ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 212: บรรทัด 212:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ .ร.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ .ร.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]


[[en:Purachatra Jayakara]]
[[en:Purachatra Jayakara]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:20, 5 ธันวาคม 2552

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
ไฟล์:พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร.jpg
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
ประสูติ23 มกราคม พ.ศ. 2424
สิ้นพระชนม์14 กันยายนพ.ศ. 2479
พระนามเต็ม
นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ประชาธิบดินทรเจษฏภาดา ปิยมหาราชวงศ์วิศิษฏ์ เอนกยนตรวิจิตรกฤตยโกศล วิมลรัตนมหาโยธาธิบดี ราชธุรันธรีมโหฬาร พาณิชยการคมนาคม อุดมรัตนตรัยสรณธาดามัททวเมตตาชวาศรัย ฉัตร์ชัยดิลกบพิตร
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระราชชนกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระชนนีเจ้าจอมมารดาวาด

พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน หรือ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2424 - 14 กันยายน พ.ศ. 2479) พระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย และพระบิดาแห่งการรถไฟไทย[1]

พระประวัติ

พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาวาด ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2424 ขณะทรงพระเยาว์เริ่มศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

ปี พ.ศ. 2437 เสด็จไปทรงศึกษาต่อด้านโยธาธิการที่ โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ และทรงศึกษาต่อวิชาวิศวกรรมที่ ตรินีตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และวิชาทหารช่างที่ แชทแฮม จากนั้นเสด็จศึกษาเพิ่มเติมในประเทศฝรั่งเศส ทรงศึกษาการทำทำนบและขุดคลอง ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเสด็จกลับมาทรงงานและศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนได้เป็นสมาชิก M.I.C.E. (Member of the Institution of Civil Engineer) (เทียบเท่า วิศวกรรมสถาน)

พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2447 ทรงรับราชการทหาร เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างพระองค์แรกในปี พ.ศ. 2451 และทรงดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลา 17 ปี ทรงนำความรู้ในวิชาการทหารแผนใหม่ตามแบบอย่างประเทศตะวันตกมาปรับปรุงกิจการทหารช่าง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่ และกองทัพ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงลาออกจากราชการและเสด็จไปประทับ ณ ประเทศสิงคโปร์ พร้อมกับครอบครัวเมื่อ พ.ศ. 2476 กระทั่งวันที่ 14 กันยายน 2479 พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรได้สิ้นพระชนม์ที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ สิริพระชนมายุได้ 55 ปี

พระกรณียกิจ

ด้านการรถไฟไทย

ไฟล์:ภาพล้อฝีพระหัตถ์-บุรฉัตรไชยากร.jpg
ภาพล้อกรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ 6

การดำเนินกิจการรถไฟในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงให้ชาวต่างประเทศเป็นผู้ควบคุมการบริหารกิจการทั้งหมด กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ในปี พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมรถไฟหลวง" และให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และทรงบุกเบิกพัฒนากิจการต่างๆ ของกรมรถไฟหลวง ขยายเส้นทางเดินรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สายตะวันออกเฉียงเหนือทรงสร้างทางรถไฟจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี สายตะวันออกจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ และทรงนำรถจักรดีเซลเข้ามาใช้เป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมกรมทางไปขึ้นกับกรมรถไฟหลวง โดยให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงรับผิดชอบงานสร้างถนนและสะพานทั่วประเทศ เช่น สะพานกษัตริย์ศึก เป็นสะพานลอยข้ามทางรถไฟแห่งแรก และสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง สะพานพุทธ สะพานพระราม 6

ในปี พ.ศ. 2464 ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงริเริ่มนำเอาเครื่องเจาะมาทำการเจาะสำรวจหาน้ำมันดิบ ในบริเวณที่มีผู้พบน้ำมันดิบไหลขึ้นมาบนผิวดินที่บ่อหลวง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงว่าจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันเข้ามาสำรวจทางธรณีวิทยา เพื่อค้นหาน้ำมันดิบและถ่านหินในประเทศไทย

ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร

พระองค์ทรงริเริ่มนำวิทยาการด้านการสื่อสารเข้ามาใช้การพัฒนาประเทศ ทรงตั้งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงทดลองขนาดเล็ก และสั่งเครื่องวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง ทรงเปิดการกิจการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2473 ใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท" และถือว่าเป็นบุคคลแรกของสยาม ที่ต้องการให้ประเทศสยาม มีการส่ง เทเลวิชั่น หรือ วิทยุโทรทัศน์ขึ้นครั้งแรกในประเทศสยาม แต่ความคิดที่จะต้องการส่งแพร่ภาพโทรทัศน์ เมื่อขณะดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากสยามได้เปลื่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ทำให้การกำเนิดโทรทัศน์จึงล้มเลิกไปในระยะหนึ่ง (หากประสบความสำเร็จ ประเทศสยาม อาจเป็นประเทศแรกของเอเชีย ที่มีการส่งโทรทัศน์)

ด้านการสื่อสาร ทรงให้ความสำคัญการสื่อสาร โดยจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทั่วประเทศ ให้บริการรับส่งจดหมาย พัสดุ ไปรษณีย์ ธนาณัติ และโทรเลข รวมทั้งการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์และวิทยุโทรเลขภายในและภายนอกประเทศ

