ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โครงการกูเทินแบร์ค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Amirobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: fa:پروژه گوتنبرگ
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
[[eo:Project Gutenberg]]
[[eo:Project Gutenberg]]
[[es:Proyecto Gutenberg]]
[[es:Proyecto Gutenberg]]
[[fa:پروژه گوتنبرگ]]
[[fi:Gutenberg-projekti]]
[[fi:Gutenberg-projekti]]
[[fr:Projet Gutenberg]]
[[fr:Projet Gutenberg]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:26, 30 สิงหาคม 2552

โครงการกูเต็นเบิร์ก (อังกฤษ: Project Gutenberg หรือเรียกชื่อย่อว่า PG) เป็นโครงการอาสาสมัครเพื่อการแปรงานทางวัฒนธรรมเช่นงานวรรณกรรมเป็นดิจิทัลเพื่อการเก็บรักษาและเผยแพร่แก่สาธารณชน โครงการกูเต็นเบิร์กก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1971 โดยไมเคิล เอส ฮาร์ท (Michael S. Hart) และเป็นห้องสมุดดิจิทัลที่เก่าที่สุด) [1] สื่อที่สะสมเป็นหนังสือทั้งเล่ม (full text) ที่ลิขสิทธิ์หมดอายุและเป็นสมบัติของสาธารณชน โครงการกูเต็นเบิร์กพยายามทำให้สาธารณชนสามารถใช้หนังสือเหล่านี้โดยไม่ต้องเสียเงินเท่าที่จะทำได้ และในรูปแบบที่ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (open format) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 โครงการกูเต็นเบิร์กกล่าวว่ามีสื่อกว่า 24,000 สื่อในโครงการ โครงการกูเต็นเบิร์กเกี่ยวข้องกับโครงการอื่นๆ ที่เป็นองค์การอิสระอีกหลายโครงการที่มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกันและได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา “Project Gutenberg”

ถ้าเป็นไปได้หนังสือหรือสื่อของโครงการกูเต็นเบิร์กจะเป็นเนื้อหาที่ไม่มีรูปแบบ (plain text) แต่รูปแบบอื่นก็มีให้เช่นHTML หนังสือหรือสื่อส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษแต่ก็มีบ้างที่เป็นภาษาอื่น โครงการมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ โครงการผู้ตรวจสอบ (อังกฤษ: Distributed Proofreaders หรือเรียกชื่อย่อว่า DP) ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครอินเทอร์เน็ตที่ช่วยตรวจสอบหนังสือและสือก่อนที่จะเผยแพร่แก่สาธารณชนในโครงการกูเต็นเบิร์ก

อ้างอิง

  1. Thomas, Jeffrey (July 20, 2007). "Project Gutenberg Digital Library Seeks To Spur Literacy". U.S. Department of State, Bureau of International Information Programs. สืบค้นเมื่อ 2007-08-20.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น