ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาสันติภาพรีกา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TobeBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ar, be, be-x-old, es, et, fr, he, it, ja, nl, no, pl, ro, ru, sv, uk, zh
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่:สนธิสัญญา; ลบป้ายต้องการหมวดหมู่ออก ด้วยสจห.
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการหมวดหมู่}}
'''สนธิสัญญาสันติภาพริกา''' ({{lang-en|Treaty of Riga}}; {{lang-ru|Ри́жский ми́рный договóр}} (''Rízhsky Mírny dogovór'') ; {{lang-lv|Rīgas miera līgums}}; {{lang-pl|Traktat Ryski}}) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพซึ่งมีการลงนามกันที่เมือง[[ริกา]] เมื่อวันที่ [[18 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1921]] ระหว่าง[[สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง|โปแลนด์]]ฝ่ายหนึ่ง กับ[[สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย|โซเวียตรัสเซีย]]และ[[สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน|โซเวียตยูเครน]]อีกฝ่ายหนึ่ง สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวนับเป็นจุดสิ้นสุดของ[[สงครามโปแลนด์-โซเวียต]]
'''สนธิสัญญาสันติภาพริกา''' ({{lang-en|Treaty of Riga}}; {{lang-ru|Ри́жский ми́рный договóр}} (''Rízhsky Mírny dogovór'') ; {{lang-lv|Rīgas miera līgums}}; {{lang-pl|Traktat Ryski}}) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพซึ่งมีการลงนามกันที่เมือง[[ริกา]] เมื่อวันที่ [[18 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1921]] ระหว่าง[[สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง|โปแลนด์]]ฝ่ายหนึ่ง กับ[[สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย|โซเวียตรัสเซีย]]และ[[สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน|โซเวียตยูเครน]]อีกฝ่ายหนึ่ง สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวนับเป็นจุดสิ้นสุดของ[[สงครามโปแลนด์-โซเวียต]]


บรรทัด 25: บรรทัด 24:


{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

[[หมวดหมู่:สนธิสัญญา]]


[[ar:معاهدة ريغا]]
[[ar:معاهدة ريغا]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:08, 5 ตุลาคม 2552

สนธิสัญญาสันติภาพริกา (อังกฤษ: Treaty of Riga; รัสเซีย: Ри́жский ми́рный договóр (Rízhsky Mírny dogovór) ; ลัตเวีย: Rīgas miera līgums; โปแลนด์: Traktat Ryski) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพซึ่งมีการลงนามกันที่เมืองริกา เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1921 ระหว่างโปแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับโซเวียตรัสเซียและโซเวียตยูเครนอีกฝ่ายหนึ่ง สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวนับเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามโปแลนด์-โซเวียต

เบื้องหลัง

ระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย ชาวโปลมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะผนวกดินแดนของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียจากศัตรูทางประวัติศาสตร์ของตน คือ รัสเซีย ในขณะเดียวกัน พรรคบอลเชวิคต้องการที่จะขยายการปฏิวัติไปสู่ทางตะวันตก และจะใช้กำลังหากมีความจำเป็น หากโซเวียตยึดครองโปแลนด์ โซเวียตก็อาจจะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถช่วยเหลือชาวคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีได้ และอาจนำไปสู่การปฏิวัติอันประสบความสำเร็จในเยอรมนี นักประวัติศาสตร์ เจ. เอฟ. ซี. ฟูลเลอร์ อธิบายถึงยุทธการแห่งวอร์ซอ ว่าเป็นยุทธการที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากความปราชัยของโซเวียตในยุทธการครั้งนั้น ฝ่ายโซเวียตจึงหันมาพึ่งการเจรจาแทน[1]

สนธิสัญญา

การเจรจาสันติภาพเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1920 ในเมืองมินสก์ แต่เป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้กับการโจมตีโต้กลับของโปแลนด์ การเจรจาจึงย้ายไปยังเมืองริกา และเริ่มการเจรจาสันติภาพใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 21 กันยายน ผู้แทนฝ่ายโซเวียตยื่นข้อเสนอให้กับโปแลนด์สองข้อ เมื่อวันที่ 21 และ 28 กันยายน ส่วนผู้แทนโปแลนด์ยื่นความต้องการของตนเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ต่อมา ในวันที่ 5 ตุลาคม ฝ่ายโซเวียตเสนอให้โปแลนด์ทบทวนความต้องการของตน ซึ่งโปแลนด์ยอมรับ ดังนั้น การหยุดยิงจึงได้รับการลงนามในวันที่ 12 ตุลาคม]][2] และมีผลในวันที่ 18 ตุลาม

โปแลนด์ยังได้รับค่าทดแทนเป็นทองคำจำนวน 30 ล้านรูเบิล เนื่องจากการนำเศรษฐกิจเข้าสู่จักรวรรดิรัสเซียในช่วงการแบ่งโปแลนด์ รัสเซียยังต้องคืนงานศิลปะและสมบัติของชาติอื่น ๆ ซึ่งเคยได้รับจากดินแดนโปแลนด์ ทั้งสองฝ่ายได้ยกเลิกการอ้างสิทธิ์ของการตอบแทนสงคราม

ปฏิกิริยาตอบสนอง

สนธิสัญญาริกาได้เป็นที่ถกเถียงมาเป็นเวลานานแล้ว โดยฝ่ายหนึ่งอาจกล่าวว่า ประโยชน์ที่โปแลนด์ได้รับเป็นจำนวนมากระหว่างสงครามโปแลนด์-โซเวียตได้สูญเสียไปในการเจรจาสันติภาพ ขณะที่อีกจำนวนมากมองว่าความเห็นดังกล่าวไม่มีวิสัยทัศน์และใจแคบ

เนื่องมาจากความพ่ายแพ้ทางทหารของโซเวียต พรรคบอลเชวิคจึงเสนอต่อคณะผู้แทนเจรจาสันติภาพ โดยมีใจความถึงการยอมรับพรมแดนของคู่เจรจาทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สังเกตการณ์จำนวนมากแล้ว ดูเหมือนว่าพฤติการณ์ของฝ่ายโปแลนด์ในการเจรจาครั้งนั้นดูเหมือนกับว่าโปแลนด์เป็นฝ่ายแพ้สงคราม

ในอีกแง่หนึ่ง การที่การเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพกินเวลานานหลายเดือน เนื่องมาจาการลงนามอย่างไม่เต็มใจของฝ่ายโซเวียต อย่างไรก็ตาม คณะผู้นำโซเวียตเผชิญกับความไม่สงบภายในประเทศ ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ จนถึงวันที่ 17 มีนาคม ได้เกิดการก่อจลาจลกะลาสี ซึ่งได้ถูกปราบปรามลง และยังเกิดการลุกฮือของชาวชนบทเพื่อต่อต้านอำนาจปกครองของโซเวียต ผู้ซึ่งนำเมล็ดข้าวไปแจกจ่ายให้กองทัพและพื้นที่ของผู้บริโภคที่อดอยาก ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าว เลนินจึงสั่งให้ผู้แทนโซเวียตโดยสมบูรณ์ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ

อ้างอิง

  1. THE REBIRTH OF POLAND. University of Kansas, lecture notes by professor Anna M. Cienciala, 2004. Last accessed on 2 June 2006.
  2. Geoff Eley, "Forging Democracy"