ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสียงพยัญชนะนาสิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''เสียงพยัญชนะนาสิก''' เป็นเสียง[[พยัญชนะ]]ที่เกิดจากการหย่อน[[เพดานอ่อน]]ในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทาง[[จมูก]] อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วย[[ริมฝีปาก]]หรือ[[ลิ้น]] นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่[[ออกเสียงขึ้นจมูก]] (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก
'''เสียงพยัญชนะนาสิก''' เป็นเสียง[[พยัญชนะ]]ที่เกิดจากการหย่อน[[เพดานอ่อน]]ในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทาง[[จมูก]] อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วย[[ริมฝีปาก]]หรือ[[ลิ้น]] นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่[[ออกเสียงขึ้นจมูก]] (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก


== คำอธิบาย ==
== นิยาม ==
โดยหลักการแห่งการเกิดเสียง เสียงนาสิกเป็นเสียงกลุ่ม[[ซอนอแรนต์]] (sonorant) ซึ่งหมายความว่าเสียงกลุ่มนี้จะไม่ปิดกั้นลมออก และเป็นเสียงก้องเสมอในแทบทุกภาษา เว้นแต่[[ภาษาไอซ์แลนด์]]กับ[[ภาษาเวลส์]]ที่มีแบบเสียงไม่ก้อง (ในขณะที่เสียงกลุ่ม[[ออบสตรูนต์]] (obstruent) คือเสียงที่ปิดกั้นลมออก หรือปล่อยอากาศปริมาณน้อย และมีทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง) อย่างไรก็ตามเสียงนาสิกต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นเสียงกักบนฐานที่เกิด เพราะการไหลของอากาศผ่านปากหยุดโดยสิ้นเชิง แต่ในขณะเดียวกันก็ปล่อยอากาศออกทางจมูกแทน จึงสามารถเรียกได้ว่าเสียงนาสิกมีพฤติกรรมที่เหมือนทั้งซอนอแรนต์และทั้งออบสตรูนต์ โดยทั่วไปเสียงนาสิกจะพิจารณาว่าเป็นซอนอแรนต์ตามคำอธิบาย แต่ในหลายภาษาเสียงนาสิกพัฒนามาจากหรือพัฒนาไปเป็น[[เสียงพยัญชนะกัก]] เสียงนาสิกมีแถบของพลังงานอยู่ที่ประมาณ 200 ถึง 2,000 [[เฮิรตซ์]]
โดยหลักการแห่งการเกิดเสียง เสียงนาสิกเป็นเสียงกลุ่ม[[ซอนอแรนต์]] (sonorant) ซึ่งหมายความว่าเสียงกลุ่มนี้จะไม่ปิดกั้นลมออก และเป็นเสียงก้องเสมอในแทบทุกภาษา เว้นแต่[[ภาษาไอซ์แลนด์]]กับ[[ภาษาเวลส์]]ที่มีแบบเสียงไม่ก้อง (ในขณะที่เสียงกลุ่ม[[ออบสตรูนต์]] (obstruent) คือเสียงที่ปิดกั้นลมออก หรือปล่อยอากาศปริมาณน้อย และมีทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง) อย่างไรก็ตามเสียงนาสิกต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นเสียงกักบนฐานที่เกิด เพราะการไหลของอากาศผ่านปากหยุดโดยสิ้นเชิง แต่ในขณะเดียวกันก็ปล่อยอากาศออกทางจมูกแทน จึงสามารถเรียกได้ว่าเสียงนาสิกมีพฤติกรรมที่เหมือนทั้งซอนอแรนต์และทั้งออบสตรูนต์ โดยทั่วไปเสียงนาสิกจะพิจารณาว่าเป็นซอนอแรนต์ตามคำอธิบาย แต่ในหลายภาษาเสียงนาสิกพัฒนามาจากหรือพัฒนาไปเป็น[[เสียงพยัญชนะกัก]] เสียงนาสิกมีแถบของพลังงานอยู่ที่ประมาณ 200 ถึง 2,000 [[เฮิรตซ์]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:56, 21 เมษายน 2553

เสียงพยัญชนะนาสิก เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการหย่อนเพดานอ่อนในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทางจมูก อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วยริมฝีปากหรือลิ้น นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่ออกเสียงขึ้นจมูก (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก

คำอธิบาย

โดยหลักการแห่งการเกิดเสียง เสียงนาสิกเป็นเสียงกลุ่มซอนอแรนต์ (sonorant) ซึ่งหมายความว่าเสียงกลุ่มนี้จะไม่ปิดกั้นลมออก และเป็นเสียงก้องเสมอในแทบทุกภาษา เว้นแต่ภาษาไอซ์แลนด์กับภาษาเวลส์ที่มีแบบเสียงไม่ก้อง (ในขณะที่เสียงกลุ่มออบสตรูนต์ (obstruent) คือเสียงที่ปิดกั้นลมออก หรือปล่อยอากาศปริมาณน้อย และมีทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง) อย่างไรก็ตามเสียงนาสิกต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นเสียงกักบนฐานที่เกิด เพราะการไหลของอากาศผ่านปากหยุดโดยสิ้นเชิง แต่ในขณะเดียวกันก็ปล่อยอากาศออกทางจมูกแทน จึงสามารถเรียกได้ว่าเสียงนาสิกมีพฤติกรรมที่เหมือนทั้งซอนอแรนต์และทั้งออบสตรูนต์ โดยทั่วไปเสียงนาสิกจะพิจารณาว่าเป็นซอนอแรนต์ตามคำอธิบาย แต่ในหลายภาษาเสียงนาสิกพัฒนามาจากหรือพัฒนาไปเป็นเสียงพยัญชนะกัก เสียงนาสิกมีแถบของพลังงานอยู่ที่ประมาณ 200 ถึง 2,000 เฮิรตซ์

IPA เสียง คำอธิบาย SAMPA เทียบเท่า
เสียงไทย
[m] เสียงนาสิก ริมฝีปาก ก้อง [m]
[ɱ] เสียงนาสิก ริมฝีปากกับฟัน ก้อง [F]
[n̪] เสียงนาสิก ฟัน ก้อง ภาษาทมิฬมีอักษรแทนเสียงนี้แยกต่างหากคือ ந [n_d]
[n] เสียงนาสิก ปุ่มเหงือกหรือฟัน ก้อง [n]
[ɳ] เสียงนาสิก ปลายลิ้นม้วน ก้อง พบได้ในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน [n`] (ณ)
[ɲ] เสียงนาสิก เพดานแข็ง ก้อง พบได้ในภาษาแถบยุโรปอาทิ ภาษาสเปน (ñ) ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอิตาลี (gn)
ภาษาคาตาลัน ภาษาฮังการี และภาษาลูกันดา (ny) ภาษาโปแลนด์ (ń)
ภาษาออกซิตันและภาษาโปรตุเกส (nh) เป็นต้น
[J] (ญ)
[ŋ] เสียงนาสิก เพดานอ่อน ก้อง มักเขียนแทนด้วย ng [N]
[ɴ] เสียงนาสิก ลิ้นไก่ ก้อง [N\]

ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาจีนกลาง ฯลฯ ล้วนมีเสียง [m], [n] และ [ŋ] แต่บางภาษาก็มีมากกว่านั้น เช่นภาษาทมิฬมีอักษรแต่ละตัวแทนเสียง [m], [n̪], [n], [ɳ], [ɲ] และ [ŋ] ได้แก่ ம, ந, ன, ண, ஞ และ ங ตามลำดับ ซึ่งอาจทำให้ผู้ศึกษาสับสนได้

ภาษาคาตาลัน ภาษาออกซิตัน ภาษาสเปน และภาษาอิตาลีมีเสียง [m], [n], [ɲ] เป็นหน่วยเสียงหลัก (phoneme) และมี [ɱ], [ŋ] เป็นหน่วยเสียงย่อย (allophone) (สำเนียงภาษาสเปนในอเมริกาบางสำเนียง ไม่มีเสียงนาสิกฐานเพดานแข็ง มีแต่เพียงเสียงนาสิกที่ลิ้นส่วนหน้าสู่เพดานแข็ง (palatalized nasal) [nʲ] นย เหมือนในคำอังกฤษ canyon)

คำว่า เสียงหยุดนาสิก มักจะถูกย่อเหลือเพียงแค่ เสียงนาสิก อย่างไรก็ตามก็มีเสียงนาสิกอื่น ๆ เช่น เสียงเสียดแทรกนาสิก เสียงสะบัดลิ้นนาสิก และเสียงสระนาสิก เช่นในภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปรตุเกส ภาษาคาตาลัน (บางสำเนียง) ภาษาโยรูบา ภาษากเบ ภาษาโปแลนด์ และภาษาสโลวีเนียสำเนียงลยูบลยานา ในสัญลักษณ์สัทอักษรสากล เสียงสระนาสิกแสดงด้วยเครื่องหมายทิลเดอ (~) ไว้เหนือสระ เช่น คำฝรั่งเศส sang [sɑ̃] ออกเสียงคล้าย ซอง แต่ไม่ใช่เสียงสะกด

ภาษาที่ไม่มีเสียงนาสิก

ภาษาเพียงส่วนน้อยประมาณ 2.3% ของโลก ไม่มีเสียงพยัญชนะนาสิก [1] Ferguson จึงตั้งข้อสังเกตว่าทุกภาษาจะต้องมีเสียงพยัญชนะนาสิกเป็นหลักอย่างน้อยหนึ่งเสียง [2] เมื่อมีภาษาใดภาษาหนึ่งถูกจัดว่าไม่มีเสียงพยัญชนะนาสิกแล้ว เสียงนาสิกที่เกิดขึ้นจะถือว่าเป็นหน่วยเสียงย่อย คือไม่ใช่รูปแบบทางทฤษฎีที่จะยอมรับได้ว่าเสียงนาสิกเป็นเสียงพื้นฐานของภาษานั้น

อ้างอิง

  1. Maddieson, Ian. 2008. Absence of Common Consonants. In: Haspelmath, Martin & Dryer, Matthew S. & Gil, David & Comrie, Bernard (eds.) The World Atlas of Language Structures Online. Munich: Max Planck Digital Library, chapter 18. Available online at http://wals.info/feature/18. Accessed on 2008-09-15.
  2. Ferguson (1963) 'Assumptions about nasals', in Greenberg (ed.) Universals of Language, pp 50-60.
  • Ladefoged, Peter (1996). The Sounds of the World's Languages. Oxford: Blackwell. ISBN 0-631-19814-8. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Saout, J. le (1973) 'Languages sans consonnes nasales', Annales de l Université d'Abidjan, H, 6, 1, 179-205.
  • Williamson, Kay (1989) 'Niger-Congo overview', in Bendor-Samuel & Hartell (eds.) The Niger-Congo Languages, 3-45.