ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สอ เสถบุตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
หลังได้รับอิสรภาพใช้ประสบการณ์คราวเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "สามัคคีสาร" แห่งสามัคคีสมาคมของคนไทยในอังกฤษ กับคนที่เคยเขียนบทความเป็นประจำในหนังสือพิมพ์ "แมนเชสเตอร์ การ์เดี้ยน" เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ "ศรีกรุง" "สยามราษฎร์" รับตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ "ลิเบอร์ตี้" กับ "ลีดเดอร์" เข้าสู่ถนนการเมือง ร่วมกับ ม.ร.ว.[[คึกฤทธิ์ ปราโมช]] จัดตั้งพรรคการเมือง ชื่อพรรค "[[พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488)|ก้าวหน้า]]" ต่อมาได้รับเลือกเป็น ส.ส.ธนบุรี เขต 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลพันตรี[[ควง อภัยวงศ์]] และได้โอนมาสังกัดกับ[[พรรคประชาธิปัตย์]]
หลังได้รับอิสรภาพใช้ประสบการณ์คราวเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "สามัคคีสาร" แห่งสามัคคีสมาคมของคนไทยในอังกฤษ กับคนที่เคยเขียนบทความเป็นประจำในหนังสือพิมพ์ "แมนเชสเตอร์ การ์เดี้ยน" เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ "ศรีกรุง" "สยามราษฎร์" รับตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ "ลิเบอร์ตี้" กับ "ลีดเดอร์" เข้าสู่ถนนการเมือง ร่วมกับ ม.ร.ว.[[คึกฤทธิ์ ปราโมช]] จัดตั้งพรรคการเมือง ชื่อพรรค "[[พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488)|ก้าวหน้า]]" ต่อมาได้รับเลือกเป็น ส.ส.ธนบุรี เขต 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลพันตรี[[ควง อภัยวงศ์]] และได้โอนมาสังกัดกับ[[พรรคประชาธิปัตย์]]


สอ เสถบุตร ถึงแก่อนิจกรรมด้วย[[โรคหัวใจวายเฉียบพลัน]] ที่ [[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] เมื่อเช้าวันที่ [[9 กันยายน]] [[พ.ศ. 2513]] รวมอายุได้ 67 ปี 7 เดือน 1 วัน
สอ เสถบุตร ถึงแก่อนิจกรรมด้วย[[โรคหัวใจวายเฉียบพลัน]] ที่ [[โรงพยาบาลรามาธิบดี]] เมื่อเช้าวันที่ [[9 กันยายน]] [[พ.ศ. 2513]] รวมอายุได้ 67 ปี 7 เดือน 1 วัน


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:09, 29 กรกฎาคม 2553

ไฟล์:Imageสอ.gif
สอ เสถบุตร ในวัยหนุ่ม
ไฟล์:So sethaputra 07.jpg
ในวัยชรา

สอ เสถบุตร [1] หรือชื่อเดิม สอ เศรษฐบุตร ผู้แต่งพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฉบับ สอ เสถบุตร ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทย

ประวัติ

สอ เศรษฐบุตร เกิดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (พ.ศ. 2445 ตามการนับศักราชแบบเดิม) บิดาชื่อ นายสวัสดิ์ เศรษฐบุตร บุตรพระประเสริฐวานิช เจ้าภาษีรังนก มารดาชื่อ เกษร (บุตรขุนพัฒน์ นายอาการบ่อนเบี้ยย่านหลังวัดประยุรวงศาวาส กับ นางแจ่ม) สกุลเดิม เหมะพุกกะ

สอ เศรษฐบุตร จบ ม.8 จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับทุนคิงสกอลาชิพ (ทุนเล่าเรียนหลวง) [2] ไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ จบปริญญาตรีเกียรตินิยม สาขาธรณีวิทยากับวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ กลับมารับบรรดาศักดิ์เป็น "รองเสวกเอก หลวงมหาสิทธิโวหาร" ด้วยวัยเพียง 26 ปี และดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบัญชีกลาง ต่อมาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นปลัดกรมองคมนตรี สังกัดกรมราชเลขาธิการในราชสำนัก

การเมือง

สอ เศรษฐบุตร ถูกจับในคดีกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 ถูกถอดบรรดาศักดิ์ ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ที่ บางขวาง, เกาะตะรุเตา และเกาะเต่า ระหว่างถูกจองจำใช้เวลาเขียนพจนานุกรมอังกฤษเป็นไทย (เริ่มแรกใช้คำว่า ปทานุกรม) ทั้งฉบับห้องสมุด ฉบับตั้งโต๊ะ ได้ความนิยมยกย่องทั่วประเทศว่าเป็นพจนานุกรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา โดยลักลอบส่งต้นฉบับออกมาตีพิมพ์นอกเรือนจำผ่านทางมารดาที่เดินทางเข้ามาเยี่ยม

หลังได้รับอิสรภาพใช้ประสบการณ์คราวเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "สามัคคีสาร" แห่งสามัคคีสมาคมของคนไทยในอังกฤษ กับคนที่เคยเขียนบทความเป็นประจำในหนังสือพิมพ์ "แมนเชสเตอร์ การ์เดี้ยน" เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ "ศรีกรุง" "สยามราษฎร์" รับตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ "ลิเบอร์ตี้" กับ "ลีดเดอร์" เข้าสู่ถนนการเมือง ร่วมกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จัดตั้งพรรคการเมือง ชื่อพรรค "ก้าวหน้า" ต่อมาได้รับเลือกเป็น ส.ส.ธนบุรี เขต 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์ และได้โอนมาสังกัดกับพรรคประชาธิปัตย์

สอ เสถบุตร ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อเช้าวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2513 รวมอายุได้ 67 ปี 7 เดือน 1 วัน

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. สอ เศรษฐบุตร เปลี่ยนชื่อเป็น สอ เสถบุตร ช่วงรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งมีการงดใช้อักษรไทยหลายตัวที่ซ้ำซ้อนกัน และภายหลังไม่ได้เปลี่ยนกลับตามเดิม
  2. ขณะที่จบ ม.7 ไปสอบได้ทุนรถไฟหลวงไปศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ได้รับการขอร้องให้สละสิทธิ์ เมื่อจบ ม.8 สอบชิงทุนคิงสกอลาชิพ (ทุนเล่าเรียนหลวง) ได้ที่ 3 ของประเทศจึงไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากจำกัดจำนวนผู้รับทุนเพียงสองคน จึงเรียนซ้ำชั้น ม.8 เพื่อสอบชิงทุนอีกครั้ง ครั้งหลังได้ที่ 2 ของประเทศ ผู้ที่ได้ที่ 1 คือ หลวงธาราดิเรก (ฮ่องฮี ลิ้มเจริญ)
  • พิมพวัลคุ์ เสถบุตร, ชีวิตและการต่อสู้ สอ เสถบุตร บุรุษผู้ไม่ยอมก้มหัวให้กับโชคชะตา, สำนักพิมพ์วิชั่น , ISBN 974-88357-6-6