ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าเก้าตื้อ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
กรุณาอัปโหลดใหม่แล้วอธิบายในหน้าภาพ
Thanya1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
ใน[[พงศาวดารโยนก]]กล่าวว่า [[พระเจ้าเมืองแก้ว]] หรือ[[พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช]] หรืออีกพระนามหนึ่งคือ [[พระติลกปนัดดาธิราช]]กษัตริย์รัชกาลที่ 14 แห่ง[[ราชวงศ์มังราย]] ที่ครองอาณาจักรล้านนาระหว่าง ได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น เพื่อเป็นประธานในวิหารพระสิงห์ โดยได้เริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีชวด ฉอศก จุลศักราช 866 (พุทธศักราช 2047) เมื่อหล่อได้ทำการตกแต่ง จนถึงวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช 467 (พุทธศักราช 2048) จึงสำเร็จบริบูรณ์ องค์พระมีที่ต่อ 8 แห่ง อย่างไรก็ตามเนื่องจากองค์พระมีน้ำหนักมากเมื่อหล่อเสร็จไม้สามารถชะลอเข้าเมืองได้ พระองค์จึงโปรดฯ ให้สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐาน ณ บริเวณใกล้ๆ กับพระอารามวัดบุปผารามหรือวัดสวนดอก ครั้นถึงวันพุธเดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 870 (พุทธศักราช 2052) จึงได้มีการชักพระพุทธปฏิมากรองค์นี้ เข้าประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถใน[[วัดบุบผาราม]]
ใน[[พงศาวดารโยนก]]กล่าวว่า [[พระเจ้าเมืองแก้ว]] หรือ[[พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช]] หรืออีกพระนามหนึ่งคือ [[พระติลกปนัดดาธิราช]]กษัตริย์รัชกาลที่ 14 แห่ง[[ราชวงศ์มังราย]] ที่ครองอาณาจักรล้านนาระหว่าง ได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น เพื่อเป็นประธานในวิหารพระสิงห์ โดยได้เริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีชวด ฉอศก จุลศักราช 866 (พุทธศักราช 2047) เมื่อหล่อได้ทำการตกแต่ง จนถึงวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช 467 (พุทธศักราช 2048) จึงสำเร็จบริบูรณ์ องค์พระมีที่ต่อ 8 แห่ง อย่างไรก็ตามเนื่องจากองค์พระมีน้ำหนักมากเมื่อหล่อเสร็จไม้สามารถชะลอเข้าเมืองได้ พระองค์จึงโปรดฯ ให้สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐาน ณ บริเวณใกล้ๆ กับพระอารามวัดบุปผารามหรือวัดสวนดอก ครั้นถึงวันพุธเดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 870 (พุทธศักราช 2052) จึงได้มีการชักพระพุทธปฏิมากรองค์นี้ เข้าประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถใน[[วัดบุบผาราม]]


[[ภาพ:IMG_0019a.jpg|left|200px|thumb|พระเจ้าเก้าตื้อ]]


== พระเจ้าเก้าตื้อในปัจจุบัน ==
== พระเจ้าเก้าตื้อในปัจจุบัน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:58, 3 สิงหาคม 2551

พระเจ้าเก้าตื้อ
ชื่อเต็มพระพุทธรูปพระพุทธเจ้าเก้าตื้อ
ชื่อสามัญพระเจ้าเก้าตื้อ
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางมารวิชัย
ความกว้าง3 เมตร
ความสูง4.70 เมตร
วัสดุโลหะ 9,000 กิโลกรัม
สถานที่ประดิษฐานพระอุโบสถ วัดสวนดอก
ความสำคัญได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดในล้านนา
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา


พระเจ้าเก้าตื้อ หรือ พระพุทธรูปพระพุทธเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสวนดอก หรือวัดบุบผาราม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วัดสำคัญของนครเชียงใหม่ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดในล้านนา

คำว่า ตื้อ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโลหะของล้านนาในสมัยโบราณ ซึ่ง 1 ตื้อ เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม (บางตำรากล่าวว่า 1 ตื้อ หนักเท่ากับ 1,200 กิโลกรัม) พระเจ้าเก้าตื้อ หมายถึงพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะหนัก 9,000 กิโลกรัม หรือ 9 ตัน

ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า พระเจ้าเมืองแก้ว หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช หรืออีกพระนามหนึ่งคือ พระติลกปนัดดาธิราชกษัตริย์รัชกาลที่ 14 แห่งราชวงศ์มังราย ที่ครองอาณาจักรล้านนาระหว่าง ได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น เพื่อเป็นประธานในวิหารพระสิงห์ โดยได้เริ่มทำการหล่อในวันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีชวด ฉอศก จุลศักราช 866 (พุทธศักราช 2047) เมื่อหล่อได้ทำการตกแต่ง จนถึงวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช 467 (พุทธศักราช 2048) จึงสำเร็จบริบูรณ์ องค์พระมีที่ต่อ 8 แห่ง อย่างไรก็ตามเนื่องจากองค์พระมีน้ำหนักมากเมื่อหล่อเสร็จไม้สามารถชะลอเข้าเมืองได้ พระองค์จึงโปรดฯ ให้สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐาน ณ บริเวณใกล้ๆ กับพระอารามวัดบุปผารามหรือวัดสวนดอก ครั้นถึงวันพุธเดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 870 (พุทธศักราช 2052) จึงได้มีการชักพระพุทธปฏิมากรองค์นี้ เข้าประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถในวัดบุบผาราม


พระเจ้าเก้าตื้อในปัจจุบัน

ปัจจุบันพระพุทธเจ้าเก้าตื้อ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัดสวนดอก ซึ่งเป็นวัดสำคัญของล้านนาไทย เนื่องจากในประวัติศาสตร์กล่าวว่าเป็นที่ตั้งของคณะสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์ ที่พระเจ้ากือนามหาธรรมิกราชได้ส่งราชทูตไปขอพระราชทานมาจากพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยพระมหาธรรมราชา(ลิไท)ได้โปรดให้พระมหาสุมนเถระ นำตั้งมั่นเผยแพร่พระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ยังอาณาจักรล้านนา ตามที่พระเจ้ากือนาทูลขอ พระมหาสุมนเถระได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาด้วยหนึ่งองค์ เมื่อพระมหาเถระเดินทางมาถึงล้านนา จึงได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่พระเจ้ากือนา ในครั้งนั้นพระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ แบ่งออกเป็น 2 องค์ พระเจ้ากือนาได้ทรงมีพระราชศรัทธา โปรดให้สร้างอารามบุบผาราม เป็นที่จำพรรษาของพระมหาสุมนเถระ และสร้างพระสถูปเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนพระบรมสารีริกธาตุอีกองค์หนึ่งนั้น ได้โปรดให้อัญเชิญขึ้นไว้บนหลังช้าง แล้วอธิษฐานเสี่ยงทายสถานที่สมควรจะประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว ครั้งนั้นช้างมงคลได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เดินขึ้นไปบนดอยสุเทพ เมื่อถึงบนยอดดอยแล้ว ช้างได้คุกเข่าลงไม่ยอมเดินต่อ พระเจ้ากือนามหาธรรมิกราชจึงมีพระราชดำรัสให้สร้างพระบรมธาตุขึ้นบนดอยสุเทพ ซึ่งปัจจุบันคือ วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ

ปัจจุบันวัดสวนดอกยังมีศาสนวัตถุที่สำคัญ อาทิ พระบรมธาตุที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระวิหารโถงที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา สถูปบรรจุอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ตลอดจน สุสานราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ข้างองค์พระเจดีย์