ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาสลาฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: id:Rumpun bahasa Slavik
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
{{legend|#004040|ประเทศที่ม[[ภาษากลุ่มสลาวิกใต้]]เป็นภาษาประจำชาติ}}]]
{{legend|#004040|ประเทศที่ม[[ภาษากลุ่มสลาวิกใต้]]เป็นภาษาประจำชาติ}}]]
'''ภาษากลุ่มสลาวิก''' เป็นสาขาหนึ่งของ[[ภาษากลุ่มบัลโต-สลาวิก]] ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของ[[ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน]] ภาษากลุ่มสลาวิกเป็น[[ภาษาแม่]]ของ[[ชาวสลาฟ]] ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน[[ยุโรปตะวันออก]]และ[[คาบสมุทรบอลข่าน]]
'''ภาษากลุ่มสลาวิก''' เป็นสาขาหนึ่งของ[[ภาษากลุ่มบัลโต-สลาวิก]] ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของ[[ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน]] ภาษากลุ่มสลาวิกเป็น[[ภาษาแม่]]ของ[[ชาวสลาฟ]] ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน[[ยุโรปตะวันออก]]และ[[คาบสมุทรบอลข่าน]]
[[ไฟล์:Slavic languages.png|thumb|350px|แก้ไข ภาษากลุ่มสลาวิก]]

== สาขา ==
== สาขา ==
ภาษากลุ่มสลาวิกแบ่งได้เป็น 3 สาขา ดังต่อไปนี้
ภาษากลุ่มสลาวิกแบ่งได้เป็น 3 สาขา ดังต่อไปนี้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:07, 21 เมษายน 2553

  ประเทศที่มีภาษากลุ่มสลาวิกตะวันตกเป็นภาษาประจำชาติ
  ประเทศที่มภาษากลุ่มสลาวิกตะวันออกเป็นภาษาประจำชาติ
  ประเทศที่มภาษากลุ่มสลาวิกใต้เป็นภาษาประจำชาติ

ภาษากลุ่มสลาวิก เป็นสาขาหนึ่งของภาษากลุ่มบัลโต-สลาวิก ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษากลุ่มสลาวิกเป็นภาษาแม่ของชาวสลาฟ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปตะวันออกและคาบสมุทรบอลข่าน

แก้ไข ภาษากลุ่มสลาวิก

สาขา

ภาษากลุ่มสลาวิกแบ่งได้เป็น 3 สาขา ดังต่อไปนี้

ลักษณะร่วมกัน

  • ภาษากลุ่มสลาวิกมีเสียงพยัญชนะจำนวนมากที่มีลักษณะลิ้นส่วนหน้าสู่เพดานแข็งควบคู่กับเสียงพยัญชนะที่มีลักษณะปกติ
  • ภาษากลุ่มสลาวิกมีเสียงพยัญชนะควบที่ซับซ้อนกว่าภาษาไทยมาก เช่น คำว่า žblnknutie ในภาษาสโลวัก ซึ่งมีเสียงพยัญชนะถึงหกเสียงที่เป็นเสียงพยัญชนะต้นในพยางค์แรก

ตัวอย่างคำร่วมเชื้อสาย

ภาษาต้นกำเนิดภาษากลุ่มสลาวิก รัสเซีย โปแลนด์ เช็ก สโลวัก บัลแกเรีย เซอร์เบีย เบลารุส สโลวีเนีย โครเอเชีย บอสเนีย ยูเครน มาซิโดเนีย
*ognь (ไฟ) огонь ogień oheň oheň огън огањ/oganj агонь ogenj oganj oganj вогонь оган
*ryba (ปลา) рыба ryba ryba ryba риба риба/riba рыба riba riba riba риба риба
*gnězdo รังนก) гнездо gniazdo hnízdo hniezdo гнездо гн(иј)ездо/gn(ij)ezdo гняздо gnezdo gnijezdo gnijezdo гнiздо гнездо
*oko (ดวงตา) око oko oko oko око око/oko вока oko oko oko око око

อิทธิพลต่อภาษาอื่น

ภาษาเกือบทั้งหมดของประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ภาษาของชนกลุ่มน้อยในรัสเซีย รวมทั้งภาษาของประเทศเพื่อนบ้านของรัสเซียต่างก็ได้รับอิทธิพลจากภาษารัสเซีย โดยเฉพาะในด้านคำศัพท์ ภาษาโรมาเนีย ภาษาแอลเบเนีย และภาษาฮังการี ซึ่งประเทศของภาษาเหล่านี้ต่างก็รายล้อมไปด้วยประเทศที่มีภาษากลุ่มสลาวิกเป็นภาษาประจำชาติอยู่รายล้อม ก็ได้รับอิทธิพลทางภาษาไปด้วยเช่นกัน โดยแต่ละภาษาจะมีคำยืมจากภาษากลุ่มสลาวิกอยู่อย่างน้อย 20% ของจำนวนคำทั้งหมด ภาษาโรมาเนียเองก็ยังได้รับอิทธิพลของภาษากลุ่มสลาวิกในด้านอื่น ๆ ทั้ง สัทศาสตร์ วากยสัมพันธ์ และไวยากรณ์

ภาษากลุ่มเจอร์มานิกจะได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มสลาวิกน้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่มีเขตแดนติดต่อกัน เพราะว่าชาวสลาฟมักจะอพยพลงไปทางใต้มากกว่า แทนที่จะไปทางตะวันตก มีแนวโน้มที่จะลดอิทธิพลของภาษากลุ่มสลาวิกในภาษากลุ่มเจอร์มานิกด้วยเหตุผลทางการเมือง มีเพียงภาษายิดดิชเพียงภาษาเดียวเท่านั้น ที่พอจะมีอิทธิพลของภาษากลุ่มสลาวิกที่เห็นได้ชัด แต่ก็ยังพบอิทธิพลดังกล่าวอยู่ในภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น คำว่า Grenze (ชายแดน) ในภาษาเยอรมัน มาจากคำว่า *granica ซึ่งเป็นคำร่วมเชื้อสายของภาษากลุ่มสลาวิก คำว่า quark (เนยแข็งชนิดหนึ่ง) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งยืมมาจากคำว่า Quark ในภาษาเยอรมัน ก็มาจากคำว่า tvarog ในภาษาสวีเดนยังมีคำว่า torg (ตลาด) tolk (ล่าม) และ pråm (เรือบรรทุก) ซึ่งมาจากคำว่า tъrgъ[1] tlŭkŭ[2] และ pramŭ[3] ในภาษากลุ่มสลาวิกตามลำดับ

คำว่า pistol และ robot ซึ่งเป็นคำในภาษาเช็ค ก็เป็นคำที่มีใช้ในหลาย ๆ ภาษา

อ้างอิง

  1. (สวีเดน) Hellquist, Elof (1922). "torg". Svensk etymologisk ordbok. Project Runeberg. สืบค้นเมื่อ 2006-12-27.
  2. (สวีเดน) Hellquist, Elof (1922). "tolk". Svensk etymologisk ordbok. Project Runeberg. สืบค้นเมื่อ 2006-12-27.
  3. (สวีเดน) Hellquist, Elof (1922). "pråm". Svensk etymologisk ordbok. Project Runeberg. สืบค้นเมื่อ 2006-12-27.