ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาวทรงเสน่ห์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: fr:Orgueil et Préjugés
ArthurBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: ms:Pride and Prejudice
บรรทัด 84: บรรทัด 84:
[[lb:Pride and Prejudice]]
[[lb:Pride and Prejudice]]
[[mk:Гордост и предрасуди]]
[[mk:Гордост и предрасуди]]
[[ms:Lagak Wasangka]]
[[ms:Pride and Prejudice]]
[[nl:Pride and Prejudice (boek)]]
[[nl:Pride and Prejudice (boek)]]
[[pl:Duma i uprzedzenie]]
[[pl:Duma i uprzedzenie]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:29, 8 พฤศจิกายน 2552

สาวทรงเสน่ห์  
ผู้ประพันธ์เจน ออสเตน
ชื่อเรื่องต้นฉบับPride and Prejudice
ผู้แปลจูเลียต
ประเทศอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ
ประเภทนวนิยาย
สำนักพิมพ์สหราชอาณาจักร T. Egerton, Whitehall
ไทย หจก. บำรุงสาส์น
วันที่พิมพ์สหราชอาณาจักร 28 มกราคม ค.ศ. 1813
ไทย พ.ศ. 2493

สาวทรงเสน่ห์ (อังกฤษ: Pride and Prejudice) เป็นนวนิยายเชิงเรียลลิสติกเรื่องแรกๆ ของโลก ประพันธ์โดย เจน ออสเตน สุภาพสตรีชาวอังกฤษ ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1813 เป็นผลงานที่ตีพิมพ์เป็นเรื่องที่สองของเธอ แต่มีข้อมูลระบุว่างานเขียนชิ้นนี้เป็นงานประพันธ์ชิ้นแรกของเธอ โดยประพันธ์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1796-1797 ทว่าในยุคนั้นยังเป็นยุคของนิยายเชิงเพ้อฝัน (เรื่องของพระราชา ราชวงศ์ การสู้รบ และเกียรติยศของอัศวิน) ดังนั้นนวนิยายของเธอเรื่องนี้จึงถือว่าแหวกประเพณีการประพันธ์ในยุคเดียวกันอย่างมาก

สาวทรงเสน่ห์ เป็นชื่อหนังสือในฉบับแปลภาษาไทย โดย จูเลียต (นามปากกาของ ชนิด สายประดิษฐ์ ภริยาของ ศรีบูรพา) ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 โดยสำนักพิมพ์บำรุงสาส์น

โครงเรื่อง

ประวัติการตีพิมพ์

หลังจากออสเตนได้ตีพิมพ์นวนิยายเล่มแรกแล้ว เธอได้ขายลิขสิทธิ์เรื่อง สาวทรงเสน่ห์ ให้แก่ Thomas Egerton ในราคา 110 ปอนด์ Egerton ตีพิมพ์ สาวทรงเสน่ห์ ชุดแรกเป็นหนังสือปกแข็งสามเล่มในเดือนมกราคม ค.ศ. 1813[1] หนังสือได้รับคำวิจารณ์ค่อนข้างดี และขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว ฉบับปรับปรุงเอดิชันที่สองได้พิมพ์จำหน่ายต่อมาในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน และฉบับปรับปรุงเอดิชันที่สามตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1817[2]

นวนิยายได้แปลไปเป็นภาษาฝรั่งเศสทันทีในปี ค.ศ. 1813 หลังจากนั้นก็ได้แปลไปเป็นภาษาเยอรมัน เดนมาร์ก และสวีเดน[3] สาวทรงเสน่ห์ ได้พิมพ์จำหน่ายในสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1832 ในชื่อเรื่องว่า เอลิซาเบธ เบนเน็ต[2]

สำหรับประเทศไทย จูเลียต หรือ ชนิด สายประดิษฐ์ ได้แปล สาวทรงเสน่ห์ เป็นภาษาไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ตีพิมพ์โดย หจก. บำรุงสาส์น ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 แพรวสำนักพิมพ์ได้นำฉบับแปลนี้มาพิมพ์ใหม่ในชุดวรรณกรรมคลาสสิก

