ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 259: บรรทัด 259:
* [[ณัฐ ศักดาทร]] - “ณัฐ” ([[ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย|เอเอฟ]] 4)
* [[ณัฐ ศักดาทร]] - “ณัฐ” ([[ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย|เอเอฟ]] 4)
* [[ทีชลิต พรหมชนะ]] - “ที” ([[ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย|เอเอฟ]] 6)
* [[ทีชลิต พรหมชนะ]] - “ที” ([[ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย|เอเอฟ]] 6)
* [[นพรุจ โชติธนาภิรักษ์]] - “ซูกัส” ([[ดัชชี่บอย 2009|])
* [[นพรุจ โชติธนาภิรักษ์]] - “ซูกัส” ([[ดัชชี่บอย 2009]])




== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:19, 17 กันยายน 2552

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
Montfort College
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นมว,มป, MC
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญLABOR OMNIA VINCIT (วิริยะอุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ)
สถาปนา16 มีนาคม พ.ศ. 2475 หรือ ค.ศ. 1932
ผู้อำนวยการภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล
สีน้ำเงิน ขาว แดง
เพลงภาษาไทย: มาร์ชมงฟอร์ต
ภาษาอังกฤษ: Come Cheer
เว็บไซต์แผนกมัธยม www.montfort.ac.th แผนกประถม www.mcp.ac.th

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (อังกฤษ: Montfort College) เป็นโรงเรียนเอกชน ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ปัจจุบันมงฟอร์ตประถม และมงฟอร์ตมัธยมตั้งอยู่คนละที่: โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2475 แผนกประถม ตั้งอยู่ที่ ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ แผนกมัธยมตั้งอยู่ที่ ถนนมงฟอร์ต หมู่บ้านมงฟอร์ตวิลลา ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (Montfort College) เป็นโรงเรียนที่สามที่ก่อตั้งโดยมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรีบลแห่งประเทศไทย โดยโรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอนในวันที่ 16 มีนาคม 2475 อาศัยบ้านไม้ข้างโบสถ์พระหฤทัย (ปัจจุบันคือโรงเรียนพระหฤทัย) เป็นโรงเรียนชั่วคราว โดยมีภราดาซีเมออนเป็นอธิการคนแรก นักเรียนเริ่มต้นอยู่ที่ 22 คน และปีต่อมา (2476) โรงเรียนก็ได้ย้ายไปที่ดินถนนเจริญประเทศ ติดแม่น้ำปิง

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลในปี 2489 และได้เริ่มเปิดแผนกมัธยมปลายในอีกสามปีต่อมา ต่อมาเมื่อมีนักเรียนมากขึ้นจนโรงเรียนเดิมไม่สามารถรับนักเรียนได้ไหวจึงย้ายแผนกประถมไปไว้ที่ถนนช้างคลาน (ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิรวิทย์ ฝ่ายประถม) ในปี 2513

ต่อมาเมื่อโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ต้องย้ายแผนกมัธยมออกไปตั้งใหม่ยังถนนมหิดล ตำบลท่าศาลา บริเวณใกล้ ๆ กับโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย ในพื้นที่ 52 ไร่ โดยเริ่มเปิดทำการศึกษาแผนกมัธยมในบริเวณใหม่ในปี 2528 และย้ายแผนกประถมกลับมายังถนนเจริญประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของแผนกมัธยมเดิม

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 ทางโรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเปิดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยมอย่างเป็นทางการ และโรงเรียนยังได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน (ทั้งแผนกประถมและมัธยม) ถึง 5 ครั้ง โดยแผนกประถมได้รับพระราชทานรางวัลเมื่อปี 2530,2537,2544 และแผนกมัธยมได้รับพระราชทานรางวัลในปี 2532 และ 2544

นอกจากนั้น ในปี 2542 และ 2543 แผนกประถมและมัธยมยังผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา ในปี 2546 ภราดาอนุรักษ์ นิธิภัทราภรณ์ได้รับรางวัลเกียรติคุณ และได้รับพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติบุคคลดีเด่น สาขาผู้บริหารสถานศึกษา และในปี 2549 ที่ผ่านมายังผ่านการประเมินมาตรฐานการศึกษาจาก สมศ. อีกด้วย

