ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 58: บรรทัด 58:
== ผลงานภาพยนตร์ ==
== ผลงานภาพยนตร์ ==
=== จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ===
=== จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ===
ดูเพิ่มเติมที่ [[จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์]]
''ดูเพิ่มเติมที่ [[จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์]]''
* [[คู่กรรม]]
* [[คู่กรรม]]
* [[จักรยานสีแดง]]
* [[จักรยานสีแดง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:12, 2 พฤษภาคม 2554

บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:GRAMMY
อุตสาหกรรมสื่อ ดนตรี และบันเทิง
ก่อตั้ง11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
ผู้ก่อตั้งเรวัต พุทธินันทน์
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เพลส
ถนนอโศกมนตรี
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม - ประธานกรรมการ
บุษบา ดาวเรือง - ประธานกรรมการบริหาร
ผลิตภัณฑ์สื่อเพลงดนตรี สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อภาพยนตร์ สื่อดิจิตอล ละครเวที อีเวนต์ อื่นๆ
รายได้143,598 ล้านบาท (รายได้รวม) [1]
พนักงาน
5,216 คน
เว็บไซต์www.gmmgrammy.com
www.gmember.com

บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแม่ของกิจการบันเทิง ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจดนตรี, สื่อ, ภาพยนตร์, ดิจิตอล, สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม, สถานีวิทยุ, สื่อสิ่งพิมพ์, และ อีเวนต์เมเนจเม้นท์ แบบครบวงจร ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] ก่อตั้งโดย ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม และเรวัต พุทธินันทน์

ประวัติ

อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เพลส (ตึกแกรมมี) ย่านสุขุมวิท 21 (ถนนอโศกมนตรี)

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 เรวัต พุทธินันทน์ และไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ร่วมกับกลุ่มเพื่อนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งบริษัท แกรมมีเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจดนตรี มีสถานะเป็นค่ายเพลง และผลิตศิลปินนักดนตรีเป็นหลัก มีศิลปินคนแรกคือ แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์ จากนั้นจึงเริ่มขยายกิจการ ไปสู่ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์และรายการวิทยุ และเมื่อปี พ.ศ. 2537 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นบริษัท แกรมมีเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการทำธุรกิจดนตรี และสื่อควบคู่กันเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นบริษัทที่ครองตลาดเพลงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย[2] โดยมีรายได้จากธุรกิจดนตรีไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีการปรับโครงสร้างธุรกิจและองค์กรครั้งใหญ่ โดยแบ่งการดำเนินธุรกิจเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และก่อตั้งบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินธุรกิจสื่อทุกประเภท โดยนำทั้งสองบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีรายได้และกำไรสูงที่สุดนับแต่ก่อตั้ง เป็นจำนวนกว่า 6,671 ล้านบาท และเป็นผลให้มูลค่าตลาดของ กลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีมูลค่ากว่า 11,025 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]

จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 มีการปรับโครงสร้างธุรกิจและองค์กรขนานใหญ่อีกครั้ง โดยเพิกถอน บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ออกจากตลาดหลักทรัพย์ และให้ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เข้าถือหุ้นทั้งหมด เพื่อควบรวมกิจการ โดยให้ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นบริษัทแม่ของกลุ่ม ส่งผลให้มีรายได้กำไรสุทธิในปีนั้น เป็นจำนวน 7,834 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดอีกครั้งนับแต่ก่อตั้ง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 กลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดย บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียมขึ้นจำนวน 4 ช่องสัญญาณ ด้วยเงินลงทุนจำนวน 500 ล้านบาท เพื่อนำเสนอในรูปแบบสถานีโทรทัศน์บันเทิง ซึ่งใช้เวลาออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง

บุคลากรสำคัญ

  • เรวัต พุทธินันทน์ - เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง และร่วมก่อตั้ง แกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ร่วมกับ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เรวัตินับเป็นผู้ปฏิวัติวงการเพลงไทย ให้ไปสู่ยุคทองแห่งความเจริญรุ่งเรือง
  • ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม - นิเทศศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ร่วมกับ เรวัต พุทธินันทน์ ปัจจุบันไพบูลย์เป็นผู้บริหารสูงสุด และผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด ของกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • บุษบา ดาวเรือง - ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมงานกับแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริหารร่วมกับไพบูลย์
  • กริช ทอมมัส - นิเทศศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ร่วมงานกับแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสายงานธุรกิจเพลง ของกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และผู้บริหารสูงสุดของ บจก.แกรมมี่โกลด์ ค่ายเพลงลูกทุ่ง ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • วาณิช จรุงกิจอนันต์ - อดีตกรรมการกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกวีซีไรต์ผู้ล่วงลับ
  • นิติพงษ์ ห่อนาค - สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิกอดีตวงเฉลียง และนักแต่งเพลงคนดังของแกรมมี่ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานธุรกิจเพลง ของกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (ลาออก)
  • ธงไชย แมคอินไตย์ - เป็นศิลปินนักร้องของแกรมมี่ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันเป็นนักร้องซูเปอร์สตาร์ดาวค้างฟ้าของไทย ซึ่งมียอดจำหน่ายของทุกอัลบั้มเพลงรวมกันมากกว่า 20 ล้านชุด อันเป็นสถิติสูงสุดตลอดกาล
  • อัสนี และ วสันต์ โชติกุล - เป็นศิลปินคนสำคัญของแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ปัจจุบันเป็นกรรมการสายงานธุรกิจเพลง ของกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกรรมการผู้จัดการ บจก.มอร์มิวสิก ค่ายเพลงร็อกในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา - นิเทศศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดำเนินงานสถานีวิทยุเพลงของแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ประธาน บจก.เอไทม์มีเดีย (สายงานธุรกิจวิทยุ) และ บจก.เอไทม์แทรเวเลอร์ (สายงานธุรกิจนำเที่ยว) ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • ถกลเกียรติ วีรวรรณ - บัณฑิตสาขาการละคร มหาวิทยาลัยบอสตัน เป็นโปรดิวเซอร์ละครโทรทัศน์คนแรกของแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บจก.เอ็กแซ็กท์ และ บจก.ซีเนริโอ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ปัจจุบันเป็นกรรมการ บจก.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย และกรรมการผู้จัดการ บจก.ทีนทอล์ค อีกด้วย
  • วิสูตร พูลวรลักษณ์ - นิเทศศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารของ บจก.ไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ อดีตยักษ์ใหญ่วงการภาพยนตร์ไทย ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการ บจก.จีเอ็มเอ็มไทหับ (จีทีเอช) ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • คำรณ ปราโมช ณ อยุธยา - ปัจจุบันเป็นกรรมการ บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และบรรณาธิการบริหารนิตยสารอิมเมจ
  • ยุทธนา บุญอ้อม - นิเทศศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้บริหารและดีเจแฟตเรดิโอ อดีตบรรณาธิการบริหาร นิตยสารเพลงดีดีที ปัจจุบันเป็นกรรมการอำนวยการ บจก.สนามหลวงการดนตรี ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และดีเจ 89 ชิลเอฟเอ็ม
  • สุเมธ ดำรงชัยธรรม - เศรษฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารสายงานธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • สีฟ้า (นิ่ม) - นักแต่งเพลงคนสำคัญของแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ปัจจุบันยังเป็นผู้ดูแลการผลิตงานเพลงและคอนเสิร์ต ของศิลปินในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ด้วย
  • สถาพร พานิชรักษาพงศ์ - กรรมการบริหาร บจก.จีเอ็มเอ็มทีวี สายงานธุรกิจรายการโทรทัศน์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • สุรชาติ ตั้งตระกูล - อดีตผู้บริหาร บจก.สกายไฮเน็ตเวิร์ก ผู้ดำเนินงานสถานีวิทยุของ บมจ.อาร์เอส ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บจก.จีเอ็มเอ็มบรอดแคสติง สายงานธุรกิจสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • วิเชียร ฤกษ์ไพศาล - รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บจก.จีนีเรคคอร์ดส ค่ายเพลงร็อกใหญ่ที่สุดในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ - นิเทศศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ร่วมงานกับแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันเป็นกรรมการกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน - บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อินเด็กซ์อีเวนต์เอเจนซี สายงานธุรกิจรับจัดกิจกรรม ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • เกรียงไกร กาญจนะโภคิน - ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม อินเด็กซ์ครีเอทีฟวิลเลจ และกรรมการผู้จัดการ บจก.อราทิสต์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • สันติสุข จงมั่นคง - สามีของบุษบา ดาวเรือง ปัจจุบันเป็นกรรมการบริหาร บจก.จีเอ็มเอ็มไลฟ์ สายงานธุรกิจโปรดักชั่นคอนเสิร์ตโชว์บิซ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นับเป็นผู้นำด้านการสร้างสรรค์ และผลิตผลงานบันเทิงทุกรูปแบบ มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีวิสัยทัศน์ในการเสริมสร้าง ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยส่งเสริมบุคลากร ให้มีความรักในองค์กร และเชี่ยวชาญในงานที่ทำ

