ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอินเดีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BOTarate (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: pcd:Inde
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: bjn:India; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
|leader_title1 = ประธานาธิบดี
|leader_title1 = ประธานาธิบดี
|leader_title2 = นายกรัฐมนตรี
|leader_title2 = นายกรัฐมนตรี
|leader_name1 = [[ประติภา ปาฏีล|ประติภา ปาฏีล]]
|leader_name1 = [[ประติภา ปาฏีล]]
|leader_name2 = [[มานโมฮัน ซิงห์]]
|leader_name2 = [[มานโมฮัน ซิงห์]]
|largest_city = [[มุมไบ]] (บอมเบย์)
|largest_city = [[มุมไบ]] (บอมเบย์)
บรรทัด 204: บรรทัด 204:
[[bh:भारत]]
[[bh:भारत]]
[[bi:India]]
[[bi:India]]
[[bjn:India]]
[[bn:ভারত]]
[[bn:ভারত]]
[[bo:རྒྱ་གར།]]
[[bo:རྒྱ་གར།]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:07, 23 ตุลาคม 2553

สาธารณรัฐอินเดีย

भारत गणराज्य
Bhārata Gaarājya
ภารตะ คณราชยะ
Republic of India
คำขวัญสตฺยเมว ชยเต (सत्यमेव जयते)
"ความจริงคือสิ่งเดียวที่มีชัย"
เพลงชาติชนะ คณะ มนะ (जन ग़ण मन, ชน คณ มน)
"ดวงใจแห่งผองชน"
ที่ตั้งของอินเดีย
เมืองหลวงนิวเดลี
เมืองใหญ่สุดมุมไบ (บอมเบย์)
ภาษาราชการภาษาฮินดี, ภาษาอังกฤษ
ดูเพิ่มได้ที่ ภาษาราชการของอินเดีย
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐ
• ประธานาธิบดี
ประติภา ปาฏีล
• นายกรัฐมนตรี
มานโมฮัน ซิงห์
เอกราช
9.56
ประชากร
• 2548 ประมาณ
1,103,371,000 (2)
• สำมะโนประชากร 2544
1,027,015,247
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2549 (ประมาณ)
• รวม
3.77 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (4)
3,344 ดอลลาร์สหรัฐ (122)
เอชดีไอ (2550)0.612
ปานกลาง · 134
สกุลเงินรูปี (Rs.)1 (INR)
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+5:30 (not observed)
รหัสโทรศัพท์91
โดเมนบนสุด.in
1 Re. เป็นเอกพจน์

ประเทศอินเดีย หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดแปดร้อยภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดพม่า ทางตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกติดบังกลาเทศ และมีพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าไทยประมาณหกเท่า

ประวัติศาสตร์

ประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ชาวดราวิเดียน (Dravidian) และชาวอารยัน (Aryan) เริ่มกำเนิดอารยธรรมต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำสินธุ ต่อมาในสมัยอาณาจักรเมารยะ (ประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีดินแดนในตอนเหนือตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำสินธุจรดอ่าวเบงกอล พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างความรุ่งเรืองในการปกครอง ตลอดจนการสนับสนุนการเผยแผ่พุทธศาสนา ในสมัยราชวงศ์โมกุล (คริสต์ศตวรรษที่ 16 – 18) เป็นสมัยที่มีการแพร่ขยายอิทธิพล วัฒนธรรมโมกุลอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการปกครอง ภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และศาสนาอิสลาม อังกฤษเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในอนุทวีป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อค้าขายพร้อม ๆ กับครอบครองดินแดนและแทรกแซงในการเมืองท้องถิ่น จนกระทั่งอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดินีแห่งอินเดีย หลังจากการรณรงค์ต่อต้านการปกครองของอังกฤษมาเป็นเวลานาน อินเดียจึงได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) และได้รับการสถาปนาเป็นสาธารณรัฐอินเดียในปี พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950)

