ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การตรึงพระเยซูที่กางเขน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: eo:Krucumo de Jesuo
ArthurBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.3) (โรบอต เพิ่ม: sr:Isusovo raspeće
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
[[sh:Smrt Isusa]]
[[sh:Smrt Isusa]]
[[simple:Crucifixion of Jesus]]
[[simple:Crucifixion of Jesus]]
[[sr:Isusovo raspeće]]
[[sw:Msalaba wa Yesu]]
[[sw:Msalaba wa Yesu]]
[[ta:இயேசுவின் சாவு]]
[[ta:இயேசுவின் சாவு]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:01, 17 มีนาคม 2554

“การตรึงกางเขนของพระเยซู” โดย ซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622)

การตรึงกางเขนของพระเยซู (ภาษาอังกฤษ: Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ[1] เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับ และ ถูกพิพากษา ในทางคริสต์ศาสนวิทยา การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่นๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้น การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการทรมานและความตายของเมสไซยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากทรงสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระวรกายต่ออัครสาวก ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์[2]

การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “ทุกขกิริยาของพระเยซู” (Passion) มาจากภาษากรีก “Passover” ซึ่งเป็นเทศกาลของชาวยิว ปรัชญาคริสต์ศาสนากล่าวว่า พระเยซูพลีชีพเพราะบาปของมวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “การรับบาปแทน” (Substitutionary atonement]) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในคัมภีร์ฮิบบรูเช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้า[3]

อ้างอิง

  1. มัทธิว 27:33 -44; มาระโก 15:22 -32; ลูกา 23:33 -43; ยอห์น 19:17 -30
  2. ยอห์น 19:30 -31; มาระโก 16:1 ; มาระโก 16:6
  3. "Passion, the." Cross, F. L., ed. อ็อกฟอร์ดพจนานุกรมของวัดคริสเตียน. นิวยอร์ก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด. ค. ศ. 2005

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การตรึงกางเขนของพระเยซู