ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำนานทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ja:レゲンダ・アウレア
บรรทัด 70: บรรทัด 70:
[[hu:Legenda aurea]]
[[hu:Legenda aurea]]
[[it:Legenda Aurea]]
[[it:Legenda Aurea]]
[[ja:レゲンダ・アウレア]]
[[nl:Legenda Aurea]]
[[nl:Legenda Aurea]]
[[no:Legenda Aurea]]
[[no:Legenda Aurea]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:19, 29 พฤศจิกายน 2551

ภาพนักบุญจอร์จ ฆ่ามังกรเป็นเรื่องหนึ่งที่รวบรวมในตำนานทอง
ภาพนักบุญคริสโตเฟอร์แบกพระเยซูข้ามแม่น้ำ โดยคอนราด วิทซ-หนึ่งในนักบุญในตำนานทอง
นักบุญมาร์กาเร็ตแห่งอันติโอก ดึงดูดความสนใจนายทหารโรมัน โดย ฌอง โฟเคท์ (Jean Fouquet) จากหนังสือวิจิตร (Illuminated manuscript)
“การพลีชีพของนักบุญไพรมัส และนักบุญเฟลิซิอานัส” จากตำนานทองของคริสต์ศตวรรษที่ 14
ภาพนักบุญแอนดรูว์ผู้ที่ถูกตรึงกางเขนบนกางเขนเอ็กซ์-หนึ่งในนักบุญในตำนานทอง

ตำนานทอง (ภาษาอังกฤษ: Golden Legend; ภาษาละติน: Legenda Aurea) เป็นตำนานชีวิตนักบุญที่รวบรวมราวปี ค.ศ. 1260 โดย จาโคบัส เดอ โวราจิเน (Jacobus de Voragine หรือ Jacopo da Varagine) นักเขียนจดหมายเหตุผู้เป็นอัครบาทหลวงแห่งเมืองเจนัว ในประเทศอิตาลี ซึ่งกลายมาเป็นหนังสือขายดีติดอันดับในยุคกลาง

หนังสือยอดนิยมในยุคกลาง

ตำนานทอง เดิมมีชื่อง่ายๆ ว่า “Legenda Sanctorum” ซึ่งแปลว่า “ตำนานนักบุญ” และเป็นที่รู้จักกันในชื่อนั้น ปัจจุบันมีเหลือด้วยกันมากกว่าพันเล่ม และเมื่อมีการพิมพ์หนังสือราวปี ค.ศ. 1450 งานนี้ก็แพร่หลายมากขึ้นไม่แต่ในภาษาละตินเท่านั้นแต่ทั้งภาษาอื่นๆ ในทวีปยุโรปด้วย และเป็นหนังสือเล่มแรกๆ ที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษโดยวิลเลียม แค็กซ์ตัน (William Caxton) เมื่อปี ค.ศ. 1483

จินตนาการเรื่องชื่อ

หนังสือรวบรวมมาจากตำนานที่เกี่ยวกับนักบุญที่เป็นที่นิยมสักการะกันในขณะสมัยที่ทำการรวบรวม จาโคบัส เดอ โวราจิเน มักจะเริ่มเรื่องโดยกล่าวถึงที่มาของชื่อนักบุญที่ออกทางจินตนาการ ซึ่งจะเห็นจากตัวอย่างที่แค็กซ์ตันแปล

นักบุญซิลเวสเตอร์ กล่าวว่าเป็น “sile” “sol” ซึ่งคือ “แสง”, และเป็น “terra” ซึ่งคือ “ดิน”, ซึ่งเป็นแสงสว่างของโลก, ซึ่งเป็นแสงสว่างของสถาบันศาสนา. หรือ ซิลเวสเตอร์เป็น “silvas” และ “trahens” ซึ่งหมายความว่าเป็นผู้สามารถเปลี่ยนคนที่ยากต่อการเปลี่ยนให้มามีความเลื่อมใส. หรือเป็น “in glossario” ซิลเวสเตอร์หมายถึง เขียว ที่เรียกว่าเป็นผู้มีสติปัญญา, เขียวในความเคร่งครัดในทางศาสนา, และเป็นผู้ทำงานที่ใช้แรงงานหนักด้วยตนเอง; เป็น “umbrous” หรือ “shadowous” ที่หมายความว่าเป็นผู้หุ้มห่อตัวด้วยความเย็นจากตัณหาทางร่างกาย, เต็มไปด้วยกิ่งก้านสาขาเช่นต้นไม้แห่งสรวงสวรรค์

