ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชียงลาบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 15: บรรทัด 15:


พอถึงสมัยต่อมา[[พญามังราย]]ครองเมือง[[โยนก]] ก็ยกทัพไปตีทางด้านเมือง[[เชียงของ]] [[ลำพูน]](อาณาเขตรวมเชียงใหม่ในปัจุบันด้วย) เชียงตุง และตีได้รุกรานไปในเขตเชียงรุ่งด้วยอีกส่วนหนึ่ง (ตามหมิงสือลู่ของจีน) ดังนั้นบริเวณเมืองยองส่วนที่เป็นเมืองไร เชียงลาบ พยาก พะแลว จึงถูกรวมเข้าในอาณาจักรโยนกของพญามังรายด้วย ต่อมาเมื่อพญามังรายไปตั้งกุมกาม และเชียงใหม่ ก็ให้[[พญาแสนพู]]ไปอยู่เชียงแสน ปรากฏชื่อเมืองเชียงลาบว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงแสนในสมัยพญาแสนพูนี้เอง (ดูในจารึกวัดป่าสักที่ถูกถ่ายออกมาเป็นเรื่องเล่าในพื้นเมืองเชียงแสน) หลังจากนั้นมาเมืองเชียงลาบก็รวมอยู่กับเมืองเชียงแสนตลอด
พอถึงสมัยต่อมา[[พญามังราย]]ครองเมือง[[โยนก]] ก็ยกทัพไปตีทางด้านเมือง[[เชียงของ]] [[ลำพูน]](อาณาเขตรวมเชียงใหม่ในปัจุบันด้วย) เชียงตุง และตีได้รุกรานไปในเขตเชียงรุ่งด้วยอีกส่วนหนึ่ง (ตามหมิงสือลู่ของจีน) ดังนั้นบริเวณเมืองยองส่วนที่เป็นเมืองไร เชียงลาบ พยาก พะแลว จึงถูกรวมเข้าในอาณาจักรโยนกของพญามังรายด้วย ต่อมาเมื่อพญามังรายไปตั้งกุมกาม และเชียงใหม่ ก็ให้[[พญาแสนพู]]ไปอยู่เชียงแสน ปรากฏชื่อเมืองเชียงลาบว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงแสนในสมัยพญาแสนพูนี้เอง (ดูในจารึกวัดป่าสักที่ถูกถ่ายออกมาเป็นเรื่องเล่าในพื้นเมืองเชียงแสน) หลังจากนั้นมาเมืองเชียงลาบก็รวมอยู่กับเมืองเชียงแสนตลอด

ปี พ.ศ.2101 เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนหัวเมืองสิบสองปันนาตอนล่างนั้นพม่าสั่งให้เจ้าเมืองเชียงแขงรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งอยู่แถบชายแดนจีนทางสิบสองปันนาเข้าพม่า ได้แก่เมืองยอง เชียงลาบ บ้านยู้ เมืองหลวงตลอดจนถึงเมืองอูในลาวตอนบนให้ขึ้นไปกับเมืองเชียงแสน ในขณะที่ตำนานเมืองยอง ได้กล่าวถึงสมัยพระยาสุทโธธัมมราช กษัตริย์พม่าลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์ตองอูได้มอบหมายให้พระยาแสนสุรินทร์ทาพรหมราชเจ้าเมืองยองดูแลหัวเมืองต่างๆรวม 12 หัวเมืองได้แก่ เมืองยู้ เมืองหลวย เชียงแข เมืองวะ เมืองกาย เมืองเลน เมืองติน เมืองสาด เมืองพระยาก เมืองปะแลว เชียงลาบและเชียงทอง เมืองยองในสมันนี้จึงอยู่ศูนย์กลางในฐานะอำนาจย่อยของพม่าทางตะวันออก


ปี [[พ.ศ. 2347]] กองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยกองทัพจากเชียงใหม่ นครลำปาง น่าน และเวียงจันทน์ ได้ยกไปตีเชียงแสน ตั้งล้อมอยู่สองเดือนจึงยึดเชียงแสนไว้ได้ เจ้ากาวิละสั่งให้รื้อกำแพงเมือง และทำลายเมืองไม่ให้ใช้เป็นที่มั่นของข้าศึกได้อีกต่อไป แล้วอพยพครอบครัวชาวเชียงแสนลงมาประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็นห้าส่วน ส่งลงไปกรุงเทพ ฯ ส่วนหนึ่งซึ่งต่อมาได้ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่เหลือส่งไปอยู่ที่เวียงจันทน์ น่าน เชียงใหม่ และนครลำปาง
ปี [[พ.ศ. 2347]] กองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยกองทัพจากเชียงใหม่ นครลำปาง น่าน และเวียงจันทน์ ได้ยกไปตีเชียงแสน ตั้งล้อมอยู่สองเดือนจึงยึดเชียงแสนไว้ได้ เจ้ากาวิละสั่งให้รื้อกำแพงเมือง และทำลายเมืองไม่ให้ใช้เป็นที่มั่นของข้าศึกได้อีกต่อไป แล้วอพยพครอบครัวชาวเชียงแสนลงมาประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็นห้าส่วน ส่งลงไปกรุงเทพ ฯ ส่วนหนึ่งซึ่งต่อมาได้ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่เหลือส่งไปอยู่ที่เวียงจันทน์ น่าน เชียงใหม่ และนครลำปาง
บรรทัด 31: บรรทัด 33:
จนถึงราวๆปี [[พ.ศ. 2350]] [[เจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง]] (รู้จักกันว่าเจ้ามหาขนาน) ซึ่งขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงตุง ก็เอาผู้คนเข้ามาอยู่ในเมืองยองใหม่ มีการรวมเอาเมืองพะยาก พะแลว เมืองไร เชียงลาบ เข้ากับเมืองยองขึ้นกับเมืองเชียงตุงด้วย เมืองเชียงลาบจึงขึ้นกับเมืองยองตั้งแต่นั้นมา
จนถึงราวๆปี [[พ.ศ. 2350]] [[เจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง]] (รู้จักกันว่าเจ้ามหาขนาน) ซึ่งขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงตุง ก็เอาผู้คนเข้ามาอยู่ในเมืองยองใหม่ มีการรวมเอาเมืองพะยาก พะแลว เมืองไร เชียงลาบ เข้ากับเมืองยองขึ้นกับเมืองเชียงตุงด้วย เมืองเชียงลาบจึงขึ้นกับเมืองยองตั้งแต่นั้นมา


