ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27: บรรทัด 27:


ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดสอนในสาขาวารสารศาสตร์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ และการสื่อสารแบรนด์
ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดสอนในสาขาวารสารศาสตร์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ และการสื่อสารแบรนด์


'''ผู้บริหารปัจจุบันของคณะนิเทศศาสตร์'''

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพล ภูรัต

รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพรหม ชมงาม

ผู้ช่วยคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ อาจารย์เกียรติศักดิ์ วัฒนศักดิ์

ผู้ช่วยคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ อาจารย์สุนทรี ผลวิวัฒน์

หัวหน้าภาควิชาการประชาสัมพันธ์ อาจารย์กิจชัย ชัยนาคอนันต์

หัวหน้าภาควิชาวารสารศาสตร์ อาจารย์ญาณินี เพชรานันท์

หัวหน้าภาควิชาการโฆษณา อาจารย์สภารัตน์ ฟองมาศ

หัวหน้าภาควิชาศิลปะการแสดง ดร.วรรณ์ขวัญ พลจันทร์

หัวหน้าภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร

หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ อาจารย์กนกพร เพ็ญนารถ

หัวหน้าภาควิชาภาพยนตร์ อาจารย์ปนิญญา ภักษา


== หน่วยงานและหลักสูตร ==
== หน่วยงานและหลักสูตร ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:21, 8 พฤษภาคม 2553

คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
School of Communication Arts
Bangkok University
ไฟล์:BUCA.jpg
สถาปนาพ.ศ. 2514
คณบดีผศ.ดร.ธีรพล ภูรัต
ที่อยู่
วารสารบ้านกล้วย
สีสีน้ำเงิน
มาสคอต
นกพิราบสื่อสาร
เว็บไซต์http://buca.bu.ac.th/

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ โดยมุ่งหวังที่จะผลิตนักนิเทศศาสตร์ยุคใหม่ที่มีความรู้ในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ มีความสามารถในการวิจัย การวางแผน การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีศิลปะและเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามกระแสโลก

ประวัติ

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ถือเป็นคณะนิเทศศาสตร์แห่งแรกที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเอกชน แสดง เปิดทำการสอน มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก ที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขานี้ สำหรับในระยะแรกก่อตั้งได้ชื่อว่า “ แผนกวิชาสื่อสารมวลชน ” มีอาจารย์ประจำรับผิดชอบ 1 คน นอกจากนั้น เป็นผู้สอนที่ได้รับเชิญ มาจากมหาวิทยาลัยของรัฐ และเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพนิเทศศาสตร์ จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในรัฐ และเอกชน


จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 จึงเปลี่ยนชื่อ จากแผนกวิชาสื่อสารมวลชนมาเป็น "คณะสื่อสารมวลชน" มีอาจารย์เพิ่มขึ้นเป็น 3 คน หลักสูตรในขณะนั้น เน้นเฉพาะสาขาการประชาสัมพันธ์เท่านั้น (หลักสูตรได้รับการอนุมัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ให้เปิดได้ 2 สาขาวิชา คือ การประชาสัมพันธ์ และวารสารศาสตร์) จนถึงปี พ.ศ. 2523 จึงได้ทำการสอน ในสาขาวิชาวารสารศาสตร์ เพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่ง ปี พ.ศ. 2522 วิทยาลัย ได้มีการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร ของคณะขึ้นใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ทันกับสภาพสังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน ก็ได้พิจารณา ที่จะขยายสาขาวิชาของคณะสื่อสารมวลชน (ชื่อที่ใช้อยู่ในขณะนั้น) เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสาขาคือ สาขาการโฆษณา และเมื่อเป็นเช่นนี้ จึงหันมาพิจารณาความหมายคำว่า "คณะสื่อสารมวลชน" หรือ "School of Mass Communication" ควบคู่ไปกับ การปรับปรุงหลักสูตรไปด้วย ซึ่งถ้าพิจารณากันจริง ๆ แล้วคำ ๆ นี้มีความหมายถึง กระบวนการสื่อสาร ไปยังมวลชน โดยผ่านสื่อมวลชน เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ซึ่งสื่อมวลชนนั้นได้แก่ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ นิตยสารและภาพยนตร์ ซึ่งในคำจำกัดความนั้น จำกัดอยู่แต่เฉพาะประเภทของการสื่อสาร กับมวลชนเท่านั้น แต่คณะยังเปิดสอน ในวิชาการสื่อสารที่มีรูปแบบ นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาแล้วเช่น สาขาการประชาสัมพันธ์ สาขาการโฆษณาและอาจจะเปิดสาขาอื่น ๆ อีกในอนาคต


