ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองทัพเรือไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Skyman (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 205: บรรทัด 205:


[[en:Royal Thai Navy]]
[[en:Royal Thai Navy]]
[[fr:Marine royale (Thaïlande)‎]]
[[ja:タイ王国海軍]]
[[ja:タイ王国海軍]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:27, 1 มกราคม 2552

กองทัพเรือ
(Royal Thai Navy)
ไฟล์:RTN-emblem.jpg
ตราราชการกองทัพเรือ
ประเทศไทย
รูปแบบกองทัพเรือ
กองบัญชาการกองบัญชาการทหารเรือ พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร
สมญาราชนาวี, ทัพประดู่
คำขวัญร่วมเครือนาวี จักยลปฐพีไพศาล
สีหน่วยน้ำเงิน
เพลงหน่วยเพลงราชนาวี, เพลงดอกประดู่
วันสถาปนา20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449
(วันกองทัพเรือ)
ปฏิบัติการสำคัญวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112
ยุทธนาวีเกาะช้าง
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการ
ทหารเรือ
พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ
ผบ. สำคัญพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
พล.อ. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน
จอมพลเรือ ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล
พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์
พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ
เครื่องหมายสังกัด
ตราราชการ
ไฟล์:RTN-emblem.jpg
ธงราชนาวี
ธงประจำ
กองทัพ

กองทัพเรือไทย หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ ราชนาวี เป็นกองทัพเรือแห่งชาติของประเทศไทย เริ่มมีการจัดระบบทหารเรือสมัยใหม่ครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแบ่งเป็นทหารเรือวังหน้าและทหารเรือวังหลวง ต่อมาจึงได้รวมกิจการทหารเรือไว้ในกรมยุทธนาธิการเมื่อ พ.ศ. 2430 และมีพัฒนาการต่างๆ สืบมาจนได้ยกฐานะเป็นกระทรวงทหารเรือใน พ.ศ. 2453 ก่อนจะลดฐานะมาขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหมใน พ.ศ. 2474 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพเรือเมื่อ พ.ศ. 2476

หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือไทยมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วย ที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก ซึ่งรวมถึงกองบัญชาการนาวิกโยธิน กองเรือยุทธการ และกองการบินทหารเรือ

กองบัญชาการกองทัพเรือตั้งอยู่ที่พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร ส่วนฐานทัพหลักของกองทัพเรือไทย ตั้งอยู่ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการอยู่ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทั้งนี้ กองทัพเรือยังมีกองบินอีก 2 แห่งอยู่ที่สนามบินอู่ตะเภาและฐานทัพเรือสงขลาด้วย

ประวัติ

  • พ.ศ. 2428 กรมพระราชวังบวรสถานมงคล(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) เสด็จทิวงคต ทหารฝ่ายพระราชวังบวรทั้งทหารบกและทหารเรือได้ถูกยุบเลิกไป จึงทำให้ ทหารเรือในขณะนั้นมี 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ กรมเรือพระที่นั่ง ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนกรมอรสุมพลขึ้นตรงกับสมุหพระกลาโหม
  • พ.ศ. 2430 จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ โดยให้กองทหารบก กองทหารเรือทั้งหมดขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2433 ยกฐานะกรมยุทธนาธิการเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ กรมทหารเรือยังคงอยู่ในสังกัดกรมยุทธนาธิการเช่นเดิม
  • พ.ศ. 2435 โอนกรมทหารเรือมาขึ้นกับ กระทรวงกลาโหม
  • 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ยกฐานะกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 รวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบกเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นาม กระทรวงกลาโหม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
  • พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศ กองทัพเรือถูกลดฐานะเป็นกรมทหารเรือ กรมต่างๆ ของทหารเรือลดฐานะมาเป็นกองทั้งหมด เว้นแต่กรมเสนาธิการทหารเรือ
  • 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 เปลี่ยนชื่อกรมทหารเรือเป็นกองทัพเรือ ให้เป็นการสอดคล้องกับการเรียกชื่อส่วนรวมของทหารบก ว่า "กองทัพบก" ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน คือ กรมเสนาธิการทหารเรือ, กองเรือรบ, สถานีทหารเรือกรุงเทพ, กรมอู่ทหารเรือ, กรมสรรพาวุธทหารเรือ และกรมอุทกศาสตร์
  • พ.ศ. 2540, พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 ได้แบ่ง ส่วนราชการ กองทัพเรือ ออกเป็น 25 หน่วย เพื่อความสะดวก ทางกองทัพเรือได้จัดกลุ่มหน่วยราชการทั้ง 25 หน่วยขึ้นเป็น 5 ส่วนราชการ คือ ส่วนบัญชาการ, ส่วนกำลังรบ, ส่วนยุทธบริการ, ส่วนศึกษา และ ส่วนกิจการพิเศษ
  • 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เพิ่ม กรมการขนส่งทหารเรือขึ้นในส่วนยุทธบริการ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนนายทหารเรือเป็นสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง
  • 15 เมษายน พ.ศ. 2530 จัดตั้งสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือเพิ่มเติม
  • พ.ศ. 2538 จัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2538 และแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 35 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน

ส่วนราชการในสังกัดกองทัพเรือ

ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ ส่วนการศึกษา

ศักย์สงครามกองทัพเรือในปัจจุบัน

หน่วยซีล (SEALs)

กองทัพเรือไทยมีทหารประจำการในหน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม (SEALs) รวม 144 นาย มีอาวุธประจำเรือคือ ปืน HK G36C

คำนำหน้าเรือ

กองทัพเรือไทยใช้คำว่า "เรือหลวง" และคำย่อว่า "ร.ล." เป็นคำนำหน้าเรือ ซึ่งแสดงถึงการเป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "His Thai Majesty's Ship" และใช้คำย่อว่า "HTMS" น้ำหน้าเรือ โดยคำว่าเรือหลวงนั้นจะใช้นำหน้าเรือรบที่มีระวางขับน้ำมากกว่า 150 ตันขึ้นไป ส่วนเรือที่มีระวางขับน้ำต่ำกว่า 150 ตัน จะใช้ตัวอักษรอื่นนำหน้า ยกเว้นเรือ ต.

  • ตัวอย่าง
    • เรือหลวงจักรีนฤเบศร
    • ร.ล. นเรศวร
    • HTMS Pattani

หลักการตั้งชื่อเรือของกองทัพเรือไทย

พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงท่าจีน โรงเรียนเตรียมทหาร
  • เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุลของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ เช่น ร.ล.ปิ่นเกล้า
  • เรือฟริเกต ตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญ เช่น ร.ล.คีรีรัฐ ร.ล. ตาปี
  • เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น ร.ล.สุโขทัย ร.ล.รัตนโกสินทร์
  • เรือเร็วโจมตี แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
    • เรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ตั้งชื่อตามเรือรบในทะเลสมัยโบราณ เช่น ร.ล.ราชฤทธิ์ ร.ล.วิทยาคม ร.ล.อุดมเดช
    • เรือเร็วโจมตี (ปืน) และเรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อวังหวัดชายทะเล เช่น ร.ล.ชลบุรี
  • เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทฤทธิ์ในนิยายหรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ เช่น ร.ล.มัจฉานุ
  • เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิสำคัญ เช่น ร.ล.บางระจัน ร.ล.หนองสาหร่าย
  • เรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียง และเรือลากจูง ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น ร.ล. อ่างทอง เรือหลวงสิมิลัน
  • เรือตรวจการณ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
    • เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น ร.ล.หัวหิน ร.ล.แกลง
    • เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น เช่น ร.ล.พาลี ร.ล.คำรณสินธุ
  • เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวสำคัญ เช่น ร.ล.จันทร ร.ล.ศุกร์
  • เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ เหมือนกับเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ชื่อเรือนั้นให้ขอพระราชทาน และให้ใช้ว่าเรือหลวงนำหน้า
  • เรือขนาดเล็ก (เล็กกว่า 150 ตัน) ให้ตั้งชื่อด้วย อักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือ มีหมายเลขต่อท้ายอักษร กองทัพเรือเป็นผู้ตั้งให้ เช่น เรือ ต. 91 เรือต. 991 เป็นต้น

ยุทโธปกรณ์ที่ประจำการ

เรือรบส่วนใหญ่ที่ประจำการในกองทัพเรือไทยเกือบครึ่งหนึ่งสั่งซี้อจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ก็สั้งซื้อมาจากสหราชอาณาจักร อิตาลี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ออสเตรเลีย และสเปน อนึ่ง กองทัพเรือยังสามารถต่อเรือรบขนาดเล็กหรือขนาดประมาณ 1000 ตันใช้เองได้ด้วย เช่น เรือตรวจการณ์ชุด ต. 91 - ด. 99 เป็นต้น

ข่าวการจัดหาอาวุธของกองทัพเรือ

การจัดหาจรวดต่อต้านเรือรบใหม่

กองทัพเรือได้จัดหาจรวดต่อต้านเรือรบ C-802 จากประเทศจีน เพื่อนำมาติดตั้งทดแทน C-801 ในเรือชุดเรือหลวงเจ้าพระยาที่กำลังจะหมดอายุลง โดยจรวดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีระยะยิงไกลราว 100 กม. และอาจจะมีการจัดหาจรวดต่อสู้อากาศยาน LY-60 มาด้วยถ้าได้รับงบประมาณ [1]

การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำใหม่

รัฐสภาสหรัฐอนุมัติให้รัฐบาลสหรัฐขายเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง MH-60S Navy Hawk ให้กับกองทัพเรือไทยจำนวน 6 ลำ เพื่อนำไปปฏิบัติการค้นหา ช่วยชีวิต และขนส่งกำลังพล โดยกองทัพเรือเซ็นสัญญาจัดซื้อในปีนี้ก่อนจำนวน 2 ลำ และจะดำเนินการจัดซื้อจนครบ 6 ลำต่อไป คาดว่าจะนำไปประจำการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร. [2]

การจัดหาเครื่องบินโดยสารและส่งกลับสายการแพทย์

กองทัพบกและกองทัพเรือร่วมกันลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบินแบบ ERJ-135 จากบริษัท Embraer ประเทศบราซิล จำนวน 2 ลำ เหล่าทัพละ 1 ลำ โดยกองทัพบกและกองทัพเรือจะนำไปใช้ในการสนับสนุนการเดินทางของผู้บัญชาการและบุคคลสำคัญ สำหรับเครื่องของกองทัพเรือยังเพิ่มความสามารถในการขนส่งผู้บาดเจ็บจากการสู้รบ MEDEVAC ได้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนภารกิจของทหารเรือในสามจังหวัดชายแดนใต้ [3]

การจัดสร้างยานใต้น้ำในประเทศไทย

กองทัพเรือ โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือสั่งต่อยานใต้น้ำสำหรับหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพเรือ โครงการ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงกลาโหมเป็นเงินจำนวน 24,953,200 บาทถ้วน) และจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นเงินจำนวน 5,000,000 บาท โดยยานต้นแบบมีขนาด 20 ตัน ซึ่งว่าจ้างบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัดเป็นผู้ดำเนินการต่อ[4]

การจัดหาเรือยกพลขึ้นบกจากสิงคโปร์

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 51 ให้กองทัพเรือจัดหาเรือยกพลขึ้นบก (Landing Platform Dock:LPD) จำนวน 1 ลำจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ มูลค่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทดแทนเรือรบรุ่นสงครามโลกที่ต้องปลดประจำการจำนวน 2 ลำ โดยกองทัพเรือจะได้รับมอบเรือในปี 2555[5]

การต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2551 อนุมัติงบประมาณจำนวน 3,014,550,000 บาทให้กองทัพเรือนำไปต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ โดยจะทำการต่อที่อู่มหิดล ทั้งนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยแบบแผนของเรือที่จะต่อ[6]


ดูเพิ่ม

การทหารในประเทศไทย

ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับกองทัพเรือไทย

อ้างอิง

  1. นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๐ เล่มที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พักครึ่งเวลา พลแรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์
  2. Defense Industry Daily Up to $246M for 6 Royal Thai Navy MH-60S Helicopters
  3. Embraer Press Release Embraer sign contracts with the Royal Thai Army and the Royal Thai Navy
  4. OA Military Book กองทัพเรือจัดสร้างยานใต้น้ำลำแรกของไทย
  5. DefenseNews.com Thailand Plans $191.3M Arms Purchase
  6. มติชนออนไลน์ ครม.อนุมัติงบกว่า 3 พันล้าน ถอยเรือตรวจการใหม่

แหล่งข้อมูลอื่น