ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระนิกโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pawadol (คุย | ส่วนร่วม)
พระนิกโค ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น พระนิกโค โชนิน
Pawadol (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
{{เก็บกวาด}}
[[ภาพ:Nikkoshonin.jpg|thumb|right|พระนิกโคโชนิน]]
พระนิกโค (日興 ''Nikkō'') (ค.ศ. 1246 - ค.ศ. 1333) หรือ พระนิกโค โชนิน เป็นผู้ก่อตั้งนิกายย่อยของศาสนาพุทธ [[นิกายนิชิเรน]] ซึ่งคือ [[นิชิเรนโชชู]] นามแบบเต็มของท่านคือ '''''ฮะวะคิ-โบะ เบียวคุเร็น อาจาริ นิกโค''''' (伯耆房 白蓮阿闍梨 日興 ''Hawaki-bō Byakuren Ajari Nikkō'')
พระนิกโค (日興 ''Nikkō'') (ค.ศ. 1246 - ค.ศ. 1333) หรือ พระนิกโค โชนิน เป็นผู้ก่อตั้งนิกายย่อยของศาสนาพุทธ [[นิกายนิชิเรน]] ซึ่งคือ [[นิชิเรนโชชู]] นามแบบเต็มของท่านคือ '''''ฮะวะคิ-โบะ เบียวคุเร็น อาจาริ นิกโค''''' (伯耆房 白蓮阿闍梨 日興 ''Hawaki-bō Byakuren Ajari Nikkō'')



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:49, 31 มีนาคม 2553

พระนิกโคโชนิน

พระนิกโค (日興 Nikkō) (ค.ศ. 1246 - ค.ศ. 1333) หรือ พระนิกโค โชนิน เป็นผู้ก่อตั้งนิกายย่อยของศาสนาพุทธ นิกายนิชิเรน ซึ่งคือ นิชิเรนโชชู นามแบบเต็มของท่านคือ ฮะวะคิ-โบะ เบียวคุเร็น อาจาริ นิกโค (伯耆房 白蓮阿闍梨 日興 Hawaki-bō Byakuren Ajari Nikkō)

ว่ากันว่าพระนิกโค เข้าเป็นศิษย์ของ พระนิชิเร็นไดโชนิน ระหว่างปี ค.ศ. 1258 และ ปี ค.ศ. 1260 ซึ่งไม่ระบุเวลาที่แน่ชัด ท่านได้ตามรับใช้พระนิชิเรนอย่างใกล้ชิด จนถึงวันที่ท่านดับขันธ์ จากบันทึกของนิชิเรนโชชู พระนิกโคยังได้โดนเนรเทศพร้อมๆกับพระนิชิเรนถึงสองครั้ง และยังเป็นผู้ทำการเก็บรักษาบทธรรมนิพนธ์ที่พระนิชิเรนเขียนไว้อย่างมหาศาล โดยได้ทำการเก็บรักษาอย่างดีและระมัดระวัง

ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1282 พระนิกโคได้รับการแต่งตั้งเป็น หนึ่งในหกของ พระสงฆ์อาวุโส ซึ่งพระนิชิเรนคาดหวังไว้ให้เป็นผู้เผยแผ่คำสอนหลังจากการดับขันธ์ของท่าน ต่อมาในวันที่ 13 ตุลาคม พระนิชิเรนได้แต่งตั้งให้ พระนิกโคเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดคุอนจิ แห่งเขามิโนบุ ซึ่งเป็นสถานที่พระนิชิเรนได้ใช้ชีวิตอยู่ในปีที่สุดท้ายของชีวิต อย่างไรก็ตามนิกายนิชิเรนชู และนิกายอื่นๆได้ปฏิเสธเรื่องนี้ วันต่อมาพระนิชิเรนได้ดับขันธ์ ฤ คฤหาสถ์ตระกูลอิเคนามิในโตเกียว

หลังจากพิธีศพของพระนิชิเรน พระนิกโคได้เดินทางออกจากบ้านตระกูลอิเคนามิในวันที่ 21 ตุลาคม และนำอัฐิ ของพระนิชิเร็นกลับไปยังเขามิโนบุ จนถึงเขามิโนบุในวันที่ 25 ตุลาคม หลังจากครบ 100 วัของจากดับขันธืของพระนิชิเรน พระนิกโคและพระสงฆ์อาวุโสอื่นๆทั้ง 5 และลูกศิษย์ ได้ร่วมพิธีรำลึกการดับขันธ์ครบ 100 วันของท่าน

หลังจากนั้น พระนิกโค ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดคุอนจิ สอนลูกศิษย์และดูแลฆราวาสที่นับถือ หน้าที่หลักที่สำคัญที่สุดของท่านคือการดูแลและปกป้องรักษาไดโงะฮนซน (สิ่งสักการะบูชาสูงสุดของนิชิเรนโชชู) ดูแลรักษาสุสานของพระนิชิเรน และ ทำหน้าที่รวบรวมคำสอนและบทธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเรน ระหว่างนั้นนั่นเอง พระสงฆ์อาวุโสอีก 5 รูป ได้มาเยือนเขามิโนบุนานๆครั้งเท่านั้น และค่อยๆเบี่ยนเบนและถอยห่างจากพระนิกโคที่ดำเนินคำสอนและการปฏิบัติตามแบบพระนิชิเรนซึ่งเปนแบบดั้งเดิม อาทิเช่น บางท่านได้เริ่มปั้นพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้าศากยุมุนี หรือ ไปเข้ากับ นิกายเทียนไท้ สำหรับพระ นิโค นั้นได้ถูก ฮาการิ ซาเนะนากะ ยุยงให้ไปนับถือนิกายสุขาวดี และเคารพเทพเจ้าของชินโตอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้พระนิกโค เล็งเห็นว่า การเผยแผ่ธรรมของพระนิชิเรน คงไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ณ วัดคุอนจิ แห่งเขามิโนบุอีกต่อไป ในฐานะที่เป็นพระสงฆ์ที่พระนิชิเรนแต่งตั้งให้เป็น พระสังฆราช พระนิกโคได้วางแผนว่าถึงเวลาแล้วที่จะไปจากเขามิโนบุ พระนิกโคจึงได้เดินทางออกจากเขามิโนบุ พร้อมกับได้นำไดโงะฮนซน อัฐิของพระนิชิเรน และของตกทอดต่างๆจากพระนิชิเรน และได้ออกจากเขามิโนบุพร้อมกับลูกศิษย์ในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1289 นันโจะ โทะชิมัตุ ฆราวาสที่นับถือได้มอบที่ดินบริเวณใกล้ภูเขาไฟฟูจิให้กับพระนิกโค ภายหลังได้บริจาคให้สร้างเป็นวัด ซึ่งต่อมาเป็นวัดไทเซขิจิ ซึ่งเป็นวัดใหญ่และศูนย์กลางของนิชิเรนโชชู

หลังจากการก่อตั้งวัดไทเซขิจินั้น พระนิกโคได้แต่งตั้งศิษย์ขึ้นมาเป็นผู้สืบทอดคือ พระนิชิโมขุ (ค.ศ. 1260ค.ศ. 1333) และได้เกษียณอายุและเดินทางไกลไปยัง โอโมะสุ ซึ่งท่านได้สร้างโรงเรียนสอนธรรมมะ และได้สอนลูกศิษย์จนกระทั่งได้ดับขันธ์ใน เดือนที่ 2 ตามจันทรคติ ในปี ค.ศ. 1333 เมื่ออายุได้ 87 พรรษา