ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
#เปลี่ยนทาง [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| สีพิเศษ = #ffcc00
| สีอักษร = #8f5f12
| image = [[ไฟล์:Rama IX on his Throne.jpg|250px]]
| พระบรมนามาภิไธย = พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
| พระปรมาภิไธย = {{Audio|Th-King Bhumibol's ceremonial name.ogg|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร}}<ref>[[ราชบัณฑิตยสถาน]]. (2552, 11 มีนาคม). ''การเขียนพระปรมาภิไธยย่อ.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2854>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552) </ref>
| พระราชสมภพ = [[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2470]] <br/>[[วันจันทร์]] [[เดือนอ้าย]] ขึ้น 12 ค่ำ [[ปีเถาะ]] นพศก <br/>[[เคมบริดจ์ (รัฐแมสซาชูเซตส์)]],[[สหรัฐอเมริกา]]
| พระราชอิสริยยศ = [[พระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์]]แห่ง[[ประเทศไทย]]
| พระบรมราชชนก = [[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]]
| พระบรมราชชนนี = [[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]
| พระบรมราชินี = [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]]
| พระราชโอรส/ธิดา = - [[ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี]]<br/> - [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร]]<br/> - [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]<br/> - [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]]
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์จักรี]]
| ครองราชย์ = [[9 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]]
| บรมราชาภิเษก = [[5 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2493]]
| ระยะครองราชย์ = {{อายุปีและวัน|1946|06|09}}
| รัชกาลก่อนหน้า = [[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]
| รัชกาลถัดไป =
| วัดประจำรัชกาล = [[วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก]]
| พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร = [[พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระพุทธรูปปางอภัยมุทรา พุทธลักษณะสุโขทัย]]
| หมายเหตุ = [[ไฟล์:King Rama IX Signature.svg|150px]]
}}

'''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร''' ([[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2470]] — ) ทรงเป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์]]พระองค์ปัจจุบันแห่ง[[ประเทศไทย]] และพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ [[9 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]] ขณะนี้ จึงทรงเป็น[[พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงราชย์อยู่เรียงตามอายุรัชกาล|พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเสวยราชย์ยาวนานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่]] และยาวนานที่สุดใน[[ประวัติศาสตร์ไทย|ประวัติศาสตร์ชาติไทย]]<ref name="longestthai">{{cite web |year=1996 |url=http://www.worldhop.com/Journals/J5/ROYAL.HTM |title=A Royal Occasion speeches |publisher=Worldhop.com Journal |accessdate=5 July 2006 |archiveurl = http://web.archive.org/web/20060512194220/http://www.worldhop.com/Journals/J5/ROYAL.HTM |archivedate = May 12, 2006}}</ref>

พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญา[[เศรษฐกิจพอเพียง]] โดย[[โคฟี อันนัน]] [[เลขาธิการสหประชาชาติ]] ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์<ref>[http://www.un.org/News/Press/docs/2006/sgsm10478.doc.htm UN Secretary-General office. THAI KING’S DEVELOPMENT AGENDA, VISIONARY THINKING INSPIRATION TO PEOPLE EVERYWHERE, SAYS SECRETARY-GENERAL TO BANGKOK PANEL]</ref> กับทั้งพระองค์ทรงเป็นเจ้าของ[[สิทธิบัตร]]สิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่ง<ref>[http://kanchanapisek.or.th/kp11/intro/index.th.html มูลนิธิอานันทมหิดล]</ref>นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็น[[#พระราชทรัพย์|ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทเอกชนหลายแห่ง]] ในปี 2553 [[ฟอบส์|นิตยสารฟอบส์]]ประเมินว่า พระองค์มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมถึงที่อยู่ในการบริหารจัดการของ[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] เป็นมูลค่ามากกว่าเก้าแสนหกหมื่นล้านบาท และด้วยเหตุนี้ จึงทรงได้รับการจัดอันดับให้เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก<ref name=forbes09>[http://www.forbes.com/2009/06/17/monarchs-wealth-scandal-business-billionaires-richest-royals.html]</ref><ref>Tatiana Serafin, “[http://www.forbes.com/2010/07/07/richest-royals-wealth-monarch-wedding-divorce-billionaire_2.html The world’s richest royals]”, Forbes, 7 July 2010.</ref>

นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 พระองค์แปรพระราชฐานจากที่ประทับ[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] ไปประทับอยู่ ณ [[โรงพยาบาลศิริราช]] ตราบปัจจุบัน อันเนื่องมาจาก[[ไข้หวัด|พระโรคไข้หวัด]]และ[[โรคปอดบวม|พระปัปผาสะอักเสบ]]<ref>Female First, [http://www.femalefirst.co.uk/royal_family/King+Bhumibol-53750.html King Bhumibol to remain in hospital], 12 August 2010</ref> ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น ข่าวลือว่าพระอาการประชวรทรุดหนักลง ได้ยังให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างสาหัส<ref>[http://www.reuters.com/article/newsOne/idUSTRE59F1XF20091016 "Why the Thai king's health can panic markets"]. By Andrew Marshall, Asia Political Risk Correspondent, [[Reuters]], Fri 16 Oct, 2009 7:29am EDT</ref>

== พระนาม ==
พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจาก[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อวันที่ [[14 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2470]] โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุล<u>ย</u>เดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน <ref name="เจ้านายเล็กๆ">{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง = [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา]]
| ชื่อหนังสือ = เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์
| URL =
| จังหวัด = กรุงเทพ
| พิมพ์ที่ = ซิลค์เวอร์ม บุคส์
| ปี = พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549
| ISBN = 974-7047-55-1
| หน้า = หน้าที่
| จำนวนหน้า = 450
}}</ref><ref>{{cite book |author=Wimuttanon, Suvit (ed.) |title=Amazing Thailand (special collector's edition)|publisher=World Class Publishing |year=2001 |pages=Page 33 |id=ISBN 974-91020-3-7}}</ref>
ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า "Bhumibala" [[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]จึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล" ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น "Bhumibol"<ref name="เจ้านายเล็กๆ"/>

=== ความหมายของพระนาม ===
* ''ปรมินทร'' - มาจากการสนธิคำระหว่าง "ปรม (ป.,ส. : อย่างยิ่ง, ที่สุด) + อินฺทฺร (ส. , ป. อินฺท : ผู้เป็นใหญ่) " หมายความว่า "ผู้เป็นใหญ่ที่สุด" หรือ "ผู้เป็นใหญ่อย่างยิ่ง"
* ''ภูมิพล'' - ''ภูมิ'' หมายความว่า "แผ่นดิน" และ ''พล'' หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน"
* ''อดุลยเดช'' - ''อดุลย'' หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ ''เดช'' หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้"<ref>[http://kanchanapisek.or.th/biography/hmk.en.html Kanchanapisek.or.th] {{en icon}}</ref>

== พระชนมายุช่วงต้น ==
=== ทรงพระเยาว์ ===
[[ไฟล์:Mahidols-1938.jpg |thumb|left||300px| (ด้านหน้า จากขวามาซ้าย) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช; [[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี]] และ[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]] [[กรมพระยาชัยนาทนเรนทร]]]]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพใน[[ราชสกุลมหิดล]]อันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ [[โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น|โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น]] [[เคมบริดจ์ (แมสซาชูเซตส์)|เมืองเคมบริดจ์]] [[มลรัฐแมสซาชูเซตส์]] [[สหรัฐอเมริกา]] เมื่อ[[วันจันทร์]] เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ [[ปีนักษัตร|ปีเถาะ]] นพศก [[จุลศักราช]] 1289 ตรงกับวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2470]] ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ([[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) ([[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] ในกาลต่อมา) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า ''พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช'' ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] และ[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]] ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า "เล็ก"<ref name="เจ้านายเล็กๆ"/><ref name="chakridynastyranks">{{cite web |url = http://members.tripod.com/~tudtu/chakri.html |title = The Illustrious Chakri Family |format = |publisher = Tudtu |accessdate = 2006-08-13}}</ref>

เมื่อ [[พ.ศ. 2471]] ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจาก[[มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด]] สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ [[วังสระปทุม]] ต่อมาวันที่ [[24 กันยายน]] [[พ.ศ. 2472]] สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา
{{ราชวงศ์ไทย}}

=== ทรงศึกษา ===
[[พ.ศ. 2475]] เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่[[โรงเรียนมาแตร์เดอี]] จนถึงเดือนพฤษภาคม [[พ.ศ. 2476]] จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ [[โลซาน|เมืองโลซาน]] [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]] พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ [[โรงเรียนเมียร์มองต์]] เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชา[[ภาษาฝรั่งเศส]] [[ภาษาเยอรมัน]] และ[[ภาษาอังกฤษ]] แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ "โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์" ({{lang-fr|École Nouvelle de la Suisse Romande}}, เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด์) [[แชลลี-ซูร์-โลซาน|เมืองแชลลี-ซูร์-โลซาน]] ({{lang-fr|Chailly-sur-Lausanne}})

พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช" เมื่อวันที่ [[10 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2478]]

เดือนพฤศจิกายน [[พ.ศ. 2481]] ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] [[พระราชวังดุสิต]] จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี [[พ.ศ. 2488]] ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ [[มหาวิทยาลัยโลซาน]] แผนก[[วิทยาศาสตร์]] โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ [[พระที่นั่งบรมพิมาน]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]]<ref name="kingjubnet">{{cite web |year = 1999 |url = http://www.kanchanapisek.or.th/biography/hmk.en.html |title = Biography of His Majesty King Bhumibol Adulyadej |work = The Golden Jubilee Network |publisher = Kanchanapisek Network |accessdate = 2006-08-05}}</ref>

== ทรงประสบอุบัติเหตุ และทรงหมั้น ==
หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จไปเยือน[[ปารีส|กรุงปารีส]] ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นลูกสาวของเอกอัครราชทูตไทยประจำ[[ฝรั่งเศส]] เป็นครั้งแรก<ref>{{cite web |year=1988 |url=http://www.asiasource.org/society/bhumiboladulyadej.cfm |title=Bhumibol Adulyadej |work=The Encyclopedia of Asian History the Asia Society 1988. |publisher=Asia Source |accessdate=2007-09-25}}</ref> ในขณะนี้ ทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษาและ 15 พรรษาตามพระลำดับ

เมื่อวันที่ [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2491]] ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จาก[[เจนีวา]]ไปยัง[[โลซาน]] ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส หลังการถวายการรักษา พระองค์ทรงมีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์ไม่สามารถทอดพระเนตรผ่านทางพระเนตรขวาของพระองค์เองได้ต่อไปแล้ว จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด

ทั้งนี้ ม.ร.ว. สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร อันเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา<ref>{{cite web |url = http://srinai.tripod.com/guide/King.html |title = A Royal Romance |publisher = Srinai Tripod.com|accessdate = 2006-07-12}}</ref><ref name="BKP">{{cite web | date = [[December 5]], [[2005]] |url = http://www.bangkokpost.net/60yrsthrone/60yrsthrone/index.html |title = The Making of a Monarch |publisher = Bangkok Post |accessdate = 2006-07-12}}</ref><ref>Handley, Paul M. (2006). [[The King Never Smiles]]. Yale University Press, Page 104. ISBN 0-300-10682-3.</ref>

=== เสวยราชย์ และทรงเสกสมรส ===
{{ดูเพิ่มที่2|เหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร|พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ในรัชกาลที่ 9|พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ 9}}

วันที่ [[9 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]] [[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน โดยต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน<ref>[http://www.asiasource.org/society/bhumiboladulyadej.cfm Asia Biography:Bhumibol Adulyadej] {{en icon}}</ref> สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขา[[สังคมศาสตร์]] [[นิติศาสตร์]] และ[[รัฐศาสตร์]] ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศ

[[ไฟล์:Bhumbol_coronation_1.jpg|thumb|left|150px|ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก]]

เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงครองราชสมบัติแต่ในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่เคยเตรียมพระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยัง[[ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง|สนามบินดอนเมือง]] เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ก็ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า ''"ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน"'' จึงทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า ''"ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"''<ref>ภปร., พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2511, ไม่มีเลขหน้า.</ref> ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักในหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ ดังที่ได้ตรัสตอบชายคนเดิมนั้นในอีก 20 ปีต่อมา<ref>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, "เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์", วงวรรณคดี (สิงหาคม 2490).</ref>

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2492]] เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ [[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2493]] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนัก[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]] ใน[[วังสระปทุม]] ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น ''สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์''

วันที่ [[5 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2493]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ [[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]] เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า '''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร''' พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า ''"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"'' และในโอกาสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี<ref name="oath">{{cite web |url =
http://www.2bangkok.com/news05t.shtml |title = Royal Power Controversy |publisher = 2Bangkok.com |accessdate = 2007-01-04}}</ref>

=== ทรงผนวช ===
{{บทความหลัก2|พระราชพิธีทรงผนวช ในรัชกาลที่ 9}}

เมื่อ [[พ.ศ. 2499]] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ [[22 ตุลาคม]] - [[5 พฤศจิกายน]] ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมณนามว่า ''ภูมิพโลภิกขุ'' และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา [[วัดบวรนิเวศวิหาร]] ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็น[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ในปีเดียว<ref name="monkhood">{{cite web |year=2006 |url=http://www.thailandtraveltours.com/thailand-thai-monarchy-thailandthaimonarchy.htm |title=Thailand Monarchy |publisher=Thailand Travel and Tours |accessdate=2007-09-26}}</ref>

== สถานะพระมหากษัตริย์ ==
ตามกฎหมายไทย พระองค์ทรงดำรงอยู่ในสถานะที่ "ผู้ใดจะละเมิดมิได้" การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ และการกล่าวหาว่าพระองค์เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองถือเป็น "[[ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์]]" และระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี<ref>[http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7128935.stm Why Thailand's king is so revered] BBC News. 5 December 2007. Retrieved 3 February 2010</ref> ทั้งนี้ พระองค์เคยมีพระราชดำรัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปี 2548 ว่า "...ถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน...ฝรั่งเขาบอกว่า ในเมืองไทยนี่ พระมหากษัตริย์ถูกด่า ต้องเข้าคุก...ที่จริงพระมหากษัตริย์ไม่เคยบอกให้เข้าคุก..."<ref>[http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2_2548/ พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 2548]</ref>

พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระภัทรมหาราช" หมายความว่า "พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง" ต่อมาในปี 2539 มีการถวายใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช"<ref>[http://power.manager.co.th/69-84.html พระราชสมัญญานาม “มหาราช”] พระบรมเดชานุภาพแห่งรัชกาลที่ 9.</ref> และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช" พระองค์ทรงเป็นที่สักการบูชาของชาวไทยจำนวนมาก แต่ถึงกระนั้น[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] นายกรัฐมนตรี เคยแสดงทัศนะว่า มีขบวนการอันเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่พยายามล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์<ref name="ChannelNewsAsia">Channel News Asia, [http://www.channelnewsasia.com/stories/southeastasia/view/1074777/1/.html Thais celebrate Queen's birthday as govt investigates monarchy threat], 12 August</ref> ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "ในหลวง" คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก "ใน ([[พระบรมมหาราชวัง]]) หลวง" บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่

