ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sakesin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
[[ไฟล์:Suvarnabhumi express train.jpg|thumb|right|250px|ตัวรถไฟ]]
[[ไฟล์:Suvarnabhumi express train.jpg|thumb|right|250px|ตัวรถไฟ]]
[[ไฟล์:Inside sarl cityline.jpg|thumb|right|ภายในห้องโดยสารรถไฟฟ้าสาย City Line]]
[[ไฟล์:Inside sarl cityline.jpg|thumb|right|ภายในห้องโดยสารรถไฟฟ้าสาย City Line]]

{{สายรถไฟฟ้า}}
โครงการ '''รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ''' หรือ '''แอร์พอร์ตเรลลิงก์''' หรือ '''แอร์พอร์ตลิงก์''' เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบพิเศษ สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ที่จะมาใช้บริการ[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]
โครงการ '''รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ''' หรือ '''แอร์พอร์ตเรลลิงก์''' หรือ '''แอร์พอร์ตลิงก์''' เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบพิเศษ สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ที่จะมาใช้บริการ[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]
ให้สามารถเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็วและเชื่อถือได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] ดำเนินการก่อสร้าง โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ[[สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง]] ในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท
ให้สามารถเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็วและเชื่อถือได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] ดำเนินการก่อสร้าง โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ[[สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง]] ในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท
บรรทัด 140: บรรทัด 140:


== ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา ==
== ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา ==
{{สายรถไฟฟ้า}}

==== ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ ====
==== ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ ====
* บริษัท บี กริม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
* บริษัท บี กริม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:51, 13 สิงหาคม 2553

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Suvarnabhumi Airport Rail Link
(SARL)

City Air Terminal
ข้อมูลทั่วไป
สถานะทดสอบระบบการเดินรถ และเปิดให้บริการฟรี
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งไทย กรุงเทพมหานคร,สมุทรปราการ ประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี8
เว็บไซต์airportraillink.railway.co.th
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับ และ รถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบAirport rail link
ผู้ดำเนินงานบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด (SRTET)
ประวัติ
เปิดเมื่อ5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (ทดสอบรอบที่ 1 มักกะสัน - สุวรรณภูมิ)

1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (ทดสอบรอบที่ 2 พญาไท - สุวรรณภูมิ)

23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (ดำเนินการเต็มรูปแบบ) [1]

ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง28.6 กิโลเมตร (18 ไมล์) (est.)
รางกว้างStandard gauge
ระบบจ่ายไฟOverhead lines
ความเร็ว160 km/h (99 mph)
แผนที่เส้นทาง
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สถานีใต้ดิน)
ลาดกระบัง
บ้านทับช้าง
หัวหมาก
รามคำแหง
มักกะสัน (City Air Terminal)
ราชปรารภ
พญาไท
ไฟล์:SARL map.gif
แผนที่โครงการ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 1 พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ
ไฟล์:Cit Air Terminal Bangkok.jpg
ภาพสถานีรถไฟมักกะสันขณะอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง (30 พฤษภาคม 2551)
ไฟล์:Suvarnabhumi express train.jpg
ตัวรถไฟ
ภายในห้องโดยสารรถไฟฟ้าสาย City Line

โครงการ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบพิเศษ สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ที่จะมาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้สามารถเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็วและเชื่อถือได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้าง โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท

และในบางส่วน คงจะเชื่อกันว่าทางภาครัฐ จะให้มีการเชื่อมต่อการบริการไปจนถึง สถานีรถไฟดอนเมือง เพื่อเชื่อมต่อระหว่างผู้โดยสารที่จะต้องการใช้บริการอากาศยานของท่าอากาศยานในเมืองทั้ง 2 แห่ง ระหว่าง ท่าอากาศยานดอนเมือง และ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าด้วยกันอีกด้วย ภายในเวลาอนาคต (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาความสามารถในการใช้ประโยชน์การบินเชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานดอนเมืองด้วย) [ต้องการอ้างอิง]

รูปแบบการให้บริการและส่วนบริการ

สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่ง ทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง เพื่อเชื่อมเส้นทางระหว่างเมืองหลวงไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.6 ก.ม. (17.77 ไมล์) โดยใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบทางคู่ ยกระดับขนานไปตามแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก เพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารท้องถิ่นตลอดเส้นทาง รวมทั้งผู้โดยสารอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีรูปแบบการให้บริการและส่วนบริการเสริมเป็น 3 ลักษณะ

รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ให้บริการผู้โดยสารด้วยรถไฟฟ้าปรับอากาศความเร็วสูง วิ่งตรงระหว่างสถานีมักกะสัน-อโศก ถึง สถานีสุวรรณภูมิ ภายในเวลา 15 นาที

รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ให้บริการผู้โดยสาร วิ่งรับ-ส่งระหว่างทางเริ่มต้นที่สถานีพญาไท ราชปรารภ มักกะสัน-อโศก รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง ผ่าน 7 สถานี สู่ปลายทางที่สถานีสุวรรณภูมิ ภายในเวลา 28 นาที

สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง

สถานีแห่งเดียวที่ผู้โดยสารสามารถนำสัมภาระมาเช็คอินเข้าสู่บริการขนถ่ายสัมภาระไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ได้โดยสะดวก

ความเร็ว

160 กม./ชม. เข้าประแจ 40 - 60 กม./ชม. ประแจลงdeport 125 กม./ชม.

ขอบเขตงาน

งานโยธาและงานโครงสร้าง

  1. โครงสร้างทางยกระดับ
  2. สถานียกระดับ 7 แห่ง
  3. สถานีใต้ดิน (งานสถาปัตยกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวก)
  4. อาคารสถานีรับส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง
  5. โครงสร้างรองรับย่านจอดสับเปลี่ยนรถ
  6. โรงซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
  7. สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร เช่น บันไดเลื่อน ลิฟท์ ฯลฯ
  8. งานถนนและปรับปรุงพื้นที่ต่อเชื่อม

งานระบบรางและงานระบบไฟฟ้า-เครื่องกล

  1. ระบบรางรถไฟฟ้า/แนวราง
  2. ระบบอาณัติสัญญาณและควบคุมการเดินรถ
  3. ระบบโทรคมนาคม
  4. ระบบจ่ายกำลังขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า
  5. ระบบจำหน่ายตั๋วอัติโนมัติ
  6. ระบบชานชาลาประตูอัติโนมัติ
  7. อุปกรณ์ซ่อมบำรุงรักษาในโรงซ่อมบำรุง
  8. ระบบการตรวจบัตรโดยสารและระบบขนถ่ายกระเป๋า

งานจัดหาตู้รถโดยสารไฟฟ้า

  1. รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 16 ตู้
  2. รถไฟฟ้าท่าอากาาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 15 ตู้

ลักษณะขบวนรถ

โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น ใช้ขบวนรถ Desiro UK Class 360 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานฮีทโธรว์ ผลิตโดยบริษัทซีเมนส์ มีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ภายในขบวนรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (คาดน้ำเงิน) จะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถ เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร ส่วนขบวนรถไฟฟ้าด่วนสุวรรณภูมิ (คาดแดง) จะเป็นเบาะกำมะหยี่ตั้งตำแหน่งตามความกว้างของรถ แบ่งเป็นสองแถว แถวละสองที่นั่ง โดยทั้งสองแบบล้วนปรับอากาศทั้งสิ้น

การจัดเรียงขบวนรถ

แม่แบบ:SARLLine Siemens Desiro Class 360/2

ไปทางตะวันตก (มุ่งหน้า สถานีมักกะสัน) (มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) ไปทางตะวันออก

1012 - 1014 - 1013 - 1011

1022 - 1024 - 1023 - 1021

1032 - 1034 - 1033 - 1031

1042 - 1044 - 1043 - 1041

แม่แบบ:SARLLine Siemens Desiro Class 360/2

ไปทางตะวันตก (มุ่งหน้า สถานีพญาไท) (มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) ไปทางตะวันออก

2012 - 2013 - 2011

2022 - 2023 - 2021

2032 - 2033 - 2031

2042 - 2043 - 2041

2052 - 2053 - 2051

ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา

ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ

  • บริษัท บี กริม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  • B.Grimm MBA Hongkong Ltd.
  • บริษัท Siemens Aktiengesellschaft จำกัด
  • บริษัท ซีเมนต์ จำกัด
  • บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง

  • บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
  • บริษัท ไทย เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
  • บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแทนส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  • บริษัท โชติจินดา มูเซล คอนซัลแตนท์ จำกัด
  • DE-Consult Deutsche Eisenbahn - Consulting GmbH
  • บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
  • บริษัท ดีไซน์ คอนเซป จำกัด

