ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนื้อทราย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: pnb:پاڑہ ہرن
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
[[oc:Axis porcinus porcinus]]
[[oc:Axis porcinus porcinus]]
[[pl:Jelonek bengalski]]
[[pl:Jelonek bengalski]]
[[pnb:پاڑہ ہرن]]
[[simple:Hog Deer]]
[[simple:Hog Deer]]
[[sv:Svinhjort]]
[[sv:Svinhjort]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:25, 9 กรกฎาคม 2553

เนื้อทราย
ไฟล์:C porcinus.jpg
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Cervidae
วงศ์ย่อย: Cervinae
สกุล: Axis
สปีชีส์: A.  porcinus
สปีชีส์ย่อย:
  • A.  p. annamiticus
  • A. p. porcinus
ชื่อทวินาม
Axis porcinus
Zimmermann, ค.ศ. 1780

เนื้อทราย หรือ ทราย หรือ ตามะแน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Axis porcinus มีรูปร่างอ้วนป้อม ขาสั้น จึงได้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า กวางหมู (Hog deer) เนื้อทรายจะมีสีขนเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศ โดยปกติจะมีสีน้ำตาลเข้มในฤดูหนาว สีเทาในฤดูร้อน ลูกเนื้อทรายเมื่อแรกเดิดจะมีจุดสีขาวตามลำตัว เมื่อโตขึ้นจึงจายหายไป บริเวณช่วงท้องมีสีอ่อนกว่าลำตัว ขนสั้นมีปลายขนสีขาว มีแถบสีเข้มพาดตามหน้าผาก มีเขาเฉพาะเพศผู้ ลักษณะเขาคล้ายกวางป่า มีความยาวลำตัวและหัว 140-150 เซนติเมตร ความยาวหาง 17.5-21 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 65-72 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 70-110 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคเหนือของอินเดีย เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน บังกลาเทศ พม่า ภาคใต้ของจีน ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม เกาะคาลาเมี่ยนในฟิลิปปินส์ และเกาะบาเวียนในอินโดนีเซีย

มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำท่วมถึง ออกหากินในเวลากลางคืน มีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นและฟังเสียงดีเยี่ยม แม่เนื้อทรายสามารถจดจำลูกตัวเองได้โดยการดมกลิ่น เมื่อพบศัตรูจะวิ่งหนีไม่กระโดดเหมือนเก้งและกวาง โดยปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง แต่ในฤดูผสมพันธุ์ ราวเดือนกันยายน-ตุลาคม อาจหากินเป็นฝูงเล็ก ๆ ได้ ราว 12 ตัว ตั้งท้องประมาณ 8 เดือน วัยเจริญพันธุ์อยู่ที่ 2 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ในสถานที่เลี้ยงมีอายุราว 10-15 ปี

เนื้อทราย เคยเป็นสัตว์ป่าสงวนในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2509 และถูกถอดชื่อออกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เนื่องจากสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในปริมาณที่มากจำนวนหนึ่ง แต่สถานะในธรรมชาติในประเสไทย เชื่อว่า ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 ที่เท่านั้น คือ ห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยเฉพาะที่ภูเขียว เป็นสถานที่ ๆ มีเนื้อทรายอยู่มากที่สุด จากการเพาะขยายพันธุ์และสืบพันธุ์เองตามธรรมชาติจากพ่อแม่พันธุ์ที่เกิดจากการเพาะโดยมนุษย์ที่ถูกปล่อย

เนื้อทราย ตามคติของคนไทย ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาสวย จึงมีคำเปรียบเปรยว่า ตาสวยดังเนื้อทราย

เนื้อทราย ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น กวางแขม ลำโอง และกวางทราย[2]

อ้างอิง

  1. Timmins, R.J., Duckworth, J.W., Samba Kumar, N., Anwarul Islam, Md., Sagar Baral, H., Long, B. & Maxwell, A. (2008).Axis porcinus In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 8 April 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of endangered.
  2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 65