ด้านการคมนาคม ทรงสนพระทัยกิจการบิน โดยทรงทดลองขับเครื่องบินสาธิต จนได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นคนไทยคนแรกที่มีโอกาสขึ้นเครื่องบิน และทรงวางรากฐานกิจการการบินขึ้นในประเทศไทย และการจัดการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ จัดตั้งบริษัทเดินอากาศและเปิดเส้นทางพาณิชย์

ด้านอื่น ๆ

1 เมษายน พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคมเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน และให้ นายพลเอก กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และเป็นนายกสภาเผยแผ่พาณิชย์

21 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาราชการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงปฏิบัติราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีเป็นครั้งคราว

พระโอรส ธิดา

ตราประจำราชสกุลฉัตรไชย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล พระชายา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงเป็นต้นราชสกุล "ฉัตรชัย" ทรงมีพระโอรส พระธิดารวม 11 องค์ ประสูติจากพระชายา ดังนี้ [2][3][4]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล (11 มิถุนายน 2428 - 15 กุมภาพันธ์ 2506) พระธิดาในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ อภิเษกสมรสเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 มีพระโอรส 1 องค์ และ พระธิดา 3 องค์

เจ้าหญิงลดาคำ ณ เชียงใหม่

เจ้าหญิงลดาคำ ณ เชียงใหม่ (7 ธันวาคม 2439 - 15 มิถุนายน 2527) พระนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๘ มีพระธิดา 2 องค์

หม่อม

หม่อมเพี้ยน สุรคุปต์ (1 กันยายน พ.ศ. 2442 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2481)

หม่อมเผือด พึ่งรักวงศ์ (พ.ศ. 2449 - มีนาคม พ.ศ. 2527)

หม่อมบัวผัด อินทรสูต (5 เมษายน พ.ศ. 2454 - )

  • หม่อมเจ้าหญิงเฟื่องฉัตร ฉัตรไชย (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2547) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์พิพัฒนดิศ ดิศกุล
    • หม่อมหลวงธีรฉัตร ดิศกุล (ภายหลังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงรับเป็นโอรสบุญธรรม จึงเปลี่ยนนามสกุลเป็น หม่อมหลวงธีรฉัตร บุรฉัตร) สมรสกับ ยุวดี โกมารกุล ณ นคร และ ปราณี จันทร์เวียง
      • ชนิกานดา โกมารกุล ณ นคร (ใช้นามสกุลมารดา)
      • ยุพาพิน โกมารกุล ณ นคร (ใช้นามสกุลมารดา)
      • ธานีฉัตร บุรฉัตร
    • หม่อมหลวงพิพัฒนฉัตร ดิศกุล สมรสกับ เสาวนีย์ ธีราสถาพร
    • หม่อมหลวงพิชยฉัตร ดิศกุล
    • หม่อมหลวงหญิงฉัตรฏิปปีญา ดิศกุล
  • หม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรไชย (12 กันยายน พ.ศ. 2478 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2499)

หม่อมจำลอง ชลานุเคราะห์ (8 กันยายน พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2511)

  • หม่อมเจ้าหญิงหิรัญฉัตร ฉัตรไชย (20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 - ธันวาคม พ.ศ. 2541) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ แอลเฟรด ฟิททิ่ง และ เบเวน เอ็ดเวิร์ดส ชาวอเมริกัน
    • ฉัตราภรณ์ คอร่า ฟิททิ่ง
    • ฉัตราภา ออรอร่า ฟิททิ่ง (ฉัตราภา ออรอร่า เอ็ดเวิร์ดส)
    • ปิติฉัตร เบเวอร์ลี เอ็ดเวิร์ดส
    • ภัทรฉัตร เบแวน เอ็ดเวิร์ดส

หม่อมเอื้อม อรุณทัต (พ.ศ. 2452 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)

  • หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรไชย (6 ตุลาคม พ.ศ. 2477 - ) เษกสมรสกับ จารุศรี รัตนวราหะ และมีหม่อม คือ มัณฑนา บุนนาค และ อรศรี ลีนะวัต
    • หม่อมราชวงศ์หญิงลักษมีฉัตร ฉัตรไชย สมรสกับ หม่อมหลวงปริญญากร วรวรรณ
    • หม่อมราชวงศ์หญิงกมลฉัตร ฉัตรไชย สมรสกับ พร้อมพงศ์ บุญพราหมณ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงธิดาฉัตร ฉัตรไชย สมรสกับ กุลิต จันทร์ตรี
    • หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรไชย
    • หม่อมราชวงศ์มณฑิรฉัตร ฉัตรไชย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเอื้อมทิพย์ ฉัตรไชย
    • หม่อมราชวงศ์ฉัตรทิพย์ ฉัตรไชย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเอิบทิพย์ ฉัตรไชย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร
กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย
พระชนนี:
เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 5
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
นายเสถียรรักษา (เที่ยง)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
พระนมปริก
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระยาอิศรานุภาพ (ขุนเณรน้อย)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
นางขำ

อ้างอิง

  1. http://www.prd.go.th/bordCast/thai/begin02.html
  2. http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i162.html
  3. http://www.railway.co.th/about/burachut.asp
  4. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  • จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา

ดูเพิ่ม