ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สม็อก (ตัวละคร)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sl:Smaug
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
:''สม็อก (smog) ที่หมายถึงมลพิษทางอากาศชนิดหนึ่ง ดูที่ [[หมอกควัน]]''
:''สม็อก (smog) ที่หมายถึงมลพิษทางอากาศชนิดหนึ่ง ดูที่ [[หมอกควัน]]''

'''สม็อก (Smaug) ''' เป็นชื่อ[[มังกรในมิดเดิลเอิร์ธ|มังกร]] ในปกรณัมชุด[[มิดเดิลเอิร์ธ]] ของ [[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] ปรากฏในเรื่อง ''[[เดอะฮอบบิท]]'' ได้ชื่อว่าเป็นมังกรตัวสุดท้ายของมิดเดิลเอิร์ธ มีสมญาอื่นว่า ''สม็อกมังกรทอง'' หรือ ''สม็อกผู้เรืองรอง'' มันสามารถพ่นไฟได้ จึงเชื่อว่าเป็นมังกรในตระกูลมังกรไฟ และสามารถบินได้
'''สม็อก (Smaug) ''' เป็นชื่อ[[มังกรในมิดเดิลเอิร์ธ|มังกร]] ในปกรณัมชุด[[มิดเดิลเอิร์ธ]] ของ [[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] ปรากฏในเรื่อง ''[[เดอะฮอบบิท]]'' ได้ชื่อว่าเป็นมังกรตัวสุดท้ายของมิดเดิลเอิร์ธ มีสมญาอื่นว่า ''สม็อกมังกรทอง'' หรือ ''สม็อกผู้เรืองรอง'' มันสามารถพ่นไฟได้ จึงเชื่อว่าเป็นมังกรในตระกูลมังกรไฟ และสามารถบินได้


บรรทัด 14: บรรทัด 14:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
<references />


[[หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะฮอบบิท]]
[[หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะฮอบบิท]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:13, 16 มีนาคม 2553

สม็อก (smog) ที่หมายถึงมลพิษทางอากาศชนิดหนึ่ง ดูที่ หมอกควัน

สม็อก (Smaug) เป็นชื่อมังกร ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเรื่อง เดอะฮอบบิท ได้ชื่อว่าเป็นมังกรตัวสุดท้ายของมิดเดิลเอิร์ธ มีสมญาอื่นว่า สม็อกมังกรทอง หรือ สม็อกผู้เรืองรอง มันสามารถพ่นไฟได้ จึงเชื่อว่าเป็นมังกรในตระกูลมังกรไฟ และสามารถบินได้

สม็อกบุกโจมตีอาณาจักรเอเรบอร์ในปี 2770 ของยุคที่สาม ทำให้คนแคระแห่งอาณาจักรเอเรบอร์ต้องหลบลี้หนีภัยไปอาศัยอยู่ในที่ต่างๆ มันครอบครองทรัพย์สมบัติในอาณาจักรแห่งนั้นอยู่นานกว่าสองร้อยปี และมักออกอาละวาดที่เมืองเอสการ็อธ เมืองเดล ซึ่งเป็นอาณาจักรมนุษย์ในแถบใกล้เคียงอยู่เสมอ

สม็อกอาศัยอยู่ในถ้ำซึ่งมันขนเอาทรัพย์สมบัติของเอเรบอร์มากองรวมกันแล้วนอนทับเอาไว้ ใต้ท้องของสม็อกจึงมีแต่เพชรนิลจินดาที่ฝังแน่นอยู่กับพุงของมัน แต่บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ที่ลอบเข้าไปในรังของมันได้ค้นพบจุดอ่อนที่หน้าอกซ้าย ว่าไม่มีสิ่งใดปกคลุม เขานำเรื่องออกมาบอกคนแคระ แต่นกทรัชสอดแนมนำความกลับไปแจ้งแก่บาร์ด นักธนูแห่งเดล ทำให้เขาสามารถยิงธนูใส่จุดอ่อนนั้นเมื่อสม็อกบินมาอาละวาดทำลายเมืองเดลอีก ด้วยคิดว่าเมืองเดลให้ความช่วยเหลือแก่ศัตรูที่ลอบเข้าไปสอดแนมในรังของมัน (และขโมยถ้วยทองคำออกมาด้วย) สม็อกจึงเสียชีวิตด้วยน้ำมือของบาร์ด

ที่มา

แนวคิดในการประพันธ์ มังกร ของโทลคีน สอดคล้องกับตำนานปรัมปราหลายแห่งที่กล่าวถึงมังกรว่า เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบสมบัติ และมักนอนอยู่บนกองสมบัติของตัว งานประพันธ์เก่าแก่ที่แสดงความข้อนี้คือ บทกวีแองโกล-แซกซอน เรื่อง "เบวูล์ฟ" ซึ่งโทลคีนเป็นศาสตราจารย์ทางด้านภาษาแองโกล-แซกซอน ในระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1925-1945 มังกรในเรื่องเบวูล์ฟยังออกอาละวาดเนื่องจาก ถ้วยทองคำ ถูกขโมยไป เช่นเดียวกับถ้วยทองคำที่บิลโบขโมยออกมาในเรื่อง เดอะฮอบบิท[1]

อ้างอิง

  1. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน, เบวูล์ฟ : บทวิเคราะห์มุมมองของปีศาจ (Beowulf: The Monsters and the Critics and Other Essays) เรียบเรียงโดย คริสโตเฟอร์ โทลคีน, สำนักพิมพ์ จอร์จ อัลเลนแอนด์อันวิน, 1983