ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันติอโศก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: de:Santi Asoke
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
{{โครงพระพุทธศาสนา}}
{{โครงพระพุทธศาสนา}}


[[de:Santi Asoke]]
[[en:Santi Asoke]]
[[en:Santi Asoke]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:13, 7 ตุลาคม 2552

สันติอโศก เป็นพุทธสถาน ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 65/1 ซอยนวมินทร์ 46 ถนนนวมินทร์ แขวงบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม.

ประวัติ

สันติอโศก ก่อตั้งโดย สมณะโพธิรักษ์ (นายรัก รักพงษ์) ซึ่งเคยบวชเป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุติ แต่ไม่เห็นด้วยระเบียบ กฎเกณฑ์ของวัด จึงได้บวชใหม่เป็นพระสังกัดคณะมหานิกาย ได้นามว่า โพธิรักษ์

พ.ศ. 2516 สมณะโพธิรักษ์ได้ประกาศตั้ง ธรรมสถานแดนอโศก[ต้องการอ้างอิง] เป็นสำนักสงฆ์ขึ้นอยู่กับวัดหนองกระทุ่ม ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และเรียกกลุ่มของตัวเองว่า คณะสงฆ์ชาวอโศก ซึ่งมีจำนวน 21 รูป วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ได้ประกาศขอแยกตัวออกจากการปกครองของคณะสงฆ์ ไม่อยู่ภายใต้กฏระเบียบและการปกครองของมหาเถรสมาคมทำการปกครองตนเอง โดยอาศัยพระธรรมวินัยเป็นหลัก สันติอโศกมี 9 เครือข่ายอโศก ได้แก่ ปฐมอโศก, ศีรษะอโศก ,ราชธานีอโศก, ภูผาฟ้าน้ำ, สีมาอโศก , หินผาฟ้าน้ำ และ ทะเลธรรมอโศก มีศูนย์รวมที่พุทธสถานสันติอโศก เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ (ก่อตั้งเมื่อ 7 ส.ค. 2519)

ปัจจุบันเรียกตนเองว่า สมณะ เพื่อแตกต่างจากคำว่า พระ เนื่องด้วยผลคำตัดสินของศาล[ต้องการอ้างอิง]

หลักปฏิบัติ

หลังประกาศเจตจำนงแยกตัวออกจากการปกครองของคณะสงฆ์ ชาวอโศกแทบจะไม่มีเวลาพักหายใจหรือมีเวลาชื่นชมตนเองที่กล้าท้าทายกับศาสนาจักรอันยิ่งใหญ่ ตรงกันข้าม พวกเขาเริ่มต้นการสร้างคณะสงฆ์ของตนเองอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะพวกเขารู้ว่า วันหนึ่งวันใดข้างหน้าในไม่ช้า พวกเขาจะต้องรับศึกหนักจากคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ และเมื่วันนั้นมาถึง พวกเขาควรจะต้องเข้มแข็งมากกว่านี้

วิถีทางที่เข้มงวดของสมณะและสิกขมาตุชาวอโศกแตกต่างจากคณะสงฆ์เดิมอย่างเด่นชัด นอกจากการนุ่งห่มจีวรสีกรัก การไม่โกนคิ้ว ยังรวมถึงหลักปฏิบัติหรือการถือศีลที่เคร่งครัด ซึ่งนอกจากศีล 227 ข้อ ของสงฆ์ทั่วไปแล้ว ยังรวมไปถึงการเป็นพระมังสวิรัติ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ และบริโภควันละ 1 มื้อ ละเว้นสิ่งเสพติดทุกชนิด รวมทั้งบุหรี่ หมากพลู ยานัตถุ์ ไม่สวมรองเท้า ไม่รับเงินทองไว้ใช้ส่วนตัว นอกจากนี้ยังรวมถึงการปฏิเสธพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น การรดน้ำมนต์ ไม่ทำเครื่องรางของขลัง ตามพระธรรมนูญของพุทธ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ด้วย (สันติอโศก สามทศวรรษที่ท้าทาย โดย สุรเธียร จักรธรานนท์ สำนักพิมพ์มติชน พฤษภาคม 2550)

คดีความ

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติเอกฉันท์ ขอให้สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ทรงลงพระนามในพระบัญชาให้สึกพระโพธิรักษ์จากสมณเพศ แต่พระโพธิรักษ์ไม่ยอมเปล่งวาจาสึก จึงเพียงให้เปลี่ยนชุดเป็นสีขาว และถูกฟ้องพร้อมกับสมณะและสิกขมาตุข้อหาแต่งกายเลียนแบบพระ ศาลแขวงพระนครเหนือ มีคำพิพากษาเมื่อ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2538 หลังสืบพยานนานถึง 6 ปีเต็ม ให้จำเลยทั้งหมดมีความผิดตามโจทก์ฟ้อง จำคุกโพธิรักษ์ รวม 66 เดือน แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี บุคคลอื่นๆ ก็รอลงอาญาเช่นกัน ทั้งหมดยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยืนตามชั้นต้น ศาลฎีกาพิพากษา 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ให้ยืนตามศาลอุทธรณ์ สมณะโพธิรักษ์แพ้คดี มีคำสั่งรอลงอาญา 2 ปีพร้อมคุมประพฤติ

บทบาทในการเมืองไทย

อ้างอิง