ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แตงไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mahatee (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการเก็บกวาดด้วยสจห.
ช้างดำ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35: บรรทัด 35:


<references />
<references />
{{เรียงลำดับ|ตแงไทย}}
{{โครง}}

[[หมวดหมู่:ผลไม้]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:40, 14 กุมภาพันธ์ 2554

แตงไทย

ไฟล์:26 20080430113236..jpg
แตงไทย

แตงไทย ทางภาคเหนือเรียก แตงลายหรือมะแตงสุก ภาคอีสานเรียก แตงจิงหรือแตงกิง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบภาคใต้ของทวีปแอฟริกา

ชื่อสามัญ : Muskmelon

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis melo Linn

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

แตงไทย เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีขนอ่อน ปกคลุมตลอดทั้งลำต้นและใบ ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกสีเหลือง มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ รูปร่างกลมยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 12-15 ซม. ยาว 20-25 ซม. ผลอ่อนสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวเรียบเป็นมันเนื้อในผลสีเหลืองอ่อนอมเขียว กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรี สีครีมจำนวนมาก แตงไทยให้ผลผลิตในช่วงหน้สร้อน สามารถปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศไทย

ผลอ่อนของแตงไทย นำมากินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกหรือนำไปดอง ผลสุกมีรสจิดหรืออมหวานเล็กน้อย เนื้อซุย ชุ่มน้ำ กลิ่นหอมคือลักษณะเด่นของแตงไทย นิยมกินสดหรือนำไปทำของหวาน เช่น น้ำกะทิแตงไทย และทำน้ำปั่น

ไฟล์:002.jpg
แตงไทย

สรรพคุณ

แตงไทย มีคาร์โบไฮเดรด แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซี

เนื้อ มีฤทธิ์เย็น ช่วยดับกระหาย แก้เลือดกำเดาไทล

ดอกอ่อนตากแห้ง ต้มดื่มช่วยให้อาเจียน แก้โรคดีซ่าน หรือบดเป็นผงพ่นแก้แผลในจมูก

เมล็ดแก่ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ

ราก ต้มดื่มช่วยระบายท้อง

อ้างอิง

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบภาคใต้ของทวีปแอฟริกา[1] สรรพคุณแตงไทย[2]

  1. แตงไทย
  2. [1]ประโยชน์ด้านอื่นๆ