ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังโยงานะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Eesk120 (คุย | ส่วนร่วม)
Eesk120 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4: บรรทัด 4:


==ประวัติ==
==ประวัติ==
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอักษรมังโยงะนะที่เก่าแก่ที่สุด คือ [[ดาบอินะริยะมะ]] ซึ่งเป็นดาบเหล็กที่ขุดค้นพบที่สุสานโบราณ[[อินะริยะมะโคะฟุง]] [[จังหวัดไซตะมะ]] เมื่อ [[พ.ศ. 2511]] และ 10 ปีหลังการขุดพบ ใน [[พ.ศ. 2521]] ได้มีการวิเคาระห์ดาบเล่มนี้โดยการเอ็กเรย์ จนพบตัว[[อักษรจีน]]สลักด้วย[[ทอง]]จำนวน 115 ตัว ซึ่งเขียนเป็นมังโยงะนะ สันนิษฐานว่าดาบเล่มนี้ถูกตีขึ้นในปี 辛亥年 เทียบเท่ากับ [[พ.ศ. 1041]] <ref name="Seeley">Seeley (2000:19-23)</ref>
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอักษรมังโยงะนะที่เก่าแก่ที่สุด คือ [[ดาบอินะริยะมะ]] ซึ่งเป็นดาบเหล็กที่ขุดค้นพบที่สุสานโบราณ[[อินะริยะมะโคะฟุง]] [[จังหวัดไซตะมะ]] เมื่อ [[พ.ศ. 2511]] และ 10 ปีหลังการขุดพบ ใน [[พ.ศ. 2521]] ได้มีการวิเคาระห์ดาบเล่มนี้โดยการเอ็กเรย์ จนพบตัว[[อักษรจีน]]สลักด้วย[[ทอง]]จำนวน 115 ตัว ซึ่งเขียนเป็นมังโยงะนะ สันนิษฐานว่าดาบเล่มนี้ถูกตีขึ้นในปี 辛亥年 เทียบเท่ากับ [[พ.ศ. 1041]]


==หลักการเขียน==
==หลักการเขียน==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:11, 12 มีนาคม 2553

มังโยงะนะ ญี่ปุ่น: 万葉仮名โรมาจิMan'yōgana เป็นระบบการเขียนในสมัยโบราณของภาษาญี่ปุ่นโดยอักษรจีน หรือคันจิ ช่วงเวลาที่เริ่มใช้ระบบการเขียนนี้แน่นอน แต่ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชื่อ "มังโยงะนะ" นี้ ได้จากชื่อหนังสือ “มันโยชูญี่ปุ่น: 万葉集โรมาจิMan'yōshū อันเป็นวรรณกรรมรวมบทกวีในยุคนะระที่เขียนด้วยระบบมังโยงะนะ

ประวัติ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอักษรมังโยงะนะที่เก่าแก่ที่สุด คือ ดาบอินะริยะมะ ซึ่งเป็นดาบเหล็กที่ขุดค้นพบที่สุสานโบราณอินะริยะมะโคะฟุง จังหวัดไซตะมะ เมื่อ พ.ศ. 2511 และ 10 ปีหลังการขุดพบ ใน พ.ศ. 2521 ได้มีการวิเคาระห์ดาบเล่มนี้โดยการเอ็กเรย์ จนพบตัวอักษรจีนสลักด้วยทองจำนวน 115 ตัว ซึ่งเขียนเป็นมังโยงะนะ สันนิษฐานว่าดาบเล่มนี้ถูกตีขึ้นในปี 辛亥年 เทียบเท่ากับ พ.ศ. 1041

หลักการเขียน

มังโยงะนะ จะใช้หลักการนำตัวอักษรจีนที่มีเสียงใกล้เคียงเสียงภาษาญี่ปุ่นของคำที่จะเขียน โดยไม่คำนึงถึงความหมายของอักษรจีนตัวนั้น หรือเรียกว่า "ชาคุอง" (借音 shakuon ยืมเสียง) เนื่องจากมีอักษรจีนหลายตัวที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน การเลือกว่าจะใช้อักษรจีนตัวใดสำนวนภาษาของผู้เขียน เห็นได้จากหนังสือ “มันโยชู” บทที่ 17/4025 ซึ่งเขียนไว้ดังนี้

มังโยงะนะ 之乎路可良 多太古要久礼婆 波久比能海 安佐奈藝思多理 船梶母我毛
คะตะคะนะ シヲヂカラ タダコエクレバ ハクヒノウミ アサナギシタリ フネカヂモガモ
แบบปัจจุบัน 志雄路から ただ越え来れば 羽咋の海 朝凪したり 船梶もがも
โรมะจิ Shiojikara Tadakoekureba Hakuhinoumi Asanagishitari Funekajimogamo

จากตัวอย่างด้านบน เสียง mo (母, 毛) และ shi (之, 思) เขียนด้วยอักษรจีนได้หลายตัว และในขณะที่คำส่วนมากเขียนโดยถอดเสียงเป็นพยางค์ๆโดยไม่คำนึงถึงความหมาย (เช่น 多太 tada และ 安佐 asa เป็นต้น) แต่คำว่า umi (海) และ funekaji (船梶) เป็นการเขียนโดยใช้ความหมายของอักษรจีนตัวนั้น ไม่ใช้การถอดเสียง

เสียงภาษาญี่ปุ่นบางพยางค์จะถูกแทนด้วยอักษรจีนที่กำหนดเอาไว้เป็นกฎการสะกดคำ (orthographic) ในยุคนะระ ที่เรียกว่า "โจได โทคุชุ คะนะซุไค" (上代特殊仮名遣 Jōdai Tokushu Kanazukai) ซึ่งช่วยให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาสรุปได้ว่า เสียงในภาษาญี่ปุ่นยุคเก่าซึ่งแทนด้วยอักษรมังโยงะนะนั้น อาจเริ่มมีมาตรฐานตั้งแต่ในครั้งนั้นเป็นต้นมา