ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โสกราตีส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: mr:सॉक्रेटिस
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: so:Sokrades; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
{{ปรัชญาสังคม}}
{{ปรัชญาสังคม}}
{{บทความเกี่ยวกับกรีซโบราณ}}
{{บทความเกี่ยวกับกรีซโบราณ}}
{{birth|-470}}
{{death|-399}}


[[หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวกรีก|สโสกราตีส]]
[[หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวกรีก|สโสกราตีส]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล]]
[[หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ]]
[[หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ]]
{{birth|-470}}
{{death|-399}}



{{Link FA|fi}}
{{Link FA|fi}}
บรรทัด 148: บรรทัด 147:
[[sk:Sokrates]]
[[sk:Sokrates]]
[[sl:Sokrat]]
[[sl:Sokrat]]
[[so:Sokrades]]
[[sq:Sokrati]]
[[sq:Sokrati]]
[[sr:Сократ]]
[[sr:Сократ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:29, 4 พฤษภาคม 2554

โสกราตีส
(Σωκράτης)
เกิด470 ปีก่อนคริสตกาล
เสียชีวิต399 ปีก่อนคริสตกาล
ยุคปรัชญาโบราณ
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักกรีกคลาสิก, ปรัชญาโสคราตีส
ความสนใจหลัก
ญาณวิทยา, จริยศาสตร์
แนวคิดเด่น
วิธีของโสคราตีส, คำเยาะเย้ยของโสคราตีส
เป็นอิทธิพลต่อ
  • ปรัชญาตะวันตกทั้งหมด
การตายของโสกราตีส โดยจาค์หลุยส์ ดาวิด พ.ศ. 2330

โสกราตีส (4 มิถุนายน 470 ปีก่อนคริสตกาล - 7 พฤษภาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล)[1] (อักษรกรีก Σωκράτης; อักษรละติน: Socrates) เป็นนักปราชญ์กรีกและเป็นชาวเมืองเอเธนส์ ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก

ประวัติ

โสกราตีสเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีผลงานการเขียนอะไรคงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามตัวตนและความคิดของเขายังคงอยู่ถึงปัจจุบันผ่านงานเขียนของบุคคลอย่าง อริสโตเติล (Aristotle) เพลโต (Plato) อริสโตฟานเนส (Aristophanes) หรือ ซีโนฟอน (Xenophon) นอกจากนั้นยังมีทั้งนักเขียน นักคิด และนักปราชญ์ที่เก็บเรื่องราวของโสกราตีส อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถรู้ว่าข้อมูลเรื่องเล่าถึงชีวิตของโสกราตีสนั้นจริงหรือเท็จได้อย่างแน่นอน

ตามธรรมเนียมโบราณ โสกราตีสนั้นเป็นลูกของโสโฟรนิกัส (Sophronicus) ผู้เป็นพ่อ และ แฟนาเรต (Phaenarete) ผู้เป็นแม่ โสกราตีสได้แต่งงานกับซานทิปป์ (Xanthippe) และมีลูกชายถึง 3 คน เมื่อเทียบกับสังคมสมัยนั้นซานทิปป์ถึงได้ว่าเป็นผู้หญิงอารมณ์ร้าย และโสกราตีสเองได้กล่าวว่าเพราะเขาสามารถใช้ชีวิตกับซานทิปป์ได้ เขาใช้ชีวิตกับมนุษย์คนใดก็ได้ เหมือนกับผู้ฝึกม้าที่สามารถทนกับม้าป่าได้ โสกราตีสได้เห็นและร่วมรบในสมรภูมิ และ ตามสิ่งที่พลาโตได้กล่าวว่า โสกราตีสได้รับเหรียญเกียรติยศสำหรับความกล้าหาญในสมรภูมิ

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไม่กล่าวอย่างชัดเจนว่าโสกราตีสประกอบอาชีพใด ใน"ซิมโพเซียม" (Symposium) ซีโนฟอนกล่าวว่าโสกราตีสใช้ชีวิตกับการสนทนาปรัชญา โสกราตีสไม่น่าที่จะมีเงินมรดกจากครอบครัวเพราะบิดาของโสกราตีสเป็นเพียงศิลปิน และตามการบรรยายของพลาโต โสกราตีสไม่ได้รับเงินจากลูกศิษย์ อย่างไรก็ตามซีโนฟอนกล่าวใน"ซิมโพเซียม"ว่า โสกราตีสรับเงินจากลูกศิษย์ของเขา และอาริสโตฟานเนสก็เล่าว่าโสกราตีสได้เปิดโรงเรียนของตนเอง ข้อสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ โสกราตีสเลี้ยงชีพผ่านเพื่อนที่ร่ำรวยของเขา เช่นเอลซีไบเดส (Alcibiades)

การไต่สวนและเสียชีวิต

โสกราตีสใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการเปลียนแปลงในอาณาจักรเอเธนส์ จากจุดสูงสุดของอาณาจักรเอเธนส์ถึงยุคเสื่อมภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับกรุงสปาร์ตา (Sparta) มีบุคคลสามคนสำคัญที่ยุให้ศาลสาธารณะของกรุงเอเธนส์ไต่สวนโสกราตีส โดยกล่าวหาว่าโสกราตีสเป็นผู้ที่สร้างความเสื่อมศรัทธาในศาสนา และเยาวชนในกรุงเอเธนส์ เรื่องราวทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ เมื่อนึกถึงสถานการณ์ในเมืองเอเธนส์ภายหลังการพ่ายแพ้ให้กับสปาร์ตานั้น ชาวเมืองเอเธนส์ ผู้ยังเชื่อถือในเทพเจ้าผู้ปกป้องเมืองต่างๆ มองว่าการพ่ายแพ้ของเอเธนส์เป็นเพราะเทพเจ้าเอเธนา (Athena) ผู้เป็นเทพปกครองเมืองเอเธนส์นั้นประสงค์จะลงโทษเมืองเอเธนส์เพราะผู้คนในเมืองเสื่อมศรัทธาในศาสนา การที่โสกราตีสตั้งคำถามและสนทนาเกี่ยวกับปรัชญาจึงเท่ากับเป็นการทรยศชาติ การไต่สวนตัดสินว่าโสกราตีสมีความผิด เขาถูกประหาร โดยการดื่มยาพิษ

อ้างอิง

  1. Socrates. 1911 Encyclopaedia Britannica (1911)

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA