ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาศกนิยม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: fa:حجم‌گرایی
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: id:Kubisme
บรรทัด 70: บรรทัด 70:
[[hu:Kubizmus]]
[[hu:Kubizmus]]
[[ia:Cubismo]]
[[ia:Cubismo]]
[[id:Kubisme]]
[[io:Kubismo]]
[[io:Kubismo]]
[[it:Cubismo]]
[[it:Cubismo]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:44, 13 ตุลาคม 2553

ผลงานแบบบาศกนิยม

บาศกนิยม (อังกฤษ: Cubism) เป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะอาวองการ์ดในศตวรรษที่ 20 ริเริ่มโดยปาโบล ปีกัสโซ (Pablo Picasso) และจอร์จส์ บราค (Georges Braque) ได้เปลี่ยนรูปโฉมของจิตรกรรมและประติมากรรมสไตล์ยุโรป รวมไปถึงดนตรีและงานเขียนที่เกี่ยวข้อง สาขาแรกของบาศกนิยมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Analytic Cubism (บาศกนิยมแบบวิเคราะห์)เป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่มีอิทธิพลรุนแรงและมีความสำคัญอย่างมากในฝรั่งเศส แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่นานนักระหว่างค.ศ.1907 และ 1911 ความเคลื่อนไหวในช่วงที่สองนั้นถูกเรียกว่า Synthetic Cubism (บาศกนิยมแบบสังเคราะห์)ได้แพร่กระจายและตื่นตัวจนกระทั่ง ค.ศ. 1919 เมื่อความเคลื่อนไหวของลัทธิเหนือจริงเป็นที่นิยม

นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษนาม ดักลาส คูเปอร์ (Douglas Cooper) ได้อธิบายสามระยะของบาศกนิยมในหนังสือของเขาชื่อ The Cubist Epoch (ยุคสมัยของบาศกนิยม)ตามแนวคิดของคูเปอร์นั้น มันเคยมีระยะเริ่มต้นของบาศกนิยม (Early Cubism) ตั้งแต่ ค.ศ.1906 ถึง 1908 เมื่อความเคลื่อนไหวนั้นได้เริ่มพัฒนาในห้องทำงานของปิกาซโซ่และบราค ในระยะที่สองนั้นเรียกได้ว่าเป็นช่วงเฟื่องฟูของบาศกนิยม (High Cubism) ตั้งแต่ ค.ศ. 1909 ถึง 1914 ขณะที่ยวน กริซ (Juan Gris)ปรากฏขึ้นเป็นผู้สนับสนุนหลัก และระยะสุดท้ายนั้นคูเปอร์เรียกว่าช่วงหลังของบาศกนิยม(Late Cubism)ตั้งแต่ค.ศ.1914 ถึง1921 ซึ่งเป็นที่ความเคลื่อนไหวอาวองการ์ดได้ถึงจุดสูงสุด[1]

ในผลงานศิลปะของบาศกนิยมนั้น วัตถุจะถูกทำให้แตกเป็นชิ้น วิเคราะห์ และประกอบกลับขึ้นมาใหม่ในรูปลักษณ์ที่เป็นนามธรรมแทนที่จะแสดงวัตถุให้เห็นจากเพียงแค่มุมมองเดียว จิตรกรนั้นได้ถ่ายทอดวัตถุจากหลายแง่มุมเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงวัตถุที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่กว้างขึ้น บ่อยครั้งนักที่ผืนราบดูเหมือนจะตัดกันในมุมที่เป็นไปโดยบังเอิญ ปราศจากความสอดคล้องของความลึก ส่วนพื้นหลังและผืนราบแทรกเข้าไปในระหว่างกันและกันเพื่อที่จะทำให้เกิดพื้นที่ที่ไม่ชัดเจนอย่างผิวเผิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะเฉพาะของบาศกนิยม

การริเริ่มและจุดกำเนิด

ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ผู้นำทางด้านวัฒนธรรมยุโรปได้ค้นพบศิลปะแบบแอฟริกัน ไมโครนีเซียน และอเมริกันท้องถิ่นเป็นครั้งแรก จิตรกรหลายคนเช่น พอล โกแกง (Paul Gauguin) อองรี มาตีส (Henri Matisse) และ ปาโบล ปีกัสโซ ได้มีแรงบันดาลใจจากสไตล์ที่มีพลังที่ตายตัวและความเรียบง่ายของวัฒนธรรมต่างชาติเหล่านั้น ประมาณปีค.ศ.1906 ปีกัสโซได้พบมาตีสผ่านเกอร์ทรูด สไตน์(Gertrude Stein)ในตอนที่ทั้งสองจิตรกรนี้พึ่งได้เริ่มที่จะมีความสนใจในความดั้งเดิม ประติกรรมไอเบอร์เรียน ศิลปกรรมแอฟริกัน และหน้ากากชนเผ่าแอฟริกัน พวกเขาได้กลายเป็นคู่แข่งที่เป็นมิตรและได้แข่งขันกันตลอดการเวลาทำงานของพวกเขา ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่นำปีกัสโซเข้าสู่ผลงานช่วงใหม่ของเขาในปี 1907 ที่แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะแบบกรีค ไอเบอร์เรียน และแอฟริกัน ภาพวาดของปีกัสโซในปี 1907นั้นถูกจำแนกไว้เป็นบาศกนิยมแบบดัั้งเดิม (Protocubism)ที่ซึ่งสามารถเห็นได้ในผลงานเหล่าหญิงสาวแห่งเอวิกนอน (Les Demoiselles d'Avignon)นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของบาศกนิยม

บางคนเชื่อว่ารากฐานของบาศกนิยมนั้นสามารถพบได้จากสองแนวโน้มที่ชัดเจนในงานถัดมาของพอล เซซานน์ (Paul Cezanne)สิ่งแรกคือได้แตกพื้นที่สีออกมาเป็นหลายพื้นที่ที่มีหลายแง่มุม ด้วยวิธีนี้มันได้เน้นย้ำความหลายหลากหลายของมุมมองที่ได้จากการประสานการทำงานของสองตา สิ่งที่สองนั้นคือความสนใจของเขาที่จะสร้างความเรียบง่ายจากรูปทรงธรรมชาติกลายเป็นทรงกระบอก ทรงกลม และทรงกรวย

อย่างไรก็ตามนักบาศกนิยมได้ออกตามหาแนวคิดออกไปมากกว่าเซซานน์ พวกเขาแสดงให้เห็นถึงระนาบทั้งหมดของวัตถุภายในภาพเดียว คล้ายกับว่าวัตถุเหล่านั้นมีด้านทุกด้านให้เห็นในเวลาเดียวกัน การแสดงภาพให้เห็นแบบใหม่นี้ได้ปฏิวัติการรับรู้ของวัตถุด้วยตาที่ซึ่งถูกถ่ายทอดลงในภาพเขียนและศิลปะ

วิทยาการของบาศกนิยมนั้นเกิดขึ้นจากความพยายามร่วมกันของปีกัสโซและบราค ตามมาด้วยชาวเมือง Monmartre ในปารีส จิตรกรเหล่านี้เป็นผู้บุกเบิกสำคัญสำหรับความเคลื่อนไหว และชาวสเปนที่มาร่วมสมทบในภายหลังคือ ยวน กริซ หลังจากได้พบกับปีกัสโซ และบราคในปี 1907 โดยเฉพาะการเริ่มที่จะพัฒนาบาศกนิยม ปีกัสโซเป็นแรงผลักดันและแรงบันดาลใจที่ชักจูงบราคให้ออกจากลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism) จิตรกรทั้งสองนี้เริ่มต้นที่จะทำงานด้วยกันอย่างใกล้ชิดในช่วงปลายปี 1908 ถึงช่วงต้นปี 1909 จนกระทั่งเกิดการจลาจลขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1914 ความเคลื่อนไหวนี้ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วทั่วทั้งปารีสและยุโรป

นักวิจารณ์ศิลปะชาวฝรั่งเศสนามหลุยส์ วาเซลส์ (Louis Vauxcelles)เป็นผู้แรกที่ได้ใช้คำว่า cubism หรือ bizarre cubiques (ลูกบาศก์ที่ประหลาด)หลังจากที่เขาได้เห็นรูปภาพโดยบราค เขาได้อธิบายมันว่า เต็มไปด้วยลูกบาศก์เล็ก ซึ่งศัพท์นี้ได้ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางแม้ว่าสองผู้สร้างนั้นจะไม่ได้เป็นคนนำมาใช้แรกเริ่ม นักประวัติศาตร์ศิลปะชื่อ เอิร์นส์ กอมบริ (Ernst Gombrich) ได้อธิบายบาศกนิยมไว้ว่าเป็นความพยายามที่แรงกล้าที่จะขจัดออกซึ่งความคลุมเครือและเพื่อที่จะบังคับให้คนได้อ่านภาพนั้น ที่ซึ่งเป็นการก่อสร้างขึ้นโดยมนุษย์ นั่นก็คือผ้าใบที่ถูกลงสี[2]

บาศกนิยมนั้นได้ถูกใช้โดยจิตรกรมากมายโดยเฉพาะในมองต์ปานาส (Montparnasse) และถูกสนับสนุนโดยผู้ค้างานศิลป์แดเนียล (Daniel-Henry Kahnweiler)และกลายเป็นที่นิยมในเวลาไม่นาน จนภายในปี 1911นั้น นักวิจารณ์หลายท่านได้กล่าวถึงโรงเรียนบาศกนิยมของจิตรกร อย่างไรก็ตามจิตรกรมากมายที่คิดว่าตัวเองเป็นนักบาศกนิยมนั้นได้ไปในทิศทางที่ค่อนข้างจะต่างจากบราคและปีกัสโซ กลุ่มของสัดส่วนทอง (Puteux Group or Section d'Oro)เป็นการแยกตัวออกมาที่สำคัญของความเคลื่อนไหวบาศกนิยม ซึ่งได้รวมถึงกิโยม อาโปลิแนร์ (Guillaume Apollinaire) โรเบิร์ต ดีลูเนย์ (Robert Delaunay) มาร์เซล ดูชอง (Marcel Duchamp) พี่ชายของเขาเรมอนด์ ดูชอง (Raymond Duchamp-Villon) แยค วิลลอน (Jacques Villon) และเฟอร์นา ลีจีร์ (Fernard Leger) และฟรานซิส บิคาเบีย (Francis Picabia) เหล่าจิตรกรที่สำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับบาศกนิยมได้แก่ อัลเบิร์ต เกลซิส (Albert Gleizes) จีน เมตซิงเกอร์ (Jean Metzinger) มารี ลอเรนซิน (Marie Laurencin) แม๊กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ดีเอโก้ รีเวร่า (Diego Rivera) มารี โวโรเบียฟ (Marie Vorobieff) หลุยส์ มาโคซิส (Louis Marcoussis) จีน รีจรูโซ่ (Jeanne Rij-Rousseau) โรเจอร์ เด ลา เฟรสเนย์ (Roger de La Fresnaye) อองรีย์ เลอร์ เฟอร์คอนนีเย (Henri Le Fauconnier) อเล็กซานเดอร์ อาคิเพนโค (Alexander Archipenko) ฟรานทีสค์ คุปค่า (Frantisek Kupka) อามีดี โอซอนฟอง (Amedee Ozenfant) เลโอพอลด์ เซอวาค (Leopold Survage) แพทริค อองรีย์ บรูซ (Patrick Henry Bruce) เซคชั่นดีโอโร่ โดยพื้นฐานแล้วเป็นเพียงแค่ชื่อของจิตรกรที่มีการเชื่อมโยงเข้ากับบาศกนิยมและออฟิสซึม (orphism)

ในปี 1913 สหรัฐอเมริกาได้ถูกเผยต่อบาศกนิยมและศิลปะแบบยุโรปแนวใหม่เมื่อ แยค วิลลอน ได้จัดแสดงเจ็ดผลงานขนาดใหญ่ที่สำคัญแบบ drypoint ที่สถานที่มีชื่อเสียง Armory Show(นิทรรศการศิลปะ)ในเมืองนิวยอร์ค บราคและปีกัสโซได้ผ่านพ้นขั้นตอนที่จำเพาะมากมายก่อนปี 1920 และบางผลงานของพวกเขาได้ถูกพบเห็นในเมืองนิวยอร์คก่อนที่จะได้เข้าไปในนิทรรศการศิลปะ ที่ห้องแสดงผลงานศิลปะ 291 ของอัลเฟรด สตีคลิซ จิตรกรชาวเช็คได้ตระหนักถึงการเปิดศักราชใหม่ที่สำคัญของบาศกนิยมที่ปีกัสโซและบราคตั้งใจจะสกัดเอาส่วนประกอบจากงานของพวกเขาออกมาในทุกสาขาของความสร้างสรรค์แบบศิลป์ โดยเฉพาะจิตรกรรมและสถาปัตยกรรม และสิ่งนี้ทำให้มันถูกพัฒนาไปสู่บาศกนิยมแบบเช็คที่เป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะอาวองการ์ดที่สนับสนุนโดยเช็คและมีความเคลื่อนไหวมากที่สุดในปราคจากปี 1910 ถึง 1914

บาศกนิยมแบบวิเคราะห์

บาศกนิยมแบบวิเคราะห์เป็นหนึ่งในสองสาขาที่สำคัญของความเคลื่อนไหวทางศิลปะของบาศกนิยมและได้ถูกพัฒนาขึ้นระหว่างปี 1908 และ 1912 ซึ่งที่ต่างจากบาศกนิยมแบบสังเคราะห์ก็คือนักบาศกนิยมแบบวิเคราะห์นั้นได้วิเคราะห์รูปทรงธรรมชาติและลดทอนรูปทรงนั้นลงไปยังรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่ายบนรูประนาบสองมิติ สีเกือบจะเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนเว้นแต่ว่าจะเป็นการใช้สีแบบโทนเดียวซึ่งส่วนใหญ่นั้นรวมไปถึงสีเทา สีน้ำเงิน และสีเหลืองอมน้ำตาล แทนที่จะเน้นการใช้สีนั้นนักบาศกนิยมแบบวิเคราะห์ได้ให้ความสนใจกับรูปทรงมากกว่าเช่น ทรงกระบอก ทรงกลม ทรงกรวย เพื่อที่จะอธิบายให้เห็นถึงโลกธรรมชาติ ในระหว่างความเคลื่อนไหวนี้ผลงานโดยปีกัสโซและบราคได้มีความคล้ายคลึงกันของรูปแบบ

ทั้งปาโบล ปีกัสโซและ จอร์จส์ บราคนั้นได้เคลื่อนเข้าสู่ความเป็นนามธรรม ทิ้งไว้แต่เพียงสัญญานที่เพียงพอของโลกแห่งความเป็นจริงเพื่อที่จะทำให้เกิดแรงตึงระหว่างความเป็นจริงภายนอกรูปภาพและการไตร่ตรองที่ซับซ้อนของภาษาการมองเห็นที่อยู่ภายในกรอบ ทำให้เป็นตัวอย่างผ่านทางรูปภาพของพวกเขา Ma Jolie โดยปีกัสโซในปี 1911 และ The Protuguese โดยบราคในปีเดียวกัน

ในปารีสปี 1907 ได้เคยมีการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่สำหรับผลงานเก่าๆเพื่อที่จะหวนรำลึกถึงพอล เซซานน์เป็นช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากการตายของเขา การจัดแสดงงานนี้มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงที่จะแต่งตั้งเซซานน์ให้เป็นจิตรกรเอก ผู้ที่มีความคิดดังกึกก้องไปทั่วโดยเฉพาะจิตรกรรุ่นเยาว์ในปารีส ทั้งปีกัสโซและบราคได้พบแรงบันดาลใจมาจากพอล เซซานน์ผู้ที่สังเกตและเรียนรู้ที่จะเห็นและปฏิบัติต่อธรรมชาติราวกับว่ามันถูกประกอบขึ้นด้วยรูปทรงพื้นฐานเช่น ลูกบาศก์ ทรงกลม ทรงกระบอก และทรงกรวย ปีกัสโซเป็นเสาหลักของนักบาศกนิยมแบบวิเคราะห์ แต่บราคก็เป็นที่โด่งดังเช่นเดียวกันที่ได้ละทิ้งลัทธิโฟวิสม์มาร่วมงานกับปีกัสโซในการที่จะพัฒนานักบาศกนิยมเฉพาะสาขา

บาศกนิยมแบบสังเคราะห์

บาศกนิยมแบบสังเคราะห์เป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญลำดับที่สามของบาศกนิยมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยปีกัสโซ บราค ยวน กริซ และคนอื่นระหว่างปี 1912 และ 1919 บาศกนิยมแบบสังเคราะห์ถูกจำแนกคุณลักษณะโดยการริเริ่มของความแตกต่างในพื้นผิว ผิวหน้า องค์ประกอบที่ถูกปะติดปะต่อกัน กระดาษที่ถูกต่อกัน (papier colle) และความหลากหลายของการรวมกันของสสาร มันเป็นจุดเริ่มต้นของวัสดุที่ใช้ในการปะติดปะต่อกันที่ถือว่าเป็นส่วนผสมที่สำคัญของงานวิจิตรศิลป์

งานที่ได้ถือว่าเป็นงานแรกของรูปแบบนี้คือผลงานของปาโบล ปีกัสโซ ภาพนิ่งกับเก้าอี้ไม้ (Still Life with Chair-Caning) ในช่วงปี 1911 ถึง 1912 ซึ่งรวมไปถึงผ้าน้ำมันที่ถูกพิมพ์ให้เหมือนกันเก้าอี้ไม้ติดลงบนผ้าใบทรงรีพร้อมข้อความและเชือกที่ล้อมกรอบภาพรวม ในมุมบนซ้ายนั้นมีตัวอักษร JOU ที่ปรากฏขึ้นในงานของนักบาศกนิยมหลายๆคนเพื่อที่จะสื่อถึงหัวหนังสือพิมพ์ Le Journal ข่าวสารที่ถูกตัดออกจากหนังสือพิมพ์ยังเป็นการแทรกเข้ามาที่ปกติ ชิ้นส่วนของหนังสือพิมพ์ แผ่นโน้ตดนตรีและสิ่งของยังถูกใช้ในการปะติดปะต่อกัน ตัวอักษร JOU นั้นอาจจะมีอีกความหมายหนึ่งในเวลาเดียวกันในภาษาฝรั่งเศสคือ เกม (jeu) และ เล่น (jouer) ปีกัสโซและบราคมีการแข่งขันที่เป็นมิตรด้วยกันซึ่งรวมไปถึงตัวอักษรในงานของพวกเขาที่ถือได้ว่าเป็นการต่อยอดของเกมพวกเขา

ในทางตรงกันข้ามกับบาศกนิยมแบบวิเคราะห์ที่เป็นการวิเคราะห์ของวัตถุ ที่แตกวัตถุออกมาในรูปของสองมิติ บาศกนิยมแบบสังเคราะห์นั้นเป็นเหมือนกับการดันวัตถุหลายชิ้นเข้าด้วยกัน ตลอดความเคลื่อนไหวนี้ปีกัสโซเป็นบุคคลแรกที่ใช้ข้อความในผลงานศิลป์ของเขาเพื่อที่จะทำให้พื้นที่นั้นแบนลง และใช้สื่อกลางที่มีความผสมผสาน นั่นคือมีมากกว่าหนึ่งสือกลางในชิ้นเดียวกัน บาศกนิยมแบบสังเคราะห์มีความบริสุทธิ์น้อยกว่าบาศกนิยมแบบวิเคราะห์ เนื่องจากมันมีการเคลื่อนของระนาบที่น้อยกว่า การให้แสงเงาที่น้อยกว่า ซึ่งทำให้เกิดพื้นที่ที่แบนกว่า

อ้างอิง

  1. Douglas Cooper, "The Cubist Epoch", pp. 11–221, Phaidon Press Limited 1970 in association with the Los Angeles County Museum of Art and the Metropolitan Museum of Art ISBN 0 87587041 4
  2. Ernst Gombrich (1960) Art and Illusion, as quoted in Marshall McLuhan (1964) Understanding Media, p.12 [1]