ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมนาเฮม เบกิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TobeBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: nn:Menachem Begin
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: bs:Menahem Begin; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
{{เรียงลำดับ|มเมนาเฮม เบกิน}}
{{เรียงลำดับ|มเมนาเฮม เบกิน}}
{{รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ}}
{{รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ}}
{{birth|1913}}{{death|1992}}

[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ]]
[[หมวดหมู่:ชาวยิว|มเมนาเฮม เบกิน ]]
[[หมวดหมู่:ชาวยิว|มเมนาเฮม เบกิน]]
[[หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีอิสราเอล|ม]]
[[หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีอิสราเอล|ม]]
[[หมวดหมู่:ชาวอิสราเอล|ม]]
[[หมวดหมู่:ชาวอิสราเอล|ม]]
{{birth|1913}}{{death|1992}}


{{Link FA|he}}
{{Link FA|he}}
บรรทัด 44: บรรทัด 45:
[[ar:مناحم بيجن]]
[[ar:مناحم بيجن]]
[[bg:Менахем Бегин]]
[[bg:Менахем Бегин]]
[[bs:Menahem Begin]]
[[ca:Menahem Begin]]
[[ca:Menahem Begin]]
[[cs:Menachem Begin]]
[[cs:Menachem Begin]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:58, 15 มกราคม 2553

(1978)
เมนาเฮม เบกิน

เมนาเฮม วูล์โฟวิช เบกิน (อังกฤษ: Menachem Wolfovich Begin - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2535) หัวนหน้าองค์กรลับใต้ดิน "อิรกูน" ของลัทธิไซออนชาวโปแลนด์เชื้อสายยิว ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลที่สังกัดพรรคลิคุด (พ.ศ. 2520-2526)

เยาว์วัย การศึกษาและการเริ่มงาน

เบกิน เกิดที่เมือง เบรสต์ลิโตฟค์ เบลารุส จบการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยวอร์ซอว์และต่อมาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและมีบทบาทสำคัญในองค์กรลัทธิไซออน และได้เป็นหัวหน้าหน่วยไซออนของโปแลนด์ในปี พ.ศ. 2474 การบุกโปแลนด์จากเยอรมันทำให้เบกินต้องหนีไปอยู่ลิทัวเนียและถูกพวกรัสเซียจับที่นั่น เบกินได้รับการปล่อยตัวใน พ.ศ. 2484 และถูกเกณฑ์เป็นทหารในกองทัพโปแลนด์เสรีและถูกส่งตัวไปประจำที่ปาเลสไตน์รัฐในอาณัติของอังกฤษในปี พ.ศ. 2485 หลังจากพ้นหน้าที่ทหารเกณฑ์ในปีต่อมา กินได้เป็นหัวหน้าผู้บัญชาการหน่วยต่อต้าน "อิรกูน"

งานการเมือง

ภาพถ่ายนายกรัฐมนตรีเบกิน ประธานาธิบดีคาร์เตอร์และประธานาธิบดีซาดัตในวันเซ็นสัญญาสันติภาพแคมป์เดวิด พ.ศ. 2521

ในปี พ.ศ. 2491 เบกินได้ก่อตั้งพรรคการเมืองฝ่ายขวาและได้เป็นประธานพรรคเฮรุต และในปี 2516 เบกินก็ได้เป็นผู้นำพรรคลิคุด ซึ่งเป็นพรรคขวาจัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น เบกินได้เริ่มเจรจาข้อตกลงสันติภาพกับอียิปต์ และจัดประชุมสันติภาพที่นครเยรูซาเร็มกับฝ่ายอียิปต์ เบกินได้รับเชิญจากประธานาธิบดีคาร์เตอร์มาร่วมเจรจากับประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัตที่แค้มป์เดวิดเมื่อ พ.ศ. 2521 เบกินได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2521 ร่วมกับประธานาธิบดีซาดัต

แม้เบกินจะได้รับการรักใคร่นับถือจากประชาชนชาวอิสราเอลเป็นจำนวนมาก แต่มรดกที่เบกินทิ้งไว้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันมากและในขณะเดียวกันก็เป็นที่ยอมรับกันมาก ในฐานะของหัวหน้า"เออร์กัน" เบกินทำตัวเป็นกลางในกองทัพที่ต่อต้านการตั้งรัฐปาเลสไตน์ของอังกฤษ แต่ในที่สุดก็ยอมเข้ากับกลุ่มระดับแกนนำของไซออน

เบกินพ่ายแพ้การเลือกตั้งถึง 8 ครั้งในการรณรงค์เป็นนายกรัฐมนตรีและมาชนะการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2520 ซึ่งนอกจากจะเป็นการยุติการต่อเนื่อง 30 ปี ในการเป็นรัฐบาลของพรรคแรงงานแล้วยังเป็นการสร้างสัญลักษณ์ของสังคมใหม่ที่เคยได้รับการยอมรับน้อยมากจากประชาชน

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:Link FA