ในที่สุด ที่ประชุมจึงได้หยิบคำว่า "นิเทศศาสตร์" ขึ้นมาพิจารณาว่า จะเป็นคำที่มีความหมาย ครอบคลุมในสาขาอาชีพ ทางการสื่อสารได้กว้างขวางกว่า หากในอนาคต ก็ย่อมสามารถทำได้ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงชื่อคณะใหม่กับอีกว่าจะมีความหมายเหมาะสมหรือครอบคลุมสาขาวิชานั้นหรือไม่ รวมทั้งคำว่า "นิเทศศาสตร์" หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Communication Arts" นั้นเป็นคำพูดที่ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงคิดขึ้น โดยทรงใช้ความหมายว่า "เป็นวิชาที่สื่อสารไปยังมวลชนโดยทางใดก็ตาม" ไม่จำเพาะแต่ทางหนังสือพิมพ์ เช่น การสื่อสารทางละครก็เข้าอยู่ในนิเทศศาสตร์การสื่อสารมวลชนทางอื่น นอกจากหนังสือพิมพ์ เช่น วิทยุโทรทัศน์ก็เป็นนิเทศศาสตร์ ในปีการศึกษา 2523 ทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อจากคณะสื่อสารมวลชนเป็น "คณะนิเทศศาสตร์" หรือ "School of Communication Arts"และเปิดสาขาวิชาการโฆษณาเพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่ง


ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดสอนในสาขาวารสารศาสตร์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ และการสื่อสารแบรนด์


ผู้บริหารปัจจุบันของคณะนิเทศศาสตร์

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพล ภูรัต

รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพรหม ชมงาม

ผู้ช่วยคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ อาจารย์เกียรติศักดิ์ วัฒนศักดิ์

ผู้ช่วยคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ อาจารย์สุนทรี ผลวิวัฒน์

หัวหน้าภาควิชาการประชาสัมพันธ์ อาจารย์กิจชัย ชัยนาคอนันต์

หัวหน้าภาควิชาวารสารศาสตร์ อาจารย์ญาณินี เพชรานันท์

หัวหน้าภาควิชาการโฆษณา อาจารย์สภารัตน์ ฟองมาศ

หัวหน้าภาควิชาศิลปะการแสดง ดร.วรรณ์ขวัญ พลจันทร์

หัวหน้าภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร

หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ อาจารย์กนกพร เพ็ญนารถ

หัวหน้าภาควิชาภาพยนตร์ อาจารย์ปนิญญา ภักษา

หน่วยงานและหลักสูตร

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพเปิดสอน 12 สาขาวิชา ใน 7 ภาควิชา ได้แก่


หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี
ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)
  • สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
ภาควิชาวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)
  • สาขาวิชาสาขาวิชาวารสารศาสตร์สื่อสิ่งพิมพ์ (Print Journalism)
  • สาขาวิชาวารสารศาสตร์สื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ (Broadcast Journalism)
ภาควิชาการโฆษณา นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)
  • สาขาวิชาการสร้างสรรค์งานโฆษณา (Creative Advertising)
  • สาขาวิชาการโฆษณาเชิงกลยุทธ์ (Strategic Advertising)
ภาควิชาศิลปะการแสดง นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)
  • สาขาวิชาการแสดงและการกำกับการแสดง (Acting and Directing)
  • สาขาวิชาการเขียนบท (Script Writing)
ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)
  • สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Broadcasting)
ภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)
  • สาขาวิชาการสื่อสารแบรนด์ (Brand Communications)
ภาควิชาภาพยนตร์ นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)
  • สาขาวิชาการผลิตภาพยนตร์
  • สาขาวิชาการบริหารงานภาพยนตร์
  • สาขาวิชาภาพยนตร์ศึกษา



ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ จัดการเรียนการสอน สาขาการประชาสัมพันธ์ โดยเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตอบสนองความหลากหลายของสังคมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้านการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในฐานะที่เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาแบบบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง สังคม และวัฒนธรรม

