ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
เนื้อหายาวแล้ว (แม่แบบโครงส่วนระบุต้องการการเพิ่มเนื้อหา)
Vasavasti (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
* [http://internationalschool.eduzones.com/lunla/2187 รายละเอียด วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล] จากเว็บ eduzones
* [http://internationalschool.eduzones.com/lunla/2187 รายละเอียด วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล] จากเว็บ eduzones


{{สถาบันอุดมศึกษานานาชาติในประเทศไทย}}
{{มหาวิทยาลัยมหิดล}}
{{มหาวิทยาลัยมหิดล}}
[[หมวดหมู่:หน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล|นานาชาติ]]
[[หมวดหมู่:หน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล|นานาชาติ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:02, 21 กรกฎาคม 2553

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยรัฐแห่งแรกของประเทศไทย มีนักศึกษาจากหลายชาติ

ประวัติ

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2529 ตามมติของสภามหาวิทยาลัยมหิดล สมัยศาสตราจารย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นอธิการบดี อนุมัติโครงการการศึกษาปริญญาตรี สำหรับนักศึกษานานาชาติ หรือ International Students Degree Program – ISDP มีศาสตราจารย์สิรินทร์ พิบูลนิยม เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโครงการ โครงการนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย การเรียนการสอนเป็น Liberal Art Education ที่มุ่งให้นักศึกษาเป็นคนรู้กว้าง รู้จักคิด รู้จักวิเคราะห์ เข้าใจวิวัฒนาการของสังคมไทย สังคมโลก เข้าใจศิลปวัฒนธรรมไทยและสากลเป็นอย่างดี บัณฑิตที่จบการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และบริหารธุรกิจมีมาตรฐานตรงตามความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ และการแข่งขันในระดับนานาชาติด้วย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2539 สภามหาวิทยาลัย สมัย ศ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติอนุมัติให้โครงการวิทยาลัยนานาชาติ เป็นวิทยาลัยในกำกับมหาวิทยาลัยมหิดลดำรงฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นหน่วยงานนำร่องบริหารงานแบบนอกระบบราชการ มีการบริหารจัดการเป็นอิสระ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ จริยา บรอคเคลแมน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นผู้วางระบบการบริหารจัดการด้วยเงินรายได้ของวิทยาลัยฯ เอง นับเป็น การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวิทยาลัยนานาชาติ การบริหารจัดการรูปแบบใหม่นี้ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะผู้บริหารฯ กำหนดทิศทาง และเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มุ่งสู่ความเป็นวิทยาลัยนานาชาติระดับสากล เปิดสอนหลักสูตรหลากหลาย ให้นักศึกษาได้เรียนรู้รอบด้านหลากหลายมิติ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการผลิตบัณฑิตมีคุณภาพ รับใช้สังคม อุดมคุณธรรม วิทยาลัยฯ มีเครือข่ายการศึกษาใน 5 ทวีป ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา การวิจัย และจัดให้บริการวิชาการสู่สังคม จนทำให้วิทยาลัยฯ เป็นต้นแบบของการให้บริการทางวิชาการ และเป็นแบบอย่างของการพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติของประเทศไทยอย่างแท้จริง มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ

หลักสูตร

        เปิดสอนทั้งหลักสูตรปริญญาตรี และปริญญาโท

หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปริญญาบัตร 21 สาขาวิชา ได้แก่

  • หลักสูตรศิลปศาสตร์ ได้แก่ สาขาเอเชียอาคเนย์ศึกษา การศึกษาระหว่างประเทศ, การผลิตแอนิเมชั่นการผลิตภาพยนตร์ การผลิตรายการโทรทัศน์ และหลักสูตรใหม่ นิเทศศิลป์ (เปิดรับสมัครเดือนกรกฎาคม 2552)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ ได้แก่ สาขาการบริหารอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ การเงิน ระบบสารสนเทศ ธุรกิจระหว่างประเทศ การตลาด และ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เคมี วิทยาการคอมพิวเตอร์ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และฟิสิกส์
  • หลักสูตรพยาบาลศาสตร์
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรปริญญาโท 2 สาขาวิชา ได้แก่

  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(การวิเคราะห์และการสร้างตัวแบบธุรกิจ)
  • การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ(หลักสูตรนานาชาติ)

แหล่งข้อมูลอื่น