ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
นายปิยสวัสดิ์ เป็นบุตรชายคนโตของ นายปรก อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตฯ กับ หม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย (สวัสดิวัตน์) อัมระนันทน์ เป็นหลานตาของ [[หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์]]
นายปิยสวัสดิ์ เป็นบุตรชายคนโตของ นายปรก อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตฯ กับ หม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย (สวัสดิวัตน์) อัมระนันทน์ เป็นหลานตาของ [[หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์]]


นายปิยสวัสดิ์ สมรสกับ [[อานิก อัมระนันทน์|นางอานิก อัมระนันทน์]] (สกุลเดิม "วิเชียรเจริญ" เป็นบุตรสาวของ [[อดุล วิเชียรเจริญ|ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ]] และ [[กนิษฐา วิเชียรเจริญ|แม่ชีคุณหญิงกนิษฐา วิเชียรเจริญ]]) อดีตผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการเงิน บริษัท [[เชลล์แห่งประเทศไทย]] ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกัน 2 คนคือ ปีย์ อัมระนันทน์ และ อนุตร์ อัมระนันทน์ ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นางอานิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 6 (กรุงเทพ) ลำดับที่ 6 ของ [[พรรคประชาธิปัตย์]] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
นายปิยสวัสดิ์ สมรสกับ [[อานิก อัมระนันทน์|นางอานิก อัมระนันทน์]] (สกุลเดิม "วิเชียรเจริญ" เป็นบุตรสาวของ [[อดุล วิเชียรเจริญ|ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ]] และ [[กนิษฐา วิเชียรเจริญ|แม่ชีคุณหญิงกนิษฐา วิเชียรเจริญ]]) อดีตผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการเงิน บริษัท [[เชลล์แห่งประเทศไทย]] ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกัน 2 คนคือ ปีย์ อัมระนันทน์ และ อนุตร์ อัมระนันทน์ ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นางอานิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 6 (กรุงเทพ) ลำดับที่ 6 ของ [[พรรคประชาธิปัตย์]] ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้รับการเลื่อนขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายหลัง


==ประวัติการศึกษา==
==ประวัติการศึกษา==
บรรทัด 78: บรรทัด 78:
[[หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน]]
[[หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:คู่สมรสของนักการเมืองไทย]]


[[en:Piyasvasti Amranand]]
[[en:Piyasvasti Amranand]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:26, 7 มกราคม 2553

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
ไฟล์:Piyasawat Amaranan.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้านายวิเศษ จูภิบาล
ถัดไปพลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
ไทย กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางอานิก (วิเชียรเจริญ) อัมระนันทน์

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 - ) นักวิชาการด้านพลังงาน อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552

นายปิยสวัสดิ์ เป็นบุตรชายคนโตของ นายปรก อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตฯ กับ หม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย (สวัสดิวัตน์) อัมระนันทน์ เป็นหลานตาของ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์

นายปิยสวัสดิ์ สมรสกับ นางอานิก อัมระนันทน์ (สกุลเดิม "วิเชียรเจริญ" เป็นบุตรสาวของ ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ และ แม่ชีคุณหญิงกนิษฐา วิเชียรเจริญ) อดีตผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการเงิน บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกัน 2 คนคือ ปีย์ อัมระนันทน์ และ อนุตร์ อัมระนันทน์ ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นางอานิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สัดส่วน กลุ่ม 6 (กรุงเทพ) ลำดับที่ 6 ของ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้รับการเลื่อนขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายหลัง

ประวัติการศึกษา

ประวัติการทำงาน

นายปิยสวัสดิ์ เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2523 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 4 กองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จนได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และประมาณการเศรษฐกิจ เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2535 และได้โอนและเลื่อนระดับตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในปีเดียวกัน นายปิยสวัสดิ์ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2537 และอยู่ในตำแหน่งรวม 6 ปี ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543

นายปิยสวัสดิ์ มีแนวคิดเห็นด้วยกับการเปิดเสรีด้านพลังงาน และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เคยขัดแย้งกับนายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริยเดช รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านพลังงานในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้า และนโยบายการแปรรูปปตท. และกฟผ. จึงลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2545 เพื่อไปดำรงตำแหน่งในบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย

  • เริ่มรับราชการที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตำแหน่งข้าราชการชั้นโท (ระดับ 4) กองวางแผนเศรษฐกิจ
  • หัวหน้ากองประมาณการเศรษฐกิจ มีหน้าที่ทำแบบจำลองเศรษฐกิจประมาณการภาวะเศรษฐกิจ และเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม
  • หัวหน้าฝ่ายเทคนิควางแผน กองวางแผนส่วนรวม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
  • ดูแลนโยบายด้านพลังงาน ในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
  • เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) คนแรก
  • 28 มีนาคม 2541 ขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สพช. ไปอีก 1 ปี ตั้งแต่ 28 มีนาคม 2541 เป็นต้นไป (ครั้งที่ 1) และให้ขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปีตั้งแต่ 28 มีนาคม 2542 เป็นต้นไป หมดวาระ 31 มีนาคม 2543 (ครั้งที่ 2) ถือว่าครบกำหนด 6 ปี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และ ครม.กำหนด
  • 27 พ.ค.2543 ตำแหน่ง "ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี"
  • 1 ต.ค.2543 ตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  • 17 เม.ย.2544 ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ (กพช.)
  • 9 เม.ย.2545 ตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ช่วงรัฐบาล “ทักษิณ”
  • 2 ม.ค.2546 รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มีผลตั้งแต่ 2 ม.ค.46 ทั้งนี้วันรุ่งขึ้นนายปิยสวัสดิ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากราชการทันที ระบุต้องการไปประกอบอาชีพอื่น
  • 2546 ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.) กสิกรไทย

นายปิยสวัสดิ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะชอบออกมาให้ความเห็นเชิงลบและมุ่งเสนอให้มีการขึ้นราคาก๊าซ LPG รวมถึงต้องการให้มีการเก็บภาษีรถที่ใช้ก๊าซ LPG สูงเป็นพิเศษ ทำให้ประชาชนจำนวนมากเห็นว่าอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน

ข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนหน้า ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ถัดไป
นายวิเศษ จูภิบาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม.56)
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