การเมือง

  • ประธานาธิบดี นางประติภา เทวีสิงห์ ปาฏีล (प्रतिभा पाटिल Pratibha Devisingh Patil)
  • นายกราชยสภา นายกฤษาณ กันต์ (Krishan Kant) รองประธานาธิบดี ทำหน้าที่นายกราชยสภาโดยตำแหน่ง
  • นายกโลกสภา นายคานตี โมหัน พลโยคี (Ganti Mohana Balayogi) (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999)
  • นายกรัฐมนตรี นายมานโมฮัน ซิงห์ (Manmohan Singh)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชสวันต์ สิงห์ (Jaswant Singh), เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1999
  • โครงสร้างการปกครอง

ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภา ประกอบด้วยราชยสภา (Rajya Sabha) เป็นสภาสูง มีสมาชิกจำนวน 245 คน สมาชิกส่วนใหญ่ มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม อีกส่วนมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และโลกสภา (Lok Sabha) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกจำนวน 545 คน สมาชิกจำนวน 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและอีก 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดี จากกลุ่มอินโด-อารยันในประเทศอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี เว้นเสียแต่จะมีการยุบสภา

ฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล

ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุดของประเทศ ผู้พิพากษาประจำศาลฎีกามีจำนวนไม่เกิน 25 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ระดับรัฐมีศาลสูงเป็นศาลสูงสุดของแต่ละรัฐ รองลงมาเป็นศาลบริวาร (Subordinate Courts) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ

  • การปกครอง ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แต่อำนาจการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีอำนาจ การปกครองแบ่งเป็นรัฐต่าง ๆ 25 รัฐ และดินแดนสหภาพของรัฐบาลกลาง (Union Territories) อีก 7 เขต ขณะนี้ (มกราคม 2544) โลกสภาได้เห็นชอบร่างรัฐบัญญัติในการจัดตั้งรัฐใหม่ 3 รัฐ คือ รัฐฉัตติสครห์ (Chattisgarh) รัฐอุตตรานจัล (Uttaranchal) และรัฐฌาร์ขันท์ (Jharkhand) ซึ่งแยกออกจากรัฐมัธยประเทศ รัฐอุตตรประเทศ และรัฐพิหาร ตามลำดับ

การเมืองภายใน

อินเดียมีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นสมัยที่ 13 เมื่อวันที่ 5 กันยายน - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ภายหลังจากที่รัฐบาลชุดก่อนของนายกรัฐมนตรี อตล เพหารี วัชปายี (Atal Behari Vajpayee) ได้แพ้การพิสูจน์เสียงข้างมาก (Vote of Confidence) ในโลกสภาเพียง 1 เสียง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 เนื่องจากพรรค All India Anna Dravida Munnetra Kazagham (AIADMK) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้ประกาศถอนการสนับสนุนรัฐบาลผสมของนายวัชปายี อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายวัชปายี ผู้นำพรรคภารติยชนตะ (Bharatiya Janata Party : BJP) ซึ่งร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ อีก 25 พรรค ในนามพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Alliance : NDA) ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ส่งผลให้นายวัชปายีเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดียอีกสมัย โดยได้กระทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2542 มีเสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎร (โลกสภา) อินเดีย ทั้งสิ้น 296 เสียง จากจำนวนเสียงทั้งหมด 543 เสียง ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันของอินเดียเป็นรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก ซึ่งนับว่ามีฐานเสียงแข็งแกร่งกว่าเดิม (ครั้งที่แล้ว พรรค BJP และพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยด้วยคะแนนเสียง 264 เสียง) ส่วนพรรคคองเกรส และพรรคพันธมิตรได้รับคะแนนเสียงเพียง 133 เสียงเท่านั้น (พรรคคองเกรสพรรคเดียวได้ 112 เสียง) ซึ่งนับว่าเป็นคะแนนเสียงที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปีของประวัติศาสตร์การเมืองของพรรคคองเกรส ส่งผลให้พรรคคองเกรสและพันธมิตรเป็นพรรคฝ่ายค้าน

การแบ่งเขตการปกครอง

อินเดียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 28 รัฐ (States) (ซึ่งแบ่งย่อยลงเป็นเขต) และ 7 ดินแดนสหภาพ (Union Territories) ได้แก่

