ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาร์กาเรตแห่งแอนติออก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต ลบ: eo:Sankta Margareta
AlleborgoBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: it:Margherita di Antiochia
บรรทัด 58: บรรทัด 58:
[[fr:Marguerite d'Antioche]]
[[fr:Marguerite d'Antioche]]
[[he:מרגרטה הבתולה]]
[[he:מרגרטה הבתולה]]
[[it:Santa Margherita di Antiochia]]
[[it:Margherita di Antiochia]]
[[ja:アンティオキアのマルガリタ]]
[[ja:アンティオキアのマルガリタ]]
[[ko:안티오키아의 마르가리타]]
[[ko:안티오키아의 마르가리타]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:08, 16 กันยายน 2551

มาร์กาเร็ตแห่งอันติโอก
“นักบุญมาร์กาเร็ตแห่งอันติโอก” - ราว ค.ศ. 1440 ภาพจากหนังสือวิจิตร
เสียชีวิตราว ค.ศ. 304
นิกายนิกายโรมันคาทอลิก

นิกายอังกลิคัน

นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์
วันฉลอง20 กรกฎาคม (ตะวันตก) 17 กรกฎาคม (ตะวันออก)
สัญลักษณ์มังกรถูกฆ่า
องค์อุปถัมภ์การคลอดลูก, ผู้หญิงมีครรภ์, คนที่ใกล้ตาย, โรคไต, ชาวนา, ผู้ลี้ภัย, ผู้ถูกกล่าวหาผิดๆ, พยาบาล

นักบุญมาร์กาเร็ตแห่งอันติโอก หรือ นักบุญมาร์กาเร็ตพรหมจารี (ภาษาอังกฤษ: Margaret of Antioch หรือ Margaret the Virgina) เป็นนักบุญในคริสต์ศาสนา และเป็นพรหมจารีและมรณสักขีหรือผู้พลีชีพเพื่อศาสนา ผู้เสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 304 นักบุญมาร์กาเร็ตแห่งอันติโอกเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์

ที่มาของนักบุญมาร์กาเร็ตไม่เป็นที่ทราบแน่นอนหรือเป็นที่สงสัยกันว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ เมื่อปี ค.ศ. 494 สมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซิอุสที่ 1 ทรงประกาศว่าเรื่องของนักบุญมาร์การเร็ตเป็นเรื่องจากเอกสารที่ไม่มีหลักแหล่งที่น่าเชื่อถือ (Apocrypha) แต่ความนิยมของนักบุญมาร์การเร็ตไม่ได้หายไปและมารุ่งเรืองขึ้นอีกทางตะวันตกในสมัยสงครามครูเสด กล่าวกันว่าถ้าใครเขียนหรืออ่านเรื่องราวชีวิตของท่านๆ ก็จะให้สัญญาแก้บาป (indulgence) ให้แก่ผู้นั้น หรืออาจจะมาช่วยขวางอันตรายที่เกิดขึ้น ความเชื่อเช่นนี้ทำให้ลัทธินิยมของนักบุญมาร์การเร็ตเป็นที่แพร่หลายกันมาก[1]

ตามตำนานทองนักบุญมาร์กาเร็ตเป็นชาวอันติโอก เป็นลูกสาวของพระนอกศาสนาชื่อเอเดเซียส และอาศัยอยู่กับแม่เลึ้ยงโดยเลึ้ยงแกะ พ่อเยาะเย้ยในความเชื่อในคริสต์ศาสนาของนักบุญมาร์การเร็ต โอลิเบรียสขอแต่งงานกับมาร์การเร็ตแต่มีข้อแม้ว่ามาร์กาเร็ตต้องเลิกนับถือคริสต์ศาสนาแต่มาร์การเร็ตไม่ยอม จึงถูกทรมานระหว่างการทรมานก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นหลายอย่างเช่นเรื่องหนึ่งกล่าวว่านักบุญมาร์การเร็ตถูกซาตานในรูปของมังกรกลืนแต่ก็หนีมาได้ เพราะกางเขนที่ถือไว้ในมือระคายท้องมังกร ในที่สุดก็ถูกสังหารเมื่อราว ค.ศ. 304 แม้แต่ตำนานทองก็ยังแสดงความไม่น่าเชื่อถือในเรื่องที่กล่าวโดยบรรยายเหตุการณ์สุดท้ายว่าให้ผู้อ่านฟังหูไว้หู(trans. Ryan, 1.369)

ทางนิกายออร์โธด็อกซ์รู้จักมาร์กาเร็ตในชื่อ มารินา และฉลองวันสมโภชวันที่ 17 กรกฎาคม และอาจจะเป็นคนคนเดียวกับนักบุญเพลาเกีย เพราะชื่อ “มารินา” ในภาษากรีกเป็นชื่อเดียวกับ “เพลาเกีย” – และเพลาเกียกล่าวตามตำนานว่าชื่อ มาร์การิโต แต่ไม่มีหลักฐานอะไรที่สามารถบอกความสัมพันธ์ของนักบุญสององค์นี้ มารินาของกรีกมาจากอันติโอก แต่เมื่อความตอนนี้หายไปจากทางตะวันตก

“นักบุญมาร์กาเร็ตและมังกร” หินอาลาบาสเตอร์มีรอยปิดทองจากทูลูส จากราว ค.ศ. 1475 ปัจจุบันอยู่ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา

ลัทธินิยมนักบุญมาร์การเร็ตมีความนิยมกันมากในอังกฤษโดยจะเห็นได้จากวัดถึง 250 วัดตั้งตามชื่อมาร์การเร็ต ผู้ที่เลื่อมใสเชื่อกันว่าเป็นนักบุญผู้พิทักษ์ผู้หญิงมีครรภ์ ในศิลปะภาพของนักบุญมาร์การเร็ตมักจะเป็นผู้หญิงหนีมังกร

นักบุญมาร์กาเร็ตเป็นนักบุญของนิกายโรมันคาทอลิกและมีชื่อในรายการ “มรณสักขีของโรมัน” สำหรับวันที่ 20 กรกฎาคม[2] และเป็นนักบุญองค์หนึ่งที่มาปรากฏตัวต่อ นักบุญโจนออฟอาร์ค

อ้างอิง

  1. "Margaret of Antioch" The Oxford Dictionary of Saints. David Hugh Farmer. Oxford University Press 2003. Oxford Reference Online. Oxford University Press. Accessed 16 June 2007 <http://www.oxfordreference.com/views/ENTRY.html?subview=Main&entry=t100.e1078>
  2. Martyrologium Romanum (Libreria Editrice Vaticana, 2001 ISBN 88-209-7210-7)

ดูเพิ่ม