ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: uk:Ластовиння
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: nl:Sproet (huidkenmerk)
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
[[mn:Сэвх]]
[[mn:Сэвх]]
[[nds:Sünnsprütten]]
[[nds:Sünnsprütten]]
[[nl:Sproet]]
[[nl:Sproet (huidkenmerk)]]
[[no:Fregner]]
[[no:Fregner]]
[[pl:Piegi]]
[[pl:Piegi]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:32, 12 เมษายน 2553

กระบนผิวหน้าของเด็ก

กระมี 3 ชนิด คือ กระตื้น กระลึก และกระเนื้อ

กระตื้น

จะมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล มักเป็นบริเวณใบหน้าหรือส่วนที่โดนแสงบ่อยๆ กระตื้นยังแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

  1. Freckie มักพบในเด็กและวัยรุ่น กระนี้จะมีสีเข้มขึ้นและเห็นชัดเจนถ้าไปโดนแดด และจะจางลงเมื่อไม่โดนแดด
  2. Solar Lentigo หรือกระแดด พบบ่อยในผู้ใหญ่ เกิดจากการผลิดเม็ดสีมากกว่าปกติจะแตกต่างจากกระชนิดที่ 1 คือสีจะไม่จากลงถึงแม้ว่าจะหลีกเลื่ยงแสงแดดแล้วก็ตาม แถมยังเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามอายุ

กระลึก

มีลักษณะเป็นจุดสีเทาหรือฟ้าอมเทาหลายจุดที่บริเวณโหนกแก้มสองข้าง มักพบในผู้หญิงเอเชียเนื่องจากมีเซลล์สร้างเม็ดสีขึ้นผิดที่ คือไปอยู่ชั้นหนังแท้ เพราะฉะนั้นกระลึกพวกนี้จึงไม่ตอบสนองต่อการทายากำจัดฝ้า

กระเนื้อ

มีลักษณะเป็นตุ่มสีน้ำตาลหรือดำ ซึ่งค่อยๆ ขยายขนาดขึ้นช้าๆ เป็นตุ่มแบนขนาดใหญ่มีขอบชัดเจน ผิวอาจจะเรียบหรือขรุชระก็ได้ ส่วนมากจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยกลางคน และค่อยๆ เพิ่มจำนวนและขนาดขึ้นช้าๆ ตามอายุ มักพบรอยโรคที่ใบหน้าและส่วนของลำตัวผู้ที่มีการตกกระแบบนี้มักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นด้วย

การรักษา

กระตื้นนิยมรักษาด้วยเลเซอร์ซึ่งทำให้เกิดสะเก็ดขาวและหลุดออกไป แต่เนื่องจากเป็นกรรมพันธุ์กระนี้จะกลับมาขึ้นใหม่อีกหากไปโดนแสงแดดจัด ส่วนกระลึกแนะนำให้รทำไอพีแอล

ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลใจหากไม่ได้รักษา เนื่องจากรอยโรคเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งผิวหนัง

อ้างอิง

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550

ดูเพิ่ม