ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดีวีนากอมเมเดีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ml:ഡിവൈന്‍ കോമഡി; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
Jotterbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sq:Komedia Hyjnore
บรรทัด 89: บรรทัด 89:
[[simple:The Divine Comedy]]
[[simple:The Divine Comedy]]
[[sl:Božanska komedija]]
[[sl:Božanska komedija]]
[[sq:Komedia Hyjnore]]
[[sr:Божанствена комедија]]
[[sr:Божанствена комедија]]
[[sv:Den gudomliga komedin]]
[[sv:Den gudomliga komedin]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:20, 15 ตุลาคม 2552

ไตรภูมิดานเต
Divina Commedia  
ดานเตถือหนังสือ “ไตรภูมิดานเต” หน้าประตูนรกภูมิ, ภูเขาโทษภูมิเจ็ดระดับ และเมืองฟลอเรนซ์ โดยมีโค้งสวรรค์อยู่ด้านบน (จิตรกรรมฝาผนังโดยโดเมนนิโค มิเคลิโน)
ผู้ประพันธ์ดานเต
ชื่อเรื่องต้นฉบับCommedia
หัวเรื่องอุปมานิทัศน์ของสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการตาย
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1308 - ค.ศ. 1321

ไตรภูมิดานเต (อังกฤษ: Divine Comedy, อิตาลี: Divina Commedia) เป็นวรรณกรรมอุปมานิทัศน์ที่เขียนโดยดานเตระหว่างปี ค.ศ. 1308 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1321 “ไตรภูมิดานเต” เป็นกวีนิพนธ์สำคัญของวรรณกรรมอิตาลีและเป็นหนึ่งในงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของวรรณกรรมของโลก[1] กวีนิพนธ์ที่เป็นเป็นจินตนิยายและอุปมานิทัศน์ของคริสเตียนสะท้อนให้เห็นถึงการวิวัฒนาการของปรัชญาของยุคกลางในเรื่องที่เกี่ยวกับโรมันคาทอลิกของตะวันตก นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนังสือที่มีบทบาทต่อสำเนียงทัสคัน (Tuscan dialect) ตามที่เขียนเป็นภาษาอิตาลีมาตรฐาน[2]

“ไตรภูมิดานเต” แบ่งออกเป็นสามตอน “นรกภูมิ” (Inferno), “โทษภูมิ” (Purgatorio) และ “สวรรค์” (Paradiso) กวีนิพนธ์เขียนในรูปของบุคคลที่หนึ่งและเป็นเรืองที่บรรยายการเดินทางของดานเตไปยังภูมิสามภูมิของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ที่เริ่มการเดินทางตั้งแต่วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงวันพุธหลังจากวันอีสเตอร์ของปี ค.ศ. 1300 โดยมีกวีโรมันเวอร์จิลเป็นผู้นำใน “นรกภูมิ” และ “โทษภูมิ” และเบียทริเช พอร์ตินาริเป็นผู้นำใน “สวรรค์” เบียทริเชเป็นสตรีในอุดมคติที่ดานเตพบเมื่อยังเป็นเด็กและชื่นชมต่อมาแบบ “ความรักในราชสำนัก” (courtly love) ที่พบในงานสมัยแรกของดานเตใน “ชีวิตใหม่” (La Vita Nuova) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1295

ชื่อเดิมของหนังสือก็เป็นเพียงชื่อสั้นๆ ว่า “Commedia” แต่ต่อมาจิโอวานนิ โบคคาชโชก็มาเพิ่ม “Divina” ข้างหน้าชื่อ ฉบับแรกที่พิมพ์ที่มีคำว่า “Divine” อยู่หน้าชื่อเป็นฉบับที่นักมนุษย์วิทยาฟื้นฟูศิลปวิยาของเวนิสโลโดวิโค โดลเช (Lodovico Dolce) พิมพ์ในปี ค.ศ. 1555[3]


อ้างอิง

  1. Bloom, Harold (1994). The Western Canon. See also Western canon for other "canons" that include the Divine Comedy.
  2. See Lepschy, Laura (1977). The Italian Language Today. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) or any other history of Italian language.
  3. Ronnie H. Terpening, Lodovico Dolce, Renaissance Man of Letters (Toronto, Buffalo, London: University of Toronto Press, 1997), p. 166.

ดูเพิ่ม