ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัตตา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
moveCategory
บรรทัด 12: บรรทัด 12:




[[หมวดหมู่:พุทธศาสนา]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:45, 12 พฤศจิกายน 2553

อัตตา เป็นศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ตัวตน, ร่างกาย, รูปลักษณะ, ตัวเอง (ดูอัตภาพ) (ภาษาสันสกฤตใช้ อาตฺมัน) หมายถึงอาตมัน, วิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออัตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็กๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด แต่ทฤษฎีนี้พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับทั้งหมด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์)

อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัติ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง