ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบิร์ดกะฮาร์ท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Medecember (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| ประเภท = วงดนตรี
| ประเภท = วงดนตรี
| ภาพ = Byrd & Heart.jpg
| ภาพ = Byrd & Heart.jpg
| แหล่งกำเนิด = [[ภาพ:Flag of Thailand.svg|25px|ประเทศไทย]] [[ประเทศไทย]]
| แหล่งกำเนิด = [[ภาพ:Flag of Thailand.svg|25px|ประเทศไทย]] [[กรุงเทพ]][[ประเทศไทย]]
| แนวเพลง = [[ป็อป]] [[อีซี่ ลิสซึ่นนิ่ง]]
| แนวเพลง = [[ป็อป]] [[อีซี่ ลิสซึ่นนิ่ง]]
| ช่วงปี = [[พ.ศ. 2528 |2528]] - [[พ.ศ. 2539|2539]], [[พ.ศ. 2549|2549]]
| ช่วงปี = [[พ.ศ. 2528 |2528]] - [[พ.ศ. 2539|2539]], [[พ.ศ. 2549|2549]]
บรรทัด 12: บรรทัด 12:


'''เบิร์ดกะฮาร์ท''' ชื่อวงดนตรีสัญชาติไทย โดยมีนักร้องนำคือ [[กุลพงษ์ บุนนาค]] (เบิร์ด) และ [[สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล]] (ฮาร์ท)
'''เบิร์ดกะฮาร์ท''' ชื่อวงดนตรีสัญชาติไทย โดยมีนักร้องนำคือ [[กุลพงษ์ บุนนาค]] (เบิร์ด) และ [[สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล]] (ฮาร์ท)

==ประวัติ==
เบิร์ดพบกับฮาร์ทครั้งแรกในปี พ.ศ.2526 ที่ UCLA ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งคู่ชอบฟังและเล่นดนตรี เบิร์ดแต่งเพลงมาก่อนฮาร์ทและเป็นแรงบันดาลใจให้ฮาร์ทเริ่มเขียนเพลงบ้าง ปี พ.ศ 2527 ไนท์สปอตส่ง "มาลีวัลย์และชรัส" มาบันทึกเสียงที่เมือง Melrose เมื่อทั้งคู่ได้รับข่าวนี้ทั้งคู่รู้สึกตื่นเต้นที่มีนักร้องจากประเทศบ้านเกิดบินมาบันทึกเสียงถึงที่นี่ ตรงนี้น่าจะเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งว่าตลาดผู้ฟังเพลงไทยน่าจะมีการพัฒนามากไปกว่าตอนที่พวกเขาจากบ้านเกิดมาศึกษาต่อที่นี่มาก ทั้งสองคนจึงมีความคิดที่จะทำเดโมเพลงที่แต่งเก็บเอาไว้สักสองสามเพลงและลองนำไปเสนอไนท์สปอตดูบ้างเมื่อถึงช่วงปิดเทอมและ
ได้บินกลับไปเยี่ยมบ้าน

ปี พ.ศ.2528 "ลืม" "อาลัยเธอ" และ "Susan Joan" เป็นสามเพลงที่นำไปเสนอไนท์สปอต ทั้งสามเพลงถูกนำไปเปิดออกอากาศในรายการโลกสวยด้วยเพลง จัดโดย วินิจ เลิศรัตนชัย ด้วยซาวนด์ที่แตกต่างทั้งด้านดนตรีและการร้องทำให้แฟนเพลงเริ่มสนใจว่าใครเป็นเจ้าของผลงานเพลง และเมื่อทั้งสองหนุ่มได้มีโอกาสมาเป็นแขกรับเชิญพูดคุยในรายการของวินิจ และได้ไปเป็นเกสท์ในคอนเสิร์ตที่ธรรมศาสตร์ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ กระแสตอบรับที่กลับมายิ่งเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

สิงหาคม พ.ศ.2528 ไนท์สปอตจับทั้งคู่เซ็นสัญญาเป็นเวลา 3 ปีทันที เบิร์ดกับฮาร์ทบินกลับไปเรียนต่อพร้อมกับบันทึกเสียงอัลบั้มชุดแรกในช่วงระหว่างเดือน ก.ย.-ต.ค.ใช้เวลาบันทึกเสียง 10 วัน อัลบั้มชุด "ห่างไกล" ก็เสร็จสมบูรณ์และออกขายในช่วงปลายปี เป็นงานที่ได้รับคำชื่นชมในหลายๆมิติ ถึงแม้จะใช้เวลาบันทึกเสียงในช่วงสั้นๆ แต่วัตถุดิบที่นำเสนอในงานชุดนี้ถูกบ่มเพาะจากทั้งคู่มานาน

อัลบั้มถัดมา "ด้วยใจรักจริง" เว้นช่วงห่างจากงานชุดแรกไม่นาน ไนท์สปอตเข้ามาร่วมดูแลการผลิตใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น การเรียบเรียงดนตรีชุดนี้ค่อนข้างพิถีพิถันและฟังยากขึ้นผลตอบรับเลยเป็นรองชุดแรก รวม
ถึงจังหวะในการวางตลาดที่ออกไล่ตามชุดแรกมาติดๆ เกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เพลงที่ติดหูเร็วที่สุดจากชุดนี้คือ "Goodbye Song" และ "เอื้อมดาว" เมื่อหมดสัญญารวมถึงทางไนท์สปอตได้ปิดตัวลง เบิร์ดแยกตัวมาทำโปรเจ็คท์ [[System 4]] กับเพื่อนๆ ในกลุ่มซึ่งก็เป็นเพื่อนของฮาร์ทด้วย ปลายปี พ.ศ.2533 ต่อต้นปี พ.ศ.2534 เบิร์ดกะฮาร์ทเริ่มบันทึกเสียงงานชุดที่สาม "จากกันมานาน" บันทึกเสียงที่สหรัฐอเมริกาเช่นเคย ชุดนี้ได้ออกกับค่ายคีตาเร็คคอร์ดส์ ได้รับการตอบรับที่ดีประมาณหนึ่งเมื่อเทียบกับการที่ทั้งคู่หายหน้าหายตาไปร่วม 5 ปี "รอรัก" และ "ฝน" กลายเป็นเพลงที่นิยม

ปี พ.ศ.2538 เบิร์ดกับฮาร์ทร่วมกันตั้งค่ายเพลง "[[ร่องเสียงลำไย]]" เพื่อผลิตงานของตัวเองรวมถึงเฟ้นหานักร้องเพื่อผลิตงานเข้าสังกัดด้วย พวกเขาออกอีพีชุด "Moonlighting" และ "Simply Impossible" (คัฟเวอร์งานของ ดิอิมพอสสิเบิ้ล) ปลายปีทางรายการวิทยุกรีนเวฟจัด Green Concert ครั้งที่ 1 เบิร์ดกะฮาร์ทได้รับเลือกเป็นศิลปินกลุ่มแรกที่โชว์ในงานนี้ เพลง "This Song for You" และ "แก้วตา" เป็นเพลงแต่งใหม่และทำเป็นซีดีมอบเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ซื้อตั๋วเข้าชมคอนเสิร์ต จากความสำเร็จของการแสดงคอนเสิร์ต พวกเขาจึงออกอัลบั้มบันทึกการแสดงสด Frozen in Time ชุด 1-2 ออกวางจำหน่าย

ปี พ.ศ.2542 เบิร์ดกะฮาร์ทวางอัลบั้มชุด "ที่รัก" และ "นึกถึง ดิอิมพอสสิเบิ้ล" ออกมาพร้อมๆ กัน จากนั้นพวกเขาก็หายเงียบไปจากวงการเพลงพักใหญ่ มีผลงานเพลง "ถอนตัว" ในอัลบั้มชุดพิเศษชุดหนึ่งของแกรมมี่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 เดือนพฤษภาคม คอนเสิร์ต Friendship Forever ของทั้งคู่ถูกจัดขึ้นและบัตรขายหมด ปี พ.ศ. 2549 ค่าย Spicy Disc เป็นผู้ดูแลการ remaster ของงานชุดครบรอบ 20 ปีของเบิร์ดกะฮาร์ท โดยได้ วู๊ดดี้ พรพิทักษ์สุข ผู้คว้ารางวัลแกรมมี่อวอร์ด ปี 2001 สาขา mastering มา remasterให้ใหม่ ผลที่ได้คือคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก พร้อมกับออกอัลบั้มใหม่ "Destiny" รวมถึง Box Set Destiny ด้วย นอกจากนี้ก็มีคอนเสิร์ต "Finding Susan Joan" ในวันที่ 20 พ.ค.49 ที่อิมแพ็คเอรีน่าฉลองครบรอบ 20 ปีของการอยู่ในวงการเพลงของทั้งคู่<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=250538 ประวัติเบิร์ดกะฮาร์ทจากเว็บบล็อกโอเคเนชั่น]</ref>


== สมาชิก ==
== สมาชิก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:32, 7 กุมภาพันธ์ 2552

เบิร์ดกะฮาร์ท
ไฟล์:Byrd & Heart.jpg
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดประเทศไทย กรุงเทพประเทศไทย
แนวเพลงป็อป อีซี่ ลิสซึ่นนิ่ง
ช่วงปี2528 - 2539, 2549
ค่ายเพลงไนท์ สปอท
คีตา เร็คคอร์ด
ร่องเสียงลำไย
สไปซี่ ดิสก์
สมาชิกกุลพงษ์ บุนนาค (เบิร์ด) ร้องนำ
สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ฮาร์ท) ร้องนำ / กีต้าร์

เบิร์ดกะฮาร์ท ชื่อวงดนตรีสัญชาติไทย โดยมีนักร้องนำคือ กุลพงษ์ บุนนาค (เบิร์ด) และ สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ฮาร์ท)

ประวัติ

เบิร์ดพบกับฮาร์ทครั้งแรกในปี พ.ศ.2526 ที่ UCLA ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งคู่ชอบฟังและเล่นดนตรี เบิร์ดแต่งเพลงมาก่อนฮาร์ทและเป็นแรงบันดาลใจให้ฮาร์ทเริ่มเขียนเพลงบ้าง ปี พ.ศ 2527 ไนท์สปอตส่ง "มาลีวัลย์และชรัส" มาบันทึกเสียงที่เมือง Melrose เมื่อทั้งคู่ได้รับข่าวนี้ทั้งคู่รู้สึกตื่นเต้นที่มีนักร้องจากประเทศบ้านเกิดบินมาบันทึกเสียงถึงที่นี่ ตรงนี้น่าจะเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งว่าตลาดผู้ฟังเพลงไทยน่าจะมีการพัฒนามากไปกว่าตอนที่พวกเขาจากบ้านเกิดมาศึกษาต่อที่นี่มาก ทั้งสองคนจึงมีความคิดที่จะทำเดโมเพลงที่แต่งเก็บเอาไว้สักสองสามเพลงและลองนำไปเสนอไนท์สปอตดูบ้างเมื่อถึงช่วงปิดเทอมและ ได้บินกลับไปเยี่ยมบ้าน

ปี พ.ศ.2528 "ลืม" "อาลัยเธอ" และ "Susan Joan" เป็นสามเพลงที่นำไปเสนอไนท์สปอต ทั้งสามเพลงถูกนำไปเปิดออกอากาศในรายการโลกสวยด้วยเพลง จัดโดย วินิจ เลิศรัตนชัย ด้วยซาวนด์ที่แตกต่างทั้งด้านดนตรีและการร้องทำให้แฟนเพลงเริ่มสนใจว่าใครเป็นเจ้าของผลงานเพลง และเมื่อทั้งสองหนุ่มได้มีโอกาสมาเป็นแขกรับเชิญพูดคุยในรายการของวินิจ และได้ไปเป็นเกสท์ในคอนเสิร์ตที่ธรรมศาสตร์ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ กระแสตอบรับที่กลับมายิ่งเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

สิงหาคม พ.ศ.2528 ไนท์สปอตจับทั้งคู่เซ็นสัญญาเป็นเวลา 3 ปีทันที เบิร์ดกับฮาร์ทบินกลับไปเรียนต่อพร้อมกับบันทึกเสียงอัลบั้มชุดแรกในช่วงระหว่างเดือน ก.ย.-ต.ค.ใช้เวลาบันทึกเสียง 10 วัน อัลบั้มชุด "ห่างไกล" ก็เสร็จสมบูรณ์และออกขายในช่วงปลายปี เป็นงานที่ได้รับคำชื่นชมในหลายๆมิติ ถึงแม้จะใช้เวลาบันทึกเสียงในช่วงสั้นๆ แต่วัตถุดิบที่นำเสนอในงานชุดนี้ถูกบ่มเพาะจากทั้งคู่มานาน

อัลบั้มถัดมา "ด้วยใจรักจริง" เว้นช่วงห่างจากงานชุดแรกไม่นาน ไนท์สปอตเข้ามาร่วมดูแลการผลิตใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น การเรียบเรียงดนตรีชุดนี้ค่อนข้างพิถีพิถันและฟังยากขึ้นผลตอบรับเลยเป็นรองชุดแรก รวม ถึงจังหวะในการวางตลาดที่ออกไล่ตามชุดแรกมาติดๆ เกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เพลงที่ติดหูเร็วที่สุดจากชุดนี้คือ "Goodbye Song" และ "เอื้อมดาว" เมื่อหมดสัญญารวมถึงทางไนท์สปอตได้ปิดตัวลง เบิร์ดแยกตัวมาทำโปรเจ็คท์ System 4 กับเพื่อนๆ ในกลุ่มซึ่งก็เป็นเพื่อนของฮาร์ทด้วย ปลายปี พ.ศ.2533 ต่อต้นปี พ.ศ.2534 เบิร์ดกะฮาร์ทเริ่มบันทึกเสียงงานชุดที่สาม "จากกันมานาน" บันทึกเสียงที่สหรัฐอเมริกาเช่นเคย ชุดนี้ได้ออกกับค่ายคีตาเร็คคอร์ดส์ ได้รับการตอบรับที่ดีประมาณหนึ่งเมื่อเทียบกับการที่ทั้งคู่หายหน้าหายตาไปร่วม 5 ปี "รอรัก" และ "ฝน" กลายเป็นเพลงที่นิยม

ปี พ.ศ.2538 เบิร์ดกับฮาร์ทร่วมกันตั้งค่ายเพลง "ร่องเสียงลำไย" เพื่อผลิตงานของตัวเองรวมถึงเฟ้นหานักร้องเพื่อผลิตงานเข้าสังกัดด้วย พวกเขาออกอีพีชุด "Moonlighting" และ "Simply Impossible" (คัฟเวอร์งานของ ดิอิมพอสสิเบิ้ล) ปลายปีทางรายการวิทยุกรีนเวฟจัด Green Concert ครั้งที่ 1 เบิร์ดกะฮาร์ทได้รับเลือกเป็นศิลปินกลุ่มแรกที่โชว์ในงานนี้ เพลง "This Song for You" และ "แก้วตา" เป็นเพลงแต่งใหม่และทำเป็นซีดีมอบเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ซื้อตั๋วเข้าชมคอนเสิร์ต จากความสำเร็จของการแสดงคอนเสิร์ต พวกเขาจึงออกอัลบั้มบันทึกการแสดงสด Frozen in Time ชุด 1-2 ออกวางจำหน่าย

ปี พ.ศ.2542 เบิร์ดกะฮาร์ทวางอัลบั้มชุด "ที่รัก" และ "นึกถึง ดิอิมพอสสิเบิ้ล" ออกมาพร้อมๆ กัน จากนั้นพวกเขาก็หายเงียบไปจากวงการเพลงพักใหญ่ มีผลงานเพลง "ถอนตัว" ในอัลบั้มชุดพิเศษชุดหนึ่งของแกรมมี่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 เดือนพฤษภาคม คอนเสิร์ต Friendship Forever ของทั้งคู่ถูกจัดขึ้นและบัตรขายหมด ปี พ.ศ. 2549 ค่าย Spicy Disc เป็นผู้ดูแลการ remaster ของงานชุดครบรอบ 20 ปีของเบิร์ดกะฮาร์ท โดยได้ วู๊ดดี้ พรพิทักษ์สุข ผู้คว้ารางวัลแกรมมี่อวอร์ด ปี 2001 สาขา mastering มา remasterให้ใหม่ ผลที่ได้คือคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก พร้อมกับออกอัลบั้มใหม่ "Destiny" รวมถึง Box Set Destiny ด้วย นอกจากนี้ก็มีคอนเสิร์ต "Finding Susan Joan" ในวันที่ 20 พ.ค.49 ที่อิมแพ็คเอรีน่าฉลองครบรอบ 20 ปีของการอยู่ในวงการเพลงของทั้งคู่[1]

สมาชิก

ผลงาน

ห่างไกล (พ.ศ. 2528)

  1. ไม่ลืม
  2. ห่างไกล
  3. อาลัยเธอ
  4. เพ้อ
  5. คิดถึง II
  6. ลืม
  7. คิดถึง
  8. Susan Joan
  9. สนุก
  10. รักนอกใจ

ด้วยใจรักจริง (พ.ศ. 2529)

  1. Goodbye Song
  2. ด้วยใจรักจริง
  3. เอื้อมดาว
  4. Lucky Star
  5. ฉันเอง
  6. ฟ้าสีคราม
  7. เธอคงเข้าใจ
  8. I Need Your Love
  9. คืนนั้น
  10. Goodbye Song (ภาคภาษาไทย)

จากกันมานาน (พ.ศ. 2534)

  1. จากกันมานาน
  2. รอรัก
  3. ฉันคอย
  4. ทำอย่างไร
  5. ฝน
  6. เพียงเรา
  7. Wonder Women
  8. เมืองงาม
  9. บทเพลงสุดท้าย
  10. ลืม (Previously Unreleased)

Moonlighting (พ.ศ. 2538)

  1. เพื่อนกัน
  2. More 'n' More
  3. ดั่งตะวัน
  4. Am, I Love You
  5. You (English Version)

นึกถึงดิอิมพอสซิเบิ้ล (พ.ศ. 2539)

  1. หนึ่งในดวงใจ
  2. วนาสวรรค์
  3. หัวใจเหิร
  4. ยอดเยาวมาลย์
  5. จูบฟ้าลาดิน
  6. ระเริงชล
  7. ชื่นรัก
  8. หนาวเนื้อ
  9. รักกันหนอ
  10. ขาดเธอขาดใจ

ที่รัก (พ.ศ. 2539)

  1. รักสีส้ม
  2. Anywhere You Are
  3. ที่รัก
  4. กระต่ายหมายจันทร์
  5. Once Again
  6. เพื่อนที่รู้ใจ
  7. ขวัญใจ
  8. จากกันด้วยดี
  9. เธอรู้ดี
  10. Friend
  11. รักรสส้ม

Destiny (พ.ศ. 2549)

  1. Interlude
  2. ช่องว่าง
  3. รักเอย
  4. ยังรัก
  5. ดอกไม้ในมือ
  6. เหมือนเดิม
  7. เธอคงเข้าใจ
  8. กรุณา...อย่า
  9. เพื่อนรัก
  10. เพราะเธอ
  11. Interlude
  12. ฉันคอย (Remix)

เกร็ดความรู้

  • เบิร์ด เคยออกอัลบั้มกับเพื่อนอีก 3 คน ใช้ชื่อวงว่า ซิสเต็ม โฟร์ (System Four)

มีผลงานออกมา 2 ชุด

  • เพลงเอื้อมดาว ผู้แต่งเนื้อเพลงเอื้อมดาว คือ จักรกฤษณ์ ศรีวลี เจ้าของคอลัมน์ "ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน" ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งเป็นเพื่อนกับฮาร์ท โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก มาช่า วัฒนพานิช[2] [3]

อ้างอิง

  1. ประวัติเบิร์ดกะฮาร์ทจากเว็บบล็อกโอเคเนชั่น
  2. เว็บไซต์ของคุณจักรกฤษณ์ ศรีวลี
  3. ปกด้านในเทป "ด้วยใจรักจริง"