ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พัดยศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
== ประวัติความเป็นมา ==
== ประวัติความเป็นมา ==


พัดยศคือเครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแก่พระสังฆาธิการในโอกาสรับพระราชทาน[[สมณศักดิ์]] โดยจะนำมาใช้เฉพาะงานรัฐพิธีและการ[[พระราชพิธี]]เท่านั้น วิวัฒนาการของตาลปัตร-พัดยศ ของพระสงฆ์ที่พบเห็นอยู่นี้ มีความเป็นมาที่ยาวนานและได้มีการพัฒนารูปแบบมาหลายครั้ง หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตาลปัตรหรือพัดยศมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีรูปทรง ลวดลาย ตลอดจนสีสันงดงามแตกต่างกันออกไปตามระดับของชั้นยศที่ได้รับพระราชทาน
พัดยศเป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแก่พระสังฆาธิการในโอกาสรับพระราชทาน[[สมณศักดิ์]] โดยจะนำมาใช้เฉพาะงานรัฐพิธีและการ[[พระราชพิธี]]เท่านั้น วิวัฒนาการของพัดยศก่อนจะมีรูปแบบดังที่พบเห็นอยู่นี้ มีความเป็นมาที่ยาวนานและได้มีการพัฒนารูปแบบมาหลายครั้ง หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตาลปัตรหรือพัดยศมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีรูปทรง ลวดลาย ตลอดจนสีสันงดงามแตกต่างกันออกไปตามระดับของชั้นยศที่ได้รับพระราชทาน


พัดยศพัฒนามาจากตาลปัตร ซึ่งแปลตรงตัวว่า '''ใบตาล ''' ความหมายคือพัดของพระสงฆ์ในยุคแรกนั้นทำด้วยใบ[[ตาล]] ต่อมาได้มีวัฒนาการมาเป็นอย่างอื่น เช่น ทำด้วยขนนก หรือโครงเหล็กหุ้มด้วยผ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดถึงทำด้วยงาหรือของมีค่าอื่น ๆ แต่ก็ยังนิยมเรียกว่าตาลปัตรอยู่นั่นเอง จากตาลปัตรที่ใช้พัดโบกได้พัฒนามาเป็น '''พัดยศ''' หมายถึง พัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแด่พระสงฆ์มาพร้อมกับการทรงตั้งสมณศักดิ์ในระดับชั้นต่าง ๆ ส่วนคำว่า '''พัดรอง''' หมายถึง พัดที่ทำขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีทำบุญต่างของราษฎร ก็รวมเรียกว่าพัดรองด้วยเช่นกัน คำว่าพัดรอง เป็นชื่อเรียกเฉพาะพัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เท่านั้น ส่วนคำว่าตาลปัตรเป็นชื่อรวมเรียกได้ทั้งพัดยศ และพัดรอง
พัดยศพัฒนามาจากตาลปัตร ซึ่งแปลตรงตัวว่า '''ใบตาล ''' ความหมายคือพัดของพระสงฆ์ในยุคแรกนั้นทำด้วยใบ[[ตาล]] ต่อมาได้มีวัฒนาการมาเป็นอย่างอื่น เช่น ทำด้วยขนนก หรือโครงเหล็กหุ้มด้วยผ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดถึงทำด้วยงาหรือของมีค่าอื่น ๆ แต่ก็ยังนิยมเรียกว่าตาลปัตรอยู่นั่นเอง จากตาลปัตรที่ใช้พัดโบกได้พัฒนามาเป็น '''พัดยศ''' หมายถึง พัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแด่พระสงฆ์มาพร้อมกับการทรงตั้งสมณศักดิ์ในระดับชั้นต่าง ๆ ส่วนคำว่า '''พัดรอง''' หมายถึง พัดที่ทำขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีทำบุญต่างของราษฎร ก็รวมเรียกว่าพัดรองด้วยเช่นกัน คำว่าพัดรอง เป็นชื่อเรียกเฉพาะพัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เท่านั้น ส่วนคำว่าตาลปัตรเป็นชื่อรวมเรียกได้ทั้งพัดยศ และพัดรอง


เรื่องของตาลปัตร-พัดยศนี้ นักปราชญ์ทาง[[พระพุทธศาสนา]]หลายท่านได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า แต่เดิมนั้นคงมิใช่ของที่ทำขึ้นมาสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ของชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเมืองร้อนมาก่อนสมัย[[พุทธกาล]]แล้ว ซึ่งชนแถบนี้มีพัดไว้ใช้พัดลม บังแดด บังฝน นับเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้นน่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้ คำที่พบในคัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องพัดมีอยู่หลายคำ เช่น คำว่า '''ตาลปัตร วาลวิชนี''' และ'''จิตรวิชนี'''
เรื่องของตาลปัตร-พัดยศนี้ นักปราชญ์ทาง[[พระพุทธศาสนา]]หลายท่านได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า แต่เดิมนั้นคงมิใช่ของที่ทำขึ้นมาสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ของชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเมืองร้อนมาก่อนสมัย[[พุทธกาล]]แล้ว ซึ่งชนแถบนี้มีพัดไว้ใช้พัดลม บังแดด บังฝน นับเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้นน่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้ คำที่พบในคัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องพัดมีอยู่หลายคำ เช่น คำว่า '''ตาลปัตร วาลวิชนี''' และ'''จิตรวิชนี'''


'''ตาลปัตร''' เป็นพัดที่เก่าแก่ที่สุด ทำด้วยใบตาล ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย โดยวิธีเอาใบตาลมาตีแผ่ออกแล้วเจียนให้มน หรือมีรูปแบบตามใจชอบแล้วขึงริมให้ตึงเหลือก้านตาลไว้เป็นด้ามตรงกลาง '''วาลวิชนี''' คือ พัดที่มีด้ามด้านข้าง มีทั้งที่ทำด้วยใบตาล ขนนก หรือวัสดุมีค่าอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องสูงสำหรับใช้โบกพัดวีท่านผู้สูงศักดิ์ หรือเป็นเครื่อง[[ราชูปโภค]] '''จิตรวิชนี''' คือ พัดอันวิจิตรงดงามนั้น เป็นพัดที่ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยสิ่งของสำหรับผู้มีทุนทรัพย์ใช้โบกพัดวีในเวลาอากาศร้อน
'''ตาลปัตร''' เป็นพัดที่เก่าแก่ที่สุด ทำด้วยใบตาล ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย โดยวิธีเอาใบตาลมาตีแผ่ออกแล้วเจียนให้มน หรือมีรูปแบบตามใจชอบแล้วขึงริมให้ตึงเหลือก้านตาลไว้เป็นด้ามตรงกลาง '''วาลวิชนี''' คือ พัดที่มีด้ามด้านข้าง มีทั้งที่ทำด้วยใบตาล ขนนก หรือวัสดุมีค่าอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องสูงสำหรับใช้โบกพัดวีท่านผู้สูงศักดิ์ หรือเป็นเครื่อง[[ราชูปโภค]] ส่วน'''จิตรวิชนี''' คือ พัดอันวิจิตรงดงามนั้น เป็นพัดที่ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยสิ่งของสำหรับผู้มีทุนทรัพย์ใช้โบกพัดวีในเวลาอากาศร้อน


ตาลปัตร หรือพัดยศ แม้จะมิได้นับเนื่องให้เป็นสิ่งหนึ่งในบริขาร 8 ของพระสงฆ์ และไม่พบหลักฐานว่ามีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์ใช้ของสิ่งนี้ในโอกาสใด เพียงแต่พบข้อความปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาหลายแห่ง เช่น ในคัมภีร์[[ธรรมบท]] ว่า ''"ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีพระ[[อานนท์]]พุทธอุปัฏฐากถวายงานพัดอยู่ด้านหลัง..."'' และ ''"พระ[[สารีบุตร]] ถือพัดอันวิจิตร ขึ้นไปแสดงธรรมบนธรรมาสน์..."'' และความตอนหนึ่งในพุทธประวัติว่า ''"พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงโปรดให้สร้างพัดอันงดงามวิจิตร..."'' ถวายพระพุทธองค์ เป็นต้น จากข้อความที่กล่าวมานี้ พอสันนิษฐานได้ว่า การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคแรกน่าจะใช้เพื่อพัดโบกคลายความร้อนเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากพระสงฆ์ชาว[[ลังกา]]ในปัจจุบัน เวลาสวดมนต์ยังถือพัดไปพัดวีไปในบางโอกาส เนื่องจากพัดชาวลังกามีด้ามสั้น
ตาลปัตร หรือพัดยศ แม้จะมิได้นับเนื่องให้เป็นสิ่งหนึ่งในบริขาร 8 ของพระสงฆ์ และไม่พบหลักฐานว่ามีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์ใช้ของสิ่งนี้ในโอกาสใด เพียงแต่พบข้อความปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาหลายแห่ง เช่น ในคัมภีร์[[ธรรมบท]] ว่า ''"ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีพระ[[อานนท์]]พุทธอุปัฏฐากถวายงานพัดอยู่ด้านหลัง..."'' และ ''"พระ[[สารีบุตร]] ถือพัดอันวิจิตร ขึ้นไปแสดงธรรมบนธรรมาสน์..."'' และความตอนหนึ่งใน[[พุทธประวัติ]]ว่า ''"พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงโปรดให้สร้างพัดอันงดงามวิจิตร..."'' ถวายพระพุทธองค์ เป็นต้น จากข้อความที่กล่าวมานี้ พอสันนิษฐานได้ว่า การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคแรกน่าจะใช้เพื่อพัดโบกคลายความร้อนเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากพระสงฆ์ชาว[[ลังกา]]ในปัจจุบัน เวลาสวดมนต์ยังถือพัดไปพัดวีไปในบางโอกาส เนื่องจากพัดชาวลังกามีด้ามสั้น


ต่อมาภายหลังได้มีผู้อธิบายว่าพระสงฆ์ใช้พัดเพื่อใช้บังเวลาเห็นอะไรก็ตามที่พระไม่ควรเห็น แต่ไม่น่าจะใช่วัตถุประสงค์ที่แท้ซึ่งมีมาแต่เดิม จากพัดที่ใช้พัดลมต่อมาในสังคมไทยพระสงฆ์เริ่มใช้พัดในเวลาให้ศีล ให้พร และจากนั้นราชการไทยได้ใช้พัดเป็นเครื่องแสดงสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ ซึ่งน่าจะมีที่มาจากในอดีตเมื่อพระสงฆ์ไทยไปในงานพิธีต่างๆ คงจะนิยมถือพัดไปด้วยแทบทุกครั้งจนกลายเป็นประเพณีสืบมา เมื่อการระบายความร้อนได้มีวิวัฒนาการไปมากจนพัดโบกลมจะหมดความจำเป็นไปแล้ว การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคต่อมาจึงถือไปเพื่อตั้งบังหน้า เป็นการรักษาธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจะทำให้[[ศาสนพิธี]]นั้น ๆ ดูเป็นพิธีรีตองและเป็นกิจลักษณะยิ่งขึ้น
ต่อมาภายหลังได้มีผู้อธิบายว่าพระสงฆ์ใช้พัดเพื่อใช้บังเวลาเห็นอะไรก็ตามที่พระไม่ควรเห็น แต่ไม่น่าจะใช่วัตถุประสงค์ที่แท้ซึ่งมีมาแต่เดิม จากพัดที่ใช้พัดลมต่อมาในสังคมไทยพระสงฆ์เริ่มใช้พัดในเวลาให้ศีล ให้พร และจากนั้นราชการไทยได้ใช้พัดเป็นเครื่องแสดงสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ ซึ่งน่าจะมีที่มาจากในอดีตเมื่อพระสงฆ์ไทยไปในงานพิธีต่างๆ คงจะนิยมถือพัดไปด้วยแทบทุกครั้งจนกลายเป็นประเพณีสืบมา เมื่อการระบายความร้อนได้มีวิวัฒนาการไปมากจนพัดโบกลมจะหมดความจำเป็นไปแล้ว การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคต่อมาจึงถือไปเพื่อตั้งบังหน้า เป็นการรักษาธรรมเนียม[[ประเพณี]] ซึ่งจะทำให้[[ศาสนพิธี]]นั้น ๆ ดูเป็นพิธีรีตองและเป็นกิจลักษณะยิ่งขึ้น


== รูปแบบของพัดยศ ==
== รูปแบบของพัดยศ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:52, 2 กรกฎาคม 2549

พัดยศ คือเครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระสงฆ์ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับการทรงตั้งสมณศักดิ์ เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกชั้นสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานนั้น ๆ และเป็นการประกาศเกียรติคุณเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามอย่างโบราณราชประเพณี


ประวัติความเป็นมา

พัดยศเป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแก่พระสังฆาธิการในโอกาสรับพระราชทานสมณศักดิ์ โดยจะนำมาใช้เฉพาะงานรัฐพิธีและการพระราชพิธีเท่านั้น วิวัฒนาการของพัดยศก่อนจะมีรูปแบบดังที่พบเห็นอยู่นี้ มีความเป็นมาที่ยาวนานและได้มีการพัฒนารูปแบบมาหลายครั้ง หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตาลปัตรหรือพัดยศมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีรูปทรง ลวดลาย ตลอดจนสีสันงดงามแตกต่างกันออกไปตามระดับของชั้นยศที่ได้รับพระราชทาน

พัดยศพัฒนามาจากตาลปัตร ซึ่งแปลตรงตัวว่า ใบตาล ความหมายคือพัดของพระสงฆ์ในยุคแรกนั้นทำด้วยใบตาล ต่อมาได้มีวัฒนาการมาเป็นอย่างอื่น เช่น ทำด้วยขนนก หรือโครงเหล็กหุ้มด้วยผ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดถึงทำด้วยงาหรือของมีค่าอื่น ๆ แต่ก็ยังนิยมเรียกว่าตาลปัตรอยู่นั่นเอง จากตาลปัตรที่ใช้พัดโบกได้พัฒนามาเป็น พัดยศ หมายถึง พัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแด่พระสงฆ์มาพร้อมกับการทรงตั้งสมณศักดิ์ในระดับชั้นต่าง ๆ ส่วนคำว่า พัดรอง หมายถึง พัดที่ทำขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีทำบุญต่างของราษฎร ก็รวมเรียกว่าพัดรองด้วยเช่นกัน คำว่าพัดรอง เป็นชื่อเรียกเฉพาะพัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เท่านั้น ส่วนคำว่าตาลปัตรเป็นชื่อรวมเรียกได้ทั้งพัดยศ และพัดรอง

เรื่องของตาลปัตร-พัดยศนี้ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาหลายท่านได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า แต่เดิมนั้นคงมิใช่ของที่ทำขึ้นมาสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ของชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเมืองร้อนมาก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว ซึ่งชนแถบนี้มีพัดไว้ใช้พัดลม บังแดด บังฝน นับเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้นน่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้ คำที่พบในคัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องพัดมีอยู่หลายคำ เช่น คำว่า ตาลปัตร วาลวิชนี และจิตรวิชนี

ตาลปัตร เป็นพัดที่เก่าแก่ที่สุด ทำด้วยใบตาล ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย โดยวิธีเอาใบตาลมาตีแผ่ออกแล้วเจียนให้มน หรือมีรูปแบบตามใจชอบแล้วขึงริมให้ตึงเหลือก้านตาลไว้เป็นด้ามตรงกลาง วาลวิชนี คือ พัดที่มีด้ามด้านข้าง มีทั้งที่ทำด้วยใบตาล ขนนก หรือวัสดุมีค่าอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องสูงสำหรับใช้โบกพัดวีท่านผู้สูงศักดิ์ หรือเป็นเครื่องราชูปโภค ส่วนจิตรวิชนี คือ พัดอันวิจิตรงดงามนั้น เป็นพัดที่ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยสิ่งของสำหรับผู้มีทุนทรัพย์ใช้โบกพัดวีในเวลาอากาศร้อน

ตาลปัตร หรือพัดยศ แม้จะมิได้นับเนื่องให้เป็นสิ่งหนึ่งในบริขาร 8 ของพระสงฆ์ และไม่พบหลักฐานว่ามีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์ใช้ของสิ่งนี้ในโอกาสใด เพียงแต่พบข้อความปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนาหลายแห่ง เช่น ในคัมภีร์ธรรมบท ว่า "ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีพระอานนท์พุทธอุปัฏฐากถวายงานพัดอยู่ด้านหลัง..." และ "พระสารีบุตร ถือพัดอันวิจิตร ขึ้นไปแสดงธรรมบนธรรมาสน์..." และความตอนหนึ่งในพุทธประวัติว่า "พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงโปรดให้สร้างพัดอันงดงามวิจิตร..." ถวายพระพุทธองค์ เป็นต้น จากข้อความที่กล่าวมานี้ พอสันนิษฐานได้ว่า การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคแรกน่าจะใช้เพื่อพัดโบกคลายความร้อนเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากพระสงฆ์ชาวลังกาในปัจจุบัน เวลาสวดมนต์ยังถือพัดไปพัดวีไปในบางโอกาส เนื่องจากพัดชาวลังกามีด้ามสั้น

ต่อมาภายหลังได้มีผู้อธิบายว่าพระสงฆ์ใช้พัดเพื่อใช้บังเวลาเห็นอะไรก็ตามที่พระไม่ควรเห็น แต่ไม่น่าจะใช่วัตถุประสงค์ที่แท้ซึ่งมีมาแต่เดิม จากพัดที่ใช้พัดลมต่อมาในสังคมไทยพระสงฆ์เริ่มใช้พัดในเวลาให้ศีล ให้พร และจากนั้นราชการไทยได้ใช้พัดเป็นเครื่องแสดงสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ ซึ่งน่าจะมีที่มาจากในอดีตเมื่อพระสงฆ์ไทยไปในงานพิธีต่างๆ คงจะนิยมถือพัดไปด้วยแทบทุกครั้งจนกลายเป็นประเพณีสืบมา เมื่อการระบายความร้อนได้มีวิวัฒนาการไปมากจนพัดโบกลมจะหมดความจำเป็นไปแล้ว การใช้พัดของพระสงฆ์ในยุคต่อมาจึงถือไปเพื่อตั้งบังหน้า เป็นการรักษาธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจะทำให้ศาสนพิธีนั้น ๆ ดูเป็นพิธีรีตองและเป็นกิจลักษณะยิ่งขึ้น

รูปแบบของพัดยศ

รูปลักษณะและการเรียกชื่อพัดยศของไทยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดเปลวเพลิง และพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

  • พัดหน้านาง เชื่อกันว่าได้แบบอย่างมาจากลังกา เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุด ใบพัดเป็นรูปไข่ หรือคล้ายเค้าหน้าของสตรี มีด้ามตรงกลาง ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร พัดหน้านางส่วนมากมักจะเป็นพัดรองพัดเปรียญธรรมทุกชั้น และพัดยศฐานานุกรมบางตำแหน่ง
  • พัดพุดตาน ใบพัดมีลักษณะวงกลม แต่ริมขอบหยักเป็นแฉกรวม 16 แฉกคล้ายกลีบดอกบัวบาน หรือดอกพุดตานบาน เป็นพัดที่ทำด้วยโครงเหล็กหุ้มแพร หรือผ้าสักหลาดกำมะหยี่ สีเดียวกันบ้าง สลับสีบ้าง ตามชั้นของสมณศักดิ์ ส่วนมากเป็นพัดของพระครูสัญญาบัตร หรือพัดของพระครูฐานานุกรมบางตำแหน่ง
  • พัดเปลวเพลิง มีลักษณะเป็นพัดยอดแหลม ใบเป็นแฉกคล้ายเปลวเพลิง ด้ามงายอดงา (แต่ปัจจุบันพัดยศทุกชั้น ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ทำด้วยพลาสติกผสมเรซินทั้งหมดแล้ว เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมกันลงนามในสัตยาบรรณที่จะป้องกันรักษาสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์) สำหรับพัดเปลวเพลิงใช้เฉพาะพระครูสัญญาบัตร ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอกเท่านั้น
  • พัดเเฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ คำว่าข้าวบิณฑ์ แปลตามตัวว่า ก้อนข้าว คือ ข้าวสุกที่เขาปั้นเป็นก้อนใส่ลงในกรวย สอดไว้กับพุ่มดอกไม้ หรือกระทงขั้นบายศรี ใช้เซ่นไหว้บูชาในพิธีกรรมบางอย่าง อีกอย่างหนึ่งคำว่าข้าวบิณฑ์เป็นชื่อของลายไทยชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นพุ่มช่วงล่าง เรียวแหลมขึ้นไปช่วงบน ส่วนพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นั้น ใบพัดมีลักษณะส่วนล่างเป็นพุ่มและเีรียวแหลมขึ้นไปถึงส่วนยอดเหมือนลายข้าวบิณฑ์ของไทย หรือคล้ายดอกบัวตูมขอบนอกคล้ายกลีบบัวที่ประกบแนบอยู่กับดอก มีกลีบอย่างน้อย 5-9 กลีบ มีการปักลายไทยชนิดต่างๆ ด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง ทองแล่ง และอุปกรณ์การปักอื่น ๆ อย่างประณีตสวยงามตามความสูงต่ำของชั้นสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน พัดแฉกเป็นของสำหรับพระราชาคณะตั้งแต่ชั้นสามัญขึ้นไป จนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ

นอกจากนี้ยังมีพัดยศเปรียญ อันเป็นเครื่องหมายสำหรับพระภิกษุผู้สอบได้บาลีเปรียญ ๓ ประโยคขึ้นไป และมีคำเป็นเครื่องสมณศักดิ์ว่า "พระมหา" เวลาทรงตั้งเรียกว่า "ทรงตั้งเปรียญ" ไม่ใช้คำว่า "พระราชทานสมณศักดิ์ - พัดยศ" สำหรับผู้สอบได้ประโยค ป.ธ.๓. ทรงพระราชทานให้สมเด็จพระสังฆราชทรงตั้ง โดยประทานประกาศนียบัตร พัดยศ ชื่อว่า ทรงตั้งแล้ว ส่วนผู้สอบได้ประโยค ป.ธ.๖ ถึงประโยค ป.ธ.๙ จะเสด็จพระราชทานประกาศนียบัตรพัดยศ และไตรจีวรด้วยพระองค์เอง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ลักษณะพัดยศเปรียญเป็นพัดหน้านาง ประโยค ป.ธ.๓ - ป.ธ.๕ มีพื้นสักหลาดสีแดงปักดิ้นเลื่อมมีเลขประโยคอยู่ตรงกลางพัด ประโยค ป.ธ.๖ - ป.ธ.๘ มีพื้นสักหลาดสีเหลืองด้ามสีดำ ปักดิ้นเลื่อมมีเลขประโยคอยู่ตรงกลาง ประโยค ป.ธ.๙ พื้นสักหลาดสีเหลืองด้ามสีขาว ปักดิ้นเลื่อมตรงกลางว่าง ไม่มีเลขประโยคกำกับ