ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gunlife (คุย | ส่วนร่วม)
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 3098669 สร้างโดย Gunlife (พูดคุย)
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ได้รับ การพรรณนาความดศกเศร้าในพระทัยจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จาการที่เรือประทีปของสมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมาีรัตน์ ดังความที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขา
" ถึง เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม) เมื่อครั้งยังเป็นพระยาเทพประชุน ข้าหลวงใหญ่นครเชียงใหม่อยู่ในขณะนั้นว่า
หญิงใหญ่นั้น เป็นคนว่ายน้ำแข็ง แจวเรือพายเรือได้แข็ง แต่ที่ตายครั้งนี้ เห็นจะเป็นเพราะห่วงลูก เพราะพี่เลี้ยง
ของลูกว่ายน้ำไม่เป็น คนที่อยู่ในเก๋งเรือนั้น ถึง 6-7 คนด้วยกัน นอกนั้นรอดหมด ตายแต่พี่เลี้ยงของลูก กับ
แม่ลูกเท่านั้น เก๋งเรือนั้น ปิดฝาเกล็ดแลเอาม่านลงข้างแถบตะวันออกตลอด เพราะเเดดร้อน ข้างแถบตะวันตกปิด
ฝาเกล็ดอยู่สองช่อง ช่องนั้นเฉพาะพาตัวคนลอดออกมาได้ เมื่อได้หญิงใหญ่นั้น ได้ที่ช่องหน้าต่างนั้น แต่ว่าเพราะ
ติดท้องก็จะไม่ติด กลัวว่าจะพาลูกออกมาด้วย แต่สิ้นกำลังออกมาไม่ได้ จึงข้างอยู่ การซึ่งเป็นขึ้นครั้งนี้ ทำให้ได้
ทุกข์โทมนัสเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ได้เคยพบเลยตั้งแต่เกิดมา "

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:24, 10 มีนาคม 2554

ไฟล์:เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์.jpg
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งสูงสุดของขุนนาง(ข้าราชการ)ไทยในสมัยนั้น คือตำแหน่งสมุหกลาโหม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ นอกจากจะเป็นข้าราชการที่กล้าหาญ ซื่อตรงจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองและพระมหากษัตริย์แล้ว ท่านยังเป็นบุคคลที่ใจบุญใฝ่ในธรรมะ มีเมตตากรุณา เมื่อครั้งที่ท่านมาทอดกฐินวัดบางขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ท่านทราบว่าพระครูศีลาภิรมต้องการเงินสร้างโรงเรียน ท่านจึงบริจาคเงินจำนวน ๑๐๐ ชั่งสร้างอาคารหลังแรกขึ้นได้รับการขนานนามว่า โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ เป็นโรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดนนทบุรี จึงถือได้ว่าท่านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์นอกจากจะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ของประเทศแล้วท่านยังเป็นผู้ให้กำเนิดสถาบันการศึกษาแห่งแรก ของจังหวัดนนทบุรีด้วย

ตำแหน่ง

ตำแหน่งทางราชการของเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)

สมัยรัชกาลที่ ๔

  • ขุนสมุทรโคจร กรมมหาดเล็ก

สมัยรัชกาลที่ ๕

  • พระนรินทรราชเสนี ปลัดบัญชี กรมพระกลาโหม
  • พระยาเทพประชุน ปลัดทูลฉลอง กรมพระกลาโหม
  • เจ้าพระยาพลเทพ ตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. ๒๔๒๙)
  • เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ตำแหน่งสมุหกลาโหม (พ.ศ. ๒๔๓๘)

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์เป็นข้าราชการตัวอย่างที่มีความดีพร้อม เป็นผู้ที่เสียสละเห็นแก่ความสงบความเจริญของบ้านเมือง จึงเป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เห็นได้จากการดำรงตำแหน่งสูงสุดทางราชการได้ยาวนานตลอดจนสิ้นอายุขัย

ท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๔ รวมอายุได้ ๘๑ ปี เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ มีนามเดิมว่า "พุ่ม" เป็นบุตรคนที่ 4 ของหลวงจีนประชา (ทองอยู่) ยกบัตรเมืองนครไชยศรี เมื่อ พ.ศ.2363 ปีมะโรง บิดามารดามีบ้านเป็นแพลอยอยู่หน้าวัดทองธรรมชาติ-ฝั่งธนบุรี เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ์มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน ได้แก่

คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ ฮวด สมรสกับเจ้าสัวซี เศรษฐีใหญ่ ผู้แต่งสำเภาของกรมพระราชวังบวรศักดิพลเสพย์รัชกาลที่ 3

คนที่ 2 เป็นชายชื่อ อ้น มีธิดาคนหนึ่งเป็นหม่อมห้ามในกรมหมื่นอุดมรัตนราษี

คนที่ 3 เป็นชายชื่อ ขุนเณร ได้ภรรยาเป็นธิดาพระไชยบาล(เจ๊ะสัวหง)

คนที่ 4 เป็นชายชื่อ พุ่ม ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์

คนที่ 5 เป็นหญิงถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์