== บทบาททางการเมือง ==
ตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] พระองค์ทรงเป็น[[ประมุขแห่งรัฐ]] [[จอมทัพไทย]] และ[[อัครศาสนูปถัมภก]] และทรงเป็น[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ|พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ]] แต่พระองค์ทรงมีบทบาทใน[[การเมืองไทย]]หลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงปี 2530-2540 เป็นที่ทราบกันว่า พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญใน[[พฤษภาทมิฬ|การเปลี่ยนผันประเทศไทยจากระบอบทหารไปสู่ระบอบประชาธิปไตย]] และทรงใช้พระราชอำนาจทางศีลธรรมยับยั้งการปฏิวัติและการกบฏหลายช่วงด้วยกัน ทว่า พระองค์ก็ทรงสนับสนุน[[ระบอบทหาร]]เป็นหลายครา ซึ่งในจำนวนนี้ อาทิ [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ในช่วงปี 2500-2510 ในรัชสมัยของพระองค์ เกิดการ[[รัฐประหาร]]กว่าสิบห้าครั้ง รัฐธรรมนูญกว่าสิบแปดฉบับ และการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีเกือบสามสิบคน<ref>{{cite news| url=http://www.guardian.co.uk/world/2009/oct/15/thailand-bhumibol-stockmarket-sickness | work=The Guardian | location=London | title=Fears for Thai monarch set stockmarket tumbling for second day | date=15 October 2009 | accessdate=13 April 2010 | first=Ben | last=Doherty}}</ref>

=== สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ===
[[ไฟล์:PPS.JPG|thumb|left|200px|จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และภริยา กับ [[Eleanor Roosevelt|อิลินอย รูสเวลต์]]]]

ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่ง [[จอมพลแปลก พิบูลสงคราม]] ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี นั้น ในทางการเมืองที่ฝ่ายทหารครอบงำอยู่ พระองค์ทรงมีบทบาทน้อยมากกว่า และทรงปฏิบัติแต่พระราชกรณียกิจทางพิธีการเท่านั้น อันเนื่องมาจากความควบคุมอันเข้มงวดของรัฐบาล ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2494 หลังจากเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาได้หกเดือน [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] กล่าวหาว่าจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ละเมิดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในการจัดงานฉลองพุทธศตวรรษสองพันห้าร้อยปี<ref>{{cite book |author=Handley, Paul M. |title=The King Never Smiles |publisher=Yale University Press |year=2006 |pages=129–130, 136–137 |isbn=0-300-10682-3}}</ref> <ref>{{cite book |author=Thak Chaloemtiarana |title=Thailand: The Politics of Despotic Paternalism |publisher=Social Science Association of Thailand |year=1979 |pages=98}}</ref> ครั้นวันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้เสด็จมาร่วมงานฉลองพุทธศตวรรษดังกล่าว<ref>{{cite book |author=Suwannathat-Pian, Kobkua |title=Thailand's Durable Premier |publisher=Oxford University Press |year=1995 |pages=30 |isbn=967-65-3053-0}}</ref> ในโอกาสนั้น พระองค์มีพระราชดำรัสต่อจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ให้ลาออก เพื่อมิให้เกิดการรัฐประหาร ทว่า ทรงได้รับการปฏิเสธ เย็นวันนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจการปกครอง และสองชั่วโมงต่อมา พระองค์มีพระราชโองการให้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร<ref name="martialgaz">{{cite journal|date= 16 September 1957|title=The Royal Command on Imposition of the Martial Law throughout the Kingdom|journal=The Government Gazette of Thailand|volume=74|issue=76}}</ref> และมีพระราชโองการตั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น "ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร" โดยหามีผู้ใดรับสนองพระบรมราชโองการไม่ พระราชโองการนั้น มีใจความว่า<ref>{{cite journal|date= 16 September 1957|title=[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/1.PDF The Royal Command Appointing the Military Defender]|journal=The Government Gazette of Thailand|volume=74|issue=76}}</ref>

{{cquote|เนื่องด้วยปรากฏว่า รัฐบาลอันมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ทั้งไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะทหาร ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองไว้ได้ และทำหน้าที่เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ข้าพเจ้าจึงขอแต่งตั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ขอให้ประชาชนทั้งหลายจงอยู่ในความสงบ และให้ข้าราชการทุกฝ่ายฟังคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พุทธศักราช 2500}}

=== สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ===
เมื่อรัฐบาลทหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เถลิงอำนาจแล้ว รัฐบาลได้ฟื้นฟูพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ โดยอนุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จออกประชาชนเป็นอันมาก ให้ทรงเสด็จประภาสในถิ่นทุรกันดาร และตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาที่พระองค์มีพระราชดำริริเริ่มด้วย โดยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศให้นำประเพณีหมอบกราบเข้าเฝ้า ซึ่งเลิกไปในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์]] กลับมาใช้ใหม่ กับทั้งประกาศให้สถาปนา[[ธรรมยุติกนิกาย|พุทธศาสนาธรรมยุติกนิกาย]]ขึ้นซ้ำด้วย นอกจากนี้ นับตั้งแต่[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การปฏิวัติสยาม 2475]] สืบมา [[กระบวนพยุหยาตราชลมารค|ประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค]]ก็ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อถวายผ้าพระ[[กฐิน]]<ref>{{cite web |last=Evans |first=Dr. Grant |authorlink= |coauthors=citing Christine Gray |year=1998 |url=http://www.laosnet.org/fa-ngum/ewans.htm |title=The Politics of Ritual and Remembrance: Laos since 1975 |publisher=Laosnet.org |accessdate=5 July 2006}}</ref> <ref>{{cite book |author=Evans, Dr. Grant |title=The Politics of Ritual and Remembrance: Laos since 1975 |publisher=University of Hawaii Press |year=1998 |pages=89–113 |isbn=0-8248-2054-1}}</ref>

พิธีกรรมหลายหลากในสมัยคลาสสิกของ[[ราชวงศ์จักรี]] เช่น [[พืชมงคล|พิธีกรรมพืชมงคล]] ก็มีประกาศให้ฟื้นฟู<ref>{{cite web |last=Klinkajorn |first=Karin |url=http://www.international.icomos.org/xian2005/papers/2-18.pdf |title=Creativity and Settings of Monuments and Sites in Thailand: Conflicts and Resolution |format=PDF|publisher=International Council on Monuments and Sites |accessdate=5 July 2006}}</ref> วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม) ก็ได้รับการประกาศให้เป็น[[วันชาติ (ประเทศไทย)|วันชาติไทย]] แทนที่วันที่ 24 มิถุนายน อันตรงกับวันที่[[คณะราษฎร]]ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จด้วย<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/043/1452.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย], ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77 ตอน 43 24 พฤษภาคม 2503 หน้า 1452</ref>

เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 ธันวาคม 2506 สำนักพระราชวังก็มีประกาศให้จัดการไว้ทุกข์ในพระราชวังเป็นเวลายี่สิบเอ็ดวัน และศพจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระราชทานฉัตรห้าชั้น ซึ่งปรกติเป็นเครื่องยศของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า กางกั้นตลอดระยะเวลาไว้ศพ ทั้งนี้ [[พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล)]] [[องคมนตรี]] ได้กล่าวต่อมาว่า ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เท่ากับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาก่อนเลย<ref>Thongthong Chandrangsu, A Constitutional Legal Aspect of the King's Prerogatives (M.A. thesis) Chulalongkorn University, 1986 , page 160</ref>

=== สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ===
[[ไฟล์:Thanom Kittikachorn.jpg|thumb|right|200px|จอมพลถนอม กิตติขจร]]

หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2506 [[จอมพลถนอม กิตติขจร]] ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดมา และจอมพลถนอม กิตติขจร ก็สืบนโยบายราชานิยมของจอมพลสฤษดิ์ต่อมาอีกกว่าทศวรรษ โดยในช่วงปี 2510-2520 นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีบทบาทโดดเด่นในคณะลูกเสือชาวบ้าน และ[[ขบวนการกระทิงแดง|กองกำลังติดอาวุธกระทิงแดง]] เป็นอันมาก ซึ่งเดือนตุลาคม 2516 ใน[[เหตุการณ์ 14 ตุลา|การประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาล]] และมีผู้ตายเป็นจำนวนมหาศาลอันเนื่องมาจากการปราบปรามของรัฐบาลนั้น พระองค์ได้มีพระบรมราชานุญาตให้เปิดพระทวาร[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]]รับผู้ชุมนุมที่หนีตายเข้ามา และพระราชทานพระราชโอกาสให้เหล่าผู้ชุมนุมเฝ้า ต่อมา ก็ทรงตั้ง [[สัญญา ธรรมศักดิ์]] อธิการบดี[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้ลี้ภัยไป[[สหรัฐอเมริกา]]และ[[สิงคโปร์]]ตามลำดับ ครั้งนั้น สัญญา ธรรมศักดิ์ จัดตั้งรัฐบาลพลเรือนสำเร็จเป็นครั้งแรก ทว่า ไม่ช้าไม่นานต่อมาใน พ.ศ. 2519 จอมพลถนอม กิตติขจร ก็เล็ดรอดเข้าประเทศโดยบวชเป็นภิกษุที่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] ก่อให้เกิดการประท้วงเป็นวงกว้าง และนำไปสู่[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] ซึ่งกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มนิยมเจ้าได้สังหารผู้ประท้วงล้มตายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

=== สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ===
ในความโกลาหลครั้งนั้น ฝ่ายทหารก็เข้ายึดอำนาจอีกครั้ง และเสนอนามบุคคลสามคนให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประกอบด้วย [[ประกอบ หุตะสิงห์]] ประธานศาลฎีกา, [[ธรรมนูญ เทียนเงิน]] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ [[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] ผู้พิพากษาศาลฎีกา<ref name="nationgracious">{{cite web |date=2 February 2007 |url=http://www.nationmultimedia.com/webblog/view_blog.php?uid=492&bid=1817%20His%20Gracious%20Majesty |title=His Gracious Majesty |publisher=The Nation |accessdate=25 September 2007}}</ref> ด้วยความที่ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีเกียรติคุณดีที่สุด จึงได้รับการโปรดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ทว่า เมื่อพระองค์พบว่า ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีแนวคิดขวาจัด และให้เหล่านักศึกษาหนีเข้าป่าไปรวมกลุ่มกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย|พวกคอมมิวนิสต์]]ได้ รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็ถูกรัฐประหารนำโดย [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์|พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] ใน พ.ศ. 2523 และคณะรัฐประหารก็ตั้งพลเอก[[เปรม ติณสูลานนท์]] เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ขณะนั้น กองกำลังที่นิยมรัฐบาลได้เข้ายึดกรุงเทพมหานคร ทว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิเสธไม่รับรอง การก่อการครั้งนี้จึงกลายเป็นกบฏที่รู้จักในชื่อ "[[กบฏเมษาฮาวาย]]" และนำไปสู่ "[[กบฏทหารนอกราชการ]]" ในเวลาต่อมา<ref>Michael Schmicker, Asian Wall Street Journal, 23 December 1982</ref><ref>สุลักษณ์ ศิวรักษ์, "ลอกคราบสังคมไทย", กรุงเทพฯ: หนังสือไทย, 2528</ref> <ref>Anonymous, "The Chakri Dynasty and Thai Politics, 1782–1982", cited in {{cite book |author=Handley, Paul M. |title=The King Never Smiles |publisher=Yale University Press |year=2006 |pages=298 |isbn=0-300-10682-3}}</ref>

=== สมัยพลเอกสุจินดา คราประยูร ===
{{บทความหลัก2|พฤษภาทมิฬ}}
[[ไฟล์:200535.jpg|thumb|200px|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า]]
ใน พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีบทบาทเป็นสำคัญในการเปลี่ยนผันระบอบทหารไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยการรัฐประหารของคณะทหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ได้นำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบเผด็จการทหารอีกครั้ง หลักการเลือกตั้งในปีถัดมา พลเอก[[สุจินดา คราประยูร]] หัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งเคยตกปากว่าจะไม่รับตำแหน่งใด ๆ ภายหลังจากเลือกตั้งอีกเพื่อตัดข้อครหาบทบาทของทหารในรัฐบาลพลเรือน กลับยอมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสร้างความไม่พอใจท่ามกลางประชาชนเป็นอันมาก นำไปสู่การประท้วง และมีผู้คนล้มลายหลายหลากเมื่อฝ่ายทหารเปิดการโจมตีผู้ชุมนุม เหตุการณ์ดิ่งสู่ความรุนแรงเรื่อย ๆ เมื่อกำลังทหารและตำรวจเข้าควบคุมกรุงเทพมหานครเต็มที่<ref name="bloodymay">{{cite web |year=2000|url=http://www.seameo.org/vl/92may/92may1.htm |title=Development Without Harmony |publisher=Southeast Asian Ministers of Education Organization |accessdate=26 September 2007}}</ref> และท่ามกลางสงครามกลางเมืองครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเข้าแทรกแซง โดยมีพระบรมราชโองการเรียกพลเอกสุจินดา คราประยูร และหัวหน้ากลุ่มผู้ประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ให้เฝ้า และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดการนี้ออกอากาศสดได้ ในภาพทางโทรทัศน์ พระองค์ทรงขอให้คู่กรณียุติความรุนแรงและนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่สันติ ณ จุดสูงสุดของวิกฤติการณ์ ปรากฏภาพพลเอกสุจินดา คราประยูร และหัวหน้าผู้ประท้วง เฝ้าทูลละอองพระบาทโดยหมอบกราบ และที่สุดก็นำไปสู่การลาออกของพลเอกสุจินดา คราประยูร และการเลือกตั้งทั่วไป<ref name="srimuang">{{cite web |year=2000|url=http://www.rmaf.org.ph/Awardees/Biography/BiographySrimuangCha.htm |title=BIOGRAPHY of Chamlong Srimuang |work=The 1992 Ramon Magsaysay Award for Government Service|publisher=Ramon Magsaysay Award Foundation |accessdate=26 September 2007}}</ref>

=== สมัยรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ===
{{บทความหลัก2|รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ}}

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้[[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]] ประธาน[[สภาองคมนตรี]] และ [[รัฐบุรุษ]] [[พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน]] [[สถิรพันธุ์ เกยานนท์|พลเรือเอกสถิรพันธุ์ เกยานนท์]] และ[[ชลิต พุกผาสุข|พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข]] เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายรายงานสถานการณ์ [[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข|การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] เมื่อเวลา 00.19 น. วันพุธที่ [[20 กันยายน]] ณ [[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] [[พระราชวังดุสิต]]<ref name="Timeline">{{cite web |date = [[September 20]], [[2006]] |url = http://nationmultimedia.com/2006/09/20/headlines/headlines_30014092.php |title = Coup as it unfolds |publisher = The Nation |accessdate = 2007-09-25}}</ref>

พลเอก[[สนธิ บุญยรัตกลิน]] หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อันมี[[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้สึกรู้รักสามัคคีของคนในชาติ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ประชาชนส่วนหนึ่งเคลือบแคลงสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระ ถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ แม้หลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้<ref name="kate">{{cite web |last = McGeown|first = Kate |date = [[September 21]], [[2006]] |url = http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5367936.stm |title = Thai king remains centre stage|publisher = BBC News |accessdate = 2007-09-25}}</ref>

เดิม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า '''Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy''' (อักษรย่อ '''CDRM''') ต่อมาได้ตัดคำว่า ''under Constitutional Monarchy'' ออก เพื่อไม่ให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความว่า คณะปฏิรูปฯ เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็น '''Council for Democratic Reform''' (อักษรย่อ '''CDR''') โดยยังคงใช้ชื่อภาษาไทยตามเดิม<ref>http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30014778</ref>

นอกจากนี้ ในวันที่ [[22 กันยายน]] [[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]] โดย[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]] แพร่ภาพพิธีรับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก่พลเอกสนธิ ซึ่งมีข้อสังเกตว่าประกาศฉบับดังกล่าว มีพลเอกสนธิเอง ในฐานะ[[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]] เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงวันที่ [[20 กันยายน]] ขณะที่พิธีรับพระบรมราชโองการนั้น จัดให้มีขึ้นต่อมาในภายหลัง<ref>[[s:ประกาศ แต่งตั้งหัวหน้าคปค.|ประกาศ แต่งตั้งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] จาก[[วิกิซอร์ซ]]</ref>