การตอบรับ

นวนิยายได้รับการตอบรับค่อนข้างดี โดยมีบทวิจารณ์ในทางดีถึงสามฉบับภายในช่วงเดือนแรกหลังการวางจำหน่าย[4] เจน เฟอร์กัส บอกว่า "นี่เป็นนวนิยายของออสเตนที่โด่งดังมาก ทั้งต่อสาธารณชนและคนใกล้ชิดของเธอเอง"[4] ในงานเขียนของเดวิด กิลสัน A Bibliography of Jane Austen เขาอ้างถึงคำกล่าวของแอนน์ อิซาเบลลา มิลแบงค์ (ภายหลังเป็นภริยาของลอร์ดไบรอน) ว่า สาวทรงเสน่ห์ เป็น "นวนิยายที่ทันสมัยมาก"

ปี ค.ศ. 1819 เฮนรี แครบบ์ โรบินสัน เอ่ยถึงนวนิยายเรื่องนี้ว่า "...เป็นหนึ่งในงานเขียนชั้นเลิศที่สุดของนักเขียนหญิง"[5] เซอร์วอลเตอร์ สก็อตต์ เขียนในบทความของเขาว่า "...เป็นนวนิยายที่คุณออสเตนบรรจงเขียนอย่างละเมียดละไม... สุภาพสตรีเยาว์วัยผู้นี้มีพรสวรรค์ในการบรรยายความสัมพันธ์ ความรู้สึก และลักษณาภาพของชีวิตประจำวันธรรมดาให้กลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดที่ผมเคยพบเห็น"[5] อย่างไรก็ดียังมีบางคนไม่เห็นด้วย เช่น ชาร์ล็อตต์ บรองเต ซึ่งเห็นว่า สาวทรงเสน่ห์ น่าผิดหวังมาก "...เป็นสวนสวย ล้อมรั้วอย่างประณีต ประดับดอกไม้งดงาม แต่...ปราศจากท้องทุ่งกว้าง ไร้อากาศบริสุทธิ์ ไม่มีเนินเขาสีฟ้า และไม่เชิญชวนเอาเสียเลย"[5]

ถึงกระนั้น สาวทรงเสน่ห์ ก็ติดอันดับหนังสือยอดนิยมในการสำรวจต่างๆ ของอังกฤษอยู่เสมอ ในปี ค.ศ. 2003 สถานีโทรทัศน์บีบีซีจัดการสำรวจครั้งใหญ่เพื่อค้นหา "หนังสือในดวงใจ" ของชาวอังกฤษ สาวทรงเสน่ห์ ได้รับการโหวตเป็นอันดับที่สองรองจาก ลอร์ดออฟเดอะริงส์[6] ปี ค.ศ. 2004 สาวทรงเสน่ห์ ได้รับการโหวตเป็นอันดับสองในการสำรวจหนังสือยอดนิยมของชาวออสเตรเลีย รองจากลอร์ดออฟเดอะริงส์เช่นกัน[7] ต่อมาในปี ค.ศ. 2008 มีการสำรวจนักอ่านกว่า 15,000 คนที่ประเทศออสเตรเลีย โดยร้าน Dymock สาวทรงเสน่ห์ ได้รับการโหวตเป็นอันดับที่หนึ่ง ใน 101 หนังสือยอดเยี่ยมตลอดกาล (ลอร์ดออฟเดอะริงส์ได้ที่สอง)[8]

อ้างอิง

  1. Le Faye, Deidre (2002). Jane Austen: The World of Her Novels. นิวยอร์ก: Harry N. Abrams. ISBN 0-8109-3285-7.
  2. 2.0 2.1 Stafford, Fiona (2004). "Notes on the Text", Pride and Prejudice, Oxford World's Classics (ed. James Kinley). Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-280238-0.
  3. Valérie Cossy and Diego Saglia. "Translations". Jane Austen in Context. Ed. Janet Todd. Cambridge: Cambridge University Press, 2005. ISBN 0-521-82644-6.
  4. 4.0 4.1 Fergus, Jan (1997). "The professional woman writer", in E Copeland & J McMaster: The Cambridge Companion to Jane Austen. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. ISBN 0-521-49867-8.
  5. 5.0 5.1 5.2 Southam, B. C. (ed) (1995). Jane Austen: The Critical Heritage 1. New York: Routledge. ISBN 978-0-415-13456-9.
  6. "BBC - The Big Read - Top 100 Books" (พฤษภาคม 2003).
  7. Australia's Favourite Books The Top 50
  8. "Aussie readers vote Pride and Prejudice best book". thewest.com.au.

แหล่งข้อมูลอื่น