มงฟอร์ตในวันนี้

ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตได้เปิดสอนทั้งหมด 12 ชั้นปี 4 ช่วงชั้น (ป.1-ป.3, ป.4-ป.6, ม.1-ม.3 และ ม.4-ม.6) โดยในระดับช่วงชั้นที่ 4 เรียนในระบบสหศึกษา (ชาย-หญิงเรียนรวมกัน) มีจำนวนครูรวม 2 แผนกกว่า 400 คนและนักเรียนรวม 2 แผนกกว่า 5,000 คน

ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถมตั้งอยู่ที่ ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีตึกทำการคือตึกมงฟอร์ต ตึกมารีย์ ตึกอำนวยการ ตึกสามัคคีนฤมิต อาคารอเนกประสงค์ข้างตึกอำนวยการ (ที่ตั้งมุมสวัสดิการ,ห้องแนะแนว,ห้องพักครูภาษาจีน , งานอภิบาล, ฝ่ายกิจการนักเรียน, ฝ่ายวิชาการ) อาคารอเนกประสงค์บริเวณข้างตึกมงฟอร์ต (ที่ตั้งอาคารศิลปะ ห้องเรียนดนตรีและอาคารฝ่ายงานเกี่ยวกับสถานที่) อาคารศาลามารีย์บริเวณหลังตึกมารีย์ อาคารโรงอาหาร อาคารดุริยางค์ และอาคารสมาคมศิษย์เก่ามงฟอร์ต นอกจากนั้นยังมีที่ตั้งของวัดน้อยสำหรับทำพิธีกรรมศาสนาคริสต์ของคริสตชนในโรงเรียน อาคารเฮือนผะหญาสำหรับเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และอาคารบ้านเทพฯอาทร ที่พักของนักเรียนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ตั้งอยู่ที่ ถ.มงฟอร์ต ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีตึกทำการคือตึกอำนวยการ ตึกปีเตอร์ ตึกเซราฟิน ตึกอัลเบิร์ต ตึกอันโตนิโอ ตึกอัมโบรสิโอ ตึกเอ็มมานูเอล อาคารโรงอาหาร อาคารที่ที่การศูนย์การเรียนรู้วิทยุเพื่อการศึกษา vmc 91.0Mhz และ ที่ทำการสมาคมผู้ปกครอง และครู อาคารกิจกรรม อาคารอเนกประสงค์ข้างตึกอันโตนิโอ และยังมีอาคารใหม่คืออาคารเซนต์แมรี่ ซึ่งจะสร้างขึ้นใหม่แทนอาคารเฮือนผะหญาเดิมซึ่งถูกทุบทิ้งและคาดว่าจะเสร็จพร้อมใช้งานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552

คณะภราดาและครูผู้บริหารในปัจจุบัน

  • ภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล (อธิการ/ผู้อำนวยการ)
  • ภราดาธัณฑ์กร ตันสุวงษ์ (รองผู้อำนวยการ)
  • ภราดาวิจารณ์ แสงหาญ (รองผู้อำนวยการ)
  • ภราดาโยเซฟ อังเดร เกแก็ง (รองอธิการ)
  • ภราดาฟิลิป เนห์รี (รองอธิการ)
  • ม.สิทธิพงศ์ สุขเกษม (รองผู้อำนวยการ แผนกประถม)
  • ม.เสน่ห์ คำวินิจ (รองผู้อำนวยการ แผนกมัธยม)

อธิการในอดีตถึงปัจจุบัน

  • ภราดาซีเมออน ริโคล (2475-2481)
  • ภราดาฮิวเบิร์ต คูแซง (2481-2484)
  • ภราดาปีเตอร์ (2484-2490)
  • ภราดาเซราฟิน (2490-2496)
  • ภราดาอัลเบิร์ต เบิร์น (2496-2498)
  • ภราดาอาร์ซีเกียว อาเกล (2498-2504)
  • ภราดาฮูเบิร์ต ไมเกต์ (2504-2509)
  • ภราดาเอ็ดเวิร์ด คูเรียน (2509-2513)
  • ภราดาอิลเดฟองโซ มารีอา (2513-2515)
  • ภราดาพจน์ เลาหเกียรติ (2515-2516)
  • ภราดาสมพงษ์ ศรีสุระ (2516-2521)
  • ภราดาบัญญัติ โรจนารุณ (2521-2530)
  • ภราดาวิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์ (2530-2537)
  • ภราดาวินัย วิริยวิทยาวงศ์ (2537-2540)
  • ภราดาอนุรักษ์ นิธิภัทราภรณ์ (2540-2547)
  • ภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล (2547-ปัจจุบัน)

ความสำเร็จระดับประเทศ

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยนับว่าเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการและด้านกิจกรรม (ดนตรี/กีฬา) ในจังหวัดเชียงใหม่ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผลงานทางวิชาการและกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จระดับประเทศและระดับโลกมาแล้วมากมายดังตัวอย่าง

ด้านวิชาการ

  • โครงงานวิทยาศาสตร์รางวัลชนะเลิศระดับประเทศในปี 2547 เรื่องการศึกษาวงจรชีวิตและเส้นใยของหนอนผีเสื้อยักษ์เพื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นตัวแทนโครงงานประเทศไทยเข้าแข่งระดับโลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • โครงงานอาชีพ "ทองผำ ทองเตา" ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการกรุงไทยยุววานิช ปี 2547
  • รองชนะเลิศประเทศไทย แข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ ปี 2547
  • นายศรัณย์ อาฮูยา ได้รับรางวัลเกียรติคุณประกาศ คณิตศาสตร์โอลิมปิกที่ประเทศญี่ปุ่น ปี 2546
  • ด.ช.ศัลย์ ศรีสกุลได้รับรางวัลชนะเลิศผู้ประกาศข่าวภาษาอังกฤษระดับประถม รายการ Newsline ปี 2546

ด้านดนตรี

วงดุริยางค์ของโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยประสบความสำเร็จและก้าวหน้าโดยเริ่มจากการส่งเสริมของภราดาตั้งแต่ในอดีตเช่นภราดาซิเมออน สูงสุดในสมัยที่ภราดาอันโตนิโอ มารีอา (ชื่อพระราชทานเป็นภาษาไทย: ภราดาอนุรักษ์ ศรีวาทยากร) เป็นรองอธิการโดยท่านได้เป็นผู้ประพันธ์เพลงโรงเรียน และได้ส่งเสริมการเล่นดุริยางค์ของนักเรียนมงฟอร์ต ปูพื้นฐานดนตรีสากลให้กับนักเรียนมงฟอร์ตทุกคนอย่างจริงจัง โดยประพันธ์แบบเรียนดนตรีสากลให้สำหรับนักเรียนประถมต้นให้ได้รู้จักดนตรีสากลอย่างจริงจัง นอกจากนั้นในอดีตท่านยังได้มีส่วนในการสร้างนักเรียนมงฟอร์ตให้มีความสามารถด้านดนตรีจนมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา

  • รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันดุริยางค์นานาชาติ ณ เมือง Kerkrade เนเธอร์แลนด์ในปี 2528 และอันดับ 5 ในปี 2552
  • ได้รับคัดเลือกให้แสดงคอนเสิร์ตเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ในงาน Family Festival Bandfest ในปี 2539 ที่สหรัฐอเมริกา
  • รางวัลชนะเลิศ การประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปี 2544
  • วง h.r.u (หรู) เป็นวงดนตรีที่ชนะการประกวด KPN Band ในปี 2548 และมีผลงานออกมาในปี 2549

ความสำเร็จระดับภูมิภาค และ ประเทศ

  • นายศุภนร ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา นักกรีฑาเยวชน เหรียญทอง จากการแข่งขันครั้งล่าสุดที่ประเทศจีน ปีการศึกษา 2552
  • นางนางสาวธัญลักษณ์ โชติพิบูลศิลป์ นักกีฬายิงปืน เหรีญทอง ทีมชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ปีการศึกษา 2551
  • นายวรุฒ ทองเกิด คะแนนสูงสุดภาคเหนือ สายวิทยาศาสตร์ ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โควตา ม.ช.) ปีการศึกษา 2550
  • นายปกป้อง พิริยคุณธร คะแนนสูงสุดภาคเหนือ สายวิทยาศาสตร์ ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โควตา ม.ช.) ปีการศึกษา 2549
  • นางสาวริสา โอโกโนกิ คะแนนสูงสุดภาคเหนือ สายวิทยาศาสตร์ ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โควตา ม.ช.) ปีการศึกษา 2548
  • นายวรกิตติ ลาภพิเศษพันธุ์ คะแนนสูงสุดภาคเหนือ สายวิทยาศาสตร์ ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โควตา ม.ช.) ปีการศึกษา 2547

เพลงโรงเรียน

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเป็นหนึ่งในไม่กี่โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยที่ไม่ได้ใช้เพลงสดุดีอัสสัมชัญเป็นเพลงประจำโรงเรียน เนื่องจากชื่อโรงเรียนไม่ได้ชื่อว่า "อัสสัมชัญ" เหมือนโรงเรียนอื่น ๆ ปัจจุบันเพลงประจำโรงเรียนคือเพลงมาร์ชมงฟอร์ต ซึ่งมีสองแบบคือแบบภาษาไทย (เพลงมาร์ชมงฟอร์ต) และภาษาอังกฤษ (เพลง Come Cheer) ทั้งสองแบบประพันธ์โดย ภราดาอนุรักษ์ ศรีวาทยากร นอกจากนั้นปัจจุบันเพลงสดุดีอัสสัมชัญได้ถูกนำมาใช้เป็นเพลงบังคับในการประกวดผู้นำเชียร์กรีฑาสีของโรงเรียนมงฟอร์ตทุกปี

กรีฑาสีมงฟอร์ต

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ไม่มีการจัดการแข่งขันกีฬาสี มีแต่เพียงการแข่งขันกรีฑาสีเท่านั้น ในสูจิบัตรการแข่งขันกรีฑาสีครั้งที่ 42 ประจำปีการศึกษา 2551 ม.นิสิต เจียงสงวน ครูอาวุโสได้เรียบเรียงถึงประวัติการจัดการแข่งขันดังนี้

การกีฬามงฟอร์ตเป็นที่รู้จักดีของคนทั่วไปในสมัยภราดาอาซีเนียว ราว พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา กีฬาที่นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนอย่างมากคือบาสเก็ตบอล ต่ามาภราดาอาซีเนียวได้ให้การสนับสนุนกีฬาด้านอื่นๆ และกรีฑาด้วย เป็นที่ชื่นชอบของผู้ปกครองและพวกเราชาวมงฟอร์ต ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงทั้งด้านการเรียนและกีฬา สำหรับการกีฬาอธิการได้ให้ความเอาใจใส่และสนับสนุนทุกๆ ทาง มีการแข่งขันกีฬาและกรีฑาประจำปี เป็นการหาตัวนักกีฬาเป็นตัวแทนของโรงเรียนซึ่งการแข่งขันจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ

  • ห้อง A สีแดง
  • ห้อง B สีน้ำเงิน
  • ห้อง C สีเหลือง
  • ห้อง D สีเขียว

แบ่งเป็นรุ่นจิ๋ว เล็ก กลาง ใหญ่ ตามความสูงที่กำหนด โดยจัดเฉพาะโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เริ่มในปีการศึกษา 2509 อย่างเป็นทางการ ต่อมาเมื่อมีห้องเรียนเพิ่มก็จัดแบ่งเป็น 6 สี ในสมับของภราดาเอ็ดเวิร์ด ปีการศึกษา 2510 ได้จัดการแข่งขันร่วมกับทางโรงเรียนเรยีนาเชลีและโรงเรียนพระหฤทัย รวม 3 โรงเรียน โดยจะพลัดกันเป็นเจ้าภาพการแข่งขันทุกปี

จนกระทั่งถึงสมัยของภราดาบัญญัติ โรจนรุณ ปีการศึกษา 2523 ได้ล้มเลิกการจัดกิจกรรมร่วมกัน และทำการแข่งขันแต่ละโรงเรียนเอง ซึ่งทางโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยก็ทำการแข่งขันอย่างต่อเนื่องจนถึงบัดนี้

สมัยภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล ในปีการศึกษา 2549 ได้รับนักเรียนเพิ่มมากขึ้นในช่วงชั้นที่ 4 เป็นจำนวน 12 ห้องเรียน (รวม EP) ซึ่งต่างกับช่วงชั้นที่ 3 ซึ่งมีเพียง 8 ห้อง (รวม EP) ทำให้ 2 ปี (พ.ศ. 2551) ต่อมานักเรียนรุ่น 2548 นี้จะเป็น Staff รับผิดชอบการจัดงาน มีจำนวนห้องมากส่งผลให้ ทางโรงเรียนต้องเพิ่มกลุ่มสีขึ้นมาจากเดิมอีก ดังนี้

ห้อง ม.ปลาย สีก่อนปีการศึกษา 2551 สีหลังปีการศึกษา 2551
1 สีเหลือง สีเหลือง
2 สีเขียว สีเขียว
3 สีชมพู สีชมพู
4 สีแดง สีแดง
5 สีม่วง สีม่วง
6 สีน้ำเงิน สีน้ำเงิน
7 สีแสด สีขาว
8 - สีน้ำตาล
9 - สีแสด
10 และ 11 สีทอง สีทอง
EP สีฟ้า,เงิน (บางปีแยกรวมกับสีอื่น) สีฟ้า
ห้อง ม.ต้น สีก่อนปีการศึกษา 2551 สีหลังปีการศึกษา 2551
1 สีเหลือง สีเหลือง
2 สีเขียว สีเขียว
3 สีชมพู สีชมพู
4 สีแดง สีแดง
5 สีม่วง สีม่วง
6 สีน้ำเงิน สีน้ำเงิน
7 สีแสด สีแสด
EP สีฟ้า,เงิน (บางปีแยกรวมกับสีอื่น) สีฟ้า

จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า บางกลุ่มสีจะมีจำนวนห้อง จำนวนนักเรียนไม่เท่ากับสีอื่น เป็นเหตุให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในหลายๆเรื่อง แต่เราก็ต้องยอมรับ สรุปจำนวนห้องดังนี้ ยึดห้องตาม ม.6 (Staff)

ห้อง 1 สีเหลือง มี ม.1/1 ม.2/1 ม.3/1 ม.4/1 ม.5/1 และ ม.6/1

ห้อง 2 สีเขียว มี ม.1/2 ม.2/2 ม.3/2 ม.4/2 ม.5/2 และ ม.6/2

ห้อง 3 สีชมพู มี ม.1/3 ม.2/3 ม.3/3 ม.4/3 ม.5/3 และ ม.6/3

ห้อง 4 สีแดง มี ม.1/4 ม.2/4 ม.3/4 ม.4/4 ม.5/4 และ ม.6/4

ห้อง 5 สีม่วง มี ม.1/5 ม.2/5 ม.3/5 ม.4/5 ม.5/5 และ ม.6/5

ห้อง 6 สีน้ำเงิน มี ม.1/6 ม.2/6 ม.3/6 ม.4/6 ม.5/6 และ ม.6/6

ห้อง 7 สีขาว มี ม.4/7 ม.5/7 และ ม.6/7 (สถาปนาปีการศึกษา 2551)

ห้อง 8 สีน้ำตาล มี ม.4/8 ม.5/8 และ ม.6/8 (สถาปนาปีการศึกษา 2551)

ห้อง 9 สีแสด มี ม.1/7 ม.2/7 ม.3/7 ม.4/9 ม.5/9 และ ม.6/9

ห้อง 10 และ 11 สีทอง มี ม.4/10-11 ม.5/10-11 และ ม.6/10-11 (รวมสีกันเพราะเป็นแผนศิลป์-ภาษาจีนเหมือนกัน)

ห้อง EP สีฟ้า มี ม.1/EP ม.2/EP ม.3/EP ม.4/EP ม.5/EP และ ม.6/EP (ยึดตามปี 2551)

บุคคลสำคัญที่เรียนจบจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

การเมือง

วิชาการ

  • ดร. นฤพนธ์ ไชยยศ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และนักแสดงในเรื่องบุญชู
  • ศาตราจารย์ น.พ.ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันกรรมการทุนอนันทมหิดล
  • ศาตราจารย์ น.พ.สุทัศน์ เฮงเจริญ อดีตคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ สิริราชพยาบาล
  • ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ อดีตรองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ปัจจุบันที่ปรึกษาการลงทุนภาคเอกชนคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการไทย
  • ศาตราจารย์ ด๊อกเตอร์ เจริญ วัฒนศิลป์ อดีตรองแชมป์แบดมินตันออลอิงแลนด์ บิดาของ เจ เจตริน วัฒนศิลป์


บันเทิง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น