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549]] ในวันที่ [[1 ตุลาคม]] ปีเดียวกัน คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แปรสภาพเป็น '''คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ''' โดย หัวหน้า คปค. ดำรงตำแหน่ง '''ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ''' มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติ ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้น จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง พลเอก[[สุรยุทธ์ จุลานนท์]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]]<ref name="kate">{{cite web |last=McGeown|first=Kate |date=21 September 2006 |url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5367936.stm |title=Thai king remains centre stage|publisher=BBC News |accessdate=2007-09-25}}</ref>

== พระราชทรัพย์ ==
พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินและหุ้น โดยแบ่งออกได้เป็นส่วน ๆ ได้โดยสังเขป คือทรัพย์สินส่วนพระองค์ พระคลังข้างที่ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระองค์อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่งเพื่อ[[โครงการพระราชดำริ]]จำนวนกว่า 3,000 โครงการ มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพัฒนาภายในประเทศในด้านกสิกรรม เกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย การส่งเสริมอาชีพ สาธารณูปโภค และการศึกษา โครงการต่างๆมีรายละเอียดใช้เป็นแหล่งอ้างอิงไปได้ทั่วโลก<ref>[http://kanchanapisek.or.th/index.en.html the Golden Jubilee Network,
an online mass-educational project]</ref> และพบได้ในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศไทย<ref name="ChannelNewsAsia"/>
=== ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ===
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์สินของส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<ref name="กระทรวงการต่างประเทศ">[http://www.mfa.go.th/web/200.php?id=20551 บทความพิเศษของนิตยสารฟอร์บ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด] จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ</ref> และได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย<ref name="access-one" /> ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจะถูกบริหารงานในรูปแบบองค์กรนิติบุคคลภายใต้ชื่อ [[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] ทรัพย์สินส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดินและหุ้น โดยปัจจุบันมีผู้เช่าที่ดินทั่วประเทศมากกว่า 3 หมื่นสัญญา<ref name="access-one">[http://www.crownproperty.or.th/history.php สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์] [http://www.crownproperty.or.th (www.crownproperty.or.th)] เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550</ref> โดยแปลงสำคัญ ๆ ประกอบด้วย ที่ดินโรงแรมโฟร์ซีซั่น ที่ดิน[[สยามพารากอน]] ที่ดิน[[เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า]] ที่ดิน[[องค์การสะพานปลา]] และที่ดินริม[[ถนนพระรามที่ 4]] ฝั่งเหนือ จาก[[สวนลุมไนท์บาร์ซาร์]] ยาวจรด[[ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์]]{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ทั้งนี้บริษัท[[ซีบีริชาร์ดเอลลิส]] บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ที่ 32,500 ไร่ โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่<ref name="access-two">[http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20602005&sid=aZ0o4kBLphDs&refer=world_indices Thai King Strengthens Grip on Stocks as Nation's No. 1 Investor] [http://www.bloomberg.com (www.bloomberg.com)] เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550</ref> ทั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย โดยถ้านับรวมทั้งหมด หุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีอยู่ทั้งหมดคิดเป็น 7.5% ของมูลค่าตลาดรวมของ[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]]<ref name="access-two" /> ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับจาก[[นิตยสารฟอร์บ]] ให้เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก<ref name="access-six">[http://www.forbes.com/2007/08/30/worlds-richest-royals-biz-royals07-cx_lk_0830royalintro_slide_6.html?thisSpeed=30000 The World's Richest Royals. No. 5, King Bhumibol Adulyadej] [http://www.forbes.com (www.forbes.com)] เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550</ref> แต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ชี้แจงถึงบทความดังกล่าวว่า "''มีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากในความเป็นจริง ทรัพย์สินที่นับมาประเมินนั้นเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์''"<ref name="กระทรวงการต่างประเทศ"/>

=== ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ===
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีการลงทุนส่วนพระองค์เอง โดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) 43.87%<ref name="access-three">[http://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=SAMCO&language=th&country=TH รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) : SAMCO] [http://www.set.or.th (www.set.or.th)] เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550</ref> บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 18.56%<ref name="access-four">[http://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=TIC&language=th&country=TH รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : TIC] [http://www.set.or.th (www.set.or.th)] เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550</ref> และบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 2.04%<ref name="access-five">[http://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=mint&language=th&country=TH รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : MINT] [http://www.set.or.th (www.set.or.th)] เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550</ref> เป็นต้น

ทรัพย์สินส่วนพระองค์นี้ยังหมายรวมถึง เงินทูลเกล้าถวายฯ ตามพระราชอัธยาศัยต่าง ๆ ซึ่งทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้นไม่ได้รับการยกเว้นเรื่องภาษี และต้องเสียภาษีอากรตามปกติ<ref name="access-one" />

[[มูลนิธิอานันทมหิดล]] อ้างว่า พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จำนวนมากแก่ [[โครงการพระราชดำริ]] มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดจนการกุสล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์<ref>[http://kanchanapisek.or.th/kp11/intro/index.th.html มูลนิธิอานันทมหิดล]</ref>

=== การถือหุ้น ===
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทเอกชนหลายแห่ง ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 มีดังต่อไปนี้

# ใน [[สัมมากร|บริษัทสัมมากร จำกัด (มหาชน)]] ทรงถือหุ้นจำนวน 197,414,850 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 43.870<ref>http://www.sammakorn.co.th/investor_th.html</ref>
# ใน [[ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล|บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)]] ทรงถือหุ้นจำนวน 42,583,274 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 40.000<ref>http://www.minorinternational.com/international/investors.asp</ref>
# ใน [[ปูนซิเมนต์ไทย|บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)]] ทรงถือหุ้นจำนวน 360,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 30.00<ref>http://www.siamcement.com/th/04investor_governance/04_shareholder_services.php</ref>
# ใน [[ไทยประกันภัย|บริษัทไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)]] ทรงถือหุ้นจำนวน 3,526,567 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 30.00<ref>http://www.thaiins.com/org/home/investor.php</ref>
# ใน [[ธนาคารไทยพาณิชย์|บริษัทธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)]] ทรงถือหุ้นจำนวน 722,941,958 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 21.31<ref>http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=SCB&language=th&country=TH</ref>
# ใน [[ซิงเกอร์|บริษัทซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)]] ทรงถือหุ้นจำนวน 1,383,770 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.51<ref>http://singer-th.listedcompany.com/shareholding.html</ref>
# ใน [[เทเวศประกันภัย|บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)]] ทรงถือหุ้นจำนวน 27,600 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.23<ref>http://www.deves.co.th/company_profile/shareholders/shareholder04.asp</ref>

== พระราชบุตร ==

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยกันสี่พระองค์ตามลำดับดังต่อไปนี้
# '''[[ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี]]''' (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติ: [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2494]], [[สถานพยาบาลมงต์ชัวซี]] [[โลซาน|เมืองโลซาน]] [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]]) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ได้ทรงลาออกจาก[[ฐานันดรศักดิ์]]แห่งพระราชวงศ์เพื่อทรงสมรสกับ[[ปีเตอร์ เจนเซ่น|นายปีเตอร์ เจนเซ่น]] ชาวอเมริกัน โดยมีพระโอรสหนึ่งองค์และพระธิดาสององค์ ทั้งนี้ คำว่า "ทูลกระหม่อมหญิง" เป็นคำเรียกพระราชวงศ์ที่มีพระชนนีเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
# '''[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร]]''' (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร; ประสูติ: [[28 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2495]], [[พระที่นั่งอัมพรสถาน]]) ทรงอภิเษกสมรสกับ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ]] [[ยุวธิดา ผลประเสริฐ|นางสุจาริณี วิวัชรวงศ์]] และ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ|พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์]] ตามลำดับ โดยมีพระโอรสหนึ่งพระองค์และสี่องค์ กับพระธิดาสองพระองค์
# '''[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี]]''' (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์; ประสูติ: [[2 เมษายน]] [[พ.ศ. 2498]], พระที่นั่งอัมพรสถาน)
# '''[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]]''' (ประสูติ: [[4 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2500]], พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับ[[วีระยุทธ ดิษยะศริน|นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน]] โดยมีพระธิดาสองพระองค์

== พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น ==

{{ต้องการอ้างอิง}}

{{บทความหลัก2|พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}

=== ด้านศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี ===
{{ดูเพิ่มที่|พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช}}
ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่าง ๆ หลายแขนง จึงทรงได้รับการยกย่องให้เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติและบิดาแห่งการดนตรี<ref>[http://www.culture.go.th/thai/index.php?option=com_content&view=article&id=1035:2010-06-23-03-50-20&catid=34:news&Itemid=351 “สุเทพ-สวลี” ขับกล่อมบทเพลงพระราชนิพนธ์ในคอนเสิร์ต “องค์อัครศิลปิน หนึ่งเดียวในโลก” ]. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. สืบค้น 6-12-2553.</ref> พระองค์ยังทรงสนพระราชหฤทัยในการฝึกเขียนภาพ และมีพระปรีชาสามารถในเรื่องการถ่ายภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนทรงมีพระปรีชาสามารถปั้นพระพุทธรูป[[พระสมเด็จจิตรลดา]]ด้วยพระองค์เอง

งานทางด้านวรรณศิลป์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชี่ยวชาญในภาษาหลากหลายภาษา ทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน เรื่อง ทองแดง เป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับ[[คุณทองแดง]] สุนัขทรงเลี้ยง เป็นต้น<ref>HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. ''The Story of Tongdaeng''. Amarin, Bangkok. 2004. ISBN 9742729174</ref>

=== ด้านการพัฒนาชนบท ===

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทุกหนแห่งไม่ว่าดินแดนแห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด ไม่ว่าใกล้ไกลแค่ไหน พระองค์จัดทำโครงการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริควบคู่ไปในทุกๆ ด้าน ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่ง พระองค์มีจุดประสงค์เดียวคือ เพื่อขจัดความทุกข์ยากของชาวชนบท และสนับสนุนส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาสังคมเมืองให้ดีขึ้น โดยจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริหลายโครงการที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจะเป็นโครงการเกี่ยวกับปรับปรุงถนนหนทาง การก่อสร้างถนนเพื่อการ สัญจรไปมาได้สะดวกและทั่วถึง การคมนาคมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ สำคัญของการนำความเจริญไปสู่ชนบท การสื่อสาร ติดต่อที่ดียังผล สำคัญทำให้เศรษฐกิจของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น ราษฎรก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการพัฒนาชนบทนั้น การคมนาคม เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่จะมองข้ามไปเสียมิได้ เพราะเป็นเสมือนประตูเชื่อม ระหว่างในเมือง และชนบท ดังนั้น การที่จะเริ่มโครงการพัฒนาใดๆ นั้นจะต้องเริ่มจากการปรับปรุง และการก่อสร้างถนนหนทางเป็นการเปิดประตูนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่

=== ด้านการเกษตรและชลประทาน ===
[[ไฟล์:เขื่อนภูมิพล.jpg|thumb|200px|เขื่อนภูมิพล]]

ในด้านการเกษตร จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะเกษตรกรจะสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น

=== ด้านการแพทย์ ===
โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ ล้วนแต่เป็นโครงการด้านสาธารณสุข เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากดรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎรผู้ป่วยไข้ได้ทันที

นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด้กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่า ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย<ref>[http://www.chaoprayanews.com/2009/02/06/ในหลวง-แพทย์-สาธารณสุข/ พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข]</ref><ref>[http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=79 ในหลวงกับการแพทย์-การสาธารณสุข]</ref>

=== ด้านการศึกษา ===
นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] เพื่อสนับสนุนทางด้านคัดเลือกบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อจะได้ให้บัณฑิตเหล่านั้นนำความรู้ที่ได้ไปศึกษาวิจัยนำผลงานที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยพระองค์ออกทุนให้ตลอดจนดูแลเกี่ยวกับความเป้นอยู่ในต่างประเทศนั้นๆ อีกด้วย<ref name="ในหลวงกับการศึกษา">'''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช กับการศึกษาไทย''', สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2530.</ref>

ส่วนในประเทศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเป็นผู้ดพเนินการจัดการบริหารทางการศึกษา แบบให้เปล่าตั้งแต่ระดับชั้นประถมศกษา จนถึงระดับมัธบมศึกษาตอนปลาย ในลักษณะทั้งอยู่ประจำและไปกลับ แบ่งเป็น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 26 โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำนวน 14 โรงเรียน<ref name="ในหลวงกับการศึกษา"/>

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์เป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย โดยสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้: <!--ที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงเป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย<ref>{{cite web |last=Chitbundid |first=Chanida |year=2003 |url=http://socio.tu.ac.th/For%20Web%20 (soc-anth) /2546_ANTH.htm |title=The Royally-initiated Projects: The Making of Royal Hegemony (B.E. 2494–2546) |publisher=Thammasat University |accessdate=2006-07-06}}</ref>-->

* [[มูลนิธิชัยพัฒนา]]
* [[มูลนิธิโครงการหลวง]]
* [[โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา]]
* [[โครงการหลวงอ่างขาง]]
* [[โครงการปลูกป่าถาวร]]
* [[โครงการแก้มลิง]]
* [[โครงการฝนหลวง]]
* [[โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน]]
* [[โครงการแกล้งดิน]]
* [[กังหันชัยพัฒนา]]
* แนวพระราชดำริ ผลิต[[แก๊สโซฮอล์]]ในโครงการส่วนพระองค์ ([[พ.ศ. 2528]])
* แนวพระราชดำริ [[เศรษฐกิจพอเพียง]]
* [[เพลงพระราชนิพนธ์]]
* [[พระสมเด็จจิตรลดา]]
* เป็นต้น

=== ด้านการกีฬา ===
{{บทความหลัก2|การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}

[[เรือใบ]]เป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบใน[[กีฬาแหลมทอง]]ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่น ๆ ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทองจาก[[สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510<ref>{{cite web |last=Cummins |first=Peter |month=December |year=2004 |url=http://www.chiangmai-mail.com/111/special.shtml |title=His Majesty King Bhumibol Adulyadej The Great: Monarch of Peace and Unity |publisher=Chiang Mai Mail |accessdate=20 July 2006}}</ref> ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทางกีฬาเรือใบของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า [[เรือใบมด]] [[เรือใบซูเปอร์มด]] และ [[เรือใบไมโครมด]] ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13<ref>{{cite web |date=6 February 2006 |url=http://www.bangkokpost.net/60yrsthrone/art/index.html |title=The Heart for Art |publisher=Bangkok Post |accessdate=20 July 2006}}</ref><ref name="MODS">{{cite web|url=http://www.thai2arab.com/eng/content.php?page=sub&category=4&subcategory=43&id=31 |title=H.M. King Bhumibol Adulyadej |accessdate=4 March 2008 |publisher=Minsitry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand }}</ref>

=== ด้านดนตรี ===
{{บทความหลัก2|เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}
งานทางด้านดนตรี พระองค์ทรงรอบรู้เรื่องดนตรีเป็นอย่างดีและทรงดนตรีได้หลายชนิด เช่น แซ็กโซโฟน คราริเน็ต ทรัมเป็ต กีตาร์ และเปียโน ทรงโปรดดนตรีแจ๊สเป็นอย่างมาก และพระองค์ได้ประพันธ์เพลงที่มีความหมายและไพเราะหลายเพลงด้วยกัน เช่น เพลงพระราชนิพันธ์แสงเทียน เป็นเพลงแรก สายฝน ยามเย็น ใกล้รุ่ง ลมหนาว ยิ้มสู้ ค่ำแล้ว ไกลกังวล ความฝันอันสูงสุด และเราสู้ หรือจะเป็นพรปีใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของชาวไทย เป็นต้น<ref>{{cite web |last=Tang |first=Alisa
| date = 13 June 2006 |url=http://www.boston.com/news/world/asia/articles/2006/06/13/thailands_monarch_is_ruler_jazz_musician/?rss_id=Boston.com+%2F+News|title=Thailand's monarch is ruler, jazz musician |publisher=Boston.com News, Associated Press |accessdate=28 February 2007}}</ref><ref>''Home Grown Shows Planned for White House Dinners'', ''The New York Times'', 30 May 1967</ref>

== พระเกียรติยศ ==
[[ไฟล์:Royal Flag of King Rama IX.svg|thumb|ธงประจำพระองค์]]
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและเกียรติยศต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากบุคคลและคณะบุคคลในประเทศและต่างประเทศ อันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจและพระราชอัธยาศัยในการแสวงหาความรู้ ที่สำคัญเป็นต้นว่า

* ประธาน[[รัฐสภายุโรป]]และสมาชิกร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรัฐสภายุโรป" ([[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2519]])
* ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อสันติภาพของ[[สมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ]] ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลสันติภาพ" ([[9 กันยายน]] [[พ.ศ. 2529]])
* [[สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย]] ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการนำชนบทให้พัฒนา" ([[21 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2530]])
* ผู้อำนวยการใหญ่[[โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ]] ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองประกาศพระเกียรติคุณด้านสิ่งแวดล้อม" ([[4 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2535]])
* ผู้อำนวยการใหญ่[[องค์การอนามัยโลก]] ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน" ([[24 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2535]])
* คณะกรรมการ[[สมาคมนิเวศวิทยาเชิงเคมีสากล]] (International Society of Chemical Ecology) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติในการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ" ([[26 มกราคม]] [[พ.ศ. 2536]])
* หัวหน้าสาขาเกษตร ฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชียของ[[ธนาคารโลก]] ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด" สดุดีพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ ([[30 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2536]])
* ผู้อำนวยการบริหารของ[[ยูเอ็นดีซีพี]] (UNDCP) แห่ง[[สหประชาชาติ]] ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองคำสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด" ([[12 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2537]])
* [[องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ]] (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร" ([[6 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2539]])
* [[สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ]] ทูลเกล้าฯ ถวาย "[[รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์]]" จากการที่ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและทรงพระวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาตลอดพระชนม์ชีพ ([[26 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2549]]) <ref>{{cite web |year=2006 |url=http://www.un.org/apps/news/story.asp?NewsID=18625&Cr=Thai&Cr1= |title=With new Human Development award, Annan hails Thai King as example for the world |publisher=UN News Center |accessdate=2006-07-05}}</ref>
* ในปี พ.ศ. 2550 [[องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก]] (World Intellectual Property Organization) แถลงข่าวการทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา" (Global Leaders Award) <ref>ห้องข่าว WIPO [http://www.wipo.int/pressroom/en/articles/2007/article_0004.html King of Thailand to Receive WIPO's First Global Leaders Award]</ref> โดยนายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ณ พระราชวังไกลกังวล ในวันที่ 14 มกราคม 2552 เพื่อเทิดพระเกียรติที่ทรงมีบทบาทและผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่โดดเด่น และพระองค์ทรงเป็นผู้นำโลกคนแรกที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลดังกล่าว<ref>มติชนรายวัน วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11267 [http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0101140152&sectionid=0101&selday=2009-01-14 เทิดพระเกียรติ]</ref>

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ที่ได้รับมอบถวายปริญญากิตติมศักดิ์มากเป็นสถิติโลกถึง 136 ฉบับ ใน พ.ศ. 2540<ref>{{cite book |author=Handley, Paul M. |title=The King Never Smiles |publisher=Yale University Press |year=2006 |pages=417 |isbn=0-300-10682-3}}</ref> โดยทรงได้รับมอบถวายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่

== สถานที่ พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ อันเนื่องด้วยพระปรมาภิไธย ==
=== สถานที่ ===
* [[โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์]]
* [[โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช]]
* [[สะพานภูมิพล]] - สะพานข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]สำหรับ[[ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม]] บริเวณ [[เขตยานนาวา]] [[กรุงเทพมหานคร]] และ[[อำเภอพระประแดง]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]]
* [[เขื่อนภูมิพล]] [[จังหวัดตาก]]
* อาคารภูมิพลสังคีต [[วิทยาลัยดุริยางคศิลป์]] [[มหาวิทยาลัยมหิดล]]

=== พันธุ์พืช ===
* [[ภูมิพลินทร์]], ''Trisepalum bhumibolianum'' - ชื่อภาษาไทย แปลว่า พรรณไม้ที่เป็นศรีสง่าแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช - พืชหายาก และเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย จัดใน[[วงศ์ชาฤาษี]] สำรวจพบ บริเวณแก่งหินปูนใน[[เขื่อนภูมิพล]] [[จังหวัดตาก]] และ[[อุทยานแห่งชาติแม่ปิง]] [[จังหวัดลำพูน]] <ref>พรรณไม้ใหม่ของโลกในไทย http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=659&contentID=134630</ref>

=== พันธุ์สัตว์ ===
* [[ปูเจ้าพ่อหลวง]], ''Potamon bhumibol'' <small>Naiyanetr, 2001</small> - [[ปู|ปูน้ำจืด]]ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
* เต่าโบราณ, ''[[Basilochelys macrobios]]'' <small>Tong, Claude, Naksri, [[วราวุธ สุธีธร|Suteethorn]], Buffetaut, Khansubha, Wongko, & Yuangdetkla, 2009<ref>Tong, H.; Claude, J.; Naksri, W.; Suteethorn, V.; Buffetaut, E.; Khansubha, S.; Wongko, K. & Yuangdetkla, P. 2009. [http://www.mesozoico.com.ar/Forum/viewtopic.php?f=18&t=961 ''Basilochelys macrobios'' n. gen. and n. sp., a large cryptodiran turtle from the Phu Kradung Formation (latest Jurassic-earliest Cretaceous) of the Khorat Plateau, NE Thailand]. In: Buffetaut, E.; Cuny, G.; Le Loeuff, J. & Suteethorn, V. (eds.). Late Palaeozoic and Mesozoic Ecosystems in SE Asia. Geological Society, London, Special Publications 315: 229-243.</ref> </small> - เต่าโบราณ ในวงศ์[[ตะพาบน้ำ]] พบใน[[หมวดหินภูกระดึง]] อายุ 150 ล้านปี ในยุค[[จูราสสิก]]ตอนปลาย ค้นพบที่ [[อำเภอหนองสูง]] [[จังหวัดมุกดาหาร]]

== ราชตระกูล ==
<center>
{| border="1" cellpadding="4" cellspacing="1" style="margin: 1em 1em 1em 0; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid; text-align:center; border-collapse: collapse; font-size: 95%;"
|+'''พระราชตระกูลในสามรุ่นของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช '''
|-
|-
| rowspan = "8"| '''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ''' <br />
| rowspan = "4" bgcolor="#E9E9E9"| '''พระชนก:'''<br />[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม<br>พระบรมราชชนก]]
| rowspan = "2" bgcolor="#E9E9E9"| '''พระอัยกาฝ่ายพระชนก:'''<br />[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| bgcolor = "#E9E9E9"| '''พระปัยกาฝ่ายพระชนก:'''<br />[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
|-
| '''พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:'''<br />[[สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี]]
|-
| rowspan = "2"| '''พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:'''<br />[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า|สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี<br>พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]]
| bgcolor = "#E9E9E9"| '''พระปัยกาฝ่ายพระชนก:'''<br />[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
|-
| '''พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:'''<br />[[สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา]]
|-
| rowspan = "4"| '''พระชนนี:'''<br />[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]
| rowspan = "2" bgcolor="#E9E9E9"| '''พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:'''<br />[[พระชนกชู]]
| bgcolor = "#E9E9E9"| '''พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:'''<br />[[คหบดี (ชุ่ม)]]
|-
| '''พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:'''<br /> ไม่ทราบ
|-
| rowspan = "2"| '''พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:'''<br />[[พระชนนีคำ]]
| bgcolor = "#E9E9E9"| '''พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:'''<br /> ไม่ทราบ
|-
| '''พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:'''<br />[[ผา]]
|}
</center>

== ดูเพิ่ม ==
* [[ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย]]
* [[ราชสกุลวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน]]
* [[รายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกเรียงตามวันเสด็จขึ้นครองราชย์]]
* [[รายพระนามพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์ทั่วโลกตามระยะเวลาครองราชสมบัติ]]
* [[ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ในรัชกาลที่ 9|ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ในรัชกาลที่ 9]]
* [[การเสด็จออกมหาสมาคม ในรัชกาลที่ 9|การเสด็จออกมหาสมาคม ในรัชกาลที่ 9]]
* [[พระราชอำนาจทางการเมือง ในรัชกาลที่ 9|พระราชอำนาจทางการเมือง ในรัชกาลที่ 9]]
* [[พระสมเด็จจิตรลดา]]

== แหล่งอ้างอิงและเชิงอรรถ ==
{{reflist|2}}
* ธนากิต, ''พระราชประวัติ 9 รัชกาลและพระบรมราชินี'', สุวีริยาสาส์น, 2542, หน้า 383-427.
* วิเชียร เกษประทุม, ราชาศัพท์และพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พร้อมพระราชวงศ์ โดยสังเขป, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา, 2546, หน้า 147-157.
* พระเจ้าอยู่หัว, กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2530.

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{commonscat|Rama IX}}
{{Wikisource|:th:ประกาศนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙‎|ประกาศนายกรัฐมนตรี เรื่อง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์}}
{{เริ่มอ้างอิง}}

* [http://kanchanapisek.or.th/biography/index.th.html พระราชประวัติ] ที่เครือข่ายกาญจนาภิเษก
* [http://www.raorakprajaoyuhua.com พระอัจฉริยภาพและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ]
* [http://www.navy.mi.th/sctr/royal_barge_60/eng/ The Sixtieth Anniversary Celebrations of His Majesty's Accession to the Throne] - official website for the Diamond Jubilee
* [http://www.bangkokpost.com/king2000/ A Visionary Monarch] - provides a lot of insights on his visions and contributions to the country.
* [http://kanchanapisek.or.th/index.en.html The Golden Jubilee Network] - has many subjects on Bhumibol, including his projects, speeches, and his royal new year card.
* [http://www.supremeartist.org Supreme Artist] - see works of art created by Bhumibol.
* [http://www.thailink.com/king.htm The King's Birthplace]
* [http://www.thaimain.com/eng/monarchy/ Thai monarchy]
* [http://www.bangkokpost.net/king/home.htm Thailand’s Guiding Light]
* [http://www.worldfreeinternet.net/news/nws62.htm Thailand: How a 700-Year-Old System of Government Functions] - article by David Lamb (LA Times staff writer) on Bhumibol
* [http://www.worldpress.org/Asia/2514.cfm "'The King Never Smiles': L'etat, c'est moi", Sreeram Chaulia, ''worldpress.org'', October 4, 2006]
* Far Eastern Economic Review, “The King’s Conglomerate”, June 1988. Contains an interview with Chirayu Isarangkun Na Ayuthaya, Crown Property Bureau
* HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. ''The Story of Tongdaeng''. Amarin Book, Bangkok. 2004. ISBN 9742729174
* HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. ''The Story of Mahajanaka''. Amarin Book, Bangkok. 1997. ISBN 9748364712
* HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. ''The Story of Mahajanaka: Cartoon Edition''. Amarin Book, Bangkok. 1999. ISBN 9742720746
* HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. ''His Majesty the King's Photographs in the Development of the Country''. Photographic Society of Thailand & Thai E, Bangkok. 1992. ISBN 9748880508
* HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand. ''Paintings by his Majesty the King: Special exhibition for the Rattanakosin Bicentennial Celebration at the National Gallery, Chao Fa Road, Bangkok, April 1-June 30, 1982''. National Gallery, Bangkok. 1982. [[ASIN B0007CCDMO]]
* HM King Bhumibol Adulyadej of Thailand, Chaturong Pramkaew (Ed.). ''My Country Thailand...land of Everlasting Smile''. Amarin Book, Bangkok. 1995. ISBN 9748363538
{{จบอ้างอิง}}

{{สืบตำแหน่งพิเศษเริ่ม}}
{{สืบตำแหน่งพิเศษ
| สี1 = #FFCC00
| สี2 =
| สี3 = #FFCC00
| รูปภาพ = Thai Garuda emblem.svg
| ตำแหน่ง = [[พระมหากษัตริย์ไทย]]<br> ([[ราชวงศ์จักรี]])
| จำนวนตำแหน่ง =
| ก่อนหน้า = [[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = ยังอยู่ในราชสมบัติ
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = [[พ.ศ. 2489]]-ปัจจุบัน
}}
{{จบกล่อง}}

{{พระมหากษัตริย์ไทย}}
{{พระราชพิธีสำคัญในรัชกาลที่ 9}}
{{มหาราช}}
{{การเมืองไทย}}
{{ชาวไทยยูเนสโก}}

{{ประสูติปี|2470}}
{{alive|ภ}}
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ไทย|ภูมิพลอดุลยเดช]]
[[หมวดหมู่:มหาราช]]
[[หมวดหมู่:รัชกาลที่ 9| ]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์จักรี]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลมหิดล]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ในปัจจุบัน|ภูมิพลอดุลยเดช]]
[[หมวดหมู่:นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักดนตรีชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักวิทยุสมัครเล่นชาวไทย| ]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยที่เกิดในต่างประเทศ]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก.| ]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.| ]]
[[หมวดหมู่:พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 5]]
[[หมวดหมู่:พระราชปนัดดาในรัชกาลที่ 4]]
[[หมวดหมู่:พระราชปนัดดาในรัชกาลที่ 4 ที่ยังทรงพระชนม์]]
[[หมวดหมู่:พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 5 ที่ยังทรงพระชนม์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย]]

{{Link FA|en}}

[[ar:بوميبول أدولياديج]]
[[be:Пхуміпон Адульядэт]]
[[bg:Рама IX]]
[[br:Rama IX]]
[[ca:Bhumibol Adulyadej]]
[[cs:Bhumibol Adulyadej]]
[[cy:Bhumibol Adulyadej]]
[[da:Bhumibol Adulyadej]]
[[de:Bhumibol Adulyadej]]
[[el:Μπουμιμπόλ Αντουλγιαντέι]]
[[en:Bhumibol Adulyadej]]
[[es:Bhumibol Adulyadej]]
[[et:Bhumibol Adulyadej]]
[[fi:Bhumibol Adulyadej]]
[[fr:Rama IX]]
[[gl:Bhumibol Adulyadej]]
[[he:ראמה התשיעי, מלך תאילנד]]
[[hi:भूमिबोल अतुल्यतेज]]
[[hr:Rama IX., tajlandski kralj]]
[[id:Bhumibol Adulyadej]]
[[it:Bhumibol Adulyadej]]
[[ja:ラーマ9世]]
[[ko:라마 9세]]
[[la:Bhumibol Adulyadej (rex Siamensis)]]
[[lt:Rama IX]]
[[lv:Pūmipons Adunjadēts]]
[[mr:राम नववा, थायलंड]]
[[ms:Bhumibol Adulyadej]]
[[my:ဘူမိဘော အဒူလျာဒက်]]
[[nl:Rama IX]]
[[nn:Bhumibol Adulyadej av Thailand]]
[[no:Bhumibol Adulyadej]]
[[pl:Bhumibol Adulyadej]]
[[pms:Bhumibol Adulyadej]]
[[pt:Bhumibol Adulyadej]]
[[ro:Bhumibol Adulyadej]]
[[ru:Пхумипон Адульядет]]
[[sh:Bhumibol Adulyadej]]
[[simple:Bhumibol Adulyadej]]
[[sk:Pchúmipchón Adundét]]
[[sr:Рама IX]]
[[sv:Bhumibol Adulyadej]]
[[tl:Bhumibol Adulyadej]]
[[tr:Bhumibol Adulyadej]]
[[vi:Bhumibol Adulyadej]]
[[wuu:拉玛九世]]
[[yo:Bhumibol Adulyadej]]
[[zh:普密蓬·阿杜德]]
[[zh-yue:蒲眉王]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:11, 7 พฤษภาคม 2554