ปีพ.ศ. 2353 เจ้าสุมนเทวราชก็ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญสืบต่อมา และได้ยกกองทัพไปตีเมืองล้า เมืองพง เมืองเชียงแขง เมืองหลวงภูคา ได้ครัวมาไว้เมืองน่าน 6,000 คน
ในปี [[พ.ศ. 2385]] เจ้าเมืองเชียงแข็งได้อพยพผู้คนไปขอพึ่งเจ้าเมืองเชียงตุงมหาขนานเนื่องจาก เจ้าเมืองน่านกวาดคนลื้อ[[เชียงแขง]] [[เมืองพง]] มาอยู่เมืองน่าน ทำให้ผู้คนเหลือน้อยลง และบ้านเมืองก็แห้งแล้ง ทำนาไม่ได้ผล เจ้าฟ้ามหาขนานให้เจ้าเมืองเชียงแข็งปั้งเมืองอยู่ที่บ้านยู้เขตเมืองยอง เรียกว่า เมืองหลวยใต้ ดังนั้นเมืองเชียงลาบซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองหลวยใต้ก็กลายเป็นอาณาเขตของเมืองเชียงแขงไปด้วย

ปี [[พ.ศ. 2385]] เจ้าเมืองเชียงแข็งได้อพยพผู้คนไปขอพึ่งเจ้าเมืองเชียงตุงมหาขนานเนื่องจาก เจ้าเมืองน่านกวาดคนลื้อ[[เชียงแขง]] [[เมืองพง]] มาอยู่เมืองน่าน ทำให้ผู้คนเหลือน้อยลง และบ้านเมืองก็แห้งแล้ง ทำนาไม่ได้ผล เจ้าฟ้ามหาขนานให้เจ้าเมืองเชียงแข็งปั้งเมืองอยู่ที่บ้านยู้เขตเมืองยอง เรียกว่า เมืองหลวยใต้ ดังนั้นเมืองเชียงลาบซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองหลวยใต้ก็กลายเป็นอาณาเขตของเมืองเชียงแขงไปด้วย


ต่อมาเจ้าสรีหน่อเมืองเชียงแขงย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่[[เมืองสิงห์]] (เมืองสิงห์ในประเทศลาวปัจจุบัน) เรียกชื่อว่า เมืองเชียงแขง เหมือนเดิม เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงซึ่งเป็นหลานก็จะเอาเมืองหลวยใต้คืนแต่สุดท้ายตกลงกันว่าให้ขึ้นกับเมืองเชียงแขงตามเดิม เมืองเชียงลาบจึงยังคงรวมกับเมืองเชียงแขง
ต่อมาเจ้าสรีหน่อเมืองเชียงแขงย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่[[เมืองสิงห์]] (เมืองสิงห์ในประเทศลาวปัจจุบัน) เรียกชื่อว่า เมืองเชียงแขง เหมือนเดิม เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงซึ่งเป็นหลานก็จะเอาเมืองหลวยใต้คืนแต่สุดท้ายตกลงกันว่าให้ขึ้นกับเมืองเชียงแขงตามเดิม เมืองเชียงลาบจึงยังคงรวมกับเมืองเชียงแขง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:19, 19 ธันวาคม 2551

เมืองเชียงลาบ (Kenglarp) เป็นเมืองเก่าแก่ของชาวไทลื้อ ตั้งอยู่ในแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศพม่า ตรงข้ามกับเมืองเชียงกก ประเทศลาว และตั้งอยู่ครึ่งทางระหว่างเมืองเชียงแสน ประเทศไทย และเมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตัวเมืองตั้งอยู่ตรงแหลมเชียงลาบ มีเจ้าผู้ครองเมืองตามนามว่า "เจ้าหลวงเชียงลาบ" ผู้สืบเชื้อสายมาจากท้าวอ้ายปุง (สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3) ราชบุตรของสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่ง 1 (พญาเจื๋อง) แห่งราชวงค์อาฬโวสวนตาน

เชียงลาบซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงไหลเชี่ยวที่สุด หรือที่เรียกว่า "โขงโค้ง" เป็นแนวบริเวณที่อันตรายที่สุดในการเดินเรือ เนื่องจากเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงไหลลงมาตรงแล้วกระทบกับโขดหินและไหลย้อยกลับขึ้นไปข้างบน จึงทำให้แม่น้ำโขงในบริเวณนี้ไหลแรงและเชี่ยวที่สุดและต้องใช้ความชำนาญสูงในการเดินเรือสินค้า หากมองด้านจุดยุทธศาสตร์การเมือง การคมนาคม และการค้าขายในอดีต เมื่อสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา หากต้องเดินทางเดินทางจากเชียงแสนไปเชียงรุ่ง ต้องหยุดพักตรงนี้ เมื่อมีการหยุดพักแล้วจึงมีคารวานต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนสินค้าในบริเวณดังกล่าว จึงทำให้เชียงลาบกลายเป็นเมืองหน้าด่านสู่ประตูสู่เชียงรุ่งโดยปริยาย

บริเวณเมืองเมืองตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงที่ไหลย้อนขึ้นและไหลลง ชาวเมืองเรียกบริเวณนี้ว่า "โขงโค้ง" ทางตอนกลางของเมืองมีแม่น้ำลาบ ไหลผ่านลงไปแม่น้ำโขง หากนั่งเรือจากเชียงแสนขึ้นไปราว 82 กม. ตลอดฝั่งลำน้ำโขงบริเวณเมืองเชียงลาบจะพบหินมหัศจรรย์ ซึ่งเป็นหิน 7 สีตลอดสองฝั่งแม่น้ำโขง

นามเมือง เชียงลาบ เชียง หมายถึงเมือง ลาบเป็นชื่อของแม่น้ำลาบ ซึ่งหากแปลความหมายของชื่อเมืองแล้วคือเมืองแห่งแม่น้ำลาบ แม่น้ำลาบซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่ไหลเกิดบนเทือกเขาตอนเหนือของเมืองยองผ่านหลายเมือง แม่น้ำลาบ ที่มีน้ำไหลแรง และเชี่ยว จนทำให้เกิดตะกอนดินมีสีแดงไหลลงมาตลอด ไหลผ่านหลายเมืองจนมาถึงสบลาบ ริมโขงที่เมืองเชียงลาบ ชาวไทลื้อเรียกแม่น้ำนี้ว่า แม่น้ำลาบ

ประวัติ

เหตุของการตั้งเมืองนั้น สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) ได้เห็นถึงความสำคัญของการค้าขาย และประกอบกับชัยภูมิที่เหมาะสม อีกทั้งเป็นประตูสู่เชียงแสน ซึ่งหากเกิดข้าศึกรุกรานเชียงรุ่ง ตรงจุดนี้ซึ่งเป็นจุดโขงโค้ง แม่น้ำโขงไหลเชี่ยวที่สุด ประกอบกับและเป็นจุดที่ยากลำบากที่สุดในการคมนาคม หากมีข้าศึกรุกรานจะทำให้ข้าศึกเหนื่อยล้า และสามารถสะกัดกั้นไม่ให้ข้าศึกไปตีเมืองหลวงเชียงรุ่งได้ ดังนั้นจึงได้โปรดให้เจ้าราชบุตร และบริวาร เสนาอามาตย์ สมณะ ครูบาสังฆเจ้า ไพร่พล เดินทางลงเรือ ตามลำน้ำของ เรียกกันว่า "ล่องของ" มาขึ้นฝั่งตรงสบลาบ และเมื่อเจ้าราชบุตร และสมณะ ครูบาสังฆเจ้า พิจารณาเห็นชัยภูมิที่เหมาะสมแล้ว จึงได้ให้พราหมณ์ หรือ เข้าจ้ำ กระทำพิธีบวงสรวงลงผูกอาถรรพ์ฝังหลักใจ๋เมือง และใจ๋บ้าน แล้วอัญเชิญดวงวิญญาณของพระนางคำแดง อันเป็นผีบรรพบรุษตามตำนานไทลื้อ เรื่องพระนางคำแดงอพยพมาลูกหลานชาวลื้อจากเมืองลื้อหลวง ที่ เทือกเขาอัลไต มาประจำที่หอผีหลวง เพื่อปกปักรักษาเมือง แล้วจึงตั้งชื่อเมืองตามลำน้ำลาบ ว่าเมืองเชียงลาบ

เมืองเชียงลาบเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่ลาดเชิงเขา ตัวเมือง ติดแม่น้ำโขง และเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ ฉะนั้นรายได้หลักของเมืองคือ การเก็บภาษี อากร ส่วย ข่อน ที่เกิดจากพ่อค้าที่เดินทางไปค้าขายระหว่างเชียงแสน และเชียงรุ่ง อีกทั้งด้านทิศตะวันตกของเมืองเป็นภูเขาสูงซึ่งอุดมไปด้วยป่าไม้สัก และ น้ำผึ้ง และของป่าอื่น ๆ อีกทั้งด้านทิศเหนือซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองลวงซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือสินเธาร์ ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าสำคัญที่พวกพ่อค้าชาวจีนฮ่อ และไทใหญ่ นำลงมาขายให้กับเชียงแสน ปัจจุบันเมืองเชียงลาบก็ยังเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ซึ่งตรงข้ามกับท่าเชียงกกของลาว ในการเดินทางไปติดต่อค้าขายในสิบสองปันนา

