ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
M-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำอัตโนมัติ (-<references/> +{{รายการอ้างอิง}}) ด้วยบอต
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9: บรรทัด 9:


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

* [[การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย]]
* [[การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย]]
* [[รอยเขียวช้ำหลังตาย]]
* [[การตกของเม็ดเลือดแดงตามแรงโน้มถ่วง]]
* [[สภาพแข็งทื่อหลังตาย]]
* [[การแข็งตัวของกล้ามเนื้อ]]
* [[การลดลงของอุณหภูมิร่างกาย]]
* [[การลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังตาย]]
* [[การเน่าสลายตัว]]
* [[การเน่าสลายตัว]]
* [[การตรวจสอบปริมาณอาหารในกระเพาะ]]
* [[การตรวจสอบปริมาณอาหารในกระเพาะ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:26, 9 มิถุนายน 2553

การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ (อังกฤษ: Insect Activity) เป็นการเปลี่ยนแปลงหลังการตายตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์ เมื่อตายหรือหัวใจหยุดเต้น ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังการตายตามธรรมชาติ เกิดการเน่าสลายตัวและอาจเกิดการเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพในช่วงระยะเวลาประมาณ 3-4 วันหลังจากตาย ซึ่งการเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ อาจจะเป็นตัวช่วยบ่งบอกระยะเวลาการตายของผู้ตายได้เป็นอย่างดี

การเจริญเติบโตของหนอน

การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ แพทย์นิติเวชและพนักงานสอบสวนจะต้องทราบว่าชนิดของตัวหนอนที่พบในศพนั้น เป็นตัวหนอนของแมลงชนิดใด การรู้ถึงชนิดของแมลงและตัวหนอนจะช่วยทำให้ทราบได้ว่าแมลงชนิดนั้นเจริญเติบโตมานานเท่าใด และใช้ระยะเวลากี่วันจึงจะเจริญเติบโต ซึ่งเป็นการช่วยบอกระยะเวลาการตายในทางอ้อมได้

แมลงวันเป็นแมลงที่พบได้มากที่สุดในการเป็นตัวหนอนที่พบบนศพที่ยังไม่แห้ง [1] ในประเทศไทยเคยมีผู้ศึกษาทางด้านแมลงพบว่า ตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ใช้ระยะเวลาประมาณ 24 ชม.หลังจากนั้น ตัวอ่อนหนอนแมลงวันจะโตเป็นตัวอ่อนระยะที่1-3ช่วงตัวยาวประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตรในระยะเวลาประมาณ 7 วัน และจะเริ่มคลานยั้วเยี้ยไต่รอบ ๆ ศพ แต่ถ้าพบหนอนแมลงวันใรยะสุดท้ายหนอนแมลงวันอาจจะเจริญเติบโตและยาวขึ้นได้อีกเพียงเล็กน้อย และจะอยู่นิ่งเฉยไม่ค่อยคลานเนื่องจากอยู่ในช่วงที่กำลังจะเปลี่ยนเป็นดักแด้ และเริ่มเปลี่ยนเป็นดักแด้ในวันที่ 8 และการสังเกตตัวแก่ที่สุดของแมลงว่าเป็นชนิดใดอาจจะช่วยบอกเวลาการตายได้ แต่อย่างไรก็ตามถ้าศพที่พบไม่มีแมลงวันตอม ก็อาจไม่มีตัวหนอนให้พบในการใช้คำนวณหาระยะเวลาการตายได้[2]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ยุกตนันท์ จำปาเทศ. ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี เรื่อง"ชนิดของแมลงที่ตรวจพบจากซากลูกสุกร".ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จังหวัดนครปฐม. 2547
  2. การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ, นิติเวชศาสตร์ สำหรับพนักงานสอบสวน, พลตำรวจตรี เลี้ยง หุยประเสริฐ พบ., อว. (นิติเวชศาสตร์) ผู้บังคับการ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ, 2549, หน้า 35