จากการที่ภาควิชาการประชาสัมพันธได้มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความสามารถอันหลากหลายเพื่อตอบสนอง ความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน หลักสูตรของภาควิชาการประชาสัมพันธ์ จึงประกอบด้วยรายวิชาต่าง ๆ ดังเช่น หลักการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่และการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์ การวางแผนการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ การผลิตสื่อและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด การจัดกิจกรรมพิเศษ การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ การสื่อสารเพื่อสร้างเอกลักษณะและภาพลักษณะขององค์กร การบริหารประเด็นและการสื่อสารในภาวะวิกฤต การประชาสัมพันธ์เพื่อการเมือง การบริหารความสัมพันธ์แบบบูรณาการ การประชาสัมพันธ์ระดับสากล เป็นต้น


ภาควิชาวารสารศาสตร์สื่อสิ่งพิมพ์ (Journalism)

เปิดสอนใน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวารสารศาตร์สื่อสิ่งพิมพ์ และ สาขาวิชาวารสารศาสตร์สื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฏีและปฏิบัติ ฝึกฝนพัฒนาทักษะและความชำนาญเพื่อพร้อมที่จะก้าวออกไปประกอบอาชีพสนองต่อตลาดแรงงานในสาขาวิชาชีพด้านวารสาร โดยผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์สิ่งพิมพ์ ที่มีรายวิชาที่เน้นหนักไปทางด้านงานหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ทั้งในรูปแบบของการผลิตเนื้อหา เช่น งานข่าว งานบทความและสารคดี ไปจนถึงการผลิตและออกแบบจัดทำหนังสือพิมพ์และนิตยสาร หรือจะเลือกศึกษาทางวารสารศาสตร์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้การทำงานวารสารศาสตร์ในรูปของสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ อันเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน ซึ่งนอกจากนั้นนักศึกษายังมีโอกาสที่จะเลือกศึกษาในรายวิชาต่างๆ อาทิ วารสารศาสตร์ออนไลน์ การรายงานข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง การบริหารสื่อวารสารศาสตร์ การถ่ายภาพวารสารศาสตร์ การจัดการข้อมูลดิจิตอลก่อนการพิมพ์ ฯลฯ

ภาควิชาการโฆษณา (Advertising)

เปิดสอนใน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการสร้างสรรค์งานโฆษณา และ สาขาวิชาการโฆษณาเชิงกลยุทธ์ หลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเน้นหนักด้านการสร้างสรรค์ หรือด้านการจัดการ รวมถึงกิจกรรมวิชาการประจำปี อาทิ งานนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 (MADD Awards) โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Creative Workshop และ Client Service Workshop สาขาวิชาโฆษณาจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการวิเคราะห์ วิจัย วางแผน บริหาร สร้างสรรค์และผลิตผลงานโฆษณาอันทรงประสิทธิภาพภายใต้กรอบจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโฆษณา

ภาควิชาศิลปะการแสดง(Performance Arts)

เปิดสอนใน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการแสดงและการกำกับการแสดง และสาขาวิชาการเขียนบท มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่บุกเบิกการเรียนการสอนด้านศิลปะการแสดงในระดับปริญญาตรี เอกลักษณ์สำคัญของสาขาวิชาศิลปะการแสดงคือการเรียนที่เน้นทักษะปฏิบัติของนักศึกษาผสมผสานทฤษฎีและสุนทรีย์ มุ่งสร้างบุคลากร ที่รอบรู้และเชี่ยวชาญในสายงานการแสดงด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นกำลัง สำคัญของวงการศิลปะบันเทิง เนื้อหาและวิธีการสอนในแต่ละวิชาได้รับการพัฒนาเพื่อให้นักศึกษาได้รับประโยชน์สูงสุด ด้วยการจัดการเรียนการสอนและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ อีกทั้งยังจัดให้มีโครงการการแสดงต่าง ๆ เพื่อเสริมหลักสูตร โดยมีศิลปินรับเชิญทั้งในและต่างประเทศมาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์และกระบวนการผลิตอย่างเต็มที่

ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Broadcasting)

เปิดสอนสาขา สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการเป็นผู้ผลิตรายการในยุคของการพัฒนาสื่อด้วยความรู้ภาคทฤษฎีและประสบการณ์ภาคปฏิบัติอย่างครบถ้วน นักศึกษามีโอกาสฝึกนำทฤษฎีไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตรายการ เช่น รายการข่าว รายการสารคดี รายการละคร และรายการบันเทิงอื่น ๆ โดยอยู่บนพื้นฐานแห่งจริยธรรมและจรรยาบรรณของนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนสทั้งยังเป็นผู้มีความรู้เท่าทันเหตุการณ์และสภาวะความเคลื่อนไหวในโลกซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของนักสื่อสารมวลชนที่ดี

ภาควิชาการสื่อสารแบรนด์(Brand Communications)

ปัจจุบันการสร้างและสื่อสารแบรนด์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในแวดวงธุรกิจ ด้วยเหตุที่ว่า สินค้าสามารถถูกพัฒนาเลียนแบบขึ้นมาได้อย่างเท่าเทียมกัน ทางเลือกในการบริโภคสินค้าของผู้บริโภคมีมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจแทบทุกธุรกิจจึงต้องสร้างทรัพย์สินที่มีคุณค่าของตนเองขึ้นมา และทรัพย์สินดังกล่าวก็คือ แบรนด์หรือแบรนด์ สาขาวิชาการสื่อสารแบรนด์จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อมุ่งเตรียมความพร้อมในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเชิงทฤษฎี แนวคิด หลักการและวิชาชีพด้านการสื่อสารแบรนด์ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงกลยุทธ์ในการทำให้ผู้บริโภคเกิดความรัก ชื่นชม ศรัทธาในแบรนด์จนนำมาซึ่งการซื้ออีกทั้งเกิดความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว การเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อแบรนด์เกิดวิกฤติขึ้น วิธีการชุบชีวิตใหม่ให้กับแบรนด์ที่ประสบปัญหาด้านยอดขายและภาพลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ถึงวิธีการทำความเข้าใจเชิงลึก (Insight) ของกลุ่มเป้าหมายซึ่งจะทำให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ที่เรียนในสาขาวิชานี้จะได้เรียนรู้เครื่องมือการสื่อสารแบรนด์แบบ 360 องศา อาทิ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมการตลาด การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง การออกแบบเอกลักษณ์ (อาทิ การออกแบบ โลโก้ สโลแกน ชุดพนักงาน บรรยากาศภายในสำนักงานหรือร้านค้า การกำหนดเอกลักษณ์ด้านสี) เพื่อให้แบรนด์มีความโดดเด่น เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือการสื่อสารเหล่านี้จะมีส่วนผลักดันให้ธุรกิจและแบรนด์นั้นๆ ประสบความสำเร็จได้ โดยเนื้อหาที่กล่าวมาได้ถูกบรรจุไว้ในรายวิชาต่างๆ ที่มีการปรับให้ทันสมัยและทันต่อความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน สาขาวิชาการสื่อสารแบรนด์ จึงเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการทำงานในแวดวงธุรกิจ การตลาด ด้วยการนำศาสตร์ทางด้านการสื่อสารแบรนด์ การนำเครื่องมือการสื่อสารต่างๆ ที่ครบวงจรไปผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้นสามารถนำหลักการ ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้า (Product Branding) สร้างแบรนด์ให้กับธุรกิจบริการ (Service Branding) สร้างแบรนด์ให้กับบุคคล (Personal Branding) สร้างแบรนด์ให้กับสถานที่ (Place Branding) สร้างแบรนด์ให้กับกิจกรรม (Event Branding) ได้อีกด้วย


ภาควิชาภาพยนตร์ (Film)

เปิดสอนใน สาขาวิการผลิตภาพยนตร์ สาขาวิชาการบริหารงานภาพยนตร์ และสาขาวิชาภาพยนตร์ศึกษา ผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีไฟในการสร้างสรรค์ พร้อมที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยให้ก้าวไปสู่เวทีสากล ภาควิชาภาพยนตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นความเชี่ยวชาญใน 3 ด้าน คือ

  1. การผลิตภาพยนตร์ มุ่งเน้นการผลิต การกำกับภาพยนตร์ การกำกับศิลป์ และการถ่ายทำ
  2. การบริหารงานภาพยนตร์ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจ การจัดการ และการบริหารงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
  3. ภาพยนตร์ศึกษามุ่งเน้นการวิเคราะห์วิจารณ์ภาพยนตร์

นอกจากนี้ภาควิชาฯ มุ่งสร้างผลงานภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์ และคุณภาพทางด้านบทภาพยนตร์ การแสดง และการกำกับการแสดง เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษา ได้ฝึกฝนทักษะทั้งด้านการผลิต การจัดการ และการวิเคราะห์วิจารณ์

แหล่งข้อมูลอื่น