เมื่อตั้งเมืองมาได้ไม่นาน พญายอง เจ้าเมืองยอง ได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงลาบ และสามารถยึดเมืองได้ ดังนั้นเชียงลาบจึงเป็นเมืองขึ้นของเมืองยองมาตั้งแต่ต้น ภายหลังเมืองยองขาดเจ้าเมืองปกครอง และถูกเจ้าเมืองเชียงรุ่งยกทัพมาตีได้ เมืองยองจึงขึ้นกับเมืองเชียงรุ่ง เมืองเชียงลาบจึงได้กลับเข้าสู่การปกครองของเมืองแม่ตามเดิม

พอถึงสมัยต่อมาพญามังรายครองเมืองโยนก ก็ยกทัพไปตีทางด้านเมืองเชียงของ ลำพูน(อาณาเขตรวมเชียงใหม่ในปัจุบันด้วย) เชียงตุง และตีได้รุกรานไปในเขตเชียงรุ่งด้วยอีกส่วนหนึ่ง (ตามหมิงสือลู่ของจีน) ดังนั้นบริเวณเมืองยองส่วนที่เป็นเมืองไร เชียงลาบ พยาก พะแลว จึงถูกรวมเข้าในอาณาจักรโยนกของพญามังรายด้วย ต่อมาเมื่อพญามังรายไปตั้งกุมกาม และเชียงใหม่ ก็ให้พญาแสนพูไปอยู่เชียงแสน ปรากฏชื่อเมืองเชียงลาบว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงแสนในสมัยพญาแสนพูนี้เอง (ดูในจารึกวัดป่าสักที่ถูกถ่ายออกมาเป็นเรื่องเล่าในพื้นเมืองเชียงแสน) หลังจากนั้นมาเมืองเชียงลาบก็รวมอยู่กับเมืองเชียงแสนตลอด

ปี พ.ศ.2101 เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนหัวเมืองสิบสองปันนาตอนล่างนั้นพม่าสั่งให้เจ้าเมืองเชียงแขงรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งอยู่แถบชายแดนจีนทางสิบสองปันนาเข้าพม่า ได้แก่เมืองยอง เชียงลาบ บ้านยู้ เมืองหลวงตลอดจนถึงเมืองอูในลาวตอนบนให้ขึ้นไปกับเมืองเชียงแสน ในขณะที่ตำนานเมืองยอง ได้กล่าวถึงสมัยพระยาสุทโธธัมมราช กษัตริย์พม่าลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์ตองอูได้มอบหมายให้พระยาแสนสุรินทร์ทาพรหมราชเจ้าเมืองยองดูแลหัวเมืองต่างๆรวม 12 หัวเมืองได้แก่ เมืองยู้ เมืองหลวย เชียงแข เมืองวะ เมืองกาย เมืองเลน เมืองติน เมืองสาด เมืองพระยาก เมืองปะแลว เชียงลาบและเชียงทอง เมืองยองในสมันนี้จึงอยู่ศูนย์กลางในฐานะอำนาจย่อยของพม่าทางตะวันออก

ปี พ.ศ. 2347 กองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยกองทัพจากเชียงใหม่ นครลำปาง น่าน และเวียงจันทน์ ได้ยกไปตีเชียงแสน ตั้งล้อมอยู่สองเดือนจึงยึดเชียงแสนไว้ได้ เจ้ากาวิละสั่งให้รื้อกำแพงเมือง และทำลายเมืองไม่ให้ใช้เป็นที่มั่นของข้าศึกได้อีกต่อไป แล้วอพยพครอบครัวชาวเชียงแสนลงมาประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็นห้าส่วน ส่งลงไปกรุงเทพ ฯ ส่วนหนึ่งซึ่งต่อมาได้ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่เหลือส่งไปอยู่ที่เวียงจันทน์ น่าน เชียงใหม่ และนครลำปาง

ความดีความชอบในครั้งนี้ เจ้ากาวิละได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าเชียงใหม่ มีฐานะเป็นเจ้าประเทศราช หลังจากตีเมืองเชียงแสนได้แล้ว กองทัพของล้านนาไทย ประกอบด้วย เชียงใหม่ นครลำปาง แพร่ เมืองเถิน น่าน รวมทัพกองทัพจากล้านช้างได้แก่ หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ได้ร่วมกันยกไปตีเมืองยอง เมืองลื้อ เมืองเขิน เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงแขง ตลอดจนบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ แถบไทยใหญ่ ลื้อ เขิน เข้ามาเป็นข้าขอบขัณสีมาของกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้ราชอาณาจักรไทยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางใหญ่ไพศาล ยิ่งกว่าครั้งใด ๆ นับแต่นั้นมา หัวเมืองล้านนาไทยทั้งปวงก็ปลอดภัยจากการรุกรานของพม่า

นับแต่เมืองเชียงลาบ ไปสุดเมืองเชียงแขง เมืองล้า เมืองพง เมืองมาง เมืองภูคา เมืองเทิง เมืองเลน ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเมืองน่าน ในฐานนะหัวเมืองขึ้น หลังจากเมืองน่านได้ปกครองหัวเมืองลื้อต่าง ๆ ดังจารึกบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า

“...เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านจัดการเขตแดน ทำสงครามยุทธนาการมีชัยจับตัวเจ้าเมืองเชียงแขง ณ ที่บ้านยู้ เมืองหลวย ได้กวาดคนครอบครัวลงมาไว้ยังนคร-เมืองน่าน...และยังได้กวาดครอบครัวในหัวเมืองขึ้นเมืองเชียงแขงที่ใกล้เคียง คือ เมืองแฮะ เมืองหลวย เมืองวะ เมืองขัน เมืองเชียงขาง เมืองสิง เมืองนัง เมืองกาง เมืองลอง เมือง-ลาบ มาไว้ที่เมืองน่านด้วย...”


ครั้นต่อมาอีกไม่นานแล้วจึงได้มีหนังสือโองการเจ้าฟ้าแห่งเมืองนครน่าน ไปแจ้งยังเจ้าฟ้าไทลื้อหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อเดินทางมายังหอคำหลวงนครน่าน เพื่อรับฟังข้อกฎหมายปกครองนครน่าน ดังจารึกหลักคำ เรื่องอาณาจักรหลักคำน่าน (กฎหมายปกครองนครน่าน) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งดังนี้....

ครั้นเถิงเดือนยี่ออก ๑ ค่ำ มีเจ้าพระยาอุปราชาหอหน้าเป็นประธาน และเจ้าพระยาราชบุตร เจ้าพระยาศรีสองเมือง เจ้าพระยาสุริยพงษ์ เจ้าพระยาวังซ้าย เจ้าพระยาวังขวา เจ้าพระยาอริยวงษา เจ้าพระยาเทิง เจ้าพระยาเมืองราชา เจ้าพระเมืองแก้ว เจ้าพระเมืองน้อย เจ้าพระวิไชยราชา เจ้าเมืองเชียงแขง เจ้าเมืองเชียงของ เจ้าเมืองเลน เจ้าราชวงษ์เมืองเลน เจ้าเมืองหลวง เจ้าเมืองเชียงลาบ เจ้าเมืองภูคา เจ้าเมืองล้ำ แลขัติยราชวงษา ท้าวพญาเสนาอามาตย์ราชเสวกผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งมวลพร้อมกันเอาเนื้อความปรึกษาตั้งราชอาชญานั้นขึ้นกราบหลอง๗ เถิงราชสำนักเราเป็นเจ้าแล้ว จึงได้พร้อมกันตั้งพระราชอาชญาไว้หื้อเป็นอาณาจักรหลักคำ ไว้สั่งสอนห้ามปรามเจ้านายท้าวขุนลูกหลานไพร่ไทยทั้งหลายอย่ากระทำกรรมอันบ่ดีสืบต่อไปภายหน้าว่าตั้งแต่ศักราช ๑๒๑๔ ตัวปีเต่าไจ้เดือนยี่ ออก ๑ ค่ำ วันพุธนี้ไป ภายหน้าห้ามอย่าหื้อเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลายได้สมคบกันกระทำกรรมบ่ดี ......

จนถึงราวๆปี พ.ศ. 2350 เจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง (รู้จักกันว่าเจ้ามหาขนาน) ซึ่งขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงตุง ก็เอาผู้คนเข้ามาอยู่ในเมืองยองใหม่ มีการรวมเอาเมืองพะยาก พะแลว เมืองไร เชียงลาบ เข้ากับเมืองยองขึ้นกับเมืองเชียงตุงด้วย เมืองเชียงลาบจึงขึ้นกับเมืองยองตั้งแต่นั้นมา

ปีพ.ศ. 2353 เจ้าสุมนเทวราชก็ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญสืบต่อมา และได้ยกกองทัพไปตีเมืองล้า เมืองพง เมืองเชียงแขง เมืองหลวงภูคา ได้ครัวมาไว้เมืองน่าน 6,000 คน

ปี พ.ศ. 2385 เจ้าเมืองเชียงแข็งได้อพยพผู้คนไปขอพึ่งเจ้าเมืองเชียงตุงมหาขนานเนื่องจาก เจ้าเมืองน่านกวาดคนลื้อเชียงแขง เมืองพง มาอยู่เมืองน่าน ทำให้ผู้คนเหลือน้อยลง และบ้านเมืองก็แห้งแล้ง ทำนาไม่ได้ผล เจ้าฟ้ามหาขนานให้เจ้าเมืองเชียงแข็งปั้งเมืองอยู่ที่บ้านยู้เขตเมืองยอง เรียกว่า เมืองหลวยใต้ ดังนั้นเมืองเชียงลาบซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองหลวยใต้ก็กลายเป็นอาณาเขตของเมืองเชียงแขงไปด้วย

ต่อมาเจ้าสรีหน่อเมืองเชียงแขงย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่เมืองสิงห์ (เมืองสิงห์ในประเทศลาวปัจจุบัน) เรียกชื่อว่า เมืองเชียงแขง เหมือนเดิม เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงซึ่งเป็นหลานก็จะเอาเมืองหลวยใต้คืนแต่สุดท้ายตกลงกันว่าให้ขึ้นกับเมืองเชียงแขงตามเดิม เมืองเชียงลาบจึงยังคงรวมกับเมืองเชียงแขง