แผนที่แสดงรัฐและดินแดนสหภาพของประเทศอินเดีย

รัฐ

ดินแดนสหภาพ

เศรษฐกิจ

  • อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP Growth) ร้อยละ 5.8 (พ.ศ. 2543)
  • รายได้ประชาชาติเบื้องต้นต่อหัว (per – capita GNP) 415 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2542)
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมมูลค่าทองคำ) (พ.ศ. 2543)
  • ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ 1,760 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (สิงหาคม พ.ศ. 2542)
  • อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ร้อยละ 6.0 (พ.ศ. 2543)
  • ดุลการค้า อินเดีย – โลก ขาดดุล 17.10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (กันยายน พ.ศ. 2543)
  • มูลค่าการส่งออก 21.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2543)
  • มูลค่าการนำเข้า 38.80 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2543)
  • การลงทุนของต่างชาติระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2542 2.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • มูลค่าตลาดทุน 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2543) ประเทศคู่ค้าสำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี ซาอุดีอาระเบีย และสหราชอาณาจักร สินค้าออกที่สำคัญ อัญมณี และกึ่งอัญมณี ไข่มุก เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชา และกาแฟ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ยาและเวชภัณฑ์ สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันปิโตรเลียม เครื่องจักร อัญมณีและกึ่งอัญมณี แร่เหล็ก และน้ำมันพืช

ประชากร

ประชากรอินเดียมีประมาณ 1,000 ล้านคน โดยมีเชื้อชาติ อินโด-อารยัน ร้อยละ 72 ดราวิเดียน ร้อยละ 25 มองโกลอยด์ ร้อยละ 2 และอื่น ๆ ร้อยละ 1 อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ 1.8 พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) และอัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 52.1

วัฒนธรรม

ภาษา

อินเดียมีประชากรกว่า 1,100 ล้านคน ประชากรเหล่านี้มีความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม มีภาษาหลักใช้พูดถึง 16 ภาษา เช่น ภาษาฮินดี ภาษาอังกฤษ ภาษาเบงกาลี ภาษาอูรดู ฯลฯ และมีภาษาถิ่นมากกว่า 100 ภาษา ภาษาฮินดี ถือว่าเป็นภาษาประจำชาติ เพราะคนอินเดียกว่าร้อยละ 30 ใช้ภาษานี้ คนอินเดียที่อาศัยอยู่รัฐทางตอนเหนือและรัฐทางตอนใต้นอกจากจะใช้ภาษาที่แตกต่างกันแล้ว การแต่งกาย การรับประทานอาหารก็แตกต่างกันออกไปด้วย^

ดูเพิ่มได้ที่ ภาษาราชการของอินเดีย

ศาสนา

เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดพระศาสนาที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนา ชาวอินเดียจึงถือว่าครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญที่สุด ระบบครอบครัวของอินเดียเป็นระบบครอบครัวร่วม หรือครอบครัวขนาดใหญ่ สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย ปู่ ย่า พ่อ แม่ ลูก หลาน และ เหลน อยู่ร่วมกันภายในครอบครัวเดียว ผู้อาวุโสที่สุดของฝ่ายชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัว แม้สังคมของอินเดียยังคงมีความนับถือเรื่องวรรณะอยู่ แต่ก็ปรากฏไม่มากเท่าอดีต การดำเนินชีวิตของชาวอินเดียจะยึดถือศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ กว่าร้อยละ 79 ของประชากรนับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 15 นับถือศาสนาอิสลาม ที่เหลือร้อยละ 2.5 นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธส่วนมากอยู่ลาดัก หิมาจัล สิกขิม อัสสัม เบงกอลตะวันตก และโอริสสา ศาสนาซิกข์ในรัฐปัญจาบ และศาสนาเชนในรัฐคุชรัต และอื่น ๆ รวมทั้งพวกนักบวชที่นับถือนิกายต่าง ๆ อีกมากมาย มีประมาณ 400 ศาสนาทั่วอินเดีย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA