ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรบือวิทยาคาร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 71: บรรทัด 71:
* กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
* กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


==นโยบายโรงเรียน==

1.เน้นระบบการดูแลนักเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

2.ปลูกฝังและส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

3.ถือว่านักเรียนเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการศึกษา โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

4.ถือว่าโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ให้บริการด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ

5.ถือว่าโรงเรียนเป็นตลาดวิชาและอุทยานทางการศึกษาและโรงเรียนต้องเปิดกว้างในวิชาที่หลากหลายและเอื้อให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ

6.เน้นพัฒนาครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และประสบการณ์ในการถ่านทอดสู่นักเรียน

7.เร่งพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ทันสมัยกับวิทยาการสมัยใหม่ โดยจัดศูนย์วิชาการรองรับการผลิตสื่อและจัดหาสื่อมาช่วยสอน

8.ส่งเสริมการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและกิจกรรมนันทนาการเพื่อต้านยาเสพติด

9.ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ในโรงเรียน

10.ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบทอดศิลปวัฒนธรรม

11.ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตลอดจนค่านิยมที่ดีงามให้กับบุคลากรในโรงเรียน

12.พัฒนาบรรยากาศในด้านบริการ วิชาการ และสิ่งแวดล้อม

13.พัฒนาระบบบริหารโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในรูปแบบที่ครูและชุมชนมีส่วนร่วม

==วิสัยทัศน์โรงเรียน==

โรงเรียนจัดการศึกษาเข้าสู่มาตรฐานสากล มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทางวิชาการ เทคโนโลยีและทักษะทางวิชาชีพตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล มีคุณธรรมจริยธรรมอนุรักษ์และส่งเสริมความเป็นไทยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

==พัธกิจโรงเรียน==

1.พัฒนาผู้เรียนให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

2.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้เป็นระบบมีความคล่องตัวเพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

3.สนับสนุนชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี

4.พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5.พัฒนาบุคลากรสู่มาตรฐานวิชาชีพ

==เป้าประสงค์==

1.นักเรียนมีความรู้ความสามารถมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

2.โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการอย่างเป็นระบบมีความคล่องตัว

3.โรงเรียนสนับสนุนให้ชุมชนได้เจ้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี

4.โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา มีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้อง

5.โรงเรียนพัฒนาบุคลากรสู่มาตรฐานวิชาชีพ
6.โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และสามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
บรรทัด 76: บรรทัด 132:
* [http://www.skwkclub.com/ เว็บไซต์ศิษย์เก่าโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม]
* [http://www.skwkclub.com/ เว็บไซต์ศิษย์เก่าโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม]
* [http://www.kkn4.obec.go.th สพท.ขก.4]
* [http://www.kkn4.obec.go.th สพท.ขก.4]

==อ้างอิงที่มา==

*[http://www.skwk.ac.th www.skwk.ac.th/เว็บไซต์หลักโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม]
*[http://www.skwk.ac.th/skwk/nayobuy_07.html]
*[http://www.skwk.ac.th/skwk/wisai_08.html]
*[http://www.skwk.ac.th/skwk/pantakit_09.html]


[[หมวดหมู่:โรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:39, 30 ตุลาคม 2553

โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม
Srikranuan Wittayakhom school
ตราประจำโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นศ.ก.ว./S.K.W
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญวิชฺชาคุณธมฺมิโก โหติ วินยาภรโณ(มีความรู้ คู่คุณธรรม นำวินัย)
สถาปนา18 เมษายน พ.ศ. 2516
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1009400901
ผู้อำนวยการนายสมยศ รัตนถา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
วิทยาเขตโรงเรียนยางคำพิทยาคม โรงเรียนทุ่งใหญ่รัตนศึกษา
สี███ สีน้ำเงิน
███ สีชมพู
เพลงมาร์ชศรีกระนวนวิทยาคม
เว็บไซต์[1]
ป้ายโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม


โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เป็นหน่วยงานของรัฐบาลซึ่งจัดการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกองมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา (เดิม) กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอนในสายสามัญ รูปแบบสหศึกษา ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 มีจำนักเรียนมากกว่า 3,000 คน และบุคลากรทางการศึกษาอีกกว่า 150 คน ซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดของโรงเรียนจำนวน 52 ไร่ 17 ตารางวา

โดยในช่วงเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ศรีกระนวนวิทยาคม ได้ทำหน้าที่ผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าออกมาทำหน้าที่รับใช้สังคมและชุมชนอย่างมากมาย ในฐานะสถานศึกษาที่เป็นผู้นำทางด้านวิชาการ กีฬา และคุณธรรมจริยธรรมทั้งระดับอำเภอ เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดและระดับประเทศ

โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ตั้งอยู่ที่ถนนกระนวน-ท่าคันโท ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ


ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ตั้งอยู่ที่เลขที่ 406 หมู่ที่ 18 ถนนกระนวน-ท่าคันโท ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เป็นโรงเรียนประจำอำเภอกระนวน และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งแรกของอำเภอกระนวน ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2516 โดยระยะแรกได้อาศัยหอประชุมโรงเรียนกระนวน เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนชั่วคราว ซึ่งในปีการศึกษาแรกนั้นได้เปิดรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบสหศึกษา จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียน 90 คน มีนายสวาท ภูคำแสน เป็นครูใหญ่คนแรก และมีครูผู้สอนจำนวน 3 คน นักการภารโรง 1 คน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้ย้ายมาเรียน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งทางราชการได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารแบบ 216ก. ให้ 4 ห้องเรียน ต่อมามีการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวอีก 1 หลัง 8 ห้องเรียน โดยโรงเรียนขยายแผนการเรียนเพิ่ม ตลอดจนเพิ่มจำนวนครู, ลูกจ้างและงบประมาณก่อสร้าง

ปี พ.ศ. 2529 กรมสามัญศึกษาได้แต่ตั้งให้ นายสมภาร ร่มโพธิ์ทอง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทนนายสวาท ภูคำแสน ที่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมแพรศึกษา

ปี พ.ศ. 2532 กรมสามัญศึกษา อนุญาตให้โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม เปิดโรงเรียนสาขาขึ้นที่ ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน โดยทำการเรียนสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และในปีนี้ กรมสามัญศึกษาได้แต่ตั้งให้ นายรัฐวุฒิ ชัยวิศิษฐ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทนนายสมภาร ร่มโพธิ์ทอง ที่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโพนพิสัย จ.หนองคาย

ปี พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษา อุมัติให้สาขาของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ได้แยกออกไปตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาอันมีชื่อเป็นเอกเทศว่า "โรงเรียนยางคำพิทยาคม"

ปี พ.ศ. 2537 เปิดสาขาขึ้นที่บ้านทุ่งใหญ่ ต.บ้านฝาง อ.กระนวน มีนักเรียนจำนวน 82 คน มีนายสมยศ รัตนถา เป็นหัวหน้าสาขา และในปีการศึกษา 2540 ได้รับการก่อตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา มีชื่อว่า "โรงเรียนทุ่งใหญ่รัตนศึกษา"

ปี พ.ศ. 2544 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคมได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2544 (เป็นครั้งที่ 1)

ปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคมได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2548 (เป็นครั้งที่ 2)และในปีนี้ได้ผ่านการประเมินภายนอก (สมศ.) รอบ 2

ปี พ.ศ. 2552 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคมได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2552 เป็นสมัยที่ 3 ในรอบ 10 จึงได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของสถานศึกษา นอกจากนี้ยังได้รับการยกระดับคัดเลือกให้เป็น โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) เป็น 1 ใน 500 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งต้องใช้หลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลที่ต้องพัฒนาคุณภาพมาตรฐานด้านการศึกษา ให้เป็นโรงเรียนมีระบบพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษา แหล่งการเรียนรู้ สภาพแวดล้อม หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ มีความคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีคุณธรรมความรู้ รักความเป็นไทย และมีความสามารถก้าวไกลในระดับสากลเพื่อการเป็น Citizen World ต่อไป

ปัจจุบัน โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคมได้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จนถึงตอนปลาย ได้รับการอนุมัติให้จัดแผนชั้นเรียนเป็น 12 - 11 - 9 / 12 - 11 - 10 รวม 65 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 3,211โดยมีท่านผู้อำนวยการ สมยศ รัตนถา เป็นผู้อำนวยการ

การจัดการศึกษาในปัจจุบัน

  • โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคมเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 (ช่วงชั้นที่ 3 - 4)ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ
  • ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวม 8 กลุ่ม คือ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

นโยบายโรงเรียน

1.เน้นระบบการดูแลนักเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

2.ปลูกฝังและส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

3.ถือว่านักเรียนเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการศึกษา โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

4.ถือว่าโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ให้บริการด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ

5.ถือว่าโรงเรียนเป็นตลาดวิชาและอุทยานทางการศึกษาและโรงเรียนต้องเปิดกว้างในวิชาที่หลากหลายและเอื้อให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ

6.เน้นพัฒนาครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และประสบการณ์ในการถ่านทอดสู่นักเรียน

7.เร่งพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ทันสมัยกับวิทยาการสมัยใหม่ โดยจัดศูนย์วิชาการรองรับการผลิตสื่อและจัดหาสื่อมาช่วยสอน

8.ส่งเสริมการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและกิจกรรมนันทนาการเพื่อต้านยาเสพติด

9.ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ในโรงเรียน

10.ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบทอดศิลปวัฒนธรรม

11.ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตลอดจนค่านิยมที่ดีงามให้กับบุคลากรในโรงเรียน

12.พัฒนาบรรยากาศในด้านบริการ วิชาการ และสิ่งแวดล้อม

13.พัฒนาระบบบริหารโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในรูปแบบที่ครูและชุมชนมีส่วนร่วม

วิสัยทัศน์โรงเรียน

โรงเรียนจัดการศึกษาเข้าสู่มาตรฐานสากล มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทางวิชาการ เทคโนโลยีและทักษะทางวิชาชีพตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล มีคุณธรรมจริยธรรมอนุรักษ์และส่งเสริมความเป็นไทยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

พัธกิจโรงเรียน

1.พัฒนาผู้เรียนให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

2.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้เป็นระบบมีความคล่องตัวเพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

3.สนับสนุนชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี

4.พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5.พัฒนาบุคลากรสู่มาตรฐานวิชาชีพ

เป้าประสงค์

1.นักเรียนมีความรู้ความสามารถมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

2.โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการอย่างเป็นระบบมีความคล่องตัว

3.โรงเรียนสนับสนุนให้ชุมชนได้เจ้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี

4.โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา มีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้อง

5.โรงเรียนพัฒนาบุคลากรสู่มาตรฐานวิชาชีพ 6.โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และสามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิงที่มา