ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชีวิตอารามวาสี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


{{เรียงลำดับ|ระบบสำนักสงฆ์}}
{{เรียงลำดับ|ระบบสำนักสงฆ์}}
[[หมวดหมู่:สำนักสงฆ์|*]]
[[หมวดหมู่:นิกายของคริสต์ศาสนา]]
[[หมวดหมู่:นิกายของคริสต์ศาสนา]]
[[หมวดหมู่:ประวัติคริสต์ศาสนา]]
[[หมวดหมู่:ประวัติคริสต์ศาสนา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:55, 22 กุมภาพันธ์ 2553

สำนักสงฆ์นักบุญแคทเธอรินแห่งไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565

ระบบสำนักสงฆ์[1] (อังกฤษ: Monasticism) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “ระบบสำนักสงฆ์” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monasticism” ที่มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเลือกที่จะสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม ที่มาของคำนี้มาจากภาษากรีกโบราณและเป็นปรัชญาที่เกี่ยวกับนักบวชในคริสต์ศาสนา ในวัฒนธรรมคริสเตียนผู้ที่เลือกใช้ชีวิตระบบสำนักสงฆ์ถ้าเป็นชายก็เรียกว่า “พระ” (monk) หรือ “หลวงพี่” (brethren - brothers) ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่า “ชี” (nun) หรือ “ซิสเตอร์” ทั้งพระและชีอาจจะเรียกว่า “monastics”

ศาสนาอื่นต่างก็มีระบบสำนักสงฆ์เป็นของตนเองโดยเฉพาะในพุทธศาสนา และรวมทั้งลัทธิเต๋า, ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก

ระบบสำนักสงฆ์ในพุทธศาสนา

สำหรับระบบสำนักสงฆ์พุทธศาสนาในประเทศไทย ระบบสำนักสงฆ์อาจหมายความถึงวัดหรืออาราม (ที่ยังไม่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา) ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่อยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ ซึ่งแบ่งเป็นสำนักที่มีพระสงฆ์จำพรรษาจำนวนมากเพียงพอ 5 รูปขึ้นไป และได้ตั้งวัดโดยกฎหมายคณะสงฆ์แล้วจะเรียกว่า วัด ซึ่งหากมีพระสงฆ์น้อยกว่านั้น จะไม่สามารถตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายคณะสงฆ์ไทยได้ วัดเหล่านั้นจะถูกเรียกว่า ระบบสำนักสงฆ์ หรือ ที่พักสงฆ์

ในสมัยพุทธกาล ระบบสำนักสงฆ์เรียกว่า อาราม ซึ่งสำนักใดมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่มาก จะถูกเรียกว่าวิหาร หรือมหาวิหาร เช่น วัดเวฬุวันมหาวิหาร[2]

ระบบสำนักสงฆ์ของคริสต์ศาสนา

ระบบสำนักสงฆ์ในคริสต์ศาสนามาจากคำว่า “พระ” และ “สำนักสงฆ์” ที่มีระบบแตกต่างจากกันเป็นหลายแบบ ระบบสำนักสงฆ์ก่อตั้งขึ้นไม่นานหลังจากการเริ่มต้นของคริสต์ศาสนาตามตัวอย่างและปรัชญาที่กล่าวถึงในพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่แต่ยังมิได้ระบุแยกเป็นสถาบันต่างหากในพระคัมภีร์ ต่อมาระบบสำนักสงฆ์จึงได้มีการก่อตั้งบทบัญญัติเป็นกฎปฏิบัติทางศาสนาในหมู่ผู้ติดตามเช่นกฎของนักบุญบาซิล (Rule of St Basil) หรือกฎของนักบุญเบ็นเนดิค ในสมัยปัจจุบันกฎของสถาบันศาสนาของนิกายหรือลัทธิบางลัทธิก็อาจจะระบุการใช้ชีวิตของนักบวชอย่างสำนักสงฆ์

สำนักสงฆ์ของคริสต์ศาสนาเป็นวิถีชีวิตที่อุทิศให้แก่พระเจ้าเพื่อการบรรลุชีวิตอันเป็นอมตะ (eternal life) ระหว่างการเทศนาบนภูเขา (Sermon on the Mount) ในหัวข้อ “Beatitudes” หรือการดำเนินชีวิตตามกฎของพระเจ้า พระเยซูทรงเทศนาต่อกลุ่มชนที่มาฟังให้ “เป็นคนดีรอบคอบ เหมือนอย่างพระบิดา...ผู้ทรงสถิตในสวรรค์เป็นผู้ดีรอบคอบ” (แม็ทธิว 5:48[3]) และทรงกล่าวเชิญชวนอัครสาวกของพระองค์ให้ปฏิญาณความเป็นโสดโดยตรัสว่า “ผู้ที่กระทำตัวเองให้เป็นขันทีเพราะเห็นแก่อาณาจักรแห่งสวรรค์ก็มี ใครถือได้ก็ให้ถือเอาเถิด” (แม็ทธิว 19:12[4]) และเมื่อทรงถูกถามว่าจะต้องทำอย่างใดนอกจากปฏิบัติตามพระบัญญัติที่จะทำให้ “บรรลุชีวิตอันเป็นอมตะ” พระองค์ก็ทรงแนะว่าให้สละทรัพย์สมบัติและใช้ชีวิตอย่างสมถะ (แม็ทธิว 19:16-22[5], มาร์ค 10:17-22[6] และ ลูค 18:18-23[7])

ในพันธสัญญาใหม่ก็เริ่มมีหลักฐานที่กล่าวถึงนักบวชคริสเตียนที่ใช้ชีวิตอย่างระบบสำนักสงฆ์โดยการช่วยเหลือแม่หม้ายและสตรี ในซีเรียและต่อมาในอียิปต์ผู้นับถือคริสต์ศาสนาบางคนก็มีความรู้สึกว่าถูกเรียกร้องให้ไปใช้ชีวิตอย่างสันโดษเพื่อเพิ่มความศรัทธาและเข้าถึงพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้นโดยการออกไปใช้ชีวิตอย่างสันโดษกลางทะเลทราย นักบุญแอทธานาเซียสแห่งอเล็กซานเดรีย (Athanasius of Alexandria) กล่าวถึงนักบุญแอนโทนี แอ็บบ็อทว่าเป็นนักบวชองค์แรกๆ ที่ออกไปใช้ชีวิตอย่าง “นักพรต” และเป็นลัทธิที่ทำให้ระบบสำนักสงฆ์เป็นที่แพร่หลายในอียิปต์ ระบบสำนักสงฆ์แพร่หลายทั่วไปในตะวันออกกลางมาจนกระทั่งเมื่อความนิยมในการนับถือคริสต์ศาสนาในซีเรียมาลดถอยลงในยุคกลาง

เมื่อผู้ประสงค์จะใช้ชีวิตอย่างสันโดษเริ่มรวมตัวเข้าด้วยกันมากขึ้น ความจำเป็นในการที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ในชุมนุมนักบวชก็เพิ่มมากขึ้น ราวปี ค.ศ. 318 นักบุญพาโคเมียส (Pachomius) ก็เริ่มจัดกลุ่มผู้ติดตามที่กลายมาเป็นระบบสำนักสงฆ์เชโนเบียมต่อมา ไม่นานนักก็มีการก่อตั้งระบบอื่นๆ ในลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วไปในทะเลทรายในอียิปต์และทางตะวันออกของจักรวรรดิโรมัน ระบบสำนักสงฆ์ในตะวันออกกลางที่เป็นที่รู้จักกันดีก็ได้แก่:

ทางตะวันตกการวิวัฒนาการของระบบสำนักสงฆ์ที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นเมื่อกฎการใช้ชีวิตอย่างสำนักสงฆ์ได้รับการบันทึกเป็นตัวอักษร กฎที่เชื่อกันว่าเป็กฎแรกที่ได้รับการบันทึกคือกฎของนักบุญบาซิลแต่เวลาที่เขียนไม่เป็นที่ทราบแน่นอน กฎของนักบุญบาซิลเชื่อกันว่าเป็นกฎที่เป็นพื้นฐานของกฎของนักบุญเบ็นเนดิคที่เขียนโดยนักบุญเบ็นนาดิคแห่งเนอร์เซียสำหรับสำนักสงฆ์ที่มอนเตคัสซิโนในอิตาลีราวปี ค.ศ. 529 และสำหรับลัทธิเบ็นนาดิคตินที่ก่อตั้งขึ้น ลัทธิเบ็นนาดิคตินเป็นลัทธิที่นิยมกันอย่างแพร่หลายที่สุดในยุคกลางของยุโรป ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันก็มีกฎของนักบุญออกัสตินโดยนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป แต่ก็เป็นเพียงระยะเวลาอันสั้น เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ก็มีระบบสำนักสงฆ์ใหม่ๆ ก่อตั้งขึ้นอีกหลายระบบเช่นระบบลัทธิฟรานซิสกัน, ลัทธิคาร์เมไลท์, ลัทธิโดมินิกัน และลัทธิเมดิคันท์ที่เลือกตั้งสำนักสงฆ์ที่อยู่ในเมืองแทนที่จะไปตั้งห่างไกลจากชุมชน

ระบบสำนักสงฆ์ของคริสต์ศาสนาก็ยังวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้แม้แต่ในลัทธิโปรเตสแตนต์ในสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง

  1. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Monasticism [1]
  2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค วักกลิสูตร. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  3. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญมัทธิว 5
  4. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญมัทธิว 19
  5. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญมัทธิว 19
  6. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญมาระโก 10
  7. Holy Zone for Christ. พระวรสารนักบุญลูกา 18

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น