ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไซบีเรีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: hsb:Sibirska
Thijs!bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.3) (โรบอต เพิ่ม: mhr:Сивыр
บรรทัด 70: บรรทัด 70:
[[lt:Sibiras]]
[[lt:Sibiras]]
[[lv:Sibīrija]]
[[lv:Sibīrija]]
[[mhr:Сивыр]]
[[mk:Сибир]]
[[mk:Сибир]]
[[mn:Сибирь]]
[[mn:Сибирь]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:13, 3 มีนาคม 2554

ไซบีเรีย

ไซบีเรีย (กาลิเซีย: Сиби́рь , ตาตาร์: Seber) ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี ค.ศ. 630 จนต่อมา พวกมองโกลได้เข้ายึดครองในช่วงศตวรรษที่ 13 และในที่สุด ได้กลายมาเป็น Siberian Khana อำนาจที่ยิ่งใหญ่ของมองโกลในภูมิภาคตะวันออกเริ่มลดลง จนในศตวรรษที่16 กลุ่มแรกที่เข้ามาในเขตนี้คือพวกพ่อค้า และกลุ่มคอสแซก จากนั้นกองทัพซาร์ก็เริ่มเข้ามาสร้างป้อมปราการในเขตตะวันออกไกล เมืองหลายเมืองก็ถูกสร้างขึ้นเช่น Mangazeva Tara เป็นต้น และในช่วงกลางศตวรรษที่17 รัสเซียก็ได้ขยายดินแดนไปจรดถึงมหาสมุทรแปซิฟิก

ไซบีเรียตะวันออกในขณะนั้นยังคงเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับการสำรวจและไม่มีการอยู่อาศัยของประชาชนสักเท่าไรนักมีเพียงแค่นักสำรวจเล็กน้อย ต่อมามีพ่อค้าเข้าไปตั้งบ้านเรือนเล็กน้อย นอกจากนี้ ดินแดนไซบีเรียยังเป็นที่คุมขังของนักโทษจากรัสเซียตะวันตกด้วย การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของไซบีเรียตะวันออกคือ การสร้างทางรถไฟสายทรานไซบีเรียที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สอง ปีค.ศ. 1891-1905 ซึ่งเชื่อมโยงดินแดนรัสเซียตะวันตกและรัสเซียตะวันออกเข้าด้วยกัน อันทำให้มีผู้เข้ามาอาศัยในไซบีเรียตะวันออกมากขึ้น ซึ่งดินแดนไซบีเรียเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

ในระหว่างกลางศตวรรษที่ 20 ก็ถูกพัฒนากลายเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมขึ้นทั่วทั้งเขตเนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกล รวมไปถึงสภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่าง จึงทำให้เกิดการแบ่งเขตเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ในสมัยอดีตสหภาพโซเวียต มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากเขตเศรษฐกิจตะวันออกไกล มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้ พันธุ์พืช รวมไปถึงแร่ธาตุ ปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจไซบีเรียตะวันออก เป็นเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของสหพันธรัฐรัสเซีย อันเป็นผลมาจากความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุในไซบีเรียตะวันออกนั่นเอง

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

ไซบีเรียตะวันออกมีพื้นที่ทั้งหมด 41,228,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 24.1 % ของพื้นที่รัสเซียทั้งหมดอยู่ระหว่างเส้นละติจูด 50 องศาเหนือ ถึง 70 องศาเหนือ เส้นลองจิจูด 65 องศาตะวันออกถึง 115 องศาตะวันออก ทางด้านตะวันตกติดกับไซบีเรียตะวันตก ทางด้านตะวันออก ติดกับ เขตตะวันออกไกล ทางใต้ติดกับเทือกเขาอัลไต มองโกเลีย และจีนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนทางด้านตอนเหนือ ติดกับทะเล

อ้างอิง