ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เซบาสเตียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40: บรรทัด 40:


== ร่างของนักบุญเซบาสเตียน==
== ร่างของนักบุญเซบาสเตียน==
กล่าวกันว่าร่างของนักบุญเซบาสเตียนอยู่ที่โรมที่มหาวิหารอโพสโตโลรุมที่สร้างโดย[[สมเด็จพระสันตะปาปาดามาซุสที่ 1]]เมื่อ ค.ศ. 367 บนที่ที่เป็นที่ฝังศพของ[[นักบุญปีเตอร์]] และ [[นักบุญพอล]] ปัจจุบันมหาวิหารนี้ชื่อว่า “San Sebastiano fuori le mura” สร้างใหม่เมื่อราว ค.ศ. 1610 โดยทุนจากชิปิโอเน บอเกเซ (Scipione Borghese)
กล่าวกันว่าร่างของนักบุญเซบาสเตียนอยู่ที่โรมที่มหาวิหารอโพสโตโลรุมที่สร้างโดย[[สมเด็จพระสันตะปาปาดามาซุสที่ 1]]เมื่อ ค.ศ. 367 บนที่ที่เป็นที่ฝังศพของ[[นักบุญปีเตอร์]] และ [[นักบุญพอล]] ปัจจุบันมหาวิหารนี้ชื่อว่า “San Sebastiano fuori le mura” สร้างใหม่เมื่อราว ค.ศ. 1610 โดยทุนจาก[[สคิปิโอเน บอร์เกเซ]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:43, 28 กุมภาพันธ์ 2552

เซบาสเตียน
นักบุญเซบาสเตียน โดย โซโดมา
ผู้พลีชีพ
เกิดไม่ทราบแน่นอน
เสียชีวิต20 มกราคม ค.ศ. 287
นิกายนิกายโรมันคาทอลิก

นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์

นิกายโอเรียนทัลออร์โธด็อกซ์
วันฉลอง20 มกราคม (โรมันคาทอลิก)
18 ธันวาคม (อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์)
สัญลักษณ์ลูกศร
องค์อุปถัมภ์ทหาร, โรคติดต่อ, ลูกศร, นักกีฬา, วัยรุ่น

นักบุญเซบาสเตียน (ภาษาอังกฤษ: St. Sebastian) เสียชืวิตเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 287 เป็นนักบุญในคริสต์ศาสนาผู้พลีชีพในสมัยจักรพรรดิไดโอคลีเชียน (Diocletian) แห่งจักรวรรดิโรมัน รูปปั้นหรือรูปเขียนของนักบุญเซบาสเตียนจะเป็นรูปคนถูกมัดกับต้นไม้มีลูกศรปัก

ชีวิต

รายละเอียดชีวิตของนักบุญเซบาสเตียนเขียนไว้เป็นครั้งแรกโดยนักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน ในบทเทศนาหมายเลข 20 ของเพลงสดุดีที่ 118 แอมโบรสกล่าวว่าเซบาสเตียนมาจากมิลาน และเป็นที่นับถือกันแล้วเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 4

จากเอกสาร “กิจการของนักบุญ” (Acta Sanctorum) ที่เขียนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 [1]ซึ่งยังอ้างข้อเขียนของนักบุญแอมโบรสโดยจีน บอลแลนด์ (Jean Bolland) นักเขียนวรรณกรรมนักบุญและจากตำนานทองกล่าวว่านักบุญเซบาสเตียนเป็นชาวแกลเลีย นาร์โบเนนซิส (Gallia Narbonensis) และมาศึกษาที่เมืองมิลานจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์ของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนและจักรพรรดิแม็กซิมิลเลียนผู้ซึ่งไม่ทราบว่าเซบาสเตียนนับถือศาสนาคริสต์

เล่ากันว่าเซบาสเตียนย้ำความเชื่อมั่นในศาสนากับมาร์ค และ มาร์เซลเลียนสองนักโทษที่กำลังจะถูกฆ่าพลีชีพ ขณะที่ญาติพี่น้องที่มีความเศร้าโศกพยายามอ้อนวอนให้นักโทษทั้งสองคนเลิกยอมรับพระเยซู นอกจากนั้นเซบาสเตียนก็ยังรักษาหญิงไบ้และเหตุอัศจรรย์นี้ทำให้มีคน 78 คนหันมานับถือคริสต์ศาสนา

มาร์ค และ มาร์เซลเป็นฝาแฝดเกิดในครอบครัวที่มั่งคั่ง ทั้งสองคนมีภรรยาและมีครอบครัวที่เป็นหลักเป็นฐานอยู่ที่โรมกับบุตรและภรรยา สองพึ่น้องปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีบูชาเทพเจ้าโรมันจึงถูกโดนจับ ทรานควิลลินุสและมาชาผู้เป็นพ่อและแม่มาเยื่ยมในคุกและพยายามเกลี้ยกล่อมให้ลูกเลิกนับถือคริสต์ศาสนา เซบาสเตียนกลับเปลี่ยนใจให้ทั้งทรานควิลลินุสและมาชามานับถือคริสต์ศาสนา พร้อมกับนักบุญไทเบอร์เทียสผู้เป็นลูกของโครมาเทียสผู้เป็นนายทหารที่นั่น นิโคสตราตัสเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งและโซอีผู้ภรรยาก็ทำตาม ตามตำนานโซอีเป็นไบ้มา 6 ปึแต่นางก็บอกความประสงค์แก่เซบาสเตียนว่าต้องการจะนับถือคริสต์ศาสนา และทันที่ที่มานับถือโซอีก็พูดได้ นิโคสตราตัสจึงนำนักโทษที่เหลืออีก 16 คนมาให้เซบาสเตียนเปลี่ยนให้นับถือคริสต์ศาสนา[2]

โครมาเทียสและไทเบอร์เทียสเมื่อเปลี่ยนศาสนาแล้วก็ปล่อยนักโทษหมดและตนเองก็ลาออกจากราชการไปอยู่ที่บริเวณแคมพานยา มาร์ค และ มาร์เซลเลียนเมื่อแรกก็ซ่อนตัวกับแคสตูลุส (Castulus) ผู้นับถือศาสนาคริสต์ แต่ต่อมาก็ถูกฆ่าพลีชีพพร้อมด้วยนิโคสตราตัส, โซอี และไทเบอร์เทียส

การพลีชีพ

จักรพรรดิไดโอคลีเชียนมึความรู้สึกว่าเซบาสเตียนทรยศต่อพระองค์จึงทรงสั่งให้เอาตัวไปผูกไว้กับตอไม้และยิงให้ตาย นักยิงธนูก็ยิงเซบาสเตียนจนปรุราวกับเม่นที่เต็มไปด้วยขนแข็ง[3]และปล่อยให้ตาย แต่ด้วยความมหัศจรรย์เซบาสเตียนก็ไม่ตาย นักบุญไอรีนแห่งโรมผู้เป็นแม่หม้ายของนักบุญแคสตูลุสจะนำร่างของเซบาสเตียนไปฝังแต่กลับพบว่าเซบาสเตียนยังมีลมหายใจอยู่ นักบุญไอรีนจึงนำเซบาสเตียนกลับมาที่บ้านและรักษาจนหาย ผู้อาศัยอยู่ในบ้านก็มีความเคลือบแคลงในความเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาของเซบาสเตียน ในบรรดาผู้มีความสงสัยก็มีเด็กหญิงที่หูหนวกและตาบอด เซบาสเตียนก็ถามว่าเด็กว่าอยากจะไปอยู่กับพระเป็นเจ้าหรือไม่และทำเครื่องหมายกางเขนบนหน้าผากของเด็กหญิงๆ ก็ตอบตกลง ในทันทีที่ตอบเด็กหญิงคนนั้นก็สามารถมองเห็น แล้วเซบาสเตียนก็ยืนขึ้นกล่าวเยาะเย้ยจักรพรรดิไดโอคลีเชียนขณะที่ทรงผ่าน พระองค์จึงสั่งให้เอาเซบาสเตียนไปทุบตีจนตายแล้วเอาร่างโยนลงไปในส้วม แต่เซบาสเตียนมาปรากฏตัวต่อนักบุญไอรีนบอกที่ที่จะพบร่างของท่านที่ไม่มีรอยเปื้อนสิ่งโสโครกและสั่งให้เอาร่างไปฝังไว้ที่สุสานรังผึ้งใกล้กับที่ฝังอัครสาวก

ร่างของนักบุญเซบาสเตียน

กล่าวกันว่าร่างของนักบุญเซบาสเตียนอยู่ที่โรมที่มหาวิหารอโพสโตโลรุมที่สร้างโดยสมเด็จพระสันตะปาปาดามาซุสที่ 1เมื่อ ค.ศ. 367 บนที่ที่เป็นที่ฝังศพของนักบุญปีเตอร์ และ นักบุญพอล ปัจจุบันมหาวิหารนี้ชื่อว่า “San Sebastiano fuori le mura” สร้างใหม่เมื่อราว ค.ศ. 1610 โดยทุนจากสคิปิโอเน บอร์เกเซ

อ้างอิง

  1. Acta S. Sebastiani Martyris, in J.P. Migne, Patrologiae Cursus Completus Accurante (Paris 1845), XVII, 1021-1058; the details given here follow the abbreviated account in Jacob de Voragine, Legenda Aurea.
  2. Ebenezer Cobham Brewer, A Dictionary of Miracles: Imitative, Realistic, and Dogmatic (Chatto and Windus, 1901), 11.
  3. Legenda Aurea

ดูเพิ่ม