โวราจิเนผู้เป็นนักประพันธ์ภาษาละตินก็น่าจะทราบว่า “ซิลเวสเตอร์” เป็นชื่อพื้นๆ ที่ใช้กันแพร่หลายซึ่งมีความหมายง่ายๆ เพียงว่า “มาจากป่า” ซึ่งโวราจิเนก็กล่าวไว้บ้างแต่ขยายความจนนักภาษาศาสตร์เห็นว่าเป็นการตีความที่เลิศลอยและเกินเลยไปจากรากศัพท์เดิมของคำเป็นอันมาก แม้ว่าการใช้คำว่า “silvas” และ “forest” ของโวราจิเนจะถูกต้อง ตามที่ตีความหมายว่าเป็นกิ่งไม้ แต่เป็นการตีความหมายแบบสัญลักษณ์แฝงคติมิใช่การตีความหมายของที่มาของคำ การใช้ที่มาของคำเช่นที่จาโคบัส เดอ โวราจิเนใช้เป็นการใช้อย่างมีจุดประสงค์ที่แตกต่างจากศัพทมูลวิทยาในปัจจุบัน ซึ่งไม่อาจจะเอามาตีคุณค่าโดยใช้มาตรฐานปัจจุบันเป็นกำหนดได้ การใช้ที่มาของคำในลักษณะนี้ของจาโคบัส เดอ โวราจิเนคล้ายคลึงกับคำอธิบายในหนังสือ “ศัพทมูลวิทยา” (Etymologiae) ที่เขียนโดยนักบุญอิสซิดอเรแห่งเซวิลล์ (Isidore of Seville) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่กล่าวว่าความหมายของที่มาของคำในทางภาษาศาสตร์เป็นสิ่งที่ต้องแยกจากการบรรยายที่มาของคำในการใช้สำหรับ “สัญลักษณ์แฝงคติ”

ชีวิตของนักบุญ

หลังจากเขียนบทนำแล้วโวราจิเนก็เริ่มเล่าประวัติชีวิตของนักบุญซึ่งรวบรวมมาจากเอกสารของนิกายโรมันคาทอลิกที่เป็นเพลงสวดสรรเสริญนักบุญ จากนั้นโวราจิเนก็เพิ่มเนื้อหาด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ ที่เกิดกับนักบุญที่นำมาจากแหล่งที่หลักฐานอื่นๆที่ไม่ค่อยเป็นที่น่าเชื่อถือ ตำนานทองใช้แหล่งอ้างอิงทั้งสิ้น 130 แหล่ง นอกจากคัมภีร์ไบเบิลแล้วโวราจิเนก็ใช้หนังสือตำนาน “apocrypha” เช่น “พระวรสารนิโคเดอมัส” (Gospel of Nicodemus), ประวัติของ นักบุญเกรกอรีแห่งทัวร์ และ นักบุญจอห์นคาสเคียน, และ “Speculum historiale” ซึ่งเขียนโดยแวนซองท์เดอโบเวส์ (Vincent de Beauvais) ผู้เป็นพระลัทธิโดมินิคัน และบางเรื่องก็ไม่มีแหล่งอ้างอิงใดๆ เช่นตัวอย่างของนักบุญซิลเวสเตอร์ที่กล่าว เล่าถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้รับคำสอนอย่างปาฏิหาริย์จากนักบุญปีเตอร์ที่ทำให้ท่านสามารถไล่มังกรจากโรมได้:

“ในขณะนี้ที่โรมมีมังกรในหลุมถ้ำ ทุกวันมังกรนี้ก็จะพ่นไฟฆ่าคนกว่าสามร้อยคน บาทหลวงของพวกนอกศาสนาของพระจักรพรรดิก็กล่าวว่า พระองค์ผู้มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นหนึ่ง, ถึงเวลาแล้วที่พระองค์จะนับถือศาสนาคริสต์ ด้วยมังกรได้ฆ่าประชาชนด้วยการพ่นไฟวันละกว่าสามร้อยคน แล้วก็ส่งพระจักรพรรดิไปหานักบุญซิลเวสเตอร์เพื่อปรึกษาว่าควรจะทำเช่นใด นักบุญซิลเวสเตอร์ก็ว่าด้วยอำนาจของพระเจ้าพระองค์ทรงสัญญาว่าจะทำให้มังกรหยุดฆ่าคน แล้วนักบุญซิลเวสเตอร์ก็เริ่มสวดมนต์ต์ต์ นักบุญปีเตอร์ก็มาปรากฏตัวและกล่าวว่า “เจ้าจงไปหามังกรกับพระอีกสององค์เป็นเพื่อน, และเมื่อไปถึงเจ้าจงกล่าวกับมังกรว่า “พระเยซูผู้เป็นพระบุตรของพระแม่มารี, ผู้ทรงถูกตรึงกางเขน, ผู้ทรงถูกฝังและคืนชีพ, และปัจจุบันสถิตอยู่ทางขวาของพระเป็นเจ้า, พระองค์คือผู้ที่จะลงมาตัดสินทั้งผู้มีชีวิดและไม่มี, ข้าสั่งให้เจ้า Sathanas จงคอยอยู่ที่นี่จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา” เจ้าจงผูกปากมังกรด้วยเชือกและปิดปากด้วยตราของเจ้าซึ่งจะปรากฏเป็นรอยกางเขน แล้วเจ้าและพระอีกสององค์จงกลับมาหาข้าทั้งเนื้อทั้งตัวอย่างปลอดภัย, ข้าจะทำขนมปังเตรียมไว้เพื่อเจ้าจะได้กิน”
เมื่อนักบุญปีเตอร์พูดจบนักบุญซิลเวสเตอร์ก็ปฏิบัติตาม เมื่อนักบุญซิลเวสเตอร์ไปถึงถ้ำก็ลงบันไดไปร้อยห้าสิบขั้น, ถือตะเกียงลงไปสองดวง, และพบมังกร, และกล่าวคำที่นักบุญปีเตอร์สอนไว้, และผูกปากมังกรด้วยเชือก, และประทับตรา, และหลังจากกลับมา, ก็พบคนสองคนผู้ติดตามลงไป(เพื่อดูมังกร) ซึ่งกำลังใกล้ตายเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น, ผู้ซึ่งนักบุญซิลเวสเตอร์นำกลับมาด้วยอย่างปลอดภัย, ผู้ซึ่งได้รับศีลจุ่ม, รวมทั้งผู้คนอื่นๆ ที่มาด้วยกันอีกมากมายด้วย ฉะนั้นเมืองโรมจึงปลอดภัยจากความตายสองอย่าง, จากความตายจากการนับถือรูปต้องห้าม และจากพิษของมังกร”

ปาฏิหาริย์และตำนานของวัตถุมงคล

ตำนานของนักบุญหลายเรื่องจบด้วยปาฏิหาริย์ต่างๆของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากนักบุญหรือผู้ใช้วัตถุมงคลที่มาจากหรือเป็นของนักบุญ เช่นประวัติของ นักบุญอากาธา โวราจิเนเล่าว่าผู้นอกศาสนาที่คาทาเนีย ในซิซิลีใช้วัตถุมงคลของนักบุญอากาธาเพื่อจะหยุดยั้งไฟที่มาจากภูเขาไฟเอตนา

และเพื่อจะเป็นการพิสูจน์ว่า(นักบุญอากาธา)สวดมนต์ต์ต์เพื่อความปกป้องสถานที่นี้, เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์, หนึ่งปีหลังจากที่ทรงพลีชีพเพื่อศาสนา, ก็เกิดมีไฟไหม้ใหญ่, และมาจากภูเขาไฟสู่ตัวเมืองคาทาเนีย และเผาทั้งแผ่นดินและหิน, เผาอย่างรุนแรง. พวกนอกศาสนาวิ่งมาที่ที่ฝังศพของนักบุญอากาธาและฉวยผ้าที่วางบนหลุมศพ, แล้วขีงผ้ากั้นไฟ, เก้าวันหลังจากนั้นเป็นวันสมโภช(ของนักบุญอากาธา), ไฟก็หยุดเมื่อมาถึงผ้าที่พวกนอกศาสนานำมาจากหลุมศพ, แสดงว่าพระเป็นเจ้าปกป้องเมืองจากไฟโดยคุณความดีของนักบุญอากาธา

แต่โวราจิเนเองก็ยอมแพ้เมื่อมาถึงเรื่องของนักบุญมาร์กาเร็ตแห่งอันติโอกผู้รอดมาจากการถูกกลืนโดยมังกรโดยยอมรับว่า “จากตำนานและไม่ควรจะเป็นที่น่าเชื่อถือเท่าใด” (แปล ไรอัน 1.369)

คุณค่าสำหรับผู้ศึกษาวัฒนธรรมยุคกลาง

ตำนานทองเขียนเป็นภาษาละตินแบบที่เข้าใจง่าย ผู้อ่านในสมัยยุคกลางอ่านเพื่อเอาเรื่องแต่เมื่อดูรวมๆ แล้วเรื่องการพลีชีพ และปาฏิหาริย์ต่างๆ ก็จะซ้ำๆ กัน ตำนานทองเป็นสิ่งที่ใกล้ที่สุดในการเป็นสารานุกรมของตำนานและชีวิตนักบุญของยุคกลางตอนปลาย ฉะนั้นจึงเป็นหนังสือที่มีค่าที่นักประวัติศาสตร์ใช้แยกตัวนักบุญในภาพเขียนโดยใช้เหตุการณ์ในชีวิตที่บรรยายในตำนานทอง การที่เรื่องมักจะซ้ำกันอาจจะเป็นเพราะโวเรจินเนตั้งใจเขียนขึ้นสำหรับการเทศนามิใช่เขียนขี้นสำหรับให้เป็นที่นิยมอย่างที่เกิดขึ้น

ในหนังสือ “การปฏิรูปศาสนา: ประวัติศาสตร์” (The Reformation: A History) ค.ศ. 2003, ไดอาร์เมด แมคคัลลอคกล่าวว่าตำนานทองเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีส่วนทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาโดยมิได้จงใจ โดยการทำให้เพิ่มความแคลงใจให้กับผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธินิยมนักบุญ เช่นจะเห็นได้จากงานเขียน “Praise of Folly” โดย เดซิเดอเรียส อิราสมัส (Desiderius Erasmus)

อ้างอิง

  • “ตำนานทอง” ฉบับแปล โดย วิลเลียม เกรนเจอร์ ไรอัน ISBN 0-691-00153-7 and ISBN 0-691-00154-5 (2 เล่ม)
  • “ตำนานทอง” ฉบับละติน ตรวจแก้ไขโดยจิโอวานนี เพาโล มาจิโอนี (ฟลอเรนซ์: SISMEL ค.ศ. 1998)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น