ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนทวีธาภิเศก"

พิกัด: 13°44′43″N 100°28′58″E / 13.745253°N 100.482700°E / 13.745253; 100.482700
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nut41598 (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 24: บรรทัด 24:


[[ภาพ:P002.jpg|thumb|240px|left|อาคารโรงเรียนหลังแรก]]
[[ภาพ:P002.jpg|thumb|240px|left|อาคารโรงเรียนหลังแรก]]
โดยเมื่อปี [[พ.ศ. 2438]] (ร.ศ. 114) ปีมะแม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้[[กระทรวงธรรมการ]] (ปัจจุบัน คือ [[กระทรวงศึกษาธิการ]]) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่าสถานที่ กระทรวงธรรมการบริเวณศาลาต้นจันทร์ [[วัดอรุณราชวราราม]] เปิดสอนชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีนักเรียน 162 คน ครู 6 คน มีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) เป็นครูใหญ่ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ [[กรมพระบำราบปรปักษ์]]เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์เเล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศล[[พระราชพิธีทวีธาภิเษก ในรัชกาลที่ 5|ทวีธาภิเษก]] ถวายพระอัยกาธิราช ณ [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน]] และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ [[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] ในวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2441]]
โดยเมื่อปี [[พ.ศ. 2438]] (ร.ศ. 114) ปีมะแม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้[[กระทรวงธรรมการ]] (ปัจจุบัน คือ [[กระทรวงศึกษาธิการ]]) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่าสถานที่ กระทรวงธรรมการบริเวณศาลาต้นจันทร์ [[วัดอรุณราชวราราม]] เปิดสอนชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีนักเรียน 162 คน ครู 6 คน มีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) เป็นครูใหญ่ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ [[กรมพระบำราบปรปักษ์]]เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศล[[พระราชพิธีทวีธาภิเษก ในรัชกาลที่ 5|ทวีธาภิเษก]] ถวายพระอัยกาธิราช ณ [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน]] และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ [[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] ในวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2441]]


[[ภาพ:P003.jpg|thumb|240px|right|]]
[[ภาพ:P003.jpg|thumb|240px|right|]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:48, 2 ตุลาคม 2551

โรงเรียนทวีธาภิเศก
Taweethapisek School
ไฟล์:ทวีธา.JPG
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ภ. / T.P.
ประเภทรัฐบาล สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำขวัญรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441
สีเขียว-ขาว
เพลงมาร์ชทวีธาภิเศก
ดอกไม้ดอกแก้ว
เว็บไซต์http://main.taweethapisek.ac.th/

โรงเรียนทวีธาภิเศก (อังกฤษ: Taweethapisek School) อักษรย่อ (ท.ภ.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ รับเฉพาะนักเรียนชาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600

ประวัติ

เป็นโรงเรียนซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา

ไฟล์:P002.jpg
อาคารโรงเรียนหลังแรก

โดยเมื่อปี พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) ปีมะแม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่าสถานที่ กระทรวงธรรมการบริเวณศาลาต้นจันทร์ วัดอรุณราชวราราม เปิดสอนชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีนักเรียน 162 คน ครู 6 คน มีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) เป็นครูใหญ่ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ กรมพระบำราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเษก ถวายพระอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441

ไฟล์:P003.jpg

ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเศกนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ได้ทรงร่วมบริจาคทรัพย์บูชาธรรมเทศนาเพื่อการปฏิสังขรณ์และสถาปนาถาวรวัตถุในวัดแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างโรงเรียนตรงกุฏิสงฆ์ด้านทิศเหนือ โรงเรียนวัดอรุณราชวรารามเดิม มาเป็นตึกใหญ่ และพระราชทานนามโรงเรียนว่า ทวีธาภิเศก เฉพาะผู้บริจาคมีรายนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงบริจาคเงินร่วมในการนี้ เช่น

มีพระนามร่วมบริจาคทั้งสิ้น 47 ราย เป็นเงินจำนวน 24,000 บาท

เนื่องในโอกาสเพื่อเป็นที่ระลึกในวันสำคัญยิ่ง ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกแจกพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในเป็นที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนทวีธาภิเศก จึงถือวันที่ 19 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันทวีธาภิเศก" และใช้สัญลักษณ์ภาพเหมือนรูปเหรียญ ทวีธาภิเศก เป็นตราประจำโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2494 นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ บริเวณวัดนาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้ โดยย้ายนักเรียนชั้นมัธยมปลายบางส่วนมาเรียน ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ จึงได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียน ส่วนอาคารเรียนหลังเดิม ณ วัดอรุณราชวรารามฯ กรมสามัญศึกษา ได้ทำการเปิดสอนในระดับประถมศึกษา ชื่อว่า โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก

ในปี พ.ศ. 2512 นายเรวัต ชื่นสำราญ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้งบประมาณสร้างตึก 4 ชั้น 18 ห้องเรียน เป็นเงินทั้งสิ้นสองล้านบาท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ โดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา) เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีและได้ประทานนามตึกนี้ว่า " ตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา " ซึ่งก็คือ ตึก 1 ของโรงเรียนและเปิดใช้มาจนปัจจุบัน

ไฟล์:Tp4904-001.jpg
หน้าตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา ปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกของโรงเรียนทวีธาภิเศกนับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนมา ได้สานต่อการพัฒนาโรงเรียนด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะบรรยากาศด้านวิชาการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน อาทิ ห้องมัลติมีเดียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งห้องเรียน ห้องเรียนและสื่อการเรียนรู้อีเลกทรอนิกส์ และการจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และห้องสมุดโรงเรียน เพื่อบริการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตแก่ นักเรียนและครูอย่างทั่วถึง จัดทำศูนย์สารสนเทศนักเรียนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและบริการสืบค้น ข้อมูลของนักเรียนทั้งด้านวิชาการและปกครองเริ่มโครงการอ่านเฉลิมพระเกียรติฯ จัดชั่วโมง "หยุดทุกอย่างเพื่ออ่าน" ทุกวันพุธ จัดศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ การระดมทรัพยากรจากชุมชนเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกด้าน นอกจากนี้ ได้จัดตั้งชมรมครูอาวุโสโรงเรียนทวีธาภิเศกร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เพื่อให้ ผู้บริหาร และครูทวีธาภิเศกที่เกษียณอายุทุกท่านมีโอกาสกลับมาเยี่ยมโรงเรียน ได้พบปะสังสรรค์ จัดกิจกรรมบริการตรวจสุขภาพ จัดทัศนศึกษาและจัดพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ครูอาวุโส

เหรียญตราทวีธาภิเศก

ลักษณะรูปทรงเหรียญแบบดาวห้าแฉกยกขอเส้นลวดสองชั้นหูเชื่อม แบบขวางภายใน มีลักษณะดังนี้

เหรียญตราทวีธาภิเศก (ซ้าย) ด้านหน้า (ขวา) ด้านหลัง

ด้านหน้า

  1. พระอุนาโลม ภายใต้พระอุณหิศ มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ พระอุณหิศก็คือพระมงกุฎ
  2. พระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
  3. ครุฑยึดนาค มีความหมายถึงพระบรมราชสัญลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ผู้เป็นพระบรมราชอัยกา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
  4. พระแสงขรรค์ไชยศรีและธารพระกรไขว้ มีความหมายถึง เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เนื่องในวโกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติราชาภิเศก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 การเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งสองนี้ เพื่อแสดงว่าเป็นของสำหรับพระราชาธิบดี
  5. สายสร้อย เป็นรูปดอกประจำยามอยู่เบื้องใต้โล่ คือสังวาลย์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับพระมหากษัตริย์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลอันสำคัญอย่างยิ่ง

ด้านหลัง

จารึกว่า

ที่รฤก รัชกาลที่ ๕

เสมอด้วยรัชกาล ที่ ๒

ทวีคูณ รัตนโกสินทร

๓๑ ศก ๑๑๗

เกียรติภูมิโรงเรียน

  • พิพิธภัณฑ์โรงเรียนทวีธาภิเศก

เปิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 เป็นอาคาร 2 ชั้น ติดกับตึก 3 ตึกเอนกประสงค์ ภายในแสดงวัตถุประเภทครุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และของใช้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้แก่โรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น อาทิ นาฬิกาตั้งยอดพระเกี้ยว เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้โรงเรียน ด้านบนประดิษฐานพระจุลมงกุฎจำหลักไม้ที่ประณีตงดงามมาก, ตู้พระราชทาน และโต๊ะเก้าอี้พระราชทาน เป็นต้น

ไฟล์:R5.jpg
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไฟล์:Pravad1.jpg
พระพุทธทวีธาภิเศก

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน

  • พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้อัญเชิญจากโรงหล่อส่วนปฏิมากรรม กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยผู้อำนวยการสุธน จุลโมกข์, พ.ต.อ.(พิเศษ) พลวุฒิ วิเศษสงวน นายกสมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก พล.ร.ท. ฉกรรจ์ สุวรรณเสนีย์ อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเศก โดยผ่านมาทางถนนปิ่นเกล้านครไชยศรี ขึ้นทางลอยฟ้าคู่ขนาน ผ่านไปข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปเลี้ยวกลับที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นความเป็นศิริมงคล ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ข้างอาคารพิพิธภัณฑ์

  • พระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคล

มีทั้งสิ้น 2 องค์ องค์แรก เป็นพระพุทธรูปโบราณปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องใหญ่แบบสกุลช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ใน ปี พ.ศ. 2536 สมัยนายกนก จันทร์ขจร เป็นผู้อำนวยการ

และองค์ที่ 2 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พุทธศิลปแบบสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ไว้สำหรับเป็นที่สักการะประจำโรงเรียน เช่นเดียวกับที่โรงเรียนอื่น ๆ ทั่วไป โดยใช้ชื่อเดียวกับพระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคลองค์แรก ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ซุ้มพระพุทธรูปใกล้ประตูทางเข้าโรงเรียน เป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพกราบไหว้ของครูอาจารย์ นักเรียนและผู้ปกครองเป็นจำนวนมากอยู่โดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อในระดับชั้น ม. 1 และม. 4 ของทุกปี เมื่อเข้ามาในโรงเรียนผ่านประตูมองไปทางซ้าย ก็จะได้เห็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามองค์นี้ ประดิษฐานอยู่อย่างสงบภายใต้เงาไม้ที่ดูร่มรื่น

  • พ่อขุนสุรชัยรณรงค์

ในอดีตท่านรับราชการ เป็นทหารในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2325 ร.ศ.1 ปีขาล ถึง พ.ศ. 2352 ร.ศ.28 ปีมะโรง มีตำแหน่งเป็นนายกองเสือป่า แมวเซา ได้รับพระราชทานพำนักเป็นการถาวรที่วัดนาคกลาง ใกล้กับที่ตั้งปัจจุบันของโรงเรียน โดยมีหน้าที่ดูแลด่านตั้งแต่กรุงเทพ ฯ - ด่านพระเจดีย์สามองค์

คติพจน์ประจำโรงเรียน

  • อตฺตานํ นาติวตฺ เตยฺย (บุคคลไม่ควรลืมตน)

ผู้บริหารโรงเรียน

  1. ขุนอุปการศิลปะเศรฐ พ.ศ. 2441 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2450
  2. นายพร้อม 21 มิถุนายน พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2454
  3. พระบรรเจิดวิชาชาญ(นายชม บุญญาคง ป.ม.) พ.ศ. 2454 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
  4. ขุนดรุณวิทย์วรเสษฐ (นายยง ศิลปคุปต์) 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2459
  5. ขุนวิสิษฐ์ดรุณกาล (นายบุบผา พลายสุต) 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – มิถุนายน พ.ศ. 2492
  6. นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 – 30 กันยายน พ.ศ. 2508
  7. นายเรวัต ชื่นสำราญ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  8. นายสำเริง นิลประดิษฐ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 30 กันยายน พ.ศ. 2522
  9. นายจงกล เมธาจารย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
  10. นายสุชาติ ไชยมะโน 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2531
  11. นายสำราญ รัตนวิทย์ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 30 กันยายน พ.ศ. 2532
  12. นายกนก จันทร์ขจร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 30 กันยายน พ.ศ. 2538
  13. นายประสาร อุตมางคบวร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – 30 กันยายน พ.ศ. 2541
  14. นายสุธน จุลโมกข์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2544
  15. นายสุวัฒน์ อ้นใจกล้า 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547
  16. นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

บุคคลสำคัญระดับประเทศ

ศิลปิน นักร้อง นักแสดง ผู้กำกับ

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

โรงเรียนในเครือ

หมายเหตุ

  • พระราชพิธีทวีธาภิเษก ในรัชกาลที่ 5 ใช้ตัวสะกด ษ.ฤๅษี แต่กับโรงเรียนทวีธาภิเศก ใช้ตัวสะกด ศ.ศาลา
  • ในอดีตปีที่สถาปนาโรงเรียนใช้ปี พ.ศ. 2438 ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนได้เปิดการสอนจริง ๆ และใน พ.ศ. 2538 ทางโรงเรียนได้มีการจัดงานครบรอบ 100 ปี ด้วย แต่ปัจจุบันได้ถือปีที่สถาปนาเป็นปี พ.ศ. 2441 ซึ่งในปี พ.ศ. 2541 ก็ได้มีการจัดงานครบรอบ 100 ปี อีกครั้ง
  • เดิมทีคำขวัญโรงเรียนมีอยู่ว่า "ลูกทวีธา มีศักดิ์ศรี มีน้ำใจ มีคุณธรรม" แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น "รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ"

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′43″N 100°28′58″E / 13.745253°N 100.482700°E / 13.745253; 100.482700 แม่แบบ:Coor box