รางวัลที่บริษัทได้รับ

  • รางวัลบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และบริหารยอดเยี่ยม อันดับ 1 ของเอเชีย จาก นิตยสารฟาร์อีสเทอร์น นิตยสารธุรกิจชั้นนำของโลก (ปี 2005)
  • "Asia's Best Under A Billion" หนึ่งในบริษัทชั้นนำของเอเชีย ซึ่งได้รับการจัดอันดับจาก นิตยสารฟอร์บส์ให้เป็น 1 ในบริษัทสุดยอดแห่งเอเชีย
  • รางวัลบริษัทที่มีบรรษัทภิบาลดีเด่น (Good Corporate Governance) ปี (2005-2007)
  • รางวัลองค์กรยอดนิยมของประเทศไทยประจำปี 2550

ผลงานภาพยนตร์

จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์

จีเอ็มเอ็ม ไท หับ

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ

การวิพากษ์วิจารณ์

เหตุการณ์ซื้อกิจการสื่อ

จีเอ็มเอ็ม มีเดีย นำโดย ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ได้นำเงินจำนวน 2,200 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) 30 เปอร์เซ็นต์ โดยซื้อจากผู้ถือหุ้นกองทุนต่างประเทศ ทำให้ปัจจุบันแกรมมี่เป็นผู้ถือหุ้นสูงสุดนำหน้าเจ้าของเดิม ขรรค์ชัย บุนปาน ที่ได้ถือหุ้นอยู่ 24 เปอร์เซ็นต์ โดยทางแกรมมีมีแผนจะซื้อหุ้นเพิ่มจากผู้ถือหุ้นรายย่อยอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันแกรมมี ยังได้นำเงินจำนวน 1,500 ล้านซื้อหุ้นของ นสพ.บางกอกโพสต์ ไปแล้วถึง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งสองแห่งนี้ ทั้งนี้ทาง คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ได้ออกมาแสดงความเห็น โดยเกรงว่าการซื้อกิจการสื่อในครั้งนี้จะเป็นการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ภายในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ได้มีกระแสต่อต้านจากภาคประชาชนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดทางแกรมมี่ต้องยอมลดสัดส่วนหุ้นของมติชนลงเหลือเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ โดยจะขายหุ้นคืนให้กับนายขรรค์ชัยในราคาเดียวกับที่ซื้อมา [3]

การปฏิรูปองค์กร พ.ศ. 2553

จากสถานการณ์ทางดนตรีที่มีแนวโน้มถดถอยจากการเข้ามาของรูปแบบไฟล์ดิจิตอล (เอ็มพีสามและอื่นๆ) ที่ทำให้ผู้ซื้ออัลบั้มมีจำนวนลดน้อยลงเพราะหันไปโหลดจากเว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดเพลงฟรีอย่างไม่ถูกกฎหมายมากขึ้น ทำให้มีกระแสข่าวในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 ว่า จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะปฏิรูปองค์กรครั้งใหญ่ โดยจ้างนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันจะไม่ต่อสัญญาจ้างพนักงานในสายงานดนตรีที่ไม่ทำผลงานให้กับบริษัทฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อนักแต่งเพลง ศิลปิน และค่ายเพลงต่างๆ อาทิ นิติพงษ์ ห่อนาค มอร์มิวสิก ของอัสนี-วสันต์ เป็นต้น แต่ข่าวนี้ก็ยังไม่มีการยืนยันใดๆ จากทางบริษัท[ต้องการอ้างอิง]

จากกระแสข่าวดังกล่าวนั้น เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554 นิติพงษ์ ห่อนาค ให้สัมภาษณ์ยอมรับกับสื่อมวลชนว่า เป็นความจริงที่เขาเตรียมจะลาออกจาก บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เนื่องจากไม่พอใจกับนโยบายของทางบริษัทฯ ที่ปรับลดเงินเดือนพนักงาน ตลอดจนผู้ทำงานเบื้องหลัง ในสายงานธุรกิจเพลง ซึ่งหลายคนเป็นคนเก่าแก่ ซึ่งทำงานให้กับบริษัทฯ เป็นเวลามากกว่า 20 ปี จึงไม่ต่างกับการบีบบังคับให้ลาออกไปโดยปริยาย โดยเขาเห็นว่า ผลประกอบการของบริษัทก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่เดือดร้อน แม้ภาพรวมธุรกิจเพลงไทยในปัจจุบันจะไม่ดีเหมือนเดิมก็ตาม ส่วนตัวไม่มีผลกระทบใดๆ เพียงเห็นใจเพื่อนๆ และคนรุ่นเก่า ซึ่งทำงานมาด้วยกัน

นิติพงษ์จึงยื่นข้อเรียกร้องกับทางบริษัทฯ สองข้อคือ ให้ดูแลพนักงานด้วยการเพิ่มเงินเดือนกลับไปเท่าเดิม และ ให้พนักงานสายการผลิตเพลง สามารถทำงานอย่างมีความเป็นศิลปะตามเดิม เนื่องจากปัจจุบันไม่มีแล้ว โดยหลังจากมีกระแสข่าวออกไป ก็มีค่ายเพลงติดต่อกับเขาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้บริหารค่ายใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีนัดรับประทานอาหารกันโดยตลอด แต่ตนก็ยังไม่ตัดสินใจใดๆ เนื่องจากกำลังรอคำตอบจากผู้บริหาร บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ว่าจะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตนหรือไม่ และคงต้องใช้เวลาเจรจากันอีกระยะหนึ่ง สำหรับหุ้นของบริษัทฯ ส่วนที่ตนถืออยู่นั้น ส่วนมากก็ขายออกไปแล้ว หากจำเป็นต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

นอกจากนี้ อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ โปรดิวเซอร์เพลงซึ่งทำผลงานร่วมกับ เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ อยู่เป็นประจำ รวมถึงอาสาสนุก ซึ่งเป็นอัลบั้มล่าสุดด้วย และยังเป็นบิดาของ วุฒิสิทธิ์ สืบสุวรรณ ศิลปินในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่อีกคนหนึ่ง ยังเป็นอีกผู้หนึ่งที่บริษัทฯ ปรับลดเงินเดือน ส่งผลให้อนุวัฒน์ยื่นหนังสือลาออกไปแล้ว และเป็นเหตุที่ธงไชยแสดงความไม่พอใจอย่างยิ่งกับกรณีนี้ด้วย[4]

และเมื่อวันที่ 27 มกราคม นิติพงษ์แถลงข่าวว่า ตนเปลี่ยนสถานภาพจากพนักงานประจำของ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกมาเป็นอิสระมากขึ้นแล้ว สามารถแต่งเพลงให้ศิลปินคนอื่นได้ แต่ยังมีงานที่ทำร่วมกับบริษัทฯ อยู่ตามปกติ สำหรับการเข้าพูดคุยกับ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เมื่อวันที่ 26 มกราคม ก็เป็นไปด้วยดี ตนเข้าใจว่า เมื่อเวลาผ่านไป บริษัทฯ ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แต่เนื่องจากบริษัทฯ ก็ให้เงินเดือนตนอยู่ไม่น้อย ถ้ามีงานที่ตนทำได้น้อยลง ก็เกิดความรู้สึกเกรงใจ พอนานไปก็เริ่มฟุ้งซ่าน รู้สึกอยากทำอะไรบ้าง ประกอบกับพบศิลปินนอกจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ชวนไปช่วยงาน แต่ตนไม่สามารถเข้าไปคลุกคลีได้มากนัก พอเป็นอิสระก็ทำงานได้กับทุกคน แต่ยังไม่ได้ยื่นใบลาออกเป็นทางการ เพียงบอกปากเปล่าว่าตกลงจะลาออกสิ้นเดือนนี้แล้ว

นิติพงษ์กล่าวว่า มีการทาบทามให้ไปสังกัดค่ายอื่นอยู่บ้าง โดยในจำนวนนี้ มีลูกน้องของสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ผู้บริหาร บมจ.อาร์เอส ซึ่งเคยเป็นลูกน้องตนด้วย โทรศัพท์มาบอกว่า นายสุรชัยมีความเป็นห่วง และขอให้กำลังใจ แต่ตอนนี้ตอบยาก อนาคตอาจมีความเป็นไปได้ และยังไม่ได้สนใจค่ายใดเป็นพิเศษ แต่ตนฝันอยากเป็นผู้ช่วยศิลปินที่ไม่มีค่าย ให้มาร่วมงานกันมากกว่า ทั้งยังเปิดเผยว่า งานเพลงที่เป็นลิขสิทธิ์ของตนร่วมกับจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ มีจำนวนกว่า 400 เพลง ซึ่งก่อนหน้านี้จะแบ่งค่าลิขสิทธิ์ เป็นส่วนของบริษัทและนักแต่งเพลง ในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน แต่ต่อจากนี้ไป ลิขสิทธิ์เป็นของนักแต่งเพลงทั้งหมด

ส่วนไพบูลย์ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกหลังเกิดกรณีนี้ว่า ไม่ได้เกิดจากปัญหาหรือความขัดแย้งแต่อย่างใด เพียงอาจสื่อสารกันน้อยเกินไป จึงรู้สึกน้อยใจไปบ้าง ขณะที่เข้าพูดคุยกัน นิติพงษ์บอกกับตนว่า ไม่ได้มีปัญหาทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว เพียงแต่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ และอยากเกษียณตัวเองก่อนกำหนดเท่านั้น โดยขอให้ตนชดเชยเงินให้ และคงจะทำงานข้างนอกมากขึ้น แต่หากตนมีงานให้ทำก็พร้อมจะทำ ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์เพลง นิติพงษ์ยืนยันว่า ก็ต้องอยู่ที่แกรมมี่แน่นอน ไปที่อื่นไม่ได้ชัดเจน ไพบูลย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนจะเข้าพูดคุยกัน นิติพงษ์บอกว่ากลุ้มใจมาหลายวัน แต่เมื่อได้มาพบปรับความเข้าใจกัน ก็รู้สึกโล่งอก หายปวดหัว และมีความสุข[5]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น