ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป้อมดาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ja:星形要塞
ArthurBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: zh:星形要塞
บรรทัด 72: บรรทัด 72:
[[sr:Бастионски систем]]
[[sr:Бастионски систем]]
[[sv:Stjärnfort]]
[[sv:Stjärnfort]]
[[zh:星形要塞]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:09, 8 พฤษภาคม 2553

ป้อมบูร์แตงจ์ (Bourtange), โกรนนิงเก็น, เนเธอร์แลนด์ บูรณะให้เหมือนในปี ค.ศ. 1750

ป้อมดาว (อังกฤษ: Star fort หรือ trace italienne) คือระบบป้อมปราการที่วิวัฒนาการขึ้นระหว่างสมัยที่การใช้ดินปืนในการต่อสู้โดยการใช้ปืนใหญ่ที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ที่เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในอิตาลี รูปทรงป้อมที่สร้างกันในยุคกลางไม่สามารถทนทานต่อการถูกโจมตีด้วยปืนใหญ่ได้ แรงระเบิดของปืนใหญ่สามารถทำลายกำแพงดิ่งได้อย่างง่ายดาย ขณะที่ป้อมดาวใช้กำแพงราบและเป็นโครงสร้างที่ใช้ระบบมุขป้อม (bastion) สามเหลี่ยม ที่ยื่นซ้อนกันออกมาซ้อนกันเป็นชั้นๆ ที่เป็นการช่วยป้องกันซึ่งกันและกัน และคูรอบป้อม ต่อมาป้อมดาวก็วิวัฒนาการมาใช้โครงสร้างเช่นระบบป้องกันแบบสามเหลี่ยม (ravelin), การสร้างเสริมส่วนบนของกำแพง (crownwork) และเพิ่มป้อมที่เป็นอิสระจากตัวป้อมหลัก เพื่อเพิ่มความซับซ้อนให้แก่โครงสร้างเพิ่มขึ้น

ป้อมดาววิวัฒนาการต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นการตอบโต้การรุกรานของฝรั่งเศสในคาบสมุทรอิตาลี ฝ่ายฝรั่งเศสมีอาวุธปืนใหญ่แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำลายป้อมปราการที่สร้างตามแบบโบราณในยุคกลางได้อย่างง่ายดาย เพื่อเป็นการโต้ตอบความรุนแรงของการทำลายของอาวุธใหม่กำแพงป้องกันก็ถูกสร้างให้เตี้ยลงแต่หนาขึ้น ตัวกำแพงสร้างด้วยวัสดุการก่อสร้างหลายอย่างแต่มักจะเป็นดินและอิฐ เพราะอิฐจะไม่แตกกระจายเมื่อถูกโจมตีโดยปืนใหญ่เช่นหิน องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการก่อสร้างป้อมดาวคือการใช้มุขป้อมที่กลายมาเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของป้อมปราการแบบใหม่ การวิวัฒนาการมาเป็นรูปดาวที่บางครั้งก็จะซ้อนกันหลายชั้นทำให้สามารถต้านทานจากการถูกโจมตีโดยปืนใหญ่ได้

ไมเคิล แอนเจโลใช้ลักษณะป้อมดาวในการออกแบบแนวป้องกันที่ทำด้วยดิน (defensive earthworks) ของฟลอเรนซ์ ที่มาได้รับการปรับปรุงในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยบัลดัสซาเร เปรูซซิ (Baldassare Peruzzi) และ วินเช็นโซ สคามอซซิ (Vincenzo Scamozzi)

ป้อมดาวเผยแพร่จากอิตาลีในคริสต์ทศวรรษ 1530 และ 1540 และใช้กันมากในทวีปยุโรปเป็นเวลาราวสามร้อยปีหลังจากนั้น สถาปนิก/วิศวกรอิตาเลียนเป็นที่ต้องการตัวไปทั่วยุโรปในการสร้างป้อมแบบใหม่นี้

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เม็นโน ฟาน โคฮูร์น (Menno van Coehoorn) และเซบาสเตียง เลอ เพรส์เทรอ เดอ โวบองผู้เป็นสถาปนิกทางสถาปัตยกรรมทางทหารในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ยิ่งยกลักษณะการออกแบบป้อมดาวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมการก่อสร้างป้อมปราการทุกสิ่งทุกอย่าง จนทำให้กลายเป็นระบบการป้องกันอันซับซ้อนเท่าที่สามารถทำกันได้[1]

ระบบป้อมรูปดาววิวัฒนาการมาจากการวางผังเมืองของเมืองในอุดมคติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา: “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาถูกสะกดด้วยผังเมืองแบบหนึ่งเป็นเวลาร้อยห้าสิบปี—ตั้งแต่ฟิลาเรเตจนถึงสคามอซซิ—ที่ต่างก็มีความประทับใจในแผนอันเป็นอุดมคติ: รูปร่างของเมืองที่ว่านี้คือรูปดาว”[2]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 การวิวัฒนาการลูกระเบิดแบบใหม่ที่มีพลังสูงขึ้นแบบที่เรียกว่าexplosive shell ทำให้สถาปัตยกรรมการก่อสร้างป้อมปราการต้องเปลี่ยนแปลงไปอีกครั้งหนึ่ง

ที่มา

ระบบป้อมของ plan of โควอร์ดอง (Coevorden) ที่เป็นทรงหลายเหลี่ยมที่กระจายออกไปจากศูนย์กลาง โดยมีการก่อสร้างระบบกำแพงดินอันหนาแน่นด้านนอกที่สร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมอริสแห่งนาซอ เจ้าชายแห่งออเรนจ์ (Maurice of Nassau, Prince of Orange)

ก่อนหน้าการสร้างป้อมดาว ป้อมในยุคกลางมักจะตั้งอยู่บนเนินสูง จากป้อมผู้ป้องกันป้อมสามารถยิงธนูลงมายังข้าศึกได้ ปราสาทยิ่งสูงเท่าใดรัศมีของการยิงก็ยิ่งกว้างไกลขึ้น ทางเดียวที่ข้าศึกจะยึดที่มั่นได้ก็ด้วยการพังประตูหน้าหรือปีนกำแพงด้วยบันได ป้อมลักษณะนี้ยากต่อการยึดโดยผู้โจมตีป้อม ฉะนั้นการสร้างป้อมประเภทนี้จึงสร้างตามจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ

เมื่อการโจมตีป้อมวิวัฒนาการมาเป็นการใช้ปืนใหญ่ในการโจมตีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 วิศวกรทางยุทธศาสตร์ก็ตอบโต้โดยการสร้างกำแพงในคูและกันด้วยกำแพงดินลาดเพื่อจะได้ไม่ถูกทำลายด้วยปืนใหญ่ที่ยิงมาโดยตรง และเพื่อให้กำแพงที่ตอนบนเป็นดินช่วยรับกำลังปะทะของระเบิดที่ทำให้แรงการทำลายลดลง และเมื่อทำได้เช่นที่ป้อมมาโนเอล (Fort Manoel) ในมอลตา “คู” ก็ขุดเข้าไปในผาหิน และ “กำแพง” ด้านในของคูก็เป็นหินธรรมชาติ แต่เมื่อกำแพงยิ่งเตี้ยลงก็ยิ่งเป็นการง่ายขึ้นต่อการโจมตี

จุดอ่อนอีกอย่างหนึ่งคือป้อมทรงกลมที่นิยมสร้างกันในยุคกลางและหอเล็ก (turret) เป็นการทำให้เกิด “จุดมรณะ” (dead space) หรือ “บริเวณมรณะ” (dead zone) ซึ่งเป็นจุดที่ค่อนข้างปลอดจากการยิงป้องกันเพราะผู้ยิงไม่สามารถจะยิงอ้อมกำแพงโค้งจากอีกด้านหนึ่งของกำแพงได้ เพื่อที่จะแก้ปัญหานี้หอที่เคยเป็นทรงสี่เหลี่ยมหรือกลมก็เปลี่ยนไปเป็นแบบรูปข้าวหลามตัดยื่นออกไปเพื่อไม่ให้ผู้โจมตีปราสาทมีที่หลบได้ คูและกำแพงก็ออกแบบที่ทำให้ตล่อมกองทัพของผู้โจมตีให้เข้ามาในบริเวณที่ต้องการและทำให้การโจมตีโดยปืนใหญ่สร้างความวุ่นวายให้แก่ผู้ที่จะพยายามปีนกำแพงด้วย การออกแบบมีจุดประสงค์ที่จะไม่ไห้ผู้โจมตีมีที่หลบภัยจากการต่อต้านได้

อ้างอิง

  1. "The Oxford History of Modern War", Charles Townshend
  2. Siegfried Giedion, Space, Time and Architecture (1941) 1962 p 43.

ดูเพิ่ม

ระเบียงภาพ