ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอห์น ครอมเวล เมเทอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ar, bg, bn, ca, cs, da, de, eo, es, eu, fa, fi, fr, hu, id, it, ja, ku, lb, mr, ms, nds, nl, no, pl, pt, ro, ru, simple, sk, sv, ta, tr, wuu, zh; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: pnb:جان ماتھر
บรรทัด 73: บรรทัด 73:
[[no:John C. Mather]]
[[no:John C. Mather]]
[[pl:John C. Mather]]
[[pl:John C. Mather]]
[[pnb:جان ماتھر]]
[[pt:John Mather]]
[[pt:John Mather]]
[[ro:John Cromwell Mather]]
[[ro:John Cromwell Mather]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:56, 4 มิถุนายน 2553

จอห์น ครอมเวล เมเทอร์
เกิด (1946-08-07) 7 สิงหาคม ค.ศ. 1946 (77 ปี)
เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
สัญชาติสหรัฐอเมริกา
ศิษย์เก่าSwarthmore College
University of California, Berkeley
มีชื่อเสียงจากการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (ค.ศ. 2006)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์, จักรวาลวิทยา
สถาบันที่ทำงานNASA

จอห์น ครอมเวล เมเทอร์ (อังกฤษ: John Cromwell Mather; เกิดวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1946) เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์และนักจักรวาลวิทยาชาวอเมริกัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากผลงานดาวเทียม COBE ร่วมกับ จอร์จ สมูท ดาวเทียม COBE สามารถตรวจวัด "...รูปแบบของวัตถุดำและความไม่เหมือนกันทุกทิศทาง (Anisotropy) ของการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล" ได้เป็นครั้งแรก

ผลงานนี้ช่วยยืนยันเป็นหลักฐานแน่นหนาแก่ทฤษฎีบิกแบงโดยอาศัยดาวเทียมสำรวจไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (COBE) จากความเห็นของคณะกรรมการรางวัลโนเบล กล่าวว่า "โครงการ COBE อาจพิจารณาได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาจักรวาลวิทยาอย่างละเอียดแม่นยำ"[1]

เมเทอร์เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์อาวุโสที่ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดขององค์การนาซาในแมรีแลนด์ และเป็นศาสตราจารย์พิเศษสาขาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 2007 เมเทอร์มีรายชื่ออยู่ใน 100 บุคคลผู้มีอิทธิพลสูงสุดของโลก โดยนิตยสารไทมส์

เมเทอร์ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ซึ่งมีกำหนดส่งขึ้นปฏิบัติการอย่างเร็วที่สุดคือปี ค.ศ. 2013

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "The Nobel Prize in Physics 2006" (.PDF) (Press release). The Royal Swedish Academy of Sciences. 3 October 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-10-05.

แหล่งข้อมูลอื่น