเจ้าคุณทหารจึงจับจองที่ดินในบริเวณริมคลองที่ขุดขึ้นประมาณ 1,500 ไร่ โดยมีความตั้งใจว่า จะให้ที่ดินผืนนี้เป็นสถานศึกษา ให้ความรู้แก่อนุชนรุ่นหลัง ให้มีสติปัญญามีอาชีพที่ดีขึ้นกว่านี้ต่อมาไม่นานท่านเจ้าคุณทหารถึงแก่อสัญกรรม ที่ดินผืนนี้จึงตกเป็นของธิดาท่านคือท่านเลี่ยมซึ่งท่านก็ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคุณทหารด้วยการ ที่ยกที่ดินในเขตลาดกระบังให้กระทรวงศึกษาธิการ 1,041 ไร่ เพื่อจัดตั้งสถานศึกษาให้เด็กชาวลาดกระบังได้มีโอกาสเล่าเรียนชั้นสูงต่อไป โดยมอบบ้านพักของท่านที่หัวตะเข้ให้ใช้เป็นอาคารเรียนเปิดสอนในระดับมัธยม และให้ใช้ชื่อโรงเรียนนี้ว่า"โรงเรียนพรตพิทยพยัต" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สามีผู้ล่วงลับไป ส่วนที่ดินอีกส่วนหนึ่ง ท่านขอให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเป็นวิทยาลัยอาชีวะ สอนวิชาชีพและขอให้ใช้ชื่อ ท่านเจ้าคุณทหาร เป็นชื่อวิทยาลัยซึ่งต่อมาก็เป็นวิทยาลัย เกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร (ปัจจุบันโอนไปสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) อีกส่วนหนึ่งเป็นวิทยาลัย โทรคมนาคมและวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง (ปัจจุบันเป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

อนุสาวรีย์หลวงพรต-ท่านเลี่ยมที่โรงเรียนพรตพิทยพยัต ใน สมัยก่อน

อนุสาวรีย์หลวงพรต-ท่านเลี่ยม

อนุสาวรีย์หลวงพรต-ท่านเลี่ยม ตั้งอยู่ภายใน อุทยานหลวงพรต-ท่านเลี่ยม ตัวอนุสาวรีย์นั้นวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2525 แต่ตัวอุทยานก่อสร้างในยุคต่อมานำโดย นายเฉลียว พงศาปาน ผู้บริหารในยุคนั้น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง