ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเฮอัง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Genji1000nenki (คุย | ส่วนร่วม)
Genji1000nenki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
* [[พ.ศ. 1629]] (ค.ศ. 1086) - จักรพรรดิชิรากาวะ เป็นจักรพรรดิองค์แรกที่สละบัลลังก์ออกบวช แต่ยังกุมอำนาจทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง และต่อมาก็มีจักรพรรดิอีกหลายองค์ที่ทำเช่นเดียวกัน จักรพรรดิชิรากาวะได้แสวงหาวิธีการที่จะต่อต้านอิทธิพลของตระกูลมินาโมโตะ จึงได้แต่งตั้งคนในตระกูลไทระ เป็นที่ปรึกษาของพระองค์
* [[พ.ศ. 1629]] (ค.ศ. 1086) - จักรพรรดิชิรากาวะ เป็นจักรพรรดิองค์แรกที่สละบัลลังก์ออกบวช แต่ยังกุมอำนาจทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง และต่อมาก็มีจักรพรรดิอีกหลายองค์ที่ทำเช่นเดียวกัน จักรพรรดิชิรากาวะได้แสวงหาวิธีการที่จะต่อต้านอิทธิพลของตระกูลมินาโมโตะ จึงได้แต่งตั้งคนในตระกูลไทระ เป็นที่ปรึกษาของพระองค์
* [[พ.ศ. 1699]] (ค.ศ. 1156) - ศึกโฮเงน แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและความมีอำนาจของชนชั้นนักรบ
* [[พ.ศ. 1699]] (ค.ศ. 1156) - ศึกโฮเงน แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและความมีอำนาจของชนชั้นนักรบ
* [[พ.ศ. 1702]] (ค.ศ. 1159) - เกิดสงความ[[เก็มเป]] เป็นการต่อสู้ระหว่างตระกูลไทระ กับตระกูลมินาโมโตะ ผลคือตระกูลไทระเป็นฝ่ายชนะ และทำให้ตระกูลไทระ ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในราชสำนัก
* [[พ.ศ. 1702]] (ค.ศ. 1159) - เกิด[[สงครามเก็มเป]] เป็นการต่อสู้ระหว่างตระกูลไทระ กับตระกูลมินาโมโตะ ผลคือตระกูลไทระเป็นฝ่ายชนะ และทำให้ตระกูลไทระ ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในราชสำนัก
* [[พ.ศ. 1713]] (ค.ศ. 1170) - ตระกูลมินาโมโตะ กลับมามีอำนาจอีกครั้งในมณฑลทางภาคตะวันออก และเป็นถิ่นกำเนิดของพวกซามูไร
* [[พ.ศ. 1713]] (ค.ศ. 1170) - ตระกูลมินาโมโตะ กลับมามีอำนาจอีกครั้งในมณฑลทางภาคตะวันออก และเป็นถิ่นกำเนิดของพวกซามูไร
* [[พ.ศ. 1728]] (ค.ศ. 1185) - ตระกูลไทระ ถูกทำลายล้างโดยตระกูลมินาโมโตะ ในศึกดันโนะอุระ<ref>[http://www.thaigoodview.com/node/10275" เหตุการณ์สำคัญสมัยเฮอัน "]. [[โดย sss513002]].[[ไทยกู๊ดวิว]].</ref>
* [[พ.ศ. 1728]] (ค.ศ. 1185) - ตระกูลไทระ ถูกทำลายล้างโดยตระกูลมินาโมโตะ ในศึกดันโนะอุระ<ref>[http://www.thaigoodview.com/node/10275" เหตุการณ์สำคัญสมัยเฮอัน "]. [[โดย sss513002]].[[ไทยกู๊ดวิว]].</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:50, 3 มีนาคม 2552

ยุคเฮอัง ญี่ปุ่น: 平安時代โรมาจิHeian-jidaiทับศัพท์: เฮอังจิได อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว (Heiankyou) หรือเมืองเกียวโตในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิเต๋า จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัน (平安,Hiean) แปลว่า ความสงบสันติ


ประวัติ

ไฟล์:Heiankyou model.jpg
แบบจำลองนครเฮอังเกียว


ยุคเฮอัง เป็น ยุคที่ต่อเนื่องมาจากยุคนารา เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 794 หลังจากการย้ายเมืองหลวงสู่นครเฮอันเคียว โดยพระจักรพรรดิคัมมุ จักรพรรดิองค์ที่ 50 ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อต้องการริดรอนอำนาจการปกครองที่ตกอยู่ในมือของศาสนจักรของนครเฮโจวเคียวในยุคนารากลับคืนมา

แม้จักรพรรดิจะถือว่าเป็นประมุขของประเทศ แต่ผู้กุมอำนาจที่แท้จริงในยุคนี้กลับตกในมือตระกูลขุนนางฟุจิวะระ และตระกูลขุนนางต่างๆ ตระกูลฟุจิวาระ (Fujiwara) เป็นตระกูลขุนนางที่มีอำนาจปกครองญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 10-11 กุมอำนาจในราชสำนักโดยการแต่งงานเพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยบุตรสาวของตระกูลฟุจิวะระจะมีตำแหน่งเป็นจักรพรรดินีและเป็นพระมารดาขององค์จักรพรรดิในสมัยเฮอันหลายต่อหลายพระองค์ ทำให้อำนาจการปกครองแท้จริงอยู่ในมือคนของตระกูลนี้ มีการนำเอาระบบการจัดสรรปันส่วนที่ดิน โดยมีการยกเว้นภาษีที่ดินแก่คนบางกลุ่ม (Shoen) มาใช้ แต่การดูแลหัวเมืองในภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงเกิดการจราจลแยกตัวออกไปก่อตั้งตระกูลทหารขึ้นใน ตอนปลายศตวรรษที่ 11 ตระกูลฟุจิวะระถูกขัดขวางโดยฝ่ายอินเซ (Insei : จักรพรรดิผู้ที่ทรงสละราชบังลังก์แล้วแต่ยังทรงกุมอำนาจอยู่) ขณะที่ทหารเริ่มเข้ามามีบทบาทในการปกครองมากขึ้น

การแบ่งช่วงในยุคเฮอัง

ยุคเฮอังตอนต้น ค.ศ. 782-967

  • ค.ศ. 782-833 ย้ายราชธานีมาสู่นครเฮอังเกียว สถาปนาหน่วยราชการใหม่ๆ เช่น สำนักพระราชเลขานุการส่วนพระองค์ และ สำนักราชองครักษ์หลวงส่วนพระจักรพรรดิ ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายเทนได( Tendai sect) และ ชินงอน ( Shingon sect) ที่ถือสันโดษ และไม่เป็นอันตรายต่อพระราชอำนาจ
  • ค.ศ. 833-877 พระราชอำนาจของพระจักรพรรดิเสื่อมถอยลง อำนาจการปกครองตกอยู่ในเมือขุนนางตระกูลฟุจิวะระ ที่มักจะมีตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการ และ มหาเสนาบดี
  • ค.ศ. 887-967 ช่วงการแย่งชิงอำนาจระหว่างพระจักรรรดิและตระกูลฟุจิวะระ

ยุคเฮอังตอนปลาย ค.ศ. 967-1167

  • ค.ศ. 967-1068 อำนาจการปกครองตกอยู่ในมือตระกูลฟุจิวะระอย่างสมบรูณ์
  • ค.ศ. 1068-1156 องค์พระจักรพรรดิผู้สละราชย์ชิงอำนาจการปกครองกลับคืนมา
  • ค.ศ. 1156-1167 การลุกฮือขึ้นแย่งชิงอำนาจของชนชั้นขุนศึก[1]

ศิลปะวัฒนธรรม

ตัวอักษรคะนะ

วัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบของญี่ปุ่นโดดเด่นมากในสมัยเฮอัน ในศตวรรษที่ 9 ญี่ปุ่นยังคงรับวัฒนธรรมของราชวงศ์ถังอยู่ พุทธศาสนานิกายมิเคียว (Mikkyou) กับการเขียนรูปประโยคแบบจีนแพร่หลายมาก พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 10 หลังจากที่ญี่ปุ่นไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับภาคพื้นทวีปแล้ว ได้เกิดวัฒนธรรมชนชั้นสูงที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะของญี่ปุ่นเอง วรรณกรรมที่เด่นในเวลานี้ อาทิ “โคะคินวะกะชู” (Kokinwakashuu) เป็นหนังสือรวมกวีนิพนธ์ญี่ปุ่นเล่มแรกตามพระราชโองการของจักรพรรดิ (ในต้นศตวรรษที่ 10) “ตำนานเก็นจิ” (Genji Monogatari) นวนิยายเรื่องยาวที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งโลก (ประมาณต้นศตวรรษที่ 11) และ “มะคุระโนะโซชิ” (Makura no Soshi) หนังสือข้างหมอน[1] (ประมาณ ค.ศ. 1000) วรรณกรรมเหล่านี้เขียนด้วยตัวอักษร คะนะ อีกด้วย ตั้งแต่ช่วงหลังศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา พุทธศาสนานิกายโจโดะ (Joudo) ซึ่งมุ่งหวังความสุขในชาติหน้าเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับนิกายมิคเคียว ที่หวังผลประโยชน์เฉพาะในชาตินี้ และเราจะเห็นถึงความมีเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่นปรากฏอยู่ในวรรณกรรมกับงานศิลปะ เช่น สถาปัตยกรรม การเขียนภาพ การแกะสลัก เป็นต้น

ศาสนา

แม้ชาวญี่ปุ่นจะนับถือลิทธิชินโตมาแต่ดั้งเดิม แต่ก็รับศาสนาพุทธเข้ามาด้วยจากการรับวัฒนธรรมจากประเทศจีน และแพร่หลายไปทั่วญี่ปุ่นในยุคเฮอัง โดยแบ่งเป็น 2 ลิทธิใหญ่ๆคือ นิกายเท็นได และ ชินงอน

นิกายเท็นได เป็นพุทธนิกายแบบมหายานที่รับมาโดยตรงจากประเทศจีน นับถือปัทมสูตร[2] ( Lotus Sutra ) เป็นพระสูตรสำคัญ ส่วนนิกายชินงอน เป็นพุทธนิกายที่มีรากฐานจากพุทธศาสนาในประเทศอินเดียและทิเบต ก่อตั้งโดยพระคูไก


สถาปัตยกรรม

รูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในยุคนี้คือ สถาปัตยกรรมแบบชินเด็ง ( Shinden-zukuri) หลักๆจะประกอบด้วยเรือนหลัก ( Shinden ) และเรือนต่อขยายด้านตะวันตกและตะวันออก เชื่อมกับเรือนหลักด้วยทางเดินที่มีหลังคาคลุม เรือนหลักจะหันหน้าไปทางทิใต้ซึ่งเป็นทิศมงคลตามคติแบบจีน เรือนทางทิศเหนือนั้นจะจัดให้เป็นที่พำนักของภรรยาหลวงเสมอ ดังนั้นในสมัยนั้นเรียกภรรยาหลวงว่า คิตะโนะคะตะ ( Kita no Kata - ผู้ที่อยู่ทางทิศเหนือ ) ด้านหน้าเป็นสวนที่ประกอบด้วยสระน้ำ เกาะ เนินเขาจำลอง และสะพาน มีกำแพงดินล้อมรอบหมู่คฤหาสน์ทั้งหมด หลังคานิยมมุงด้วยเปลือกสนที่ซ้อนกันเป็นชั้นหนามากกว่ากระเบื้อง เพราะกระเบื้องแบบจีนนั้นไม่เหมาะกันอากาศของญี่ปุ่น พื้นจะเป็นพื้นไม้กระดาน ไม่มีเสื่อวาง เรือนด้านตะวันออกส่วนใหญ่จะมีทางเดินยาวเชื่อมสู่เรือนตกปลา( Tsuridono) ที่สร้างเหนือลำธารหรือสระน้ำ

เรือนแบบชินเด็งแต่ละหลัง สามารถแบ่งห้องได้ตั้งแต่ 4 ห้องถึง 9 ห้อง โดยใช้ฉาก หรือ ราวผ้าม่านเป็นเครื่องกั้นหองตามขนาดความต้องการใช้งาน ห้องที่มีข้างฝาและประตูมิดชิดมี 1 ห้องเรียกว่า โมะยะ สถาปัตยกรรมแบบชินเด็งนี้จะเย็นสบายในฤดูร้อน แต่ในฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก[2]

เหตุการณ์ที่สำคัญ

  • พ.ศ. 1337 (ค.ศ. 794) - ย้ายเมืองหลวงไปที่เฮอังเกียว (เมืองเกียวโตะในปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 1347 (ค.ศ. 804) - ส่งพระไซโจ และ คูไก ไปยังประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถังตามคำแนะนำของราชทูตญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 1348 (ค.ศ. 805) - พระไซโจ เดินทางกลับญี่ปุ่น และก่อตั้งศาสนาพุทธ นิกายเทนได
  • พ.ศ. 1349 (ค.ศ. 806) - พระคูไก เดินทางกลับญี่ปุ่น และก่อตั้งศาสนาพุทธ นิกายชินงอน
    • อำนาจของจักรพรรดิเริ่มสั่นคลอน จากการขึ้นมามีอำนาจของตระกูลฟูจิวาระ ที่ได้รับตำแหน่งสูงในราชสำนัก นอกจากนี้ยังได้อำนาจมาจากการไปแต่งงานกับเชื้อพระวงศ์ของจักรพรรดิด้วย
  • พ.ศ. 1427 (ค.ศ. 884) - โมโททสึเนะ ฟุจิวาระ ได้รับแต่งตั้งเป็น คัมปากุ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการผู้อาวุโส ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของขุนนาง และทำให้ตระกูลฟุจิวาระยึดครองอำนาจในราชสำนัก
  • พ.ศ. 1437 (ค.ศ. 894) - มิจิซาเนะ สุงาวาระ (ซึ่งเป็นตระกูลที่จักรพรรดิทรงให้การอุปถัมภ์เพื่อยับยั้งการมีอำนาจของตระกูลฟูจิวาระ) ได้สั่งระงับการส่งทูตไปเมืองถังของจีน (เนื่องจากการเมืองในจีนกำลังวุ่นวาย) ส่งผลให้การรับวัฒนธรรมจากแผ่นดินใหญ่ยุติลงด้วย แต่ส่งผลทำให้อารยธรรมญี่ปุ่นเริ่มที่จะมีลักษณะและรูปแบบพิเศษเฉพาะเป็นของตนเอง
  • พ.ศ. 1444 (ค.ศ. 901) - สุงาวาระ ถูกเนรทศไปอยู่ที่ดาไซฟุ เกาะคิวชู เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการวางแผนล้มล้างการปกตรอง
    • มีการประดิษฐ์อักษรคานะ ประกอบด้วยพยางค์ทั้งหมด 47 ตัว โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรของจีน และนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง นับเป็นการเปิดทางให้แก่งานเขียนที่มีรูปแบบเป็นของญี่ปุ่นอย่างแท้จริง และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแทนถ้อยคำสำนวนที่ยืมมาจากภาษาจีน
  • พ.ศ. 1553 (ค.ศ. 1010) - ชิกิบุ มุราซากิ เขียนนิยายเรื่อง เกนจิ โมโนงาตาริ
  • พ.ศ. 1559 (ค.ศ. 1016) - มิจินางะ ฟุจิวาระ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และตระกูลฟุจิวาระได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความรุ่งเรือง
    • กลุ่มขุนนางที่ปกครองในส่วนภูมิภาคได้เริ่มตั้งตนเป็นหัวหน้าของพวกนักรบ หรือ พวกบูชิโด ที่เกิดจากการที่สมาชิกต่างๆของครอบครัวได้จัดตั้งองค์กรทางทหารของตนขึ้นมาทำการปกครองมณฑลต่างๆ
    • ในตอนปลายของศตวรรษที่11 ได้เกิดการต่อสู้ระหว่างกองทหารของพวกนักรบในมณฑลทางเหนือหลายครั้ง และตระกูลมินาโมโตะได้มีชื่อเสียงและอิทธิพลที่สุดในแถบคันโต
  • พ.ศ. 1594 (ค.ศ. 1051) - โยริโยชิ มินาโมโตะ ได้ปราบปรามกลุ่มกบฎของตระกูลอาเบะที่โอชู
  • พ.ศ. 1596 (ค.ศ. 1053) - หอนกฟินิกซ์ในวัดเบียวโดอิน ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์
  • พ.ศ. 1626 (ค.ศ. 1083) - โยชิอิเอะ มินาโมโตะ ได้ปราบปรามตระกูลคิโยฮาระที่โอชู
  • พ.ศ. 1629 (ค.ศ. 1086) - จักรพรรดิชิรากาวะ เป็นจักรพรรดิองค์แรกที่สละบัลลังก์ออกบวช แต่ยังกุมอำนาจทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง และต่อมาก็มีจักรพรรดิอีกหลายองค์ที่ทำเช่นเดียวกัน จักรพรรดิชิรากาวะได้แสวงหาวิธีการที่จะต่อต้านอิทธิพลของตระกูลมินาโมโตะ จึงได้แต่งตั้งคนในตระกูลไทระ เป็นที่ปรึกษาของพระองค์
  • พ.ศ. 1699 (ค.ศ. 1156) - ศึกโฮเงน แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและความมีอำนาจของชนชั้นนักรบ
  • พ.ศ. 1702 (ค.ศ. 1159) - เกิดสงครามเก็มเป เป็นการต่อสู้ระหว่างตระกูลไทระ กับตระกูลมินาโมโตะ ผลคือตระกูลไทระเป็นฝ่ายชนะ และทำให้ตระกูลไทระ ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในราชสำนัก
  • พ.ศ. 1713 (ค.ศ. 1170) - ตระกูลมินาโมโตะ กลับมามีอำนาจอีกครั้งในมณฑลทางภาคตะวันออก และเป็นถิ่นกำเนิดของพวกซามูไร
  • พ.ศ. 1728 (ค.ศ. 1185) - ตระกูลไทระ ถูกทำลายล้างโดยตระกูลมินาโมโตะ ในศึกดันโนะอุระ[3]

อ้างอิง

  1. คุโระอิตะ คัตสึมิ, Kokoshi no Kenkyuu, หน้า 6
  2. [http://www.lizadalby.com/LD/TofM_archi.html" Heian 'a architecture "].โดย Lisa Dalby.tale of murasaki .
  3. " เหตุการณ์สำคัญสมัยเฮอัน ". โดย sss513002.ไทยกู๊ดวิว.