ต่อมาเมื่อ รัชกาลที่ 5 ของสยาม ทราบว่าเจ้าเมืองเชียงแขงย้ายเมืองมาตั้งที่เมืองสิงห์ก็มีพระบรมราชองการให้เจ้าเมืองน่านคือ เจ้าหลวงสุริยะ(ต่อมาเป็นพระเจ้าน่าน) ให้ไปบอกว่าที่นั่นเป็นเขตของสยามเพราะตอนนั้นลาวทั้งหมดจนถึงสิบสองพันนาบางส่วนคืออูใต้อูเหนือ และสิบสองจุไท เมืองถง เมืองไล (ปัจจุบันคือเดียนเบียนฟูและเมืองไลเจาในประเทศเวียดนาม) ทั้งหมดนี้เป็นอาณาเขตของสยาม

ดังนั้นเจ้าเมืองเชียงแขงจึงส่งบรรณาการลงมาถวาย (ได้มีโอกาสเห็นเอกสารฉบับนี้แล้ว ตัวหนังสือสวยมาก มีตราประทับด้วย) ต่อมาเมื่ออังกฤษทราบเรื่องก็ส่งคนลงมาบ้าน เมืองเชียงแขงก็ต้องทำตาม พอฝรั่งเศสมาอีก เชียงแขงก็ต้องส่งบรรณาการอีก แต่เมื่อสยามทราบข่าวว่าอังกฤษฝรั่งเศสแย่งชิงอำนาจเหนือดินแดนเมืองสิงห์ (ซึ่งยังเรียกว่าเชียงแขงอยู่) ก็ยกกองทัพขึ้นไปรักษาไว้ตามเขตแดนหลวงพระบาง ต่อมาเกิดกรณีพิพาทเรื่องพระยอดเมืองขวาง จนสยามต้องทำสนธิสัญญายกลาวฝั่งที่เป็นประเทศลาวปัจจุบันให้กับฝรั่งเศสไป

ในปี พ.ศ. 2436 แต่เมืองเชียงแขงยังคงเป็นเมืองอิสระ ไม่ขึ้นกับเมืองน่าน อังกฤษ หรือฝรั่งเศส และสนธิสัญญาระบุ ให้ยามถอนทหารออกจากดินแดนฝรั่งเศส 25 กม. ซึ่งถือว่าเมืองน่านไม่มีอำนาจเหนือเชียงแขง

ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ลาวแล้วก็รุกคืบไปทางเหนือจะเอาเชียงแขง แต่อังกฤษได้ส่งคนมาเจรจากับฝรั่งเศสก่อน ในปี พ.ศ. 2439 และสุดท้ายตกลงว่าจะแบ่งเมืองคนละครึ่ง เอาน้ำโขงเป็นเกณฑ์การแบ่งคือฝั่งที่อยู่ติดกับลาวให้ฝรั่งเศส ฝั่งที่อยู่ในเขตเชียงตุงให้อังกฤษ ดังนั้นเมืองเชียงลาบซึ่งอยู่ทางฝั่งเชียงตุงก็ตกเป็นของอังกฤษไป เมื่อพม่าได้รับเอกราช เชียงลาบจึงอยู่ในประเทศพม่านับแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเมืองเชียงลาบติดน้ำโขงจึงเป็นเมืองท่าสำหรับจอดเรือสินค้า พม่าก็ใช้ประโยชน์จากตรงนี้

ตอนที่อังกฤษฝรั่งเศสแบ่งเมืองเชียงแขงกันนี่เอง เมืองเชียงแขงฝั่งลาวจึงนิยมเรียกว่า เมืองสิงห์ตามความเข้าใจของฝรั่งเศส ปัจจุบันเราจึงไม่รู้จักเมืองเชียงแขง ซึ่งจริงๆแล้วเมืองนี้ปรากฏในพื้นเมืองล้านนาทุกฉบับ ดร.ชาวเยอรมันผู้หนึ่งได้สนใจเมืองนี้มาก ปัจจุบันได้พบเมืองเชียงแขงอยู่บริเวณหมู่บ้านเล็กๆริมแม่น้ำโขงชื่อว่าบ้านเชียงแขง มีเจดีย์ทรงล้านนาเหมือนเชียงแสนอยู่ทั่วไป หากใครได้อ่านตำนานเมืองเชียงแขงจะพบว่าชาวเชียงแขงได้สะท้อนความขมขื่นใจออกมาในประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองเขา ในตำนานกล่าวว่า ชาติที่ข่มเหงรังแกเขามี 3 ชาติ คือ สยาม ฝรั่งเศส และอังกฤษ ...

สำหรับในล้านนา เจ้าเมืองน่านนามว่า เจ้าอนันตวรฤทธิเดช ผู้เป็นบิดาของพระเจ้าน่านสุริยพงศ์ผริตเดชก็มีมารดาเป็นลื้อเชียงแขงเช่นกัน

ภาษา ศาสนาและความเชื่อ

ไฟล์:ตัวหนังสือไทลื้อ.jpg
ตัวอักษรไทลื้อ
ไฟล์:ผีเฮือน.jpg
หอผีบรรพบุรุษชาวเมืองเชียงลาบ บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

สำเนียงภาษาชาวลื้อเมืองเชียงลาบ เป็นสำเนียงภาษาเดียวกับภาษาเชียงรุ่ง เหมือนกับภาษาชาวไทยอง (ลื้อเมืองยอง)

ตัวอักษรของชาวไทลื้อคล้ายกับภาษาของชาวไทเขิน ซึ่งต่างจากอักษรล้านนา ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบนับถือพุทธศาสนา และนับถือผีบรรพบุรุษและผีต่าง ๆ

การนับถือพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา นับถือนิกายเถรวาท ประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมชาวเชียงลาบ การยอมรับนับถือพุทธศาสนานั้นชาวเชียงลาบได้รับการเผยแพร่มาจากเชียงใหม่


การนับถือผี

ข้อห้ามสำหรับแขก หรือบุคคลที่ไม่ได้นับถือบรรพบุรุษเดียวกันคือ ห้ามบุคคลที่นับถือผีต่างกันหรือแขกที่มาเยี่ยมเข้าไปห้องนอนของเจ้าบ้านโดยเด็ดขาด เพราะห้องนอนจะเป็นที่สถิตย์ของผีครูและผีเรือน

    • ผีเจ้าเมือง คือผีเจ้าหลวงเชียงลาบ และพระมหาเทวีเจ้า และนักรบโบราณต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ดูแลปกปักรักษาบ้าน เมือง เสื้อเมือง ซึ่งผู้ทำหน้าที่ติดต่อผีเรียกว่า เข้าจ้ำ ซึ่งจะเป็นผู้ชาย และจะต้องทำพิธีบวงสรวงด้วยหมูสีดำสนิท และต้องเป็นตัวที่ไม่มีที่ติ ถูกต้องตามลักษณะ ตามตำราของหมอผี การบวงสรวงจะกระทำปีละสองครั้ง คือเดือนสี่และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติ ต้องบวงสรวงด้วยวัว ควาย หมู เป็ด ไก่

ข้อห้ามคือ ห้ามผู้หญิงเข้าเขตบวงสรวง นี้โดยเด็ดขาด

    • ผีเรือน ซึ่งมีทั้งผีเรือนฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ การสืบผีนั้นผู้หญิงจะทำหน้าที่สืบผีเรือน คือต้องทำหน้าที่ต่อกับผีเซ่นไหว้ไม่ให้ขาด การบวงสรวงผีเรือนจะกระทำหลังจากบวงสรวงผีเจ้าเมือง การบวงสรวงจะบวงสรวงด้วยไก่สีดำ และไข่ไก่ ฝ้าย เทียนเหลือง หรือขี้ผึ้ง ผู้หญิงจะเป็นคนกระทำ
    • ผีเตาไฟ และผีหม้อนึ้ง มีหน้าที่ดูแลรักษาบ้านเรือนไม่ให้เกิดไฟไหม้ และอาหารเป็นพิษ อันจะทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตรวจตราว่าเกิดสิ่งร้ายอันใดขึ้นกับบุคคลในครอบครัวและผู้อื่น กล่าวคือ เมื่อมีคนไม่สบายในบ้านเรือน เข้าจ้ำจะทำพิธีหาสาเหตุโดยเสี่ยงทายจากหม้อนึ้ง
    • การทรงผีหม้อนึ้ง ผู้ทำหน้าที่ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นและจะต้องสืบทางสายเลือด เมื่อมีการทรงนั้นจะนำน้ำเต้าและไหข้าวมาผูกกับไม้คานให้เป็นรูปคน เขียนหูเขียนตา จมูก ใส่เสื้อผ้า แล้วนำข้าวสารใส่กระด้ง ก่อนการทรงผีนั้นจะให้ชาวบ้านพิสูจน์ก่อนคือให้ลองยกไหข้าวก่อนว่าน้ำหนักเบา เมื่อมีการทรงแล้วไหข้าวจะมีน้ำหนักมาก จนต้องใช้คนถึงสองคนช่วยกันยก ไปบริเวณพิธีที่มีกระด้งอยุ่ เมื่อไปถึงกระด้งผีหม้อนึ่งจะเขียนตัวหนังสือเป็นภาษาไทลื้อ ซึ่งจะมีล่ามคือคนแก่อ่านให้ฟัง หรือใครที่อ่านออกก้ออ่านได้เลย จากนั้นก้อจะทำพิธีเสี่ยงทายเรื่องต่าง ๆ แล้วแต่ใครอยากรู้เรื่องอะไร แต่ส่วนใหญ่ถามเรื่องอาการเจ็บป่วย หากคนเจ็บป่วยนั้นจะต้องตายแน่ ๆ ผีหม้อนึ้งจะวาดเป็นรูปโลงศพ แล้วโกยข้าวสารกลบรูปโลงศพ ซึ่งการเสี่ยงทายนั้นจะตรงกับความจริงเสมอ (การทำพิธีนี้นาน ๆ อาจสิบปีจะมีสักครั้งหรือสองครั้ง)
    • ผีก๊ะผีห่า คือผีไม่มีญาติ หรือสังภเวสีต่าง ๆ ที่คอยมารังควานทำร้ายชาวบ้าน เมื่อเจ็บป่วยหมอจะทำพิธีเสี่ยงทายและจะให้นำของไปเซ่นไหว้ ตามที่ผลเสี่ยงทายออกมา
    • ผีครู คือผีครูบาอาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่ปกปักรักษาศิษย์ ผู้เรียนคาถาเวทมนตร์ต่าง ๆ

ชาวเมืองเชียงลาบในประเทศไทย

หลังจากเหตุการณ์ ปี พ.ศ. 2347 เมืองเชียงลาบแตก ไพร่พลและชาวเมืองบางส่วนถูกกวาดต้อนมาที่เมืองน่าน ในเหตุการณ์ครั้งนั้นชาวเมืองได้อารธนาครูบาสังฆเจ้าธรรมจัย ให้ร่วมเดินทางมาด้วย ครั้นมาถึงเมืองน่าน พญาอัตถวรปัญโญ โปรดให้ชาวเมืองเชียงลาบ และเมืองยู้ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำย่างเขตเมืองยม โดยให้เมืองยมเป็นแขวงหนึ่งของหัวเมืองน่านขึ้นกับแขวงเมืองปัว ปัจจุบันชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบมีทั้งหมดประชากร 1,300 คน โดยประกอบด้วย บ้านลอมกลาง บ้านทุ่งฆ้อง (บ้านเสี้ยว บ้านหนองช้างแดง แยกมาจากบ้านทุ่งฆ้อง) บ้านเชียงยืน หลักฐานที่สามารถยืนยันแน่ชัดได้ในตอนนี้คือ จุดกึ่งกลางของทั้งสามหมู่บ้าน มีศาลเจ้าหลวงเชียงลาบ ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี เป็นหลัก ของชุมชนชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ในอำเภอปัว มีชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบ ที่ตำบลสถาน 3 หมู่บ้าน แต่ชาวไทลื้อที่นี่มีการยอมรับนับถือผีเจ้าเมืองปัว นับเดือนแบบชาวล้านนา ซึ่งต่าง กับชาวไทลื้อ ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหมู่บ้านในเขตเมืองเชียงลม (ปัจจุบันอยุ่ที่แขวงไซยะบูลี ประเทศลาว)

ประเพณีของชาวลื้อเมืองเชียงลาบ

  • ป๋างสี่ป๋างแปด ตรงกับเดือนสี่ และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ คือพิธีบวชสรวงดวงวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงลาบ และพระนางมหาเตวีเจ้า และเหล่าดวงวิญญานักรบโบราณ เสื้อบ้าน เสื้อเมืองเชียงลาบ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปี ในช่วงเดือนสี่ และเดือนแปด ของชาวไทลื้อ (เป็นประเพณีที่ต้องทำทุกปี ห้ามเว้นโดยเด็ดขาด)
  • จิ๊ก๋องโหล คือประเพณีถวายอัคคีพุทธบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทย หรือวันยี่เป็งของล้านนา แต่ในเดือนของชาวไทลื้อ คือ เดือนเจ๋งเป็ง หมายถึงเดือนหนึ่งหรือเดือนอ้ายขึ้นสิบห้าค่ำ นั่นเองซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมานับแต่สมัยอยู่เมืองเชียงลาบ ซึ่งว่างเว้นหรือไม่จัดไม่ได้เด็ดขาด กล่าวคือในวันดังกล่าวจะมีพิธีแป๋งเข่าลดเค๊าะ และพิธีตักบาตรในตอนเช้าตอนสายฟังธรรม จนถึงสองทุ่มจึงทำพิธีเผาไม้ง่ามหรือไม้ก้ำสลี

- การทำไม้ค้ำสลี สำหรับถวายทานนี้ฝ่ายผู้ชายต้องไปหาไม้ง่ามในป่ามาปอกเปลือกให้หมด ไม้ที่นิยมคือไม้เป้า หาให้มีจำนวนครบกับคนในครอบครัว และบวกเพิ่มอีก 1-2 ท่อน แล้วจารึกชื่อ และอักษรธรรมภาษาไทลื้อลงไปในไม้แต่ละท่อน จากนั้นนำไม้ไปสุมเป็นกองหน้าวิหารวัด แล้วนำด้ายพันรอบไม้ค้ำสลี ก่อนจุดพระจะเป็นคนสวดนำทางเวียนเทียนสามรอบ เมื่อครบสามรอบแล้วจึงนำเทียนนั้นจุดไฟเผาไม้ เมื่อไฟไหม้ไม้ ทุกคนจะอธิษฐานของให้เคราะห์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับตัว และอริศัตรูต่าง ๆ นั้นมอดไหม้ไปกับไฟนี้อย่าให้มีเหลือ ขอให้ชีวิตรุ่งเรืองเหมือนกับไฟที่ลุกสว่างขึ้นเรื่อย ๆ

  • ประเพณีปี๋ใหม่ ตรงกับเดือนหกของชาวไทลื้อ คือวันสงกรานต์ของไทย พิธีที่ต่างกันจากชาวล้านนาทั่วไปคือ ชาวลื้อจะมีการฉลองโดยการทำพิธีบายสีสู่ขวัญคนเฒ่าคนแก่ทุกคน และจะต้องทำให้ครบทุกคนในหมู่บ้าน และทุกบ้านหากมีผู้สูงอายุต้องทำพิธี และต้องเชิญชาวบ้านมาร่วมงาน และจะมีการฆ่าไก่ เพื่อมาต้มสู่ขวัญและ นำมาเลี้ยงแขกทุกคนในบ้าน และต้องเลี้ยงจนแขกคนสุดท้ายกลับ


อ้างอิง


  • จารึกพื้นเมืองเชียงแสน วัดป่าสัก จ.เชียงราย
  • จารึกชาวประวัติไทลื้อเมืองเชียงลาบ วิหารวัดทุ่งฆ้อง ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน
  • จารึกประวัติชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบ วิหารวัดเชียงยืน ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน
  • ข้อมูลวิถีชุมชนชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบ เมืองยอง เมืองยู้ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
  • หนังสือคนยองย้ายแผ่นดิน