ความคืบหน้า

  • ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ดำเนินงานแล้วเสร็จร้อยละ 44 มีกำหนดเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
  • ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ดำเนินงานแล้วเสร็จร้อยละ 70 และขยายกำหนดเปิดให้บริการไปเป็นภายในปี พ.ศ. 2552
  • วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ได้ส่งมอบ ขบวนรถด่วน (SA-Express) ล็อตแรก ให้กับทาง รฟท. จำนวน 8 ตู้
  • ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ดำเนินงานแล้วเสร็จร้อยละ 78.5 และกำหนดเปิดให้บริการในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 [2]
  • ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 84 เริ่มทดสอบระบบเดินรถได้ภายในปี 2551 และกำหนดเปิดให้บริการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 [3]
  • ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 92.97 กำหนดเปิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 [4]
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ดำเนินการเสร็จร้อยละ 98 กำหนดเปิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (ทั้งนี้ระบบเช็กอินกระเป๋าอาจจะไม่เสร็จทันการเปิดใช้ แต่จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ตามกำหนด) [5]
  • วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทดสอบระบบโดยให้ประชาชนและสื่อมวลชนร่วมทดสอบระบบ
  • รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีแผนการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552
  • รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีแผนจะเปิดให้ใช้ฟรี ตั้งแต่ 15 มีนาคม ต่อเนื่องไปจนถึงต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 โดยเปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ วันละ 2 ช่วงเวลาคือ ตั้งแต่เวลา 07.00-10.00 น. และเวลา 16.00-19.00 น. โดยมีรถไฟฟ้าให้บริการ ทุก ๆ 30 นาที และสามารถขึ้นรถได้ 2 จุดคือสถานีต้นทางและปลายทาง คือสถานีพญาไทและสถานีสุวรรณภูมิ เท่านั้น [6]
  • รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะเปิดให้บริการอย่างเต็มระบบ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553[ต้องการอ้างอิง]
  • 4 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีการแถลงความคืบหน้าว่า ไม่สามารถเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนเมษายนเพราะมีความล่าช้าของงานหลายส่วน ทำได้แต่เพียงทดลองเปิดให้ใช้บริการฟรีเท่านั้น การเปิดใช้เชิงพาณิชย์เต็มรุปแบบคาดว่าจะเริ่มได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553[7]
  • รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ พร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเปิดให้บริการฟรี

ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีกำหนดเปิดให้บริการฟรี ในเวลา 07.00 - 10.00 น. และ 16.00 - 19.00 น. โดยมีความถี่ในการเดินรถ 20 นาที ให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ เว้นวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

เนื่องจากเกิดสถานการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทยเกรงจะมีปัญหาการเข้ามาแทรกแซงการเปิดให้บริการในเส้นทางคมนาคมหลัก ๆ โดยเฉพาะเส้นทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ จึงเลื่อนการเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link) หรือแอร์พอร์ตลิงก์ไปก่อนอย่างไม่มีกำหนด แต่ทางการถไฟฯ จะยังคงเดินหน้าทดสอบระบบเดินรถตามปกติ [8]

การทดสอบการเดินรถโดยเปิดให้บริการฟรีแก่ประชาชน สามารถมาเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 โดยเป็นการทดสอบตามกำหนดการเดิมที่เลื่อนจากวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 เดินรถสองช่วงเวลา 07.00 - 10.00 น. และ 16.00 - 19.00 น. จากสถานีพญาไท - สุวรรณภูมิ - พญาไท ไม่หยุดจอดรายทางและจะเริ่มเพิ่มสถานีจอดรับผู้โดยสารเพิ่มจนครบทุกสถานี [9]

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553 รฟท. ได้ประกาศขยายเวลาให้บริการเดินรถทั้งในช่วงเช้าและช่วงเย็น จากเดิม 6 ชม. เป็น 9 ชม. ต่อวัน โดยช่วงเช้าจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 10.00 น. จากเดิม 07.00 - 10.00 น. และช่วงเย็นให้บริการตั้งแต่เวลา 16.00 - 21.00 น. จาก 16.0 0- 19.00 น. และจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น. [10]

อ้างอิง

  1. http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1103649&page=43
  2. http://enews.mcot.net/view.php?id=3507
  3. http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=320001 แอร์พอร์ตลิงก์ คืบหน้าแล้วร้อยละ 84
  4. http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=27978602#post27978602
  5. http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=190868&NewsType=1&Template=1
  6. http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=51437&categoryID=354
  7. http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20100304/103346/%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%93-%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B8%81.%E0%B8%84.53.html
  8. http://www.railway.co.th/srt/pr/news/viewshownews.asp?idnews=589 การรถไฟฯ ขออภัยประชาชน เลื่อนกำหนดการเดินทดลองรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์
  9. http://www.thairath.co.th/content/eco/86633
  10. http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1103649&page=43

แหล่งข้อมูลอื่น