ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาร์เธจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TobeBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: mg:Carthage
TobeBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: ur:قرطاجنہ
บรรทัด 111: บรรทัด 111:
[[tr:Kartaca]]
[[tr:Kartaca]]
[[uk:Карфаген]]
[[uk:Карфаген]]
[[ur:قرطاج]]
[[ur:قرطاجنہ]]
[[vec:Cartàxene]]
[[vec:Cartàxene]]
[[vi:Carthage]]
[[vi:Carthage]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:22, 27 ตุลาคม 2552

คาร์เธจ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

คาร์เธจ (อังกฤษ: Carthage; ละติน: Carthago) เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองตูนิส ประเทศตูนีเซีย

ประวัติ

เมื่อ 814 ก่อนคริสตกาล ชาวฟินิเชี่ยน หนีการรุกรานของกรีกและโรมันโดยการนำของเจ้าหญิงดิโด้(Dido) หรือ Elissa แห่งเมืองไทร์ (Tyre : เลบานอนในปัจจุบัน) จนมาถึงริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหรือประเทศตูนีเซียในปัจจุบัน ตามตำนานพระนางขอซื้อที่ดินจากทางเมืองเดิม โดยตกลงกันว่าจะขอพื้นที่แค่ผืนหนัง โดยขลิบผืนหนังออกเป็นเส้นเล็กแล้วตีวง ทำให้ได้ที่ดินมากพอจะสร้างเป็นเมืองท่าได้ จนเป็นเมืองคาร์เธจ

ด้วยที่ตั้งที่เหมาะสมจึงทำให้คาร์เธจเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว พวกเขามีความชำนาญด้านการค้า มีสินค้าส่งออกอย่าง แร่เงิน ดีบุก และทองแดง จนในกลางศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล การค้าขายของคาร์เธจเจริญสุดขีด พวกเขาได้ทำการค้าขายกับโรมัน พวกเขายังชำนาญด้านการเดินเรือ ค้าขายไปถึงเกาะอังกฤษ ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา และเมืองไทร์ ส่วนด้านการทาหารพวกเขาขยายขอบเขตดินแดนทั้งในฝั่งตะวันตกของเกาะซิซิลี (Sicily) เกาะซาดิเนีย (Sardinia) เกาะบาเลอาริค (Balearic : แคว้นคาตาลันในสเปน) และทางตอนใต้ของสเปน

ระบบการปกครองเป็นระบบกษัตริย์ตั้งแต่ตั้งเมือง จนถึงปี 480 ก่อนคริสตกาล หลังการตายของ ฮามิลก้าที่หนึ่ง(Hamilca I) ทำให้ระบอบกษัตริย์อ่อนแอเรื่อยมา จนในปี 308 ก่อนคริสตกาล หลังสิ้นสมัยกษัตริย์ โบมิลก้า(Bomilca) จีงเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ

พวกเขามีความขัดแย้งกับกรีกและโรมัน ทำสงครามกับกรีกหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญคือ สงครามเกาะซิซิลี (Sicilian wars) ทั้งสามครั้ง ตั้งแต่ปี 480 ถึง 307 ก่อนคริสตกาล ส่วนกับทางโรมัน ครั้งที่สำคัญมีอยู่ 3 ครั้งเช่น คือสงครามปูนิค(Punic wars) ทั้งสามครั้ง ซึ่งในครั้งที่สาม การพ่ายแพ้ของคาร์เธจทำให้ถึงกับสิ้นชาติ ประชาชนส่วนใหญ่ถูกฆ่า ชาวเมืองจาก 5 แสนคนเหลือ 5 หมื่นคน ที่เหลือถูกนำไปขายเป็นทาส บ้านเมืองถูกเผา จนแทบไม่เหลือศิลปะสิ่งก่อสร้างให้เห็น จนในสมัยจูเลียส ซีซ่าร์ มาบูรณะคาร์เธจขึ้นมาใหม่โดยโรม

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1985 นายยูโก้ เวเตเร่ (Ugo Vetere) นายกเทศมนตรีของกรุงโรมในขณะนั้น ทำสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการกับ นายเชดดี้ คลีบิ (Chedly Klibi) นายกเทศมนตรีของตูนีส เพื่อยุติฉากสงครามระหว่างสองชนชาติอย่างเป็นทางการอันยาวนานถึง 2,248 ปี หลังสงครามพิวนิคครั้งที่สาม

อ้างอิง

